610 likes | 1.09k Views
ระเบียบ และคำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เกี่ยวกับการเงินการบัญชี วันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ( ส่วนที่ 2). สิริวรรณ เกิดผล นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการ สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี. กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง กับสหกรณ์. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553. 1.
E N D
ระเบียบ และคำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เกี่ยวกับการเงินการบัญชี วันที่ 22 พฤษภาคม 2555 (ส่วนที่ 2) สิริวรรณ เกิดผล นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญการ สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี
กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 1 ระเบียบ คำแนะนำ นทส./กตส. 2 ข้อบังคับของสหกรณ์ 3 ระเบียบของสหกรณ์ 4 มติที่ประชุม 5
พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 มาตรา 65 บันทึกรายการเกี่ยวกับเงินสดในวันที่เกิดรายการ และ บันทึกรายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดภายใน 3 วัน นับแต่วันที่เกิดรายการ
ส่วนนำ • กำหนดเวลาทำการรับจ่ายเงิน • กำหนดผู้รับผิดชอบในการรับ - จ่าย และเก็บรักษาเงิน • การจัดทำเอกสารหลักฐาน และการบันทึกรายการ หมวด 1 ใบเสร็จรับเงิน หมวด 2 การรับเงิน • การออกใบเสร็จรับเงิน • การรับเงินของสหกรณ์ • กำหนดเงื่อนไขในใบเสร็จรับเงิน • การนำเงินสดและเอกสารการเงิน • ฝากธนาคาร • การจัดทำใบเสร็จรับเงิน • การควบคุมใบเสร็จรับเงิน • การยกเลิกใบเสร็จรับเงิน • การเก็บรักษาใบเสร็จรับเงิน • การตรวจนับใบเสร็จรับเงิน
หมวด 3 การจ่ายเงิน • การจ่ายเงินของสหกรณ์ • หลักฐานการจ่าย • กำหนดผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน หมวด 4 การเก็บรักษาเงินและเอกสารสำคัญ • กำหนดวงเงินสดที่เก็บรักษาในมือได้ในแต่ละวัน • การตรวจสอบรายการเงินสดในสมุดบัญชีเปรียบเทียบกับเงินสดในมือ • การเก็บรักษาเงินสด เอกสารการเงิน สมุดบัญชี ฯลฯ • การทำบัญชีรับจ่าย งบทดลอง งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร • เสนอที่ประชุมคณะกรรมการทุกเดือน
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วย การตัดเงินสดขาดบัญชี ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546 คำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับ เงินสดขาดบัญชี/เงินสดเกินบัญชี พ.ศ. 2546
เงินสดที่ตรวจนับ ณ วันสิ้นปีทางบัญชี หรือวันตรวจนับ มีจำนวน น้อยกว่า เงินสดคงเหลือตามบัญชี เงินสดขาดบัญชี วิธีปฏิบัติ - กรณีมีผู้รับผิดชอบ 1. ให้ผู้รับผิดชอบชดใช้เงินสดขาดบัญชี 2. ถ้าผู้รับผิดชอบยังไม่ได้ชดใช้ทันที - จัดทำหลักฐานรับสภาพความผิด ณ วันตรวจนับเงินสด - ให้มีหลักประกันการใช้คืน มูลค่าไม่น้อยกว่าเงินสดขาดบัญชี - ตั้งเป็นลูกหนี้เงินสดขาดบัญชี
ตั้งเป็นลูกหนี้เงินสดขาดบัญชีตั้งเป็นลูกหนี้เงินสดขาดบัญชี Dr. ลูกหนี้เงินสดขาดบัญชี xx Cr. เงินสด xx คาดว่าไม่สามารถชำระคืนได้ (ตั้งค่าเผื่อฯ เต็มจำนวน) Dr. หนี้สงสัยจะสูญ - ลูกหนี้เงินสดขาดบัญชี xx Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ – ลูกหนี้เงินสดขาดบัญชี xx ขอตัดหนี้สูญลูกหนี้เงินสดขาดบัญชี ปฏิบัติตามระเบียบ นทส. ว่าด้วยการตัดจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชี ลูกหนี้ของสหกรณ์ลักลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2546
วิธีปฏิบัติ – กรณีไม่มีผู้รับผิดชอบ 1. โอนเงินสดขาดบัญชีออกจากบัญชีเงินสด Dr. เงินสดขาดบัญชีxx Cr. เงินสด xx 2. กรณีค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเงินสดขาดบัญชีพบ Dr............ (ระบุบัญชีตามเอกสารการจ่ายเงิน) xx Cr. เงินสดขาดบัญชี xx
ณ วันสิ้นปีบัญชี ในกรณี ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเงินสดขาดบัญชีไม่พบ หาผู้รับผิดชอบเงินสดขาดบัญชีไม่ได้ 3. ตั้งค่าเผื่อเงินสดขาดบัญชี และค่าเสียหายจากเงินสดขาดบัญชี สหกรณ์ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเงินสดขาดบัญชีทั้งจำนวน Dr. ค่าเสียหายจากเงินสดขาดบัญชีxx Cr. ค่าเผื่อเงินสดขาดบัญชี xx
ตัวอย่าง 10 ก.พ. x1 สหกรณ์ถูกโจรกรรมเงินสด 18,000.- บาท ได้แจ้งความแล้ว ณ วันสิ้นปียังไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ 10ก.พ. x1Dr. เงินสดขาดบัญชี 18,000.- Cr. เงินสด 18,000.- 31 มี.ค. x1Dr. ค่าเสียหายเงินสดขาดบัญชี 18,000.- Cr. ค่าเผื่อเงินสดขาดบัญชี 18,000.- ให้เปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่า ......... สหกรณ์ได้มีการดำเนินการไปแล้วอย่างไร กับกรณีเงินสดขาดบัญชี
ต่อมาหาผู้รับผิดชอบได้ และได้รับชดใช้คืน 1. ตั้งเป็นลูกหนี้เงินสดขาดบัญชี Dr. ลูกหนี้เงินสดขาดบัญชีxx Cr. เงินสดขาดบัญชี xx 2. รับรู้รายได้จากการหาผู้รับผิดชอบได้ Dr. ค่าเผื่อเงินสดขาดบัญชีxx Cr. เงินสดขาดบัญชีได้รับชดใช้xx 3. เมื่อได้รับชดใช้คืน Dr. เงินสด/เงินฝากธนาคารxx Cr. ลูกหนี้เงินสดขาดบัญชีxx
ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้เป็นที่แน่นอนไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้เป็นที่แน่นอน ดำเนินการขอตัดเงินสดขาดบัญชี ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ระเบียบ นทส. ว่าด้วยการตัดเงินสดขาดบัญชีฯ พ.ศ. 2546 (ข้อ 7) หลักเกณฑ์ 1 : ดำเนินการจนถึงที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานในการหาผู้รับผิดชอบชดใช้ หรือดำเนินการติดตาม ทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว ไม่สามารถเรียกให้ผู้รับผิดชอบชดใช้ได้ หลักเกณฑ์ 2 : ตั้งค่าเผื่อเงินสดขาดบัญชีเต็มจำนวนที่จะขอตัดแล้ว ก่อนการขออนุมัติตัดบัญชี
วิธีการ : เสนอที่ประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาอนุมัติตัดเงินสดขาดบัญชี จำนวนเงินสดที่ขออนุมัติตัดบัญชี คำชี้แจงพร้อมหลักฐาน และการดำเนินการหาผู้รับผิดชอบ เหตุผลในการขอตัดบัญชี ความเห็นของคณะกรรมการดำเนินการ กำหนดวาระการประชุมใหญ่ เรื่อง การตัดเงินสดขาดบัญชี สรุปเรื่องโดยย่อ แจ้งเป็นหนังสือให้สมาชิก / ผู้แทนสมาชิก ทราบก่อนการประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยมีข้อมูลตามข้างต้นแนบท้าย
เงื่อนไข : ที่ประชุมใหญ่มีมติอนุมัติ ด้วยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มาประชุม Dr. ค่าเผื่อเงินสดขาดบัญชีxx Cr. เงินสดขาดบัญชีxx บันทึกรายงานการประชุม “ การอนุมัติตัดเงินสดขาดบัญชี เป็นเพียงการปฏิบัติทางบัญชีเท่านั้น มิได้เป็นการระงับซึ่งสิทธิเรียกร้องจากผู้ต้องรับผิดชอบต่อสหกรณ์ แต่อย่างใด”
เงินสดขาดบัญชีเนื่องจากการปัดเศษสตางค์เงินสดขาดบัญชีเนื่องจากการปัดเศษสตางค์ จ่ายเงินมากกว่ารายจ่ายจริงที่นำไปบันทึกบัญชี บันทึกจำนวนเงินที่จ่ายเกินไปเป็นค่าใช้จ่าย Dr. ค่าใช้จ่ายอื่น xx Cr. เงินสด xx
เงินสดที่ตรวจนับ ณ วันสิ้นปีทางบัญชี หรือวันตรวจนับ มีจำนวนมากกว่าเงินสดคงเหลือตามบัญชี เงินสดเกินบัญชี วิธีปฏิบัติ - กรณีไม่ทราบสาเหตุ ปรับปรุงบัญชีเงินสดให้มีจำนวนเท่ากับเงินสดที่ตรวจนับได้ Dr. เงินสดxx Cr. เงินสดเกินบัญชี xx
วิธีปฏิบัติ - กรณีค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเงินสดเกินบัญชี ค้นหาสาเหตุพบ Dr.เงินสดเกินบัญชี xx Cr. …... (ระบุบัญชีตามเอกสารการรับเงิน) xx ค้นหาสาเหตุไม่พบ ให้คงบัญชีเงินสดเกินบัญชีไว้จนกว่าจะพ้นอายุความเรียกร้องสิทธิ์ เมื่อพ้นอายุความแล้วไม่มีผู้ใช้สิทธิ์เรียกร้อง ให้โอนเป็นรายได้อื่น Dr. เงินสดเกินบัญชี xx Cr. รายได้อื่น xx
เงินสดเกินบัญชีเนื่องจากการปัดเศษสตางค์เงินสดเกินบัญชีเนื่องจากการปัดเศษสตางค์ ได้รับเงินมากกว่ารายรับจริงที่นำไปบันทึกบัญชี บันทึกจำนวนเงินที่ได้รับเกินมาเป็นรายได้อื่น Dr. เงินสด xx Cr. รายได้อื่น xx
คำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์คำแนะนำกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน พ.ศ. 2544
หลักทรัพย์ที่สหกรณ์ถือไว้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้รับ ประโยชน์ในรูปของรายได้ หรือผลตอบแทนอื่น เงินลงทุน นำเงินไปลงทุน บันทึกด้วยราคาทุน Dr. เงินลงทุน Cr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร งบดุล – แยกเป็น เงินลงทุนระยะสั้น /เงินลงทุนระยะยาว หมายเหตุประกอบงบการเงิน – แสดงรายละเอียด แยกเป็น เงินลงทุนที่อยู่ในความต้องการของตลาด เงินลงทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด
การนำเงินไปลงทุน รายจ่ายซื้อเงินลงทุน บวก ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม ค่าภาษีอากร ราคาทุน การรับผลตอบแทนจากการลงทุน รับรู้รายได้จากการลงทุนเป็น ดอกเบี้ย เงินปันผล
อยู่ในความต้องการ ไม่อยู่ในความต้องการ ของตลาดหลักทรัพย์ ของตลาดหลักทรัพย์ มูลค่ายุติธรรม ราคาทุน มูลค่ายุติธรรม ราคาทุน ปรับมูลค่าเงินลงทุน การตีราคา & การปรับมูลค่าเงินลงทุน ณ วันสิ้นปีทางบัญชี บันทึกบัญชี “ ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน ” กับ “ กำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น ” ***รับรู้เป็นรายได้ หรือ ค่าใช้จ่ายเมื่อจำหน่ายเงินลงทุน***
การปรับมูลค่าเงินลงทุน ณ วันสิ้นปีทางบัญชี 1. ราคาทุน > มูลค่ายุติธรรม (ส่วนต่ำกว่าทุน/ผลขาดทุนจากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น) Dr. กำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น Cr. ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน 2. ราคาทุน < มูลค่ายุติธรรม (ส่วนเกินทุน/ผลกำไรจากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น) Dr. ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน Cr. กำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น ตั้งเป็นบัญชีพักไว้จนกว่าจะจำหน่ายเงินลงทุนได้ จึงรับรู้เป็นรายได้/ค่าใช้จ่าย
สหกรณ์ลงทุนถือหุ้น 500 หุ้น หุ้นละ 100 บาท • 31 ธค.54 หุ้นมีราคาตลาด 150 บาท ต่อหุ้น ราคาทุน 50,000 บาท มูลค่ายุติธรรม 75,000 บาท ผลต่าง 25,000 บาท Dr. ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน 25,000 Cr. กำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น 25,000 ค่าเผื่อการปรับฯ - แสดงเป็นรายการปรับมูลค่าเงินลงทุน กำไร(ขาดทุน)ฯ - แสดงรายการในส่วนทุนของสหกรณ์
ตราสารทุน การลงทุน ตราสารทางการเงินที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือเพื่อระดมเงินทุน โดยผู้ถือมีความผูกพันในฐานะเจ้าของกิจการ รวมทั้งมีส่วนได้เสีย/สิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น ตราสารหนี้ ตราสารทางการเงินที่ลูกหนี้ออกให้กับเจ้าหนี้ เพื่อแสดงสิทธิที่เจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในตราสารนั้น ๆ พันธบัตร รัฐบาล หุ้นกู้ เอกชน
ตลาดตราสารหนี้ ตลาดรอง ตลาดแรก ตลาดที่มีการเปลี่ยนมือของตราสารหนี้ระหว่างผู้ลงทุนด้วยกัน ตลาดที่ทำการซื้อขายเฉพาะตราสารหนี้ที่ผู้ออกเปิดขายเป็นครั้งแรก ตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายผ่านตลาดแรกมาแล้ว ซื้อตราสารหนี้จากองค์กรหรือบริษัทเป็นผู้ออกโดยตรง 27
การเปรียบเทียบการลงทุนการเปรียบเทียบการลงทุน
1. มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value) มูลค่าที่ผู้กู้ต้องจ่ายชำระคืนให้กับผู้ถือตราสารหนี้เมื่อครบกำหนด 2. อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) อัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้มีภาระต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้ตามงวดเวลา 3. งวดการจ่ายดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Frequency) จำนวนครั้งของการจ่ายดอกเบี้ยต่อปี ขึ้นอยู่กับข้อกำหนด องค์ประกอบของตราสารหนี้
4. วันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Date) วันหมดอายุของตราสารนั้น ผู้ออกต้องจ่ายคืนทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 5. ชื่อผู้ออก (Issuer) ชื่อผู้ออกตราสาร ซึ่งอยู่ในสถานะผู้กู้ / ลูกหนี้ 6. ประเภทของตราสาร ข้อมูลที่ระบุประเภทของตราสารหนี้ 7. ข้อสัญญา (Covenants) ข้อปฏิบัติ / งดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด องค์ประกอบของตราสารหนี้
พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ประเภทผู้ออก รัฐบาล / องค์กรภาครัฐ หุ้นกู้ เอกชน การจ่ายดอกเบี้ย จ่ายดอกเบี้ยประจำตามงวดที่กำหนด จ่ายดอกเบี้ยทบต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน สิทธิเรียกร้อง หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ สิทธิเรียกร้อง หุ้นกู้มีหลักประกัน หุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน ประเภทของตราสารหนี้ หุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ ด้อยสิทธิ หุ้น บุริมสิทธิ หุ้น สามัญ
ตราสารหนี้ การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน สัญญาที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและ ทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสด / สินทรัพย์อื่นให้แก่ผู้ถือตราสาร ตามจำนวนและเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้โดยชัดเจน / โดยปริยาย
การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน หลักทรัพย์ / เงินลงทุนในความต้องการของตลาด • มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายคล่อง • กำหนดมูลค่ายุติธรรมได้ทันที • ราคาขาย/ราคาเสนอซื้อ-ขาย มีการเผยแพร่ที่เป็นปัจจุบันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย/ตลาดหลักทรัพย์อื่นต่อสาธารณชน
ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด • เงินลงทุนที่กิจการมีความตั้งใจแน่วแน่และมีความสามารถที่จะถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน ราคาทุนตัดจำหน่าย ราคาทุนของตราสารหนี้ที่ได้มาหรือโอนมาตั้งแต่เริ่มแรกหักเงินต้นที่จ่ายคืนและบวกหรือหักค่าตัดจำหน่ายสะสมของส่วนต่างระหว่างราคาทุนเริ่มแรกกับมูลค่าที่ตราไว้ การตัดจำหน่ายส่วนต่างต้องใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง หรือวิธีอื่นที่ให้ผลไม่แตกต่างจากวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอย่างมีนัยสำคัญ การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง • วิธีหาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ซึ่งเป็นอัตราคงที่ตลอดอายุของตราสารหนี้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง • อัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตเท่ากับราคาตามบัญชีของตราสารหนี้ การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
ตราสารหนี้ทุกชนิดและตราสารทุนที่อยู่ในความต้องการของตลาดตราสารหนี้ทุกชนิดและตราสารทุนที่อยู่ในความต้องการของตลาด • หลักทรัพย์เพื่อค้า • หลักทรัพย์เผื่อขาย • ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด ตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด • เงินลงทุนทั่วไป การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน การจัดประเภทเงินลงทุน
การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน การแสดงรายการเงินลงทุนในงบดุลและการรับรู้มูลค่า การแสดงรายการเงินลงทุนอาจเป็นเงินลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาวก็ได้แล้วแต่กรณี
กรณีลงทุนด้วยราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในตราสารหนี้กรณีลงทุนด้วยราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในตราสารหนี้ 1. บันทึกเงินลงทุนด้วยจำนวนเงินที่จ่ายซื้อ Dr. บัญชีตราสารหนี้ ...(ระบุชื่อ) ... Cr. บัญชีเงินสด/เงินฝากธนาคาร 2. บันทึกดอกเบี้ยรับตามงวดระยะเวลาที่กำหนด และให้ตัดจำหน่ายส่วนเกินจากการได้มาซึ่งเงินลงทุน Dr. บัญชีเงินสด/เงินฝากธนาคาร Cr. บัญชีดอกเบี้ยรับ ... (ระบุตราสารหนี้)... บัญชีตราสารหนี้ ... (ระบุชื่อ) ... การบันทึกบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด 38
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี - กรณีลงทุนซื้อสูงกว่ามูลค่า วันที่ 7 ม.ค. 54 สหกรณ์ ก จ่ายเงินสดซื้อหุ้นกู้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ราคาซื้อ 416,000 บาท มูลค่าหุ้นกู้ที่ตราไว้ 400,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 12 % ต่อปี กำหนดจ่ายทุกวันที่ 31 ธันวาคม ราคายุติธรรมของหุ้นกู้ ณ วันที่31 ธ.ค. 2555 คือ 420,000 และสหกรณ์ได้จำหน่ายหุ้นกู้วันที่ 1 ก.พ. 2555 ในราคา 450,000 บาท 39
มูลค่าหุ้นกู้ 400,000 คูณ อัตราดอกเบี้ย 12.00 % ดอกเบี้ยรับ 48,000 ตัวอย่างการบันทึกบัญชี (ต่อ) การคำนวณดอกเบี้ยรับ
ดอกเบี้ยรับตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง หาข้อมูลได้จากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทุน หรืออาจคำนวณได้โดยใช้สูตรดังนี้ ( ให้ผลไม่แตกต่างอย่างมีสาระสำคัญ) R + ( F-P ) n YTM = ( F+P ) 2 YTM = อัตราผลตอบแทนจากวันซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน R = ดอกเบี้ยรับในแต่ละปี F = Face Value / ราคาที่ระบุไว้ในพันธบัตร P = ราคาซื้อขายในตลาด n = ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ∴ อัตราดอกเบี้ยรับ = 10.98 % ตัวอย่างการบันทึกบัญชี (ต่อ) 41
7 ม.ค. 54 บันทึกการจ่ายเงินซื้อหุ้นกู้บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) Dr. บัญชีหุ้นกู้บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) 416,000 Cr. บัญชีเงินสด 416,000 31 ธ.ค. 54 บันทึกดอกเบี้ยรับ และตัดจำหน่ายส่วนเกินมูลค่า ฯ Dr. บัญชีเงินสด 48,000 Cr. บัญชีหุ้นกู้บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) 2,323.20 บัญชีดอกเบี้ยรับหุ้นกู้ฯ 45,676.80 ตัวอย่างการบันทึกบัญชี(ต่อ) 42
31 ธ.ค. 54 หุ้นกู้มีราคายุติธรรม 420,000 บาท ราคาตามบัญชี 31 ธ.ค. 54 413,676.80บาท หัก ราคายุติธรรมของหุ้นกู้ฯ 420,000.00 บาท ผลต่าง (ราคาตามบัญชี<มูลค่ายุติธรรม) 6,323.20 บาท ตัวอย่างการบันทึกบัญชี(ต่อ) เกิดผลต่าง กำไร(ขาดทุน)ที่ยังไม่เกิดขึ้นในงบดุล แสดงส่วนของทุน 43
บันทึกบัญชีผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้ Dr. บัญชีค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ 6,232.20 Cr. บัญชีกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุน 6,323.20 ในตราสารหนี้ที่ยังไม่เกิดขึ้น 1 ก.พ. 55 จำหน่ายหุ้นกู้บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ในราคา 450,000 บาท สหกรณ์ต้องคำนวณกำไร (ขาดทุน) จากการจำหน่ายหุ้นกู้ฯ และโอนปิดบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้ทั้งหมด ได้แก่ บัญชีกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในตราสารหนี้ ที่ยังไม่เกิดขึ้น และบัญชีค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ ตัวอย่างการบันทึกบัญชี(ต่อ) การเปิดเผยหมายเหตุประกอบงบการเงิน 1. นโยบายการบัญชี : หุ้นกู้บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน)แสดงด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย 44
การคำนวณ ตัวอย่างการบันทึกบัญชี(ต่อ) ผลตอบแทนที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นกู้ 450,000.00บาท หัก ราคาตามบัญชี 31 ธ.ค. 54 413,676.80 บาท ผลต่าง (ผลตอบแทนที่ได้รับ > ราคาตามบัญชี 36,323.20 บาท เกิดผลต่าง กำไรจากการจำหน่ายหุ้นกู้บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) 45
บันทึกบัญชีผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้ Dr. บัญชีเงินสด 450,000 บัญชีกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุน 6,323.20 ในตราสารหนี้ที่ยังไม่เกิดขึ้น ตัวอย่างการบันทึกบัญชี(ต่อ) Cr. บัญชีหุ้นกู้บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) 413,676.80 บัญชีค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ 6,323.20 กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุน 36,323.20 46
กรณีลงทุนด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในตราสารหนี้กรณีลงทุนด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในตราสารหนี้ 1. บันทึกเงินลงทุนด้วยจำนวนเงินที่จ่ายซื้อ Dr. บัญชีตราสารหนี้ ...(ระบุชื่อ) ... Cr. บัญชีเงินสด/เงินฝากธนาคาร 2. บันทึกดอกเบี้ยรับตามงวดระยะเวลาที่กำหนด และให้ตัดจำหน่ายส่วนลดจากการได้มาซึ่งเงินลงทุน Dr. บัญชีเงินสด/เงินฝากธนาคาร บัญชีตราสารหนี้ ... (ระบุชื่อ) ... Cr. บัญชีดอกเบี้ยรับ ... (ระบุตราสารหนี้)... การบันทึกบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด 47
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี - กรณีลงทุนซื้อต่ำกว่ามูลค่า วันที่ 17 ส.ค. 54 สหกรณ์จ่ายเงินสดซื้อพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2554 ราคาซื้อ 19,986,179.80 บาท มูลค่าพันธบัตรที่ตราไว้ 20,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3.40625 % ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ย ปีละ 2 ครั้ง คือ 16 ก.พ. และ 16 ส.ค. ครบกำหนดไถ่ถอน 16 ส.ค. 56 48
มูลค่าพันธบัตร 20,000,000 คูณ อัตราดอกเบี้ย 3.40625 % ดอกเบี้ยรับ 681,250 หาร งวดจ่ายดอกเบี้ย ปีละ 2 ครั้ง (681,250 /2) 340,629 ตัวอย่างการบันทึกบัญชี (ต่อ) การคำนวณดอกเบี้ยรับ
ดอกเบี้ยรับตามอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง หาข้อมูลได้จากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินทุน หรืออาจคำนวณได้โดยใช้สูตรดังนี้ ( ให้ผลไม่แตกต่างอย่างมีสาระสำคัญ) R + ( F-P ) n YTM = ( F+P ) 2 YTM = อัตราผลตอบแทนจากวันซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน R = ดอกเบี้ยรับในแต่ละปี F = Face Value / ราคาที่ระบุไว้ในพันธบัตร P = ราคาซื้อขายในตลาด n = ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ตัวอย่างการบันทึกบัญชี (ต่อ) 50