1 / 38

วัตถุประสงค์

โครงการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกร นายนรินทร์ สมบูรณ์สาร ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาองค์กรเกษตรกร สำนักพัฒนาเกษตรกร. สัมมนาเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ปี 2555 วันที่ 1 มีนาคม 2555 ณ ห้องอารี ยา โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี. วัตถุประสงค์.

Download Presentation

วัตถุประสงค์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกรนายนรินทร์ สมบูรณ์สารผู้อำนวยการส่วนพัฒนาองค์กรเกษตรกรสำนักพัฒนาเกษตรกร สัมมนาเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ปี 2555วันที่ 1 มีนาคม 2555ณ ห้องอารียา โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

  2. วัตถุประสงค์ 1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร รวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายดำเนินกิจกรรม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการประกอบอาชีพการเกษตร ให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีความมั่นคงทางอาชีพ มีความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มและชุมชน

  3. วัตถุประสงค์ 2. พัฒนาความรู้และทักษะให้กับเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพการเกษตรให้กับกลุ่มบุคคลเป้าหมาย

  4. วัตถุประสงค์ 3. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถของเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร และกลุ่มยุวเกษตรกร ให้เกิดการสร้างรายได้ในครอบครัว และลดค่าใช้จ่าย รวมถึงการกระตุ้นให้มีการออมเพิ่มขึ้น

  5. วัตถุประสงค์ 4. การยกย่องเชิดชูเกียรติ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ผลงานดีเด่นของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไปและเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร

  6. เป้าหมาย งบประมาณ : เกษตรกร จำนวน 21,714 ราย : รวมทั้งสิ้น 19,726,200 บาท (ดูรายละเอียดในแบบจัดสรรงบประมาณประกอบ)

  7. วิธีการดำเนินงาน 1. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร 1.1 เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้

  8. 1.1.1 จัดเวทีเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ระดับจังหวัด - จังหวัดดำเนินการ - เป้าหมาย 25 ราย / จังหวัด - จังหวัดคัดเลือกกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรที่มีพื้นฐานการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักชนิดเดียวกันจากแต่ละอำเภอๆ ละ 2 – 5 ราย จนครบเป้าหมาย 25 ราย - ผู้แทนกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร เป้าหมายดังกล่าวอาจมาจากผู้ประสบปัญหาการผลิต การตลาดแบบเดียวกัน หรืออาจจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันจากแต่ละอำเภอก็ได้

  9. 1.1.1 จัดเวทีเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ระดับจังหวัด (ต่อ) - จัดเวทีเครือข่ายระดับจังหวัด โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ช่วยระดมสมอง และสร้างพลังความคิดในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสร้างอำนาจต่อรองเพื่อต่อยอดทางธุรกิจได้ - งบประมาณ จังหวัดละ 25 รายๆ ละ 400 บาท 1 วัน เป็นเงิน 10,000 บาท

  10. 1.1.2 จัดเวทีเครือข่ายกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ระดับประเทศ - ส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการ - ดำเนินการในกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตร จำนวน 2 เครือข่าย 1. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรชาวสวนมะม่วง 2. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด - เป้าหมาย 50 ราย / เครือข่าย - จัดเครือข่ายละ 2 ครั้งๆ ละ 3 วัน - งบประมาณ 660,000 บาท

  11. 1.1.3 ปรับโครงสร้างหนี้กลุ่มเกษตรกร - กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร - กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร - เป้าหมายกลุ่มเกษตรกรลูกหนี้ที่ยังมีหนี้ค้างชำระทุกกลุ่ม - จังหวัดและส่วนกลางดำเนินการร่วมกัน - งบประมาณ 211,400 บาท

  12. วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 2. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้

  13. 2.1 จัดสัมมนาสมัชชากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับประเทศ ภายใต้หัวข้อ “4 ทศวรรษกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของ กรมส่งเสริมการเกษตร” - ส่วนกลางดำเนินการ - เป้าหมาย 1,030 ราย จังหวัด/เขตคัดผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก (1) ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับอำเภอ อำเภอละ 1 ราย จำนวน 882 ราย (2) ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด จังหวัดละ 1 ราย จำนวน 77 จังหวัด (3) ผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต จำนวน 11 ราย (4) คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต 6 เขต เขตละ 10 ราย จำนวน 60 ราย

  14. 2.1 จัดสัมมนาสมัชชากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับประเทศ ภายใต้หัวข้อ “4 ทศวรรษกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของ กรมส่งเสริมการเกษตร” (ต่อ) - ระยะเวลา 3 วัน - งบประมาณ 3,399,000 บาท - กิจกรรม -- บรรยายพิเศษให้ความรู้ -- เลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับประเทศชุดใหม่ -- แสดงกิจกรรมและศักยภาพของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ของกรมส่งเสริมการเกษตร

  15. 2.2 จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต - สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 – 6 ดำเนินการ - เป้าหมาย ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดละ 1 ราย จากทุกจังหวัดที่สังกัดในเขตนั้น - กิจกรรม -- อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ (1) บทบาทหน้าที่คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต (2) การทำงานเชื่อมโยงให้เกิดเครือข่ายระหว่างจังหวัดและเขต -- เลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต

  16. 2.2 จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต (ต่อ) - ระยะเวลา 2 วัน / เขต - งบประมาณ เขต 1 19,800 บาท เขต 2 17,600 บาท เขต 3 19,800 บาท เขต 4 44,000 บาท เขต 5 30,800 บาท เขต 6 37,400 บาท

  17. 2.3 จัดอบรมถ่ายทอดความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด - จังหวัดดำเนินการ - เป้าหมาย คัดเลือกผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและคณะกรรมการบริหารกลุ่ม อำเภอละ 5 ราย - กิจกรรม -- อบรมให้ความรู้เรื่อง (1) บทบาทหน้าที่คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับจังหวัด (2) การทำงานเชื่อมโยงระหว่างอำเภอและจังหวัด -- เลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด

  18. 2.3 จัดอบรมถ่ายทอดความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด (ต่อ) - ระยะเวลา จังหวัดละ 1 วัน - งบประมาณ อำเภอละ 5 รายๆ ละ 400 บาท (ดูรายละเอียดในแบบจัดสรรงบประมาณประกอบ)

  19. วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 3. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร 3.1 พัฒนาองค์กรยุวเกษตรกร ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้

  20. 3.1.1 พัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร (1 อำเภอ 1 กลุ่ม) - อำเภอดำเนินการ - เป้าหมาย 15 ราย / กลุ่ม - ดำเนินการในกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน สพฐ. หรือ โรงเรียน ตชด. ก็ได้ รวมทั้งกลุ่มยุวเกษตรกรนอกโรงเรียน - กิจกรรม -- อบรมหลักสูตร (1) การตั้งกลุ่มยุวเกษตรกร (2) การบริหารงานกลุ่มยุวเกษตรกร (3) การจดบันทึก (4) การทำบัญชีรับจ่าย (5) ความรู้พื้นฐานด้านการเกษตรและเคหกิจเกษตร

  21. 3.1.1 พัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร (1 อำเภอ 1 กลุ่ม) (ต่อ) - กิจกรรม -- ค่าวัสดุการเกษตร กลุ่มละ 3,000 บาท (1) ค่าวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน (2) ค่าพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา (3) ค่าวัสดุแปรรูปสินค้าเกษตรด้านเคหกิจเกษตร - อำเภอต้องเข้าไปนิเทศงาน / ถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่องทุกเดือนในกลุ่มยุวเกษตรกรที่ได้รับงบประมาณดำเนินการ ปี 2555

  22. 3.1.2 สัมมนาเพิ่มสมรรถนะที่ปรึกษายุวเกษตรกร - คัดเลือกที่ปรึกษายุวเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นระดับ จังหวัดและที่ปรึกษาคณะกรรมการสภายุวเกษตรกร ระดับประเทศ เพื่อเข้าร่วมการสัมมนา - ส่วนกลางดำเนินการ - จำนวน 89 รายๆ ละ 1,100 บาท 1 ครั้ง 3 วัน เป็นเงิน 293,700 บาท

  23. 3.2 สร้างโอกาสและเผยแพร่งานยุวเกษตรกร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้

  24. 3.2.1 ชุมนุมยุวเกษตรกรระดับเขต - สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 – 6 ดำเนินการ - เป้าหมาย เขต 1, 2, 3 เขตละ 100 ราย เขต 4, 5, 6 เขตละ 150 ราย - ระยะเวลา 4 วัน - ผู้เข้าร่วมชุมนุมประกอบด้วย คณะกรรมการสภายุวเกษตรกรและที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรระดับจังหวัดทุกจังหวัดที่สังกัดในแต่ละเขต โดยเขตพิจารณาบริหารโควต้าให้แต่ละจังหวัดเข้าร่วมตามจำนวนที่เห็นว่าเหมาะสม

  25. 3.2.1 ชุมนุมยุวเกษตรกรระดับเขต (ต่อ) - งบประมาณ ผู้เข้าร่วมชุมนุมคนละ 1,100 บาท / วัน - กิจกรรม -- ถ่ายทอดความรู้ -- แข่งขันตอบปัญหา / เกม / ความรู้ความสามารถ ในการแสดงออก -- ประชุมและเลือกตั้งคณะกรรมการสภายุว เกษตรกรระดับเขต

  26. 3.2.2 ชุมนุมยุวเกษตรกรบนพื้นที่สูง - สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการ - เป้าหมาย 180 ราย - ระยะเวลา 4 วัน - ผู้เข้าร่วมชุมนุมประกอบด้วย -- คณะกรรมการสภายุวเกษตรกรในจังหวัดลำพูน แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตาก น่าน กาญจนบุรี พะเยา และเชียงใหม่ รวมทั้งที่ปรึกษายุวเกษตรกรด้วย -- สสข. 6 จังหวัดเชียงใหม่พิจารณาจัดสรรโควต้าตามความเหมาะสมให้กับจังหวัดเป้าหมาย

  27. 3.2.2 ชุมนุมยุวเกษตรกรบนพื้นที่สูง (ต่อ) - งบประมาณ ผู้เข้าร่วมชุมนุมคนละ 1,100 บาท / วัน รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 792,000 บาท - กิจกรรม -- ถ่ายทอดความรู้ -- แข่งขันตอบปัญหา / เกม / ความรู้ความสามารถ ในการแสดงออกด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี และ วัฒนธรรมท้องถิ่น -- ประชุมยุวเกษตรกรบนพื้นที่สูง

  28. 3.2.3 การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ - ส่วนกลาง ดำเนินการแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2555 ที่พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี - เป้าหมาย 5,000 ราย - งบประมาณ 200,000 บาท

  29. 3.3 การส่งเสริมองค์กรยุวเกษตรกรกับต่างประเทศ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 3.3.1 การแลกเปลี่ยนยุวเกษตรกรกับต่างประเทศ (1) เตรียมความพร้อมผู้นำเยาวชนเกษตรไปฝึกงานตามความข้อตกลง โดยรับสมัครและดำเนินการสอบคัดเลือกยุวเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมพื้นฐานโครงการฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรไทยในครอบครัวเกษตรกรญี่ปุ่น โดยฝึกอบรมด้านการเกษตรและภาษาญี่ปุ่น จำนวน 13 ราย ระยะเวลา 81 วัน เป็นเงิน 384,670 บาท

  30. (2) อบรมภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแก่เยาวชนเกษตรกร (โคอิบูจิ) โดยรับสมัครยุวเกษตรกร ที่ปรึกษายุวเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานยุวเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วม โครงการ และสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับการอบรมภาษาและ วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตร จังหวัด กาญจนบุรี จำนวน 8 รายๆ ละ 1,100 บาท ระยะเวลา 10 วัน เป็นเงิน 88,000 บาท

  31. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ยุวเกษตรกร 1. เป็นสมาชิกยุวเกษตรกรไม่น้อยกว่า 3 ปี 2. อายุ 20 – 35 ปี 3. พูดภาษาอังกฤษได้บ้าง 4. สุขภาพแข็งแรง ที่ปรึกษายุวเกษตรกร 1. อายุไม่เกิน 45 ปี 2. คุณสมบัติข้ออื่นเหมือนยุวเกษตรกร

  32. 3.3.2 รับยุวเกษตรกรต่างประเทศฝึกอบรมในไทย กรมส่งเสริมการเกษตรรับเป็นเจ้าภาพการฝึกอบรมของ ยุวเกษตรกรสาธารณรัฐเกาหลี 4 ราย และยุวเกษตรกรญี่ปุ่น (วิทยาลัยเกษตรกรรมโคอิบูจิ) 27 ราย รวมเป็น 31 รายๆ ละ 1,100 บาท ระยะเวลา 14 วัน เป็นเงิน 477,400 บาท

  33. วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 4. การประกวดเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรดีเด่น 4.1 คัดเลือกผลงานเกษตรกรดีเด่น/บุคคลทางการเกษตรดีเด่นระดับจังหวัด/เขต/ประเทศ จำนวน 5 สาขาอาชีพ ประกอบด้วย 1) สาขาอาชีพทำสวน 2) สาขาอาชีพทำไร่ 3) สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม 4) ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร 5) สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร

  34. วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 4.2 คัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด/เขต/ประเทศ จำนวน 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) กลุ่มยุวเกษตรกร 2) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4.3 ส่วนกลางนำเสนอผลการคัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่นและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นระดับเขตต่อคณะกรรมการพิจารณาผลงานเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติพิจารณาต่อไป

  35. ระดับจังหวัด ค่าเงินรางวัลอันดับที่หนึ่ง จำนวน 7 ประเภทๆ ละ 1,000 บาท : 77 จังหวัด เป็นเงิน 539,000 บาท ระดับเขต ค่าใช้จ่ายในการประกวดเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร : เขต 1,2,3 เขตละ 80,000 บาท เป็นเงิน 240,000 บาท : เขต 4,5,6 เขตละ 130,000 บาท เป็นเงิน 390,000 บาท ระดับประเทศ ค่าใช้จ่ายในการประกวดเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร/เงินรางวัล เป็นเงิน 755,630 บาท

  36. ผลผลิต (OUTPUT) เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรได้รับองค์ความรู้และทักษะ ในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ภาระหนี้สินลดลง มีรายได้พอเพียงครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

  37. ผลลัพธ์ (OUTCOME) ครัวเรือนเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

  38. ผู้ประสานงานโครงการ 1. นายนรินทร์ สมบูรณ์สาร ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาองค์กรเกษตรกร โทรศัพท์ 0 2955 1637 2. นายประวิช จรดำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนากลุ่มเกษตรกร โทรศัพท์ 0 2561 4794 3. นางจุฑาพร ศรีวิพัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โทรศัพท์ 0 2579 7545 4. นายสมเกียรติ วิจิตรประเสริฐ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร โทรศัพท์ 0 2561 4793

More Related