370 likes | 1.09k Views
โครงการอบรมบุคลากร เรื่อง การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล วันที่ 30-31 มกราคม 2551 โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์. การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. คณะกรรมการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ( Infectious Control Committee : ICC ). การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เป้าหมาย ในการอบรม
E N D
โครงการอบรมบุคลากรเรื่องการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลวันที่ 30-31 มกราคม 2551โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล คณะกรรมการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ( Infectious Control Committee : ICC )
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล เป้าหมาย ในการอบรม • การเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ • การฝึกล้างมืออย่างถูกต้อง • การแยกขยะแต่ละประเภทได้ถูกต้อง
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 1. IC คือ อะไร ? Infectious Control “การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล”
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 2. อะไรคือการติดเชื้อในโรงพยาบาล ? คือ การที่บุคลากรและผู้ป่วย มีการได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย และ ไวรัส ที่มีสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยได้รับเชื้อขณะที่อยู่ในโรงพยาบาล หรือ ได้รับเชื้อจากคนหรือสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 3. การแพร่กระจายของเชื้อโรค มีทางใดบ้าง? ทางการสัมผัสโดยตรง ทางการหายใจ (ระบบทางเดินหายใจ) ทางการกินและการดื่ม (ระบบทางเดินอาหาร) ทางระบบเลือด
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 4. ทำไมต้องมีการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ? เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ/การแพร่กระจายเชื้อ ระหว่างคนและคน สัตว์และคน สิ่งแวดล้อมและคน ที่สำคัญ คือ บุคลากรและผู้ป่วย
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 5. เกิดประโยชน์อย่างไรกับโรงพยาบาล รวมถึงบุคลากร และ ผู้ป่วย ? บุคลากรลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยลดความเสี่ยงในเจ็บป่วยจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล และสามารถจำหน่ายได้เร็วตามกำหนด โรงพยาบาลมีคุณภาพ
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 6. บุคลากรมีส่วนในการควบคุมแลป้องกันการติดเชื้ออย่างไร? บุคลากรปฏิบัติตามหลัก “มาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ” ( Standard precautions )
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 7. “มาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ” ( Standard precautions ) คือ อะไร ? หลักปฏิบัติมาตรฐานที่บุคลากรทุกคนต้องปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ ในการป้องกันการติดเชื้อ การแพร่กระจายเชื้อ จากตนเองสู่ผู้อื่น(รวมทั้งสิ่งแวดล้อม) และ จากผู้อื่น(รวมทั้งสิ่งแวดล้อม) สู่ตนเอง
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 8. “มาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ” ( Standard precautions ) มีกี่ข้อปฏิบัติ ? • การรักษาความสะอาดโดยการล้างมืออย่างถูกต้อง • 2. การใช้เครื่องป้องกันร่างกายอย่างถูกต้องเหมาะสม • 3. การระวังอุบัติเหตุจากของมีคม
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล • การรักษาความสะอาดโดยการล้างมืออย่างถูกต้อง
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 2. การใช้เครื่องป้องกันร่างกายอย่างถูกต้องและเหมาะสม
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 3. การป้องกันอุบัติเหตุจากของแหลมคม
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 9. การรักษาความสะอาดโดยการล้างมืออย่างถูกต้อง บุคลากรทุกคนต้องล้างมือ อย่างถูกต้อง ให้ครบ 6 ขั้นตอน
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล • บุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโดยตรงหรือเกี่ยวข้อง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทำการคัดแยกขยะ ณ ที่จุดกำเนิด และ นำไปจัดเก็บในสถานที่ที่กำหนดให้ 10. บุคลากรทุกคน มีหน้าที่แยกขยะให้ถูกต้อง อย่างไร
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 10. การแยกขยะ มีกี่ประเภท ? (1.) ขยะทั่วไปไม่ติดเชื้อ (2.) ขยะติดเชื้อ (3.) ขยะอันตราย (4.) ขยะสารเคมี
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (1.) ขยะทั่วไปไม่ติดเชื้อ ได้แก่อะไรบ้าง ทิ้งที่ใด ? หมายถึง วัสดุที่ใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดการแพร่เชื้อโรคไปสู่มนุษย์และสัตว์ เช่น กระดาษ พลาสติกขวดพลาสติก กล่องยา กระดาษที่ใช้แล้ว เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร ให้ใส่ถุงดำ
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (2.)ขยะติดเชื้อ ได้แก่อะไรบ้าง ทิ้งที่ใด ? หมายถึง ขยะที่เป็นผลมาจากกระบวนการรักษาพยาบาล ซึ่งควรสงสัยว่าอาจมีเชื้อ โรคที่ก่อให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่มนุษย์และสัตว์ เช่น เลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ จากร่างกายผู้ป่วย รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ผ้า สิ่งของต่างๆ ที่เปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ ให้ใส่ถุงแดง
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (3.)ขยะอันตราย ได้แก่อะไรบ้าง ทิ้งที่ใด ? หมายถึง ของมีคมที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่นใบมีด เข็มและวัสดุที่ทำจากแก้ว โละหะต่างๆ เศษกระจกแตก กระป๋องสเปรย์หลอดไฟที่แตกเสียแล้ว แบตเตอร์รี่รถยนต์ ถ่านไฟฉายที่หมดอายุ กระป๋องยาฆ่าแมลง ให้ใส่ภาชนะรองรับที่หนาและมีฝาปิด เช่น พลาสติก กล่องกระดาษ แล้วใส่ถุงดำโดยเขียนป้ายปิดว่า ขยะอันตราย
การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (4.) ขยะสารเคมี หมายถึงขยะที่ทำจากสารเคมีที่อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ที่สัมผัส หรือสารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของร่างกายรวมทั้งการเกิดมะเร็ง เช่น สารปรอท ให้เทใส่ในกระปุกที่บรรจุน้ำอยู่ครึ่งกระปุก และเก็บไว้ที่งานเทคนิคบริการ เมื่อใกล้เต็มแล้วให้นำส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อกำจัดต่อไป
มีใครยังงงๆและจำได้รึเปล่าครับ ถ้าจำไม่ได้ เรามาฝึกปฏิบัติกันเลยดีกว่า
ขอเชิญบุคลากรผู้สนใจ เข้าร่วมแข่งขันชิงตำแหน่ง Mister & Miss IC ในงาน"มหกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล( IC )" ระหว่างวันที่ 1-28 ก.พ. 2551 สอบถามและติดต่อได้ที่ คณะกรรมการ IC
รางวัลและการแข่งขัน ชนะเลิศ ได้รับเกียรติบัตร พร้อมสายสะพาย และเงินรางวัลมูลค่า 500 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเกียรติบัตร และเงินรางวัลมูลค่า 300บาท รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเกียรติบัตร และเงินรางวัลมูลค่า 200 บาท โดยการแข่งขัน 1.ล้างมืออย่างถูกต้อง (ครบ 6 ขั้นตอน) 2. แยกขยะได้ถูกต้อง (4 ประเภท) 3. ตอบคำถามเรื่องการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อถูกต้อง (2 คำถาม)