280 likes | 457 Views
การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ. ( Cooperative-Based Learning ). ผู้นำเสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร . สุวรรณี ยหะกร. ความหมาย. การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึงการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนทำงานด้วยกันในกลุ่มย่อย ได้เรียนรู้และรับผลตอบแทนร่วมกัน ซึ่งผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปคะแนนหรือสิ่งอื่น
E N D
การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative-Based Learning) ผู้นำเสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณี ยหะกร
ความหมาย • การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึงการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนทำงานด้วยกันในกลุ่มย่อย • ได้เรียนรู้และรับผลตอบแทนร่วมกันซึ่งผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปคะแนนหรือสิ่งอื่น • ซึ่งเป็นสิ่งที่จูงใจหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนในกลุ่มย่อยร่วมมือกันเรียนรู้
หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือมี 5 ประการ 1. หลักการพึ่งพากัน (positive interdependence) โดยถือว่าทุกคน มีความสำคัญเท่าเทียมกัน และจะต้องพึ่งพากันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน 2. การหันหน้าเข้าหากัน มีปฏิสัมพันธ์กัน (face to face interaction) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล และการเรียนรู้ต่างๆ
หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือมี 5 ประการ 3. อาศัยทักษะทางสังคม (social skills) โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน 4. การเรียนรู้ร่วมกันจะมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มที่ใช้ในการทำงาน 5. มีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบ และวัดประเมินได้
วัตถุประสงค์ของการเรียนแบบร่วมมือวัตถุประสงค์ของการเรียนแบบร่วมมือ 1. เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทุกระดับความสามารถ 2. เพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือร่วมมือกันระหว่างผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกัน 3. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเป็นผู้ชนะ และมีความสำเร็จ ในการเรียน
วัตถุประสงค์ของการเรียนแบบร่วมมือวัตถุประสงค์ของการเรียนแบบร่วมมือ 4. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ด้วยตนเอง 5. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้ง ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิดการแก้ปัญหา เป็นต้น
องค์ประกอบที่สำคัญ การเรียนแบบร่วมมือมีหลายเทคนิค เช่น จิกซอ ซีไออาร์ซี ทีจีที แต่ละเทคนิค มีองค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนคล้ายกัน ดังนี้ 1. การจัดกลุ่มผู้เรียน 2. การศึกษาเนื้อหาสาระ 3. การทดสอบ 4. การคิดคะแนน 5. วิธีการเสริมแรงและการให้รางวัล
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ การเรียนแบบร่วมมือ ในที่นี้ขอเสนอบางเทคนิค (ทิศนา แขมมณี 2545:65-73) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. เทคนิคจิกซอว์ 1.1 จัดกลุ่มผู้เรียนคละความสามารถ (เก่ง –กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 4 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้าน(home group) 1.2 สมาชิกในกลุ่มบ้าน ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ 1.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านแยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่น ซึ่งได้รับ เนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (expert group) และร่วมกัน ทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปราย หาคำตอบประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมาย
ตัวอย่างการจัดกลุ่มบ้านและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตัวอย่างการจัดกลุ่มบ้านและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ Ex1 H1 Ex2 H2 H3 Ex3 H4 Ex4
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ 1.4 สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับไปสู่กลุ่มบ้าน แต่ละคนช่วยสอน เพื่อนในกลุ่มให้เข้าใจในสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ทำเช่นนี้ สมาชิกทุกคนจะได้เรียนรู้ภาพรวมของสาระทั้งหมด โดยรู้เท่าเทียมกัน 1.5 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนนของทุกคนในกลุ่มบ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ 2.เทคนิค ที จี ที (TGT)คำว่า TGT มาจาก Team Games Tournament มีขั้นตอนดังนี้ 2.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ กลุ่มละ 4 คน เรียกว่า กลุ่มบ้าน 2.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน 2.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านเป็นตัวแทนไปแข่งกับกลุ่มอื่น โดยแข่งตาม ความสามารถ คือคนเก่งในแต่ละกลุ่มบ้านไปรวมกัน คนอ่อนก็ไปรวมกับ คนอ่อนของกลุ่มอื่น กลุ่มใหม่นี้เรียกว่ากลุ่มแข่งขันมีสมาชิก 4 คน
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ 2.4 สมาชิกในกลุ่มแข่งขัน เริ่มแข่งขันดังนี้ -แข่งขันตอบคำถาม 10 คำถาม - สมาชิกคนแรกจับคำถามขึ้นมา 1คำถาม และอ่านคำถามให้กลุ่มฟัง - สมาชิกที่อยู่ซ้ายมือของผู้อ่านคำถามคนแรกตอบคำถามก่อน ต่อไปจึงให้คนถัดไปตอบจนครบ - ผู้อ่านคำถาม เปิดคำตอบแล้วอ่านเฉลยคำตอบที่ถูกให้กลุ่มฟัง
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ - ผู้ตอบถูกคนแรกได้ 2คะแนน ผู้ตอบถูกคนต่อไปได้ 1คะแนน ผู้ตอบผิดได้ 0คะแนน - เมื่อเล่นจนครบ 10คำถาม ทุกคนรวมคะแนนของตนเอง ผู้ที่ได้คะแนนสูงอันดับ 1ได้โบนัส 10คะแนน อันดับ 2 ได้ 8 คะแนน อันดับ 3 ได้ 5 คะแนน อันดับ 4 ได้ 4 คะแนน 2.5เมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว สมาชิกกลุ่มบ้านนำคะแนนที่แต่ละคนได้ รวมเป็นคะแนนของกลุ่ม
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ 3. เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี (CIRC) มาจากคำว่า Cooperative Integrated Reading And Composition เป็นรูปแบบ การเรียนการสอนแบบร่วมมือที่ใช้ในการสอนอ่านและเขียนโดยเฉพาะ รูปแบบนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ 1 กิจกรรมการอ่านแบบเรียน 2 การสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ 3 การบูรณาการภาษากับการเขียน
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ ขั้นตอนดำเนินการทำดังนี้ 3.1 ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามระดับความสามารถในการอ่าน ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มจับคู่ 2 คน หรือ 3 คน ทำกิจกรรมการอ่าน แบบเรียนร่วมกัน
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ ขั้นตอนดำเนินการทำดังนี้ 3.2 ผู้สอนจัดทีมใหม่โดยให้แต่ละทีมมีผู้เรียนต่างระดับความสามารถ อย่างน้อย 2 ระดับ ทีมทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เขียนรายงาน แต่งความ ทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบต่างๆ และมีการให้คะแนน ผลงานของแต่ละทีม ทีมใดได้คะแนนร้อยละ 90 ขึ้นไป จะได้รับ ประกาศนียบัตรเป็น “ซุปเปอร์ทีม” หากได้รับคะแนนตั้งแต่ ร้อยละ 80-89 ก็จะได้รับรางวัลรองลงมา
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ ขั้นตอนดำเนินการทำดังนี้ 3.3 ผู้เรียนพบกลุ่มการอ่านประมาณวันละ 20 นาที แจ้งวัตถุประสงค์ ในการอ่าน แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ ทบทวนศัพท์เก่า ต่อจากนั้นผู้สอน จะกำหนดและแนะนำเรื่องที่อ่านแล้วให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ให้ เช่น อ่านเรื่องในใจแล้วจับคู่ อ่านออกเสียง ให้เพื่อนฟัง และช่วยกันแก้จุดบกพร่องหรือผู้สอนอาจจะให้ผู้เรียน ช่วยกันตอบคำถาม วิเคราะห์ตัวละคร วิเคราะห์ปัญหา หรือทำนายว่าเรื่องจะเป็นอย่างไรต่อไป เป็นต้น
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ ขั้นตอนดำเนินการทำดังนี้ 3.4 หลังจากกิจกรรมการอ่าน ผู้สอนนำการอภิปรายเรื่องที่อ่าน โดยผู้สอนจะเน้นการฝึกทักษะต่างๆ ในการอ่าน เช่น การจับประเด็นปัญหา การทำนาย เป็นต้น 3.5 ผู้เรียนรับการทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้เรียนจะได้รับคะแนน เป็นทั้งรายบุคคลและทีม 3.6 ผู้เรียนจะได้รับการสอนและฝึกทักษะการอ่านสัปดาห์ละ 1 วัน เช่น ทักษะการจับใจความสำคัญ ทักษะการอ้างอิง ทักษะการใช้เหตุผล เป็นต้น
ขั้นตอนการสอนที่สำคัญขั้นตอนการสอนที่สำคัญ ขั้นตอนดำเนินการทำดังนี้ 3.7 ผู้เรียนจะได้รับชุดการเรียนการสอนเขียน ซึ่งผู้เรียนสามารถ เลือกหัวข้อการเขียนได้ตามความสนใจ ผู้เรียนจะช่วยกันวางแผน เขียนเรื่อง และช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง และในที่สุด ตีพิมพ์ผลงานออกมา 3.8 ผู้เรียนจะได้รับการบ้านให้เลือกอ่านหนังสือที่สนใจ และเขียนรายงาน เรื่องที่อ่านเป็นรายบุคคล โดยให้ผู้ปกครองช่วยตรวจสอบพฤติกรรม การอ่านของผู้เรียนที่บ้านโดยมีแบบฟอร์มให้
การวัดและประเมินผล 1. ตามรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคต่างๆ โดยสรุป จะมีทั้งคะแนนรายบุคคลและรายกลุ่ม 2. วิธีการวัดผลใช้การทดสอบความรู้ การสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การประเมินผลงาน และการสัมภาษณ์ความรู้สึกความคิดเห็น 3. เครื่องมือที่ใช้วัดผล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินผลงาน 4. ช่วงเวลาที่ใช้วัดผลคือ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
การเตรียมตัวของผู้สอนการเตรียมตัวของผู้สอน 1. ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) จัดกลุ่มผู้เรียน ให้ทำงานด้วยกันได้อย่างเหมาะสม และมีเป้าหมายการทำงานเดียวกัน 2. จัดหลักสูตรหรือหน่วยที่เหมาะจะเรียนแบบร่วมมือ 3. แจ้งเป้าหมายของงานให้ผู้เรียนทำ อธิบายกิจกรรมการเรียนรู้อย่างชัดเจน 4. ดูแลประสิทธิภาพของการทำงานกลุ่ม ให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น 5. ให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้เรียนทั้งด้านเนื้อหาและทักษะการทำงาน 6. ประเมินผลสัมฤทธิ์และส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
ตัวอย่างการสอน - การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิกซอว์ - ถ่ายทำเป็นวีดิทัศน์ใช้เวลาชมประมาณ 15 นาที - เนื้อหาที่เรียนคือ ประวัติศาสตร์โลก เป็นเนื้อหาในระดับปริญญาตรี โดยผู้เชี่ยวชาญที่เรียบเรียงเนื้อหา คือศาสตราจารย์ดร.สิริวรรณ ศรีพหล - นักศึกษาในวีดิทัศน์ คือนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรและการสอน จำนวน 16 คน
ข้อสังเกตจากตัวอย่างการสอนข้อสังเกตจากตัวอย่างการสอน - การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เช่น การจัดชั้นเรียน และความเป็นกัลยาณมิตร ของผู้สอน -การนำเข้าสู่บทเรียนต้องน่าสนใจเหมาะสม กระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการเรียน - การแบ่งกลุ่มต้องเป็นไปตามเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือและไม่ให้ผู้เรียน รู้สึกว่าด้อย - การให้ข้อมูลเรื่องผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลต่อยอดได้ สะดวก
ข้อสังเกตจากตัวอย่างการสอนข้อสังเกตจากตัวอย่างการสอน - การกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันและทำงานสำเร็จตามเวลาเป็นสิ่งสำคัญ - การสรุปบทเรียนต้องคมชัดได้ความคิดรวบยอดที่มาจากการเติมเต็มผลงาน ของผู้เรียน - การประเมินผลสามารถทำได้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม แต่แก่นแท้ที่ผู้สอน ควรเสนอคือความสุขอันเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันได้และผู้เรียนตระหนักว่า ทุกคนมีส่วนทำให้การเรียนประสบผลสำเร็จ
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน - ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระได้ด้วยตนเอง โดยความร่วมมือ และช่วยเหลือจากเพื่อนๆ - ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการประสานสัมพันธ์ ทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น - ผู้เรียนกระตือรือร้นเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองโดยรอบด้าน - ผู้เรียนซึมซับวิถีการทำงานร่วมกันเป็นคณะ เมื่อเติบโตเข้าสู่สังคม จะสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอเชิญฟังความคิดเห็นของนักศึกษาจำนวน 4 ราย ที่แสดงความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ