240 likes | 514 Views
ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี รถจักรยานยนต์จากชิ้นส่วนเก่าหรือ อุปกรณ์ที่ใช้แล้ว. ความหมาย.
E N D
ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี รถจักรยานยนต์จากชิ้นส่วนเก่าหรือ อุปกรณ์ที่ใช้แล้ว
ความหมาย รถจักรยานยนต์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้จำกัดความว่า “รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า และพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน 2 ล้อ ถ้ามีพวงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกิน 1 ล้อ
ลักษณะการประกอบอุตสาหกรรมลักษณะการประกอบอุตสาหกรรม การประกอบกิจการของผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นผู้ผลิตจักรยานยนต์ โดยผลิตชิ้นส่วน ผลิตเครื่องยนต์ และประกอบเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป เพื่อจำหน่าย และมีการผลิตชิ้นส่วนอะไรจำหน่าย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบอุสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ไทย ฮอนด้าเมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัท ไทยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ฯลฯ
2. เป็นผู้ผลิตจักรยานยนต์ เป็นผู้ประกอบรถจักรยานยนต์ ซื้อเครื่องยนต์ชิ้นส่วนอะไหล่ มาเพื่อใช้ในการประกอบรถจักรยานยนต์ โดยการซื้อวัตถุดิบในประเทศหรือการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการประกอบ เช่น บริษัท ธนสารยนต์ จำกัด ฯลฯ 3. เป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ โดยการจ้างให้บริษัทอื่นเป็นผู้ประกอบรถจักยานยนต์และเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบทั้งหมด ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ซื้อจากภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น บริษัท ไทยเกอร์ มอเตอร์ จำกัด ฯลฯ 4. เป็นผู้รับจ้างผลิตรถจักรยายนต์ โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบทั้งหมด เช่น บริษัท มิลเลนเนี่ยมมอเตอร์ จำกัด 5. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายย่อย เช่น ร้านรับซ่อมมอเตอร์ไซค์ทั่วไป ฯลฯ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ 1. พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 2. พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 3. พระราชบัญญัติจัดสรรภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 4. หนังสือเวียนกรมสรรพสามิต 4.1 หนังสือกรมสรรพสามิต ที่ กค 0616/ว44 ลงวันที่ 20 มกราคม 2552 เรื่อง รถจักรยานยนต์ประกอบจากชิ้นส่วนเก่านำเข้า มีสาระสำคัญดังนี้
4.1.1 ผู้นำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศ (ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้ยกเลิกการนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์) ต้องชำระภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานศุลกากร และด่านศุลกากรที่นำเข้า 4.1.2 หากมีการนำชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์เก่ามาประกอบเป็นรถจักรยานยนต์ผู้ประกอบอุตสาหกรรม (จดทะเบียน) ต้องทำหนังสือแจ้งก่อนนำรถออกจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยยื่นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานการนำเข้า ชิ้นส่วนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อกำหนดมูลค่า และต้องยื่นแบบรายการชำระภาษี ภษ.01-12 4.1.3 เมื่อผู้ประกอบอุตสาหกรรม(จดทะเบียน) ชำระภาษีแล้วให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่รับชำระภาษี มีหนังสือราชการรับรองการชำระภาษีของรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปยังกรมการขนส่งทางบทเพื่อทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
4.2 หนังสือกรมสรรพสามิต ด่วนมากที่ กค 0616/ว175 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่อง การจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว มีสาระสำคัญดังนี้ 4.2.1 ยกเลิกหนังสือกรมสรรพสามิต ด่วนมาก ที่ กค 0616/ว341 ลงวันที่ 7 เมษายน 2552 เรื่อง การจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว หากมีการยื่นขอชำระภาษีรถยนต์หรือจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือ ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว ขอให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กรมสรรพสามิตเพื่อประกอบพิจารณา
4.2.2 กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนสรรพสามิตสินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว 4.2.3 กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจแบบแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม สินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว 4.3 หนังสือกรรมสรรพสามิต ด่วนมาก ที่ กค 0616/ว160 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่อง การจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว มีสาระดังนี้
กรมสรรพสามิตได้รวบรวมรายการรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ รุ่นต่างๆ ที่ได้มีการอนุมัติมูลค่าเพื่อใช้เกณฑ์ในการคำนวณภาษี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารการจัดเก็บภาษี กรณีที่ไม่ปรากฏตามรายการในบัญชี ขอให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กรมสรรพสามิตพิจารณากำหนดมูลค่าเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีต่อไป ทั้งนี้ เมื่อมีการกำหนดมูลค่าเพิ่มเติม สามารถติดตามบัญชีมูลค้าได้จาก website กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th 4.4 หนังสือกรมสรรพสามิต ด่วนมาก ที่ กค 0616/ว685 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 เรื่อง การจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว มีสาระสำคัญดังนี้
เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ ใช้แล้วเป็นมาตรฐานเดียวกัน ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษีรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว ส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กรมสรรพสามิตพิจารณากำหนดมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีก่อนรับชำระภาษี 4.5 หนังสือกรมสรรพสามิต ด่วนมาก ที่ กค 0616/ว265 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2555 เรื่องการจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว
อัตราภาษี 1. อัตราภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 30 2. อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตรายกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 104 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2555 (ไม่ใช้บังคับสำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ผลิตรถจักรยานยนต์จากอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่ใช้แล้ว) 2.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 150 ลูกบาศก์เวนติเมตร จัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 3 2.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร จัดเก็บตามมูลค่าร้อยล่ะ 5
2.3 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 10 2.4 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 20 2.5 อื่นๆ ได้รับการยกเว้นภาษี
มูลค่าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี 1. กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ถือราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระด้วย 2. กรณีสินค้าที่นำเข้า ให้ถือตามราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า บวกด้วยอากร ขาเข้าค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดในพระราชกฤษฎีกา โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระด้วย (แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ความรับผิดในการชำระภาษีความรับผิดในการชำระภาษี 1. กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร เกิดขึ้นในเวลา 1.1 นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือนำสินค้าไปใช้ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือเป็นการนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม 1.2 นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่การนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนอื่น 1.3 กรรีการซื้อขายหรือให้เช่าสินค้าก่อนนำส่งออกจากโรงอุตสาหกรรม (ซึ่งทำให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. กรณีสินค้านำเข้า ให้ถือว่าความรับผิดในอันต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากร สำหรับกรณีนำเข้าสินค้าตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร
สถานที่ยื่นชำระภาษี ผู้ประกอบอุตสาหกรรม รถจักรยานยนต์ สามารถยื่นชำระภาษีได้ตามสถานที่ดังต่อไปนี้ 1. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือ ถ้ามีหลายให้ยื่นคำร้องขอยื่นแบบและชำระภาษีรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ 2. กรณีนำเข้า ให้ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี ณ กรมศุลกากร หรือ ด่านศุลกากร หรือ ที่ซึ่งกรมศุลกากรกำหนดให้มีการผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า
วิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิตวิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิต แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีที่ผลิตในประเทศ 2. กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ กรณีที่ผลิตในประเทศ
ตัวอย่างการคำนวณภาษี กรณีที่ผลิตในราชอาณาจักร บริษัท ฮอนด้า จำกัด ผลิตรถจักรยานยนต์ ออกจากโรงงานอุสาหกรรม จำนวน 5 คัน ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม (รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต 3,000 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี 300 บาท รวมภาษีต้องชำระ 3,300
กรณีนำเข้าจากต่างประเทศกรณีนำเข้าจากต่างประเทศ ตัวอย่างการคำนวณภาษี บริษัทผู้นำเข้ารายหนึ่ง นำเข้ารถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ จำนวน 1 คัน ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 123,622.08 บาท (คือ ราคา + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 89,008.00 บาท และอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 3
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต 6,079 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 607.9 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 6,668.90 บาท
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิตขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิต 1. หนังสือแสดงความจำนงขอชำระภาษีหรือหนังสือมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2. เอกสารการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ เช่น อะไหล่ตัวรถ (Frame)ฯลฯ 3. ใบเสร็จรับเงินค่าประกอบรถจักรยานยนต์ 4. รูปถ่ายรถจักรยานยนต์ด้านหน้าและด้านข้าง 5. ใช้กระดาษลอกลายหมายเลขตัวรถ หมายเลขเครื่องยนต์ให้เห็นชัดเจน 6.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้านเจ้าของรถจักรยานยนต์
ปัญหาการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้วปัญหาการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว 1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจดทะเบียนสรรพสามิต - แจ้งราคา ณ โรงอุตสาหกรรม ต่ำกว่าเป็นจริง 2. การรับชำระภาษีของพื้นที่ - ตรวจแบบแจ้งฯไม่เป็นตามหนังสือสั่งการของกรมสรรพสามิต (ที่ กค 0616/ว175 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554) - รับชำระตามแบบแจ้งฯ โดยไม่รอกรมฯ กำหนดมูลค่า - เป็นกรมฯ กำหนดมูลค่าฯ ออกไป พื้นที่ ไม่ได้ดำเนินการ
3. การดำเนินการตรวจสอบภาษีของพื้นที่ไม่เป็นตามกรอบของกฏหมายและระเบียบของกรมสรรพสามิต 4. มีการตรวจสอบการชำระภาษีของผู้ประกอบอุตสาหกรรมจดทะเบียนโดยหน่วยงานอื่น หรือพื้นที่อื่น - ไม่ตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีให้ชัดเจนก่อนออกหนังสือรับรอง หมายเลขเครื่องยนต์ไม่ตรงกับเสียภาษีไว้ 5. กรณีรับชำระภาษีจากผู้ประกอบฯ รายคัน โดยไม่ตรวจสอบรายละเอียดของรถจักรยานยนต์ ซึ่งรับชำระภาษีจักรยานยนต์คันที่ถูกเจ้าพนักงานยึดหรืออายัดไว้เพื่อดำเนินคดี