650 likes | 986 Views
นโยบายและแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงิน และมาตรการตามกฎหมายฉบับใหม่. กฎกระทรวงฉบับใหม่ (พ.ศ.2554) ออกตามความใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542. บรรยายโดย พ.ต.อ. ดร.สี หนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน.
E N D
นโยบายและแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงินนโยบายและแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายฟอกเงิน และมาตรการตามกฎหมายฉบับใหม่
กฎกระทรวงฉบับใหม่ (พ.ศ.2554) ออกตามความในพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 บรรยายโดย พ.ต.อ.ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
มาตรฐานสากลตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
เหตุผลในการประกาศใช้พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับความผิดมูลฐานได้ใช้ช่องทางจากการประกอบอาชีพบางประเภทซึ่งมิใช่การดำเนินการของสถาบันการเงินเป็นแหล่งในการฟอกเงิน นอกจากนี้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการแสดงตนของลูกค้าของสถาบันการเงินที่ยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องและไม่ครอบคลุมถึงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อให้มีรายละเอียดของข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบอาชญากรรมนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการฟอกเงินได้โดยง่าย ดังนั้น เพื่อเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสมควรกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทมีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการแสดงตนและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพบางประเภทให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
การกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินต้องรายงานการทำธุรกรรม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 วรรคหนึ่ง) มาตรา 16ให้ผู้ประกอบอาชีพดังต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานในกรณีเป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ทั้งนี้ ผู้ประกอบอาชีพตาม (2) (3) (4) และ (5) ต้องเป็นนิติบุคคล เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยที่มีพยานหลักฐานอันสมควรว่ามีการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินกับผู้ประกอบอาชีพตาม (2) (3) (4) และ (5) ที่มิได้เป็นนิติบุคคล ให้สำนักงานมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าวรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน
ผู้ประกอบอาชีพ 9 ประเภท มีดังนี้(1)ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินตามมาตรา 13(2) ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี เพชรพลอย หรือทองคำ (3) ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์
(4) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (5) ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (6) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(7) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน(8) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (9) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
การรู้จักลูกค้า[KnowYour Customer (KYC)](แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 20 วรรคหนึ่ง)มาตรา 20ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 จัดให้ลูกค้าแสดงตนทุกครั้งก่อนการทำธุรกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดมาตรการเพื่อขจัดอุปสรรคในการแสดงตนของคนพิการหรือทุพพลภาพด้วย เว้นแต่ลูกค้าได้แสดงตนไว้ก่อนแล้ว
การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า [Customer Due Diligence (CDD)] (เพิ่มมาตรา 20/1) มาตรา 20/1สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (1) และ (9) ต้องกำหนดนโยบายการรับลูกค้า การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกี่ยวกับการฟอกเงินของลูกค้า และต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าเมื่อเริ่มทำธุรกรรมครั้งแรก โดยต้องตรวจสอบเป็นระยะจนสิ้นสุดดำเนินการเมื่อมีการปิดบัญชีหรือยุติความสัมพันธ์กับลูกค้า
การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า [Customer Due Diligence (CDD)] (เพิ่มมาตรา 20/1) (ต่อ)มาตรา 20/1 วรรคสองการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามวรรคหนึ่งจะมีขอบเขตเพียงใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการแสดงตนและการพิสูจน์ทราบลูกค้า การตรวจทานบัญชีลูกค้า และการติดตามความเคลื่อนไหวทางบัญชีของลูกค้าที่ได้รับการแจ้งจากสำนักงาน
กำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องเก็บรักษารายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงตนเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือยุติความสัมพันธ์กับลูกค้า(เพิ่มมาตรา 22 วรรคสอง)มาตรา 22 วรรคสอง “ให้นำความใน (1) มาใช้บังคับกับผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ด้วย”
กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องเก็บรักษารายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า(เพิ่มมาตรา 22/1)มาตรา 22/1ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 (1) และ (9)เก็บรักษารายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าตามมาตรา 20/1 เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือยุติความสัมพันธ์กับลูกค้า เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้สำหรับลูกค้ารายใด ให้เลขาธิการมีอำนาจแจ้งเป็นหนังสือเพื่อให้ขยายเวลาได้ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
กำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 62)มาตรา 62 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 มาตรา 14มาตรา 16มาตรา 20มาตรา 20/1มาตรา 21 มาตรา 22มาตรา 22/1 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
สาระสำคัญ 1. หน้าที่ในการรายงานธุรกรรม 2. หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับการรายงานธุรกรรม 3. บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรม
1.หน้าที่ในการรายงานธุรกรรม1.หน้าที่ในการรายงานธุรกรรม 1.1ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม 1.2ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.3 แบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงาน ธุรกรรม 1.4ธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรายงาน 1.5 บทคุ้มครองผู้รายงาน
บทนิยามที่สำคัญ มาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 “ธุรกรรม” หมายความว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใดๆ กับผู้อื่น ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน “ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย” หมายความว่า ธุรกรรมที่มีความซับซ้อนผิดไปจากการทำธุรกรรมในลักษณะเดียวกันที่ทำกันอยู่ตามปกติ ธุรกรรมที่ขาดความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากระทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
1.1 ผู้มีหน้าที่รายงานธุรกรรม 1.1.1 สถาบันการเงิน(มาตรา 13 วรรค 1, บทนิยามคำ ว่า “สถาบันการเงิน” (มาตรา 3)) 1.1.2 สำนักงานที่ดิน(มาตรา 15) 1.1.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน (มาตรา 16)
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.1 สถาบันการเงิน มีธุรกรรม 3 ประเภท คือ (1)ธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเงินสดตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไปเว้นแต่ธุรกรรมที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงธุรกรรมที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ให้รายงานเมื่อมีจำนวนเงินสดตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป มาตรา 13(1) ประกอบข้อ 3(1) แห่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินสดและมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2554 ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 (มีผลใช้บังคับวันที่ 25 สิงหาคม 2554)
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.1 สถาบันการเงิน (ต่อ) (2) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีมูลค่าทรัพย์สินตั้งแต่ 5,000,000 บาทขึ้นไปเว้นแต่ธุรกรรมที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้รายงานเมื่อมีมูลค่าทรัพย์สินตั้งแต่ 700,000 บาทขึ้นไป มาตรา 13(2) ประกอบข้อ 3(2) แห่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินสดและมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมที่สถาบันการเงินต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2554 ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 (มีผลใช้บังคับวันที่ 25 สิงหาคม 2554)
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.1 สถาบันการเงิน (ต่อ) (3) ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมตาม (1) หรือ (2)หรือไม่ก็ตาม( มาตรา 13(3))
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.1สถาบันการเงิน (ต่อ) มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมเพิ่มเติม ในกรณีที่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวข้องหรืออาจจะเป็นประโยชน์ในการยืนยันหรือยกเลิกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรมที่ใช้เงินสด ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน และธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ที่สถาบันการเงินได้รายงานไปแล้วข้างต้นให้สำนักงาน ปปง. ทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงนั้น มาตรา 13 วรรคสอง ประกอบกับ วรรคสองของข้อ 2(2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.1สถาบันการเงิน (ต่อ) มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมย้อนหลังในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าธุรกรรมใดที่ได้กระทำไปแล้ว โดยมิได้มีการรายงาน เป็นธุรกรรมที่ใช้เงินสด ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่สถาบันการเงินต้องรายงาน ไปยังสำนักงาน ปปง. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าธุรกรรมใดที่ได้กระทำไปแล้วโดยมิได้มีการรายงานเป็นธุรกรรมที่ต้องรายงานด้วย มาตรา 14 ประกอบกับข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน (ต่อ) 1.2.2 สำนักงานที่ดินมีธุรกรรม 3 ประเภท คือ (1) ธุรกรรมการขอจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินมิได้เป็นคู่กรณีเมื่อมีการชำระด้วยเงินสดเป็นจำนวนตั้งแต่ 2,000,000 บาทหรือกว่านั้นขึ้นไป มาตรา 15(1) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542ประกอบข้อ 1(1) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.2 สำนักงานที่ดิน (ต่อ) (2)ธุรกรรมการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินมิได้เป็นคู่กรณีเมื่ออสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าตามราคาประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตั้งแต่ 5,000.000 บาทหรือกว่านั้นขึ้นไปเว้นแต่เป็นการโอนในทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรม มาตรา 15(2) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบข้อ 1(2) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.2 สำนักงานที่ดิน (ต่อ) (3) ธุรกรรมการขอจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินมิได้เป็นคู่กรณีเมื่อเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย มาตรา 15 (3) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน (ต่อ) 1.2.3 ผู้ประกอบอาชีพ(9 ประเภท)ที่มิใช่สถาบันการเงิน (มาตรา 16) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท (1) ธุรกรรมที่ใช้เงินสด มาตรา 16 วรรคหนึ่ง (1)(2)(3)(4)(5) และ (8) ตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป ความในข้อ 2(1) แห่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดซึ่งผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2554
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.3 ผู้ประกอบอาชีพ(9 ประเภท)ที่มิใช่สถาบันการเงิน (มาตรา 16) (ต่อ) (1) ธุรกรรมที่ใช้เงินสด - มาตรา 16 วรรคหนึ่ง (6) ตั้งแต่500,000บาท ขึ้นไป ความในข้อ 2(2) แห่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดซึ่งผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2554
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.3 ผู้ประกอบอาชีพ(9 ประเภท)ที่มิใช่สถาบันการเงิน (มาตรา 16) (ต่อ) (1) ธุรกรรมที่ใช้เงินสด - มาตรา 16 วรรคหนึ่ง (7)และ(9) ตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป ความในข้อ 2(3) แห่งกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินในการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดซึ่งผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2554
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.3 ผู้ประกอบอาชีพ(9 ประเภท)ที่มิใช่สถาบันการเงิน (มาตรา 16) (ต่อ) (2) ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
1.2 ประเภทของธุรกรรมที่ต้องรายงาน 1.2.3 ผู้ประกอบอาชีพ(9 ประเภท)ที่มิใช่สถาบันการเงิน (มาตรา 16) (ต่อ) ให้ผู้ประกอบอาชีพมีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมเพิ่มเติม ในกรณีที่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวข้องหรืออาจจะเป็นประโยชน์ในการยืนยันหรือยกเลิกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรมที่ใช้เงินสด และธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยที่ผู้ประกอบอาชีพได้รายงานไปแล้วข้างต้นให้สำนักงาน ปปง.ทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงนั้นด้วย มาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบ ข้อ 7 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ.๒๕๔๓) อออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2554) ออกตามความในพระราชพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
1.3 แบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานธุรกรรม 1.3.1 สถาบันการเงิน 1.3.1.1 แบบรายงานของสถาบันการเงิน (๑) ธุรกรรมที่ใช้เงินสด ตามมาตรา ๑๓ (๑) ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑ – ๐๑ (๒) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ตามมาตรา ๑๓ (๒) ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑ – ๐๒ (๓) ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ตามมาตรา ๑๓ (๓) ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑ – ๐๓ ข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
1.3.1.1 แบบรายงานของสถาบันการเงิน (ต่อ) สถาบันการเงินที่เป็นบริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑ - ๐๔ – ๑(แบบรายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสด(ธุรกิจประกันชีวิต)) แบบ ปปง. ๑ - ๐๔ - ๒(แบบรายงานการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน) และแบบ ปปง. ๑ - ๐๔ - ๓ (แบบรายงานการทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย) ในกรณีที่การทำธุรกรรมใดไม่สามารถรายงานโดยใช้แบบดังกล่าวได้ ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑ - ๐๑ แบบ ปปง. ๑ - ๐๒ และแบบ ปปง. ๑ - ๐๓ ได้โดยอนุโลม
1.3.1.1 แบบรายงานของสถาบันการเงิน (ต่อ) สถาบันการเงินอาจใช้แบบรายงานการทำธุรกรรมรูปแบบอื่นที่มีข้อมูลเดียวกันกับแบบรายงานข้างต้นโดยใช้แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนก็ได้ การรายงานการทำธุรกรรมตามมาตรา ๑๓ (๑) และ (๒) ที่มีการทำธุรกรรมเพื่อการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์รวมอยู่ด้วย ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑ - ๐๕ - ๙ หรือใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทน
1.3.1.2 ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานของสถาบันการเงิน (๑) การรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดและธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินตามมาตรา ๑๓ (๑) และ (๒) ให้สถาบันการเงินรายงานโดยการส่งแบบรายงานที่ทำขึ้นในระหว่างวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๕ และที่ทำขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๖ ถึงวันสิ้นเดือน ไปยังสำนักงาน ปปง.ภายใน ๗ วันนับแต่วันถัดจากวันที่ ๑๕ และวันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการทำธุรกรรมนั้น (๒) การรายงานการทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ตามมาตรา ๑๓ (๓) ให้สถาบันการเงินรายงานโดยการส่งแบบรายงานไปยังสำนักงาน ปปง.ภายใน ๗ วันนับแต่วันที่มีเหตุอันควรสงสัย (๓) การรายงานการทำธุรกรรมที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้รายงานทุกครั้งเมื่อมีการโอนเงิน หรือชำระเงิน หรือรับการโอนเงินของลูกค้า ข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบ ข้อ ๗/๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (มีผลใช้บังคับวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔)
1.3.1.3 วิธีการส่งแบบรายงานของสถาบันการเงิน การส่งแบบรายงานการทำธุรกรรมไปยังสำนักงาน ปปง. อาจทำได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ (๑) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงาน ปปง. (๒) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (๓) ส่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบ ข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
1.3.1.4การรายงานธุรกรรมเป็นภาษาอังกฤษของสถาบันการเงิน1.3.1.4การรายงานธุรกรรมเป็นภาษาอังกฤษของสถาบันการเงิน สถาบันการเงิน อาจรายงานการทำธุรกรรมเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่เมื่อได้รับแจ้งจากสำนักงาน ปปง. ให้แปลรายงานหรือข้อมูลการทำธุรกรรมดังกล่าวเป็นภาษาไทย สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพที่มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม จะต้องจัดทำคำแปลพร้อมมีหนังสือรับรองความถูกต้อง และจัดส่งไปยังสำนักงาน ปปง. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ข้อ ๘/๑ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเพิ่มโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (มีผลใช้บังคับวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔)
1.3 แบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานธุรกรรม 1.3.2 สำนักงานที่ดิน 1.3.2.1 แบบรายงานของสำนักงานที่ดิน แบบรายงานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานที่ดินต้องรายงานต่อสำนักงาน ปปง.ตามมาตรา ๑๕ (๑) (๒) และ (๓) ให้ใช้สำเนาคำขอจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมที่รับรองถูกต้อง หรือ แบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลตามคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าว ข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
1.3.2.2 ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานธุรกรรมของสำนักงานที่ดิน (ข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒) (๑) การรายงานการทำธุรกรรมการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินมิได้เป็นคู่กรณีเมื่อมีการชำระด้วยเงินสดเป็นจำนวนตั้งแต่สองล้านบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปตามมาตรา ๑๕ (๑) และการรายงานการทำธุรกรรมการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินมิได้เป็นคู่กรณีเมื่ออสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าตามราคาประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตั้งแต่ห้าล้านบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป เว้นแต่เป็นการโอนในทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา ๑๕(๒) ให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอ รายงานโดยการส่งสำเนาคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรรมที่รับรองถูกต้องที่ทำขึ้นในระหว่างวันที่ ๑ ถึงวันสิ้นเดือน ไปยังสำนักงานภายใน ๕ วันนับแต่วันถัดจากวันสิ้นเดือนที่มีการทำธุรกรรมนั้น • (๒) การรายงานการทำธุรกรรมการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินมิได้เป็นคู่กรณีเมื่อเป็นธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยตามมาตรา ๑๕ (๓) ให้ส่งสำเนาคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่รับรองถูกต้อง พร้อมทั้งบันทึกเหตุอันควรสงสัยไปยังสำนักงานภายใน ๕ วันนับแต่วันที่มีเหตุอันควรสงสัย
1.3.2.3 วิธีการส่งแบบรายงานธุรกรรมของสำนักงานที่ดิน การส่งแบบรายงานการทำธุรกรรมไปยังสำนักงาน ปปง. อาจทำได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ (๑) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงาน ปปง. (๒) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (๓) ส่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
1.3 แบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานธุรกรรม 1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.1 แบบการรายงานธุรกรรม ข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ก.) ธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนด (๑) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการ การให้คำแนะนำ หรือการเป็นที่ปรึกษาในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือการเคลื่อนย้ายเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑-๐๕-๑ (๒) ผู้ประกอบอาชีพค้าอัญมณี เพชรพลอย ทองคำ หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี เพชรพลอย หรือทองคำให้รายงานโดยใช้ แบบ ปปง. ๑-๐๕-๒
1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.1 แบบการรายงานธุรกรรม (ก.) ธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนด (ต่อ) (๓) ผู้ประกอบอาชีพค้าหรือให้เช่าซื้อรถยนต์ ให้รายงานโดยใช้ แบบ ปปง. ๑-๐๕-๓ (๔) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑-๐๕-๔ (๕) ผู้ประกอบอาชีพค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าให้รายงานโดยใช้ แบบ ปปง. ๑-๐๕-๕
1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.1 แบบการรายงานธุรกรรม (ก.) ธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนด (ต่อ) (๖)ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ให้รายงานโดยใช้ แบบ ปปง. ๑-๐๕-๖ (๗) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินให้รายงานโดยใช้ แบบ ปปง. ๑-๐๕-๗
1.3 แบบ ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานธุรกรรม 1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.1 แบบการรายงานธุรกรรม (ก.) ธุรกรรมที่ใช้เงินสดมีจำนวนเกินกว่าที่กำหนด (ต่อ) (๘) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑-๐๕-๘ (๙) ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้รายงานโดยใช้ แบบ ปปง. ๑-๐๕-๙
1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.1 แบบการรายงานธุรกรรม (ข.) ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ให้รายงานโดยใช้ แบบ ปปง. ๑ - ๐๕ – ๑๐
1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.1 แบบการรายงานธุรกรรม อนึ่ง ผู้ประกอบอาชีพที่มิใช่สถาบันการเงิน อาจใช้การรายงานการทำธุรกรรมโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนได้ สำหรับผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยให้รายงานโดยใช้แบบ ปปง. ๑ - ๐๕ - ๙ หรือรายงานโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทน
1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.2 ระยะเวลา หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานธุรกรรม (๑) การรายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสด ให้ผู้ประกอบอาชีพที่มิใช่สถาบันการเงินรายงานโดยการส่งแบบรายงานหรือส่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสำนักงานภายในเดือนถัดไปของเดือนที่มีการทำธุรกรรมนั้น (๒) การรายงานการทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ให้ผู้ประกอบอาชีพที่มิใช่สถาบันการเงิน รายงานโดยการส่งแบบรายงานหรือส่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังสำนักงานภายใน ๗ วันนับแต่วันที่มีเหตุอันควรสงสัย (๓) การรายงานการทำธุรกรรมที่เป็นการโอนเงินหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้รายงานทุกครั้งเมื่อมีการโอนเงิน หรือชำระเงิน หรือรับการโอนเงินของลูกค้า ข้อ ๗ และข้อ ๗/๑ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.3วิธีการส่งรายงานธุรกรรม การส่งแบบรายงานการทำธุรกรรมไปยังสำนักงาน ปปง. อาจทำได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ (๑) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงาน ปปง. (๒) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (๓) ส่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ประกอบ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
1.3.3 ผู้ประกอบอาชีพ (9 ประเภท) ที่มิใช่สถาบันการเงิน 1.3.3.4 การรายงานธุรกรรมเป็นภาษาอังกฤษ ผู้ประกอบอาชีพที่มิใช่สถาบันการเงิน อาจรายงานการทำธุรกรรมเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่เมื่อได้รับแจ้งจากสำนักงาน ปปง. ให้แปลรายงานหรือข้อมูลการทำธุรกรรมดังกล่าวเป็นภาษาไทย สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพที่มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม จะต้องจัดทำคำแปลพร้อมมีหนังสือรับรองความถูกต้อง และจัดส่งไปยังสำนักงาน ปปง. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ข้อ ๘/๑ แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (มีผลใช้บังคับวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔)
1.4ธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงาน1.4ธุรกรรมที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงาน พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๘ กำหนดยกเว้นไว้ว่าธุรกรรมตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ ที่รัฐมนตรีเห็นสมควรให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ปัจจุบัน ได้แก่ ธุรกรรมที่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒