200 likes | 306 Views
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการความปลอดภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม. ณ การนิคมอุตสาหกรรมลำพูน วันที่ 16 กรกฎาคม 2555. การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม ภาคประชาชนและสื่อมวลชน. จุดแข็ง ( S trengths). มีการกระจาย บทบาทและหน้าที่ในการกำกับดูแล ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง.
E N D
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการความปลอดภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรมการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการความปลอดภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายภาคอุตสาหกรรม ณ การนิคมอุตสาหกรรมลำพูน วันที่ 16กรกฎาคม 2555
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภาคประชาชนและสื่อมวลชนการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภาคประชาชนและสื่อมวลชน
จุดแข็ง (Strengths) • มีการกระจายบทบาทและหน้าที่ในการกำกับดูแล ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
จุดอ่อน(Weaknesses) • หน่วยงานควบคุมไม่เข้มแข็ง • การจัดการและการสื่อสารยังไม่เพียงพอ ขาดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องทั่วถึงและทันต่อสถานการณ์ ทำให้ผู้ใช้ไม่ทราบข้อเท็จจริงของสารเคมี และข้อมูลที่สื่อสารไปยังผู้บริโภค/ประชาชนไม่เพียงพอ • ขาดการตรวจติดตาม • การแบ่งโครงสร้างองค์กรเพื่อควบคุม ก่อให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย สารบางชนิดขาดหน่วยงานดูแลและรับผิดชอบ • การกำกับดูแลไม่ตอบสนองกับนโยบายที่กำหนดไว้ (นโยบายดีแต่ปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ) • ขาดการกระจายอำนาจการควบคุมดูแลไม่ยังหน่วยงานท้องถิ่น • ขาดงบประมาณในการควบคุมดูแล ติดตามและประเมินผล • ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมีความเข้าใจยาก เป็นวิชาการหรือศัพท์เทคนิคมากเกินไป • ขาดความพร้อมในการเข้าสู่ AEC • กฎหมายล้าหลัง ไม่ทันสมัย และการควบคุมยังไม่ครอบคลุมสารเคมีอันตรายอื่นๆ และไม่ครอบคลุมกับผู้ใช้งานในทุกระดับ • ขาดการบูรณาการในระดับท้องถิ่น ไม่เอื้อต่อการนำไปปฏิบัติ • บทลงโทษไม่รุนแรง กฎหมายไม่เข้มแข็ง และการควบคุมไม่เข้มงวด
โอกาส (Opportunities) • การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น • การแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น • การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
อุปสรรค (Threats) • ปัญหาทางความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรม • มีข้อจำกัดในการกระจายข้อมูลแก่สาธารณะในทุกระดับ ใช้สื่อที่ไม่เป็นที่นิยมของสาธารณะ • ปัญหาการแทรกแซงทางการเมือง • การใช้อิทธิพลของนักการเมือง • ปัญหาคอรัปชั่นของประเทศ
ข้อเสนอแนะ ระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้ ควรกำหนดเวลาในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัย กำหนดเป็นนโยบายในการสื่อสาร โดยเลือกใช้สื่อที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย และสื่อสารอย่างต่อเนื่องให้เข้าถึงท้องถิ่นได้ กำหนดประเภทและระดับความเป็นอันตรายของสารเคมีให้ชัดเจน และสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ ขยายฐานการควบคุมสารเคมีให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพและความรู้ในการบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง ด้านสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย พร้อมสื่อสารให้ชุมชนรับทราบผลการดำเนินงานอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ควรมีกองทุนหรือแหล่งเงินทุนสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีหรือกระบวนการผลิต ด้านอื่นๆ นำเสนอข้อมูลและข่าวสารผ่านช่องทางที่มีประสิทธิภาพ เช่น ผ่านสื่อทีวี หรือฟรีทีวี เป็นต้น
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภาคเอกชนการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภาคเอกชน
จุดแข็ง (Strengths) • เนื้อหาของกฎหมายมีการกำหนดหน้าที่ไว้ชัดเจน เช่น สถานประกอบการในนิคม กฎหมายการขนส่ง ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับศุลกากร เป็นต้น
จุดอ่อน (Weaknesses) • ไม่มีหน่วยงานในการกำกับดูแลสถานประกอบการนอกเขตนิคมอุตสาหกรรม และการกำหนดขอบเขต/หน้าที่ของหน่วยงานทั้งในและนอกนิคมไม่ชัดเจนว่า การตรวจติดตามสถานประกอบการในและนอกนิคมเป็นหน้าที่ของใคร • มีหลายหน่วยงานในการกำกับดูแลสารเคมีมากเกินไป เกิดความซ้ำซ้อนและยุ่งยากในการยื่นเอกสารให้แต่ละหน่วยงานตรวจสอบ และต้องทำรายงานแยกให้แต่ละหน่วยงาน • การตีความข้อกฎหมายของแต่ละหน่วยงานขัดแย้งกัน • ปัญหาด้านเอกสารไม่พอเพียง เช่น เอกสารการนำเข้าสารเคมีที่ไม่เป็น วอ. แต่ทางกรมศุลกากรไม่แน่ใจในเรื่องความครบถ้วนของเอกสาร • ไม่มีความชัดเจนด้านความคุ้มครองแก่ผู้ได้รับผลกระทบหรืออันตรายจากสารเคมี ในแง่ของสิทธิและตัวเงิน • ไม่มีการควบคุมสารเคมีที่อยู่นอกบัญชีรายชื่อ วอ. • การดำเนินงานต่อ กรอ. ใช้เวลาในการพิจารณาค่อนข้างนาน ทำให้เกิดปัญหาในการนำเข้า/ส่งออก หรือดำเนินกิจกรรมใดๆ ต่อสารเคมี • สถานที่ติดต่อราชการอยู่ที่ส่วนกลาง (กทม.) เท่านั้น • ไม่มีการตรวจติดตามสารเคมีหลังจากการขออนุญาตการใช้ • ตรวจจับได้ยากเนื่องจากมีการนัดหมายการตรวจสอบโรงงานล่วงหน้าทำให้โรงงานมีการเตรียมตัวปกปิด ซ่อนเร้น • ความน่าเชื่อถือ/ชัดเจน ของ SDS ที่ได้รับ • การอ้างอิงประกาศบัญชีรายชื่อ วอ. ไม่ทราบแหล่งที่มา ในบางกรณีมีผลกระทบต่อกระบวนการผลิต และคุณภาพผลิตภัณฑ์ • หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรยังขาดการประชาสัมพันธ์เนื้อหากฎหมาย
โอกาส (Opportunities) • การจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการสารเคมีของประเทศเป็นหน่วยงานเดียว เพื่อรับการติดต่อจากผู้ประกอบการทางเดียว
อุปสรรค (Threats) • ประชาชนไม่ทราบเนื้อหากฎหมาย
ระยะเวลาที่ควรมีผลบังคับใช้ระยะเวลาที่ควรมีผลบังคับใช้ ให้มีผลบังคับใช้เกิน 1 ปีขึ้นไป เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการ โดยมีการประชาสัมพันธ์ หรือการอบรมให้ทราบก่อน ระยะเวลาการบังคับใช้ให้พิจารณาจากความพร้อมของสถานประกอบการ เช่น ขั้นตอนการดำเนินงาน หรือการประกาศบัญชีรายชื่อสารนั้นๆ เป็น วอ. ชนิดที่ 4 แบบไหน และมีกลไก/ขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร มีการกำหนดระยะเวลาการควบคุมแบบค่อยเป็นค่อยใน เช่น กรณีกฎหมาย REACH จะค่อยๆ ลดปริมาณสารเคมีที่จะควบคุมลงไปเรื่อยๆ จาก 1,000 ตันจนถึง 1 ตัน หน่วยงานราชการควรเป็นตัวกระตุ้นให้สถานประกอบการเร่งดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆ ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้จริง ด้านความปลอดภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการศึกษาสารเคมีที่ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อ วอ. ด้วย ควรมีการตรวจติดตามการดำเนินงานกับสารเคมีหลังจากได้รับอนุญาตให้ประกอบการได้ สถานประกอบการที่ขออนุญาตแล้วควรขอ ISO 14000 ควรมีการระบุเป็นข้อมูลว่าสารเคมีแต่ละตัวจะต้องกำจัดอย่างไร ควรมีการระบุสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมีไว้ที่ภาชนะบรรจุ ควรมีวิธีการควบคุมสารเคมีในผู้ใช้รายย่อยที่ไม่ได้อยู่ในเขตประกอบการ เช่น โรงชุบ ว่ามีการใช้สารเคมีอย่างไร มีการรั่วไหลไปที่ใด ออกข้อกำหนดว่าการนำเข้าสารเคมีจะต้องมีการแนบ SDS ที่เป็นภาษาทางการ เช่น ไทย หรืออังกฤษ เนื่องจากที่ผ่านมามี SDS ที่เป็นภาษาอื่น เช่น ภาษาเยอรมัน การพิจารณาสารเคมีอันตราย ควรมีการพิจารณาแยกในสถานะของสาร เช่น ทองแดงในรูปของผงทองแดงในต่างประเทศมีการพิจารณาให้เป็นสารอันตรายเนื่องจากมีโอกาสรั่วไหลได้ง่ายกว่าทองแดงที่เป็น เส้น หรือเป็นชิ้น ข้อเสนอแนะ (1)
ข้อเสนอแนะ (2) ด้านสิ่งแวดล้อม ควรมีการระบุเป็นข้อมูลว่าสารเคมีแต่ละตัวจะต้องกำจัดอย่างไร ควรมีวิธีการควบคุมสารเคมีในผู้ใช้รายย่อยที่ไม่ได้อยู่ในเขตประกอบการ เช่น โรงชุบ ว่ามีการใช้สารเคมีอย่างไร มีการรั่วไหลไปที่ใด ข้อเสนอแนะอื่นๆ การตอบข้อหารือโดยการออกเป็นหนังสือรับรอง หรือการตอบข้อหารือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อการใช้อ้างอิง ย่นระยะเวลาในการดำเนินการติดต่อให้สั้นลง เสนอแนะให้มีการดำเนินการแบบออนไลน์ แทนการติดต่อกับ กรอ. โดยตรง ทำการสุ่มตรวจสถานประกอบการโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า การตรวจสอบสถานประกอบการควรเป็นการร่วมมือกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ควรมีการประชาสัมพันธ์และการฝึกอบรมให้แก่สถานประกอบการในการปฏิบัติตามกฎหมาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ประกอบการดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อเตรียมพร้อมต่อมาตรการกฎหมายสากล ออกข้อกำหนดให้ SDS ที่ได้รับจากผู้ขาย มีความถูกต้องชัดเจนมากขึ้น
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภาครัฐบาลการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภาครัฐบาล
จุดแข็ง (Strengths) • แต่ละหน่วยงานมีพนักงาน/เจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในควบคุมกับกับดูแลในขอบเขตความรับผิดชอบของตัวเอง • บทลงโทษเข้มงวด/รุนแรง ดีอยู่แล้ว
จุดอ่อน (Weaknesses) • มีหลายหน่วยงานในการกำกับดูแลด้านสารอันตราย ทำให้การประสานงานข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ และบางครั้งการติดตามตรวจสอบในพื้นที่ต่างๆ ไม่ทราบว่าอยู่ในการกำกับดูแลของหน่วยงานใด • ไม่มี พรบ.ควบคุมไปถึงการประกอบอาชีพที่มีการใช้วัตถุอันตราย เช่น การรับกำจัดปลวก/แมลง • พรบ. ไม่ครอบคลุมถึงการจำหน่ายสารเคมี ทำให้ไม่มีหน่วยตรวจสอบคนจำหน่าย เกิดช่องว่างในการควบคุม • มีการประกาศเพิ่มเติมหลายฉบับ ใช้ในทางปฏิบัติยาก • มีสารเคมีใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่ง พรบ.2535 ไม่ครอบคลุม • สารสกัดจากสารธรรมชาติ (Green Chemical) มีการเจือปนสารเคมี ซึ่งไม่อยู่ในข้อกำหนดของกฎหมาย แต่อาจเป็นสารอันตราย ที่การร่างกฎหมายควรพิจารณา • การบังคับใช้กฎหมายยุ่งยาก เพราะต้องมีหลักฐานแน่ชัด และกระบวนการในการได้หลักฐานมีขั้นตอนที่ซับซ้อน • บทลงโทษใช้บทลงโทษสูงสุด (ศุลกากร) แต่ศุลกากรมักไม่ตรวจจับตั้งแต่ตอนนำเข้า แต่มาตรวจจับภายหลังผู้ประกอบการนำสารเคมีมาผลิตแล้ว ผู้ประกอบการรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม
โอกาส (Opportunities) • จัดตั้งหน่วยงานควบคุมกลาง และเชิญผู้เชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน • การเข้าสู่ AEC เกิดการค้าขายเสรี ทำให้ ปท.ไทยต้องมีการปรับปรุงการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายให้เป็นสากล
อุปสรรค (Threats) • ผู้ประกอบการไม่ตรงไปตรงมา แจ้งการใช้สารเคมีไม่ตรงกับความเป็นจริง • เนื่องจากมีหลายหน่วยงานภายใต้ พรบ. ทำให้ผู้ขาย/ผู้ใช้ ไม่ทราบสารเคมีต่างๆ อยู่ในขอบเขตการควบคุมของใคร • พรบฯ กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญในการกำกับดูแลการใช้/ผลิต แต่ในประชาชนไม่ปฏิบัติตาม โดยใช้แรงงานต่างด้าวในการดำเนินการ • ผู้ประกอบการส่วนใหญ่โดยเฉพาะ SMEs ไม่มีความรู้ทางกฎหมาย การผลิตจึงไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด • ประชาชนขาดความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้/ผลิต/ครอบครอง สารเคมี
ข้อเสนอแนะ ระยะเวลาที่ควรมีผลบังคับใช้ ให้เวลา 1 ปี ก่อนมีผลบังคับใช้ ด้านความปลอดภัย/สิ่งแวดล้อม เพิ่มการประชาสัมพันธ์แนวทางการปฏิบัติ/ป้องกันในการใช้สารเคมี ด้านอื่นๆ ควรมีการรวบรวมประกาศเพิ่มเติมให้เป็นกฎหมายฉบับเดียว ควรมีหน่วยงานกลางในการดำเนินการตรวจสอบพื้นที่แล้วรายงานให้หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องทราบ หน่วยงานกลางควรขึ้นกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม