380 likes | 546 Views
จัดทำโดย ว่าที่ ร.ต. นพดล เวศวงศ์ษาทิพย์ รหัส 54631113 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ROUTER.
E N D
จัดทำโดย ว่าที่ ร.ต. นพดล เวศวงศ์ษาทิพย์ รหัส 54631113 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
ROUTER เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ LAN (Local Area Network)หลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับ Switch แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมา คือ Router สามารถเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ใช้ media หรือสายส่งต่างชนิดกัน เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ Unshielded Twisted Pair (UTP) เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายส่งข้อมูลแบบ coaxial cable ได้ Router มีการทำงานในระดับชั้นที่ 3 ของ OSI (Open Systems Interconnection ) คือ Network Layer และสามารถรับส่งข้อมูลที่เป็นกลุ่มข้อมูลหรือ Frame จากต้นทางไปยังปลายทางได้
บทบาทของ Router อุปกรณ์ Router มีหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายที่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะต่างหรือเหมือนกันในด้านกายภาพก็ตาม การเชื่อมโยงนี้มีหลายลักษณะส่วนใหญ่แล้วจะเชื่อมโยงกันโดยผ่านบริการ Wide Area Network service (WAN service) • เช่น การเชื่อมโยงด้วยบริการ • ISDN (integrated Services Digital Network), • Frame Relay, point-to-point leased circuit, • บริการเครือข่าย X.25 หรือ แม้กระทั่ง ATM (Asynchronous Transfer Mode)
เมื่ออุปกรณ์ Router ได้รับข้อมูลหรือ data packet มาจากพอร์ตเชื่อมต่อจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน ด้วยขบวนการคำนวณ checksum ถ้าข้อมูลที่ใดผิดพลาดก็จะยกเลิกการทำงานและไปอ่าน data packet ใหม่แล้วจึงกลับเข้ามาทำงานต่อ ถ้าขบวนการ checksum ถูกต้องก็จะทำงานในขั้นต่อไป บทบาทการทำงานของ Router
Router จะพิจารณาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลของ data packet นี้ว่าต้องส่งออกไปยังเครือข่ายอื่นอย่างไร ในขั้นตอนนี้ Router จะตรวจสอบและทำการคำนวณค่าจากข้อมูล routing table ของตน คือจาก "ตารางข้อมูลของเส้นทางการส่งผ่านข้อมูล" ซึ่งเรียกว่า routing table ปรับปรุงข้อมูลพิจารณาเส้นทางตาม "ขบวนการพิจารณาเส้นทางส่งผ่านข้อมูล" เรียกว่า routing algorithm เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วจะทำงานในขั้นต่อไป บทบาทการทำงานของ Router
• นำข้อมูล data packet ที่ทราบว่าต้องส่งผ่าน data packet นี้ไปอย่างไร ลงในลำดับหรือ queue เพื่อรอการส่งต่อออกไป • นอกจากนี้ Router ยังมีการรับและส่งข้อมูล routing table ระหว่าง Router ตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากเครือข่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เส้นทางการส่งข้อมูลที่ดีที่สุดอาจเป็นเส้นทางที่ใช้ไม่ได้ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนี้ จะมีการติดต่อกันโดยใช้โปรโตคอลพิเศษคุยกันเรียกว่า routing protocol หรือโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล บทบาทการทำงานของ Router
การกำหนดเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลแบบตายตัว หรือ static route นี้เป็นการระบุเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล โดยผู้ดูแลระบบเป็นผู้คิดและจัดทำขึ้น ให้แต่ละการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายและเครื่องปลายทางมีเส้นทางที่ตายตัว จากนั้นเก็บเป็นข้อมูลเส้นทางลงเป็น routing table ใน router ข้อมูลดังกล่าวจะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงระหว่างการทำงานของ Router ได้ แม้ว่าเครื่องปลายทางจะมีปัญหาหรือวงจรเชื่อมโยงบางช่วงจะล่มไปก็ตาม การระบุเส้นทางด้วย Static Route และ Routing Protocol
2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภท interior routing protocol และ exterior routing protocol ประเภทต่างๆของ Routing Protocol Interior Routing Protocol มักจะใช้กับเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่ โดยใช้เป็นเส้นทางการติดต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน - Distance-Vector routing protocol - Link-state routing protocol
Distance-vector Routing Protocol ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก ตัวอย่างโปรโตคอลได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol)
Link-State Routing Protocol ตัว Router จะ Broadcast ข้อมูลการเชื่อมต่อของเครือข่ายตนเองไปให้ Router อื่นๆทราบ ข้อมูลนี้เรียกว่า Link-state ซึ่งเกิดจากการคำนวณ Router ที่จะคำนวณค่าในการเชื่อมต่อโดยพิจารณา Router ของตนเองเป็นหลักในการสร้าง routing table ขึ้นมา ตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้กลไกแบบ Link-state ได้แก่ โปรโตคอล OSPF (Open Shortest Path First) บางแห่งก็เรียกว่า Intradomain routing protocol OSPF (Open Shortest Path First)
Exterior Routing Protocol การเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายหลักภายนอกและออกสู่อินเตอร์เน็ต โดยอาศัยหมายเลข AS number (Autonomous System Number)ในการติดต่อกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายเพื่อให้ Router หลักๆในอินเตอร์เน็ตเรียนรู้เส้นทางในการติดต่อส่งข้อมูล ในบางแห่งก็เรียกว่า Interdomain Routing Protocol ตัวอย่างของ Exterior Routing Protocol ได้แก่ โปรโตคอล BGP (Border Gateway Protocol)
วิธีการ Config Router • ตรวจสอบดูว่าเราได้ลงโปรแกรม Hyper Terminal หรือยัง โดยไปที่ Start->Program->Accessorie->communication->Hyper Terminal • ถ้ายังไม่ได้ติดตั้ง ให้เราทำการติดตั้ง โดยตัวโปรแกรม มาพร้อม แผ่น Windows อยู่แล้ว วิธีติดตั้งให้ไปที่ Control panel ->Add/Remove Progam->Windows Setup->communication คลิกที่ ปุ่ม Detail แล้วเลือกโปรแกรม Hyper Terminal
ตั้งค่าต่างๆให้เรียบร้อย โดย Bits per second ให้ ตั้งเป็น 9600
ตัวอย่างการเชื่อมต่อเครือข่ายตัวอย่างการเชื่อมต่อเครือข่าย
การคอนฟิก • ที่ router A ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Asite-A(config)#int s0site-A(config-if)#ip address 192.168.0.1 255.255.255.252site-A(config-if)#bandwidth 128site-A(config-if)#encapsulation pppsite-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#int e0site-A(config-if)#ip address 192.168.11.1 255.255.255.0site-A(config-if)#no shutsite-A(config-if)#exitsite-A(config)#ip route 192.168.12.0 255.255.255.0 192.168.0.2site-A(config)#exitsite-A#wr mem
การคอนฟิก • ที่ router B ให้ทำการคอนฟิกดังต่อไปนี้ :Router>Router>enaPassword:Router>conf tRouter(config)#hostname site-Bsite-B(config)#int s0site-B(config-if)#ip address 192.168.0.2 255.255.255.252site-B(config-if)#bandwidth 128site-B(config-if)#encapsulation pppsite-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#int e0site-B(config-if)#ip address 192.168.12.1 255.255.255.0site-B(config-if)#no shutsite-B(config-if)#exitsite-B(config)#ip route 192.168.11.0 255.255.255.0 192.168.0.1site-B(config)#exitsite-B#wr mem