1 / 15

กระบวนการเขียน

กระบวนการเขียน. วิภา ตัณฑุล พงษ์ E-mail : wipa.tantun@gmail.com สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ความหมาย “กระบวนการเขียน”. กระบวนการเขียน ........ คือ ขั้นตอนการปฏิบัติการเขียน ซึ่งถ้าปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว

Download Presentation

กระบวนการเขียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการเขียน วิภา ตัณฑุลพงษ์ E-mail : wipa.tantun@gmail.comสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

  2. ความหมาย “กระบวนการเขียน” กระบวนการเขียน ........ คือ ขั้นตอนการปฏิบัติการเขียน ซึ่งถ้าปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเขียน

  3. ลักษณะพิเศษของกระบวนการเขียนลักษณะพิเศษของกระบวนการเขียน • ไม่ใช่กระบวนการที่เป็นเส้นตรง • เป็นกระบวนการที่กลับไปกลับมาได้ เริ่มจากขั้นแรกไปจนถึงขั้นใดก็ตาม ก็สามารถกลับมาที่ขั้นแรก แล้วข้ามไปขั้นอื่นๆได้อีก

  4. ขั้นตอนของกระบวนการเขียนขั้นตอนของกระบวนการเขียน กระทรวงศึกษาธิการ (2546: 189) เสนอ แนวการสอนเขียนโดยใช้กระบวนการเขียน 5 ขั้น ดังนี้1.การเตรียมการเขียน เป็นขั้นการเลือกหัวเรื่องที่จะเขียนโดยอาศัย พื้นฐานประสบการณ์ กำหนดรูปแบบการเขียน รวบรวมความคิดในการเขียน(โดยอาศัยการอ่านหนังสือหรือการสนทนา) จัดหมวดหมู่ความคิดและเขียนเป็นแผนภาพความคิด หรือจดบันทึกความคิดที่จะเขียนเป็นรูปหัวข้อเรื่องใหญ่ หัวข้อย่อยและรายละเอียดคร่าวๆ

  5. 2.การยกร่างข้อเขียน เป็นขั้นการนำความคิดมา • เขียนตามรูปแบบที่กำหนด โดยคำนึงถึงว่าจะเขียนให้ใครอ่าน จะใช้ภาษาอย่างไรให้เหมาะกับเรื่องและผู้อ่าน จะเริ่มต้นอย่างไร ลำดับความคิดอย่างไรและเชื่อมโยงความคิดอย่างไร • 3. การปรับปรุงข้อเขียน เพื่อยกร่างข้อเขียนแล้วก็อ่านทบทวนหรือนำไปให้เพื่อนหรือผู้อื่นอ่านเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ แล้วจึงปรับปรุงโดยการเพิ่มเติมความคิดให้สมบูรณ์

  6. 4. การบรรณาธิการกิจ เป็นขั้นการนำข้อเขียนที่ปรับปรุงแล้วมาตรวจทานแก้ไขคำผิด รวมทั้งข้อผิดพลาดทางภาษาและการเว้นวรรคตอน • 5. การเขียนให้สมบูรณ์ เป็นขั้น การเขียนเรื่องให้สมบูรณ์ สวยงาม เป็นระเบียบ หรือจัดพิมพ์ และจัดทำเป็นรูปเล่ม

  7. กระบวนการเขียน ๕ ขั้นตอน ๑. การเตรียมการก่อนเขียน ( Prewriting ) ๒. การร่างข้อเขียน (Drafting / Writing ) ๓. การปรับปรุง ( Revising ) ๔. การแก้ไขหรือการตรวจทาน ( Editing / Proofreading ) ๕. การเผยแพร่ ( Publishing )

  8. กระบวนการเขียน ๕ ขั้นตอน (ต่อ) 1.การเตรียมการก่อนเขียน มีกลวิธีต่างๆที่ใช้ในการสำรวจความคิดได้ดังนี้ 1) การระดมสมอง 2) การสร้างแผนภาพ 3) การสัมภาษณ์ผู้รู้ 4) การเข้าร่วมอภิปราย 5) การฟังดนตรี 6) การประชุมปรึกษาหารือ 7) การเขียนอย่างอิสระ 8) การย้อนคิดทบทวนจากประสบการณ์ 9) การดูตัวแบบการเขียน

  9. 10) การจัดทำรายการ 11) การจัดประเภทสารสนเทศ 12) การแสดงความรู้สึกตอบสนองจากการอ่านวรรณคดี 13) การเล่นบทบาทสมมติหรือแสดงละคร 14) การอ่านหนังสือ 15) การดูสื่อต่างๆ 16) การใช้คำถาม ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไรอย่างไร ทำไม • กลวิธีดังกล่าวนี้ใช้เป็นหลักสำหรับนักเรียนที่ยังขาดประสบการณ์การเขียน ที่มีความยุ่งยากในการเข้าถึงความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์และความรู้จะช่วยให้นักเรียนมีจุดเริ่มต้นและตระหนักถึงแหล่งที่จะได้ความคิดในวันข้างหน้า

  10. 2. การร่างข้อเขียน การร่างครั้งแรกมุ่งที่ความหมายและความต่อเนื่องทางความคิดในขณะเขียน ควรสนับสนุนให้นักเรียนเขียนถึงความหมายที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ในระหว่างการร่าง ครูควรแนะให้นักเรียนทำในสิ่งต่อไปนี้ 1)เขียนเพื่อสื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมาเท่าที่ จะทำได้ 2)เป็นตัวของตัวเอง โดยเขียนจากแนวความคิด ของตนเอง 3) เขียนให้เสมือนกับการเล่าให้ผู้อ่านฟัง

  11. การแปลความคิดออกมาเป็นข้อเขียนทั้งการร่างครั้งแรกและครั้งต่อไป นักเรียนอาจใช้วิธีต่อไปนี้ช่วยทำให้สะดวกขึ้นได้แก่ 1)การใช้แผนภาพบันทึกความคิดที่เกิดขึ้น ใหม่เพิ่มเติมหรือขยายความจากเดิม 2)การเขียนอย่างอิสระอย่างรวดเร็วโดยไม่ ต้องหยุดตรวจสอบ 3)การเขียนให้เหมือนกับเขียนจดหมาย ส่วนตัวให้กับเพื่อน จะช่วยให้นักเรียน รู้สึกปลอดโปร่งที่จะเขียน

  12. 4) การประชุมปรึกษาหารือมีการสนทนาถึงความคิดของนักเรียนกับครูและเพื่อนๆอาจช่วยให้นักเรียนรู้ว่าจะเริ่มต้นร่างอย่างไร4) การประชุมปรึกษาหารือมีการสนทนาถึงความคิดของนักเรียนกับครูและเพื่อนๆอาจช่วยให้นักเรียนรู้ว่าจะเริ่มต้นร่างอย่างไร 5) การย้อนคิดทบทวนและการตั้งคำถาม นักเรียนหยุดเขียนแล้วถามตนเองว่าเขียนอะไรไปแล้วบ้าง ถ้าจะเขียนเพิ่มเติมหรือเขียนให้แตกต่างออกไปจะเขียนอย่างไร วิธีนี้ช่วยให้นักเรียนเขียนต่อเนื่องไปได้อีก

  13. 3. การปรับปรุงหรือขั้นการทำให้ดีขึ้น มีสิ่งที่ควรปฏิบัติดังนี้ 1)อ่านซ้ำเขียนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง 2)คิดถึงสิ่งที่ผู้อื่นแนะนำ 3)เรียบเรียงคำหรือประโยคเสียใหม่ 4)ตัดออกหรือเพิ่มเติมบางส่วน 5)เปลี่ยนคำที่ใช้บ่อยเกินไปหรือ คำที่ไม่ชัดเจน 6)อ่านข้อเขียนดังๆเพื่อฟังว่าข้อเขียน ของท่าน

  14. 4.การตรวจทานหรือขั้นการทำให้ถูกต้อง มีสิ่งที่ควรปฏิบัติดังนี้ 1)มั่นใจว่า ทุกประโยคเป็นประโยค สมบูรณ์ 2)สะกดคำให้ถูก และเครื่องหมายวรรค ตอนให้ถูก 3)เปลี่ยนคำที่ใช้ไม่ถูกต้อง 4)ให้ผู้อื่นตรวจสอบคำ 5)ทำฉบับใหม่ที่ถูกจ้องและเรียบร้อย

  15. 5.การเผยแพร่หรือขั้นการแลกเปลี่ยนผลงาน มีสิ่งที่ควรปฏิบัติดังนี้ 1)อ่านออกเสียงให้กลุ่มฟัง 2)สร้างเป็นหนังสือ 3)ส่งให้เพื่อนหรือญาติอ่าน

More Related