170 likes | 250 Views
ระบบการเกษตร (Agricultural System). By : Lect. Dr. Nathitakarn Pinthukas Division of Agricultural Extension. ความสำคัญ. ⭗ ประเทศ ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตพืชอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและภายนอก ประเทศ ⭗ มีการใช้ทรัพยากร ดิน น้ำ พลังงาน และพื้นที่ป่าไม้มาให้เพื่อทำการเกษตร
E N D
ระบบการเกษตร(Agricultural System) By :Lect. Dr. NathitakarnPinthukas Division of Agricultural Extension
ความสำคัญ ⭗ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตพืชอาหารเพื่อบริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ ⭗ มีการใช้ทรัพยากร ดิน น้ำ พลังงาน และพื้นที่ป่าไม้มาให้เพื่อทำการเกษตร ⭗ พื้นที่การเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ลดลง เนื่องจากการเจริญเติบโตของชุมชนเมือง และโรงงานอุตสาหกรรม ⭗ การเกษตรไทยถูกผลักดันเข้าสู่เกษตรกรรมเคมี (Chemical Agriculture)
ความสำคัญ (ต่อ) ⭗ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ⭗ ปัญหาต่อเศรษฐกิจ ⭗ ปัญหาต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ⭗ ระบบการเกษตรไทยในปัจจุบันจึงต้องการแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ และสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค
พัฒนาการของระบบการเกษตรพัฒนาการของระบบการเกษตร
การปลูกพืชแบบย้ายที่(Shifting Cultivation) • การหักร้างถางป่า เมื่อเศษพืชแห้งก็เผา เพื่อให้ได้พื้นที่หยอดเมล็ดพืชปลูก ระบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ ระบบตัดและเผา (Slash and Burn Agriculture)
การปลูกพืชแบบย้ายที่(Shifting Cultivation) ⭗ เป็นการจับจองพื้นที่ป่า ตัด ฟัน โค่น และเผาเพื่อเพาะปลูกพืชลงในพื้นที่เป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป ⭗เพาะปลูกซ้ำจนกว่าดินในแปลงนั้นจะเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับวัชพืช โรคพืช หรือแมลงศัตรูพืช ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผลผลิตทางการเกษตรลดต่ำลง ไม่คุ้มกับการลงทุน ⭗เกษตรกรจะย้ายที่เพาะปลูก ไปหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชแหล่งใหม่ เรียกว่า เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เพาะปลูก ตามระยะเวลาที่...ความอุดมสมบูรณ์ของดิน...เป็นตัวกำหนด
ไร่เหล่า หรือ ไร่หมุนเวียน(Fallow period or Land rotation farming) ⭗ เป็นการปลูกพืชแบบย้ายที่อีกแบบหนึ่ง แต่มีความแตกต่าง คือ เมื่อปลูกพืชจนดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ จะย้ายไปปลูกพืชในพื้นที่ใหม่ ⭗ และจะมีการหมุนเวียนพื้นที่ 7-10 ปี จึงกลับมาตัด ถาง เผา และปลูกพืชในพื้นที่เดิมนั้นอีก
ระบบการเกษตรเพื่อยังชีพ(Subsistence Farming) ⭗ชุมชนตั้งเป็นหลักแหล่ง มีการพัฒนาเทคโนโลยีระดับหนึ่ง ⭗และชุมชนยังได้รับประโยชน์จากธรรมชาติในด้านอาหาร มีการใช้มูลสัตว์บำรุงดิน ⭗มีชลประทานขนาดเล็ก ลงทุนน้อย มีความหลากหลาย ทั้งปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ⭗ใช้พันธุ์พืชที่คัดเลือกตามธรรมชาติ ไม่ต้องการปัจจัยการผลิตมาก ⭗มีการผสมผสานระบบการผลิต เป็นไปตามความต้องการอาหารในครัวเรือน
เกษตรประณีต (Intensification) ⭗ คือ การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ⭗ การทำเกษตรในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ที่สามารถปลูกพืชในครัวเรือนไว้กินไว้ใช้อย่างครบถ้วน ⭗โดยไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ในกระบวนการปลูก ⭗ยังสามารถเลี้ยงปลา ไก่ หมู หรือวัว ⭗หากเกษตรกรมีพื้นที่มากกว่า 1 ไร่ก็สามารถทำได้ ⭗เกิดความมั่นคงด้านอาหารภายในครอบครัว จัดเป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน
ระบบการเกษตรแบบเข้มข้น (Intensive Farming) ⭗ระบบนี้ เกิดจากกระแสการพัฒนาสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ⭗เน้นการผลิตเพื่อการค้า (Cash Farming) ⭗เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีมาก เช่น เครื่องจักร ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกาจัดศัตรูพืช ⭗ใช้พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่ได้รับการพัฒนาจากการผสมพันธุ์และคัดเลือก ⭗เป็นการผลิตที่ต้องการปัจจัยการผลิตสูง
ระบบการเกษตรแบบเข้มข้น (Intensive Farming) ⭗ปี 1945 (พ.ศ. 2488) การเกษตรแบบเข้มข้น เริ่มในประเทศตะวันตก จากการพัฒนาอุตสาหกรรมในอังกฤษ แพร่สู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และอเมริกา ⭗ปี พ.ศ. 2488 สมัยรัชกาลที่ 8 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อตั้ง องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ⭗ปี 1960 (พ.ศ. 2503) “การปฏิวัติเขียว” (Green Revolution) ⭗ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทย เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
ระบบการเกษตรแบบเข้มข้น (Intensive Farming) ⭗ปี 1945 (พ.ศ. 2488) การเกษตรแบบเข้มข้น เริ่มในประเทศตะวันตก จากการพัฒนาอุตสาหกรรมในอังกฤษ แพร่สู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และอเมริกา ⭗ปี พ.ศ. 2488 สมัยรัชกาลที่ 8 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อตั้ง องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ⭗ปี 1960 (พ.ศ. 2503) “การปฏิวัติเขียว” (Green Revolution) ⭗ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทย เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
สังคมเกษตรจักรกล พัฒนาคน:มีคุณภาพ มีการศึกษา มีจิตวิญญาณของเกษตรกร ห่วงใยสิ่งแวดล้อม พัฒนาพันธุ์: ให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคแมลง รสชาติถูกปากผู้บริโภค พัฒนาเครื่องจักร: รองรับแรงงานภาคเกษตรที่หายไป เครื่องพรวนหญ้า (Weeder) ในร่องนาดำ เพื่อลดการใช้ยาปราบวัชพืช
สังคมเกษตรยุคใหม่:เกษตร 4.0 นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงแผนระยะยาวไว้ 10 ข้อ ดังนี้ 1. ส่งเสริมเกษตรกรให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย 2. เพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ 3. คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมรวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย 4. แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร 5. พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบที่มีอยู่ให้ทันสมัย 6. เน้นทำปศุสัตว์แปลงใหญ่ ให้ความสำคัญกับอาหารสุขภาพ 7. เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร 8. ปรับการผลิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 9. เน้นทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น 10. บูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติ
สรุปลักษณะรวมของการเกษตรแบบดั้งเดิมสรุปลักษณะรวมของการเกษตรแบบดั้งเดิม ตอบสนองการอุปโภคบริโภคของครอบครัว และชุมชนเป็นหลัก ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น มีความหลากหลาย ผสมผสาน ทั้งพืชและสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ
สรุปลักษณะรวมของการเกษตรแบบเข้มข้นสรุปลักษณะรวมของการเกษตรแบบเข้มข้น ปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยว หรือเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า ใช้พันธุ์พืช หรือสัตว์ ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ใช้เทคโนโลยี และเครื่องจักรสมัยใหม่ เน้นการลงทุนเป็นจำนวนมาก มีบริษัทธุรกิจการเกษตรมาเกี่ยวข้อง รัฐบาลมีบทบาทในการชี้นำ ราคาผลผลิตขึ้นอยู่กับตลาดโลก