1.4k likes | 1.74k Views
เรื่องซากดึกดำบรรพ์. กับยุคต่างๆของโลก. ทางธรณีวิทยา. จัดทำโดย. 1. นายวีรพล ผานิตย์. ชั้น ม.5/3 เลขที่ 13. 2. นายสุธิพงษ์ ไพรี. ชั้น ม.5/3 เลขที่ 14. เสนอ. อาจารย์ ชลิต แจ่มผล ผู้สอนรายวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ (ว42281). แบบทดสอบก่อนเรียน.
E N D
เรื่องซากดึกดำบรรพ์ กับยุคต่างๆของโลก ทางธรณีวิทยา
1. นายวีรพล ผานิตย์ ชั้น ม.5/3 เลขที่ 13
2. นายสุธิพงษ์ ไพรี ชั้น ม.5/3 เลขที่ 14
อาจารย์ ชลิต แจ่มผล ผู้สอนรายวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ (ว42281)
1.ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในชั้นหินใดมีความซับซ้อนมากกว่ากัน1.ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในชั้นหินใดมีความซับซ้อนมากกว่ากัน ก. ชั้นหินบน ข. ชั้นหินล่าง ค. ชั้นหินกลาง ง. ทุกชั้นเท่ากัน
2. พืชพวกฟองน้ำเกิดขึ้นเมื่อใด ก. 500 ล้านปีที่ผ่านมา ข. 600 ล้านปีที่ผ่านมา ค. 700 ล้านปีที่ผ่านมา ง. 800 ล้านปีที่ผ่านมา
3. ประมาณ 50 ล้านปีที่ผ่านมา เริ่มมีสิ่งมีชีวิตใดเกิดขึ้น ก. พืชพวกแองจิโอสเปิร์ม ข. ไดโนเสาร์ ค. มนุษย์ ง. สาหร่าย
4. ประมาณ 100-200 ล้านปีที่ผ่านมาโลกเต็มไปด้วยอะไร ก. ไดโนเสาร์ ข. สัตว์เลื้อยคลาน ค. สัตว์จำพวกนก ง. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
5. มีการตั้งชื่อไดโนเสาร์ครั้งแรกเมื่อ ก. พ.ศ. 2384 ข. พ.ศ. 2291 ค. พ.ศ. 2487 ง. พ.ศ. 1998
6. คำว่าไดโนเสาร์มาจากภาษาใด ก. ภาษาไทย ข. ภาษาเขมร ค. ภาษาอังกฤษ ง. ภาษากรีก
7. กลุ่มหินโคราชมีความหนาประมาณ ก. 2000 เมตร ข. 3000 เมตร ค. 1000 เมตร ง. 4000 เมตร
8. ในปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบกระดูกขนาดใหญ่ที่จังหวัดใด ก. จังหวัดอุดรธานี ข. จังหวัดกาฬสินธุ์ ค. จังหวัดเชียงใหม่ ง. จังหวัดขอนแก่น
9. โปรซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์ที่กินอะไรเป็นอาหาร ก. เนื้อสัตว์ ข. พืช ค. เนื้อสัตว์และพืช ง. ไม่มีข้อใดถูก
10. ในปี พ.ศ. 2539 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้พบแหล่งฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ที่จังหวัดใด ก. จังหวัดขอนแก่น ข. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ง. จังหวัดพิจิตร
หลักฐานจากซาก ดึกดําบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
ในการทับถมกันของเปลือกโลกเกิดเป็นชั้นหินต่างๆ ชั้นที่อยู่ล่างสุดจะเป็นชั้นที่เก่าแก่ที่สุด นักวิชาการสามารถคํานวณหาอายุของชั้นหินได้ว่าแต่ละชั้นเกิดขึ้นนานเท่าใด
ซากดึกดําบรรพ์ (fossil) ที่พบในชั้นหินใดก็ย่อมมีอายุเท่ากับอายุของหินในชั้นนั้นสำหรับ ash layer นั้น คือ ชั้นเถ้าถ่านซึ่งพบเหนือชั้นที่พบซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดําบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตจะมีคาร์บอนค้างอยู่และส่วนหนึ่งคือ C14 ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสีและจะสลายตัวไปช้าๆ เหลือครึ่งหนึ่งจากเดิมทุกๆ 5,568 ปี
เราจึงสามารถคํานวณหาอายุของซากดึกดําบรรพ์ได้โดยการวิเคราะห์หาปริมาณ C14 ที่เหลืออยู่ในซากดึกดําบรรพ์นั้น“วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดําบรรพ์ เรียกว่า palaeontology”
จากการศึกษาโครงสร้างเปรียบเทียบ พบว่าสัตว์หลายๆ ชนิดมีโครงสร้างของอวัยวะบางอย่างคล้ายคลึงกันมากแม้ว่าจะทําหน้าที่ต่างกันก็ตาม เราเรียกโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันแต่ทําหน้าที่ต่างกันนี้ว่า homologous structur
แต่ในกรณีของปีกแมลงและปีกค้างคาวซึ่งทําหน้าที่ในการบินเหมือนกันแต่มีโครงสร้างต่างกัน เราเรียกว่าเป็น analogous structure
สัตว์ที่มีโครงสร้างอวัยวะที่มาจากจุดกำเนิดที่คล้ายคลึงกันจะมีความใกล้ชิดกันทางสายวิวัฒนาการมากกว่าสัตว์ที่มีจุดกำเนิดของโครงสร้างต่างกัน แม้ว่าอวัยวะจะทำหน้าที่คล้ายกันก็ตาม
ซากดึกดําบรรพ์ (fossil)จากการศึกษาจากซากดึกดําบรรพ์ ได้พบหลักฐานว่า ซากดําบรรพ์ที่พบในชั้นหินบน มีโครงสร้างซับซ้อนกว่า และมีจํานวนชนิดมากกว่าซากดึกดําบรรพ์ที่พบในหินชั้นล่าง
จากหลักฐานของซากดึกดําบรรพ์ที่เก่าเเก่ที่สุด พบว่าเเบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวเเกมนํ้าเงินเป็นสิ่งมีชีวิตพวกเเรก ๆ ที่เกิดบนพื้นโลกเมื่อประมาณ 3 พันล้านปีมาแล้ว
ซากของพวกฟองนํ้าแสดงว่าเกิดขึ้น เมื่อ500 ล้านปีมาแล้วพวกเเมงกระพรุน เม่นทะเลและกุ้งเเละหมึกสายเกิดเมื่อประมาณ 400 ปี มาแล้ว
พวกแมงป่องยักษ์และพวกแมลงรวมทั้งปลาฉลามขนาดใหญ่และนี้จะมีเฟิร์น (tree fern) ขนาดใหญ่เกิดในที่ลุ่ม
สัตว์เลื้อยคลานพวกเเรก ๆ เกิดเมื่อประมาณ 200 ล้านปี มาแล้วในช่วงซึ่งซากของ tree fernเหล่านี้ได้พุพังทับถมกลายเป็นถ่านหิน
ประมาณ 100-200 ล้านปีที่ผ่านมาโลกเต็มไปด้วยสัตว์เลื้อยคลานนานาชนิด ประมาณ 50 ล้าน ปีที่ผ่านมา เริ่มมีพืชพวกเเองจิโอสเปิร์ม และเริ่มมีสัตว์พวกนกเเละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกิดขึ้น
พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเจริญแพร่หลายมากกระจายไปทั่ว จนประมาณ 10 ล้านปีมานี้เป็นยุคเจริญสูงสุด ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเริ่มมีมนุษย์คนเเรกเมื่อประมาณ 2 ล้านปีมาแล้ว
การค้นพบไดโนเสาร์นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องฟอสซิลได้ค้นพบไดโนเสาร์มานานแล้ว แต่มีการตั้งชื่อไดโนเสาร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2384(ค.ศ.1841)
ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าในประเทศอังกฤษโดยศาสตราจารย์ ริชาร์ด โอเวน หลังจากนั้นทำให้ฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ได้ค้นพบกันมานานเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
คำว่าไดโนเสาร์(dinosaur) มาจากภาษากรีกโดยคำว่า "ไดโน"(deinos) แปลว่าน่ากลัวมาก และ"ซอรอส" หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน
เมื่อไดโนเสาร์ตาย ส่วนอ่อนๆ เช่น เนื้อและหนังจะเน่าเปื่อยหลุดไป เหลือแต่ส่วนแข็ง เช่น กระดูกและฟัน ซึ่งจะถูกโคลนและทรายทับถมเอาไว้
ถ้าการทับถมของโคลนทรายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็จะคงเรียงรายต่อกันในตำแหน่งที่มันเคยอยู่เป็นโครงร่าง แต่หากการทับถมเกิดขึ้นอย่าง ช้าๆกระดูกก็จะมีโอกาสถูกทำให้กระจัดกระจายปะปนกัน
การทับถมของโคลนทรายทำให้อากาศและออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าถึงซากได้การทับถมของโคลนทรายทำให้อากาศและออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าถึงซากได้
ขณะเดียวกันน้ำและโคลนที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลไซต์ เหล็กซัลไฟด์และซิลิก้าก็ค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อกระดูก
อุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่ ทำให้กระดูกเหล่านั้นแกร่งขึ้น สามารถรับน้ำหนักของหิน ดิน ทรายที่ทับถมต่อมาภายหลังได้
ซึ่งนานๆเข้ากระดูกจะกลายเป็นหิน มีเพียงฟันที่ไม่ค่อยจะถูกแปรสภาพเท่าไรเนื่องจากฟันเป็นส่วนที่แข็งที่สุด
บางครั้งแร่ธาตุบางอย่างเข้าไปกัดกร่อนละลายกระดูกและทิ้งลักษณะกระดูกไว้เป็นโพรง โพรงเหล่านี้จึงกลายเป็นเสมือนแม่พิมพ์
ต่อมาเมื่อแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่เต็มโพรงก็จะเกิดเป็นรูปหล่อ ของชิ้นกระดูก บางครั้งเมื่อไดโนเสาร์ตายใหม่ๆแล้วถูกทับถมด้วยโคลน
แล้วเนื้อหนังเปื่อยเน่าเป็นโพรงก็จะเกิดรูปหล่อของรอยผิวหนังทำให้เรารู้ลักษณะของผิวหนัง ในที่บางแห่งซากไดโนเสาร์ ถูกน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันเกิดเป็นชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์
นอกจากฟอสซิลกระดูก ฟันและร่องรอยของผิวหนังแล้ว ไดโนเสาร์ยังทิ้งรอยเท้าไว้บนโคลน
ฟอสซิลรอยเท้าเหล่านี้ทำให้ทราบ ถึงชนิด ลักษณะท่าทางของไดโนเสาร์เช่น เดิน 2 ขาหรือ 4 ขา เชื่องช้าหรือว่องไว อยู่เป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวๆ
บางครั้งพบมูลของไดโนเสาร์กลายเป็นฟอสซิล เรียกว่า คอบโปรไลท์ ซึ่งทำให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของลำไส้ ไข่ไดโนเสาร์ที่พบเป็นฟอสซิลก็ทำให้ทราบว่าไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่
บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดไหน นอกจากนี้ยังมีการค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดก็ดูแลลูกอ่อนด้วย