140 likes | 362 Views
การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการผลิตหนังสือสำหรับเด็ก. วิชา 233160 หนังสือสำหรับเด็ก Books for children. …ที่มา และความสำคัญของปัญหา. นักศึกษาสาขาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ เมื่อไปประกอบอาชีพ จะต้องสร้างสื่อการสอนด้วยตนเอง ในหนังสือสำหรับเด็กมีคติธรรมแทรกอยู่เสมอ
E N D
การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการผลิตหนังสือสำหรับเด็ก วิชา 233160 หนังสือสำหรับเด็ก Books for children …ที่มา และความสำคัญของปัญหา • นักศึกษาสาขาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ • เมื่อไปประกอบอาชีพ จะต้องสร้างสื่อการสอนด้วยตนเอง • ในหนังสือสำหรับเด็กมีคติธรรมแทรกอยู่เสมอ • บุคคลจะสอนคนอื่นได้ ตนเองควรประพฤติได้ก่อน • นักศึกษาฝึกตนเองได้ จึงนำคุณธรรมนั้นไปถ่ายทอด • ให้บุคคลอื่นปฏิบัติตาม : สร้างหนังสือ/วรรณกรรมอื่นๆ
หลักการ / แนวคิดเบื้องต้น อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญ มนุสสาสติ สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม สอนคนอื่นอย่างใด ควรทำตนอย่างนั้น ฝึกตนเองแล้วค่อยฝึกคนอื่น เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก As he instructs Others He should himself act. Himself fully controlled, He should control others. Difficult indeed is to control oneself. (พุทธวจนะในธรรมบท : เสถียรพงษ์ วรรณปก)
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และประพฤติตนตามหลัก บุญกิริยาวัตถุ 10 , มงคลชีวิต 38 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำคุณธรรมไปประยุกต์ใช้ และแทรกเสริมในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก
หลักธรรมที่นำมาอ้างอิงหลักธรรมที่นำมาอ้างอิง บุญกริยาวัตถุ 10 ประการ แนวทางช่วยให้มนุษย์เรียนรู้การปฏิบัติตนไปสู่ความดีงาม 10 ประการ 1. ทานมัย (บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน) 2. สีลมัย (บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล)3. ภาวนามัย (บุญสำเร็จด้วยการเจริญสมาธิภาวนาลดโลภโกรธหลง) 4. อปจายนมัย (บุญสำเร็จด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่)
5. เวยยาวัจจมัย (บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายทำงานที่ถูกที่ชอบ หรือการช่วยเหลือสังคม) 6. ปัตติทานมัย (บุญสำเร็จด้วยการทำให้ผู้อื่นได้บุญ หรือการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นร่วมทำบุญกับเรา) 7. ปัตตานุโมทนามัย (บุญสำเร็จด้วยการยินดีที่ผู้อื่นได้บุญ หรือยินดีในการทำความดีหรือการทำบุญของผู้อื่น) 8. ธัมมัสสวนมัย (บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม-อ่านหนังสือธรรมะ) 9. ธัมมเทสนามัย (บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม บอกธรรมะแก่ผู้อื่น) 10. ทิฏฐุชุกัมม์ (บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ถูกตรง)
มงคลชีวิต 38 มงคล คือวิถีแห่งความสุข เป็นบันไดความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต 19. ละเว้นการทำบาป 20. ละเว้นการดื่มน้ำเมา 17. สงเคราะห์ญาติ 18. การทำงานที่ไม่มีโทษ 15. การให้ทาน 16. การประพฤติธรรม 14. ทำงานไม่คั่งค้าง 12. สงเคราะห์บุตร 13. สงเคราะห์ภรรยา-สามี 11. บำรุงบิดามารดา 9. มีวินัย 10. พูดดีมีคติ 6. ตั้งตนไว้ชอบ 7. เป็นพหูสูตร 8. มีศิลปะดำเนินชีวิต 4. อยู่ในถิ่นเหมาะสม 5. เคยสั่งสมความดี 1. ไม่คบคนพาล 2. คบบัณฑิต 3. บูชาบุคคลควรบูชา
38. จิตเกษม 37. จิตปราศจากกิเลส 35. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม 36. จิตไม่เศร้าโศก 33. เห็นอริยสัจจ์ 34. ทำความเห็นแจ้งในพระนิพพาน 31. บำเพ็ญตบะ 32. ประพฤติพรหมจรรย์ 29. การได้เห็นสมณะ 30. การได้สนทนาธรรมตามกาลเหมาะสม 27. อดทน 28. เป็นผู้ว่าง่าย 25. กตัญญู 26. ฟังธรรมตามกาลที่เหมาะสม 23. อ่อนน้อมถ่อมตน 24. สันโดษ 21. ไม่ประมาทในธรรมะ 22. มีความเคารพ
วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย: นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย: 1. แบบบันทึกความดี 2. แบบประเมินการทำงานกลุ่ม 3. แบบสังเกตพฤติกรรม 4. ผลงานรายบุคคล 5. ผลงานกลุ่ม • การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล : • นำแบบบันทึกความดีรายบุคคลมาวิเคราะห์ • พัฒนาการความคิดและพฤติกรรมนอกห้องเรียน • บันทึกพฤติกรรมรายบุคคลลงในแบบสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน • ตรวจผลงานรายบุคคล ตรวจผลงานกลุ่ม
ผลการวิจัย 1. ด้านความรู้ความเข้าความใจในหลักธรรม 1.1 เมื่อเริ่มเรียน กลุ่มเป้าหมายทุกคน ไม่สามารถตอบได้ว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ มีอะไรบ้าง - ที่ตอบได้ คือ บุญหมายถึงการทำความดี ความสุขใจ - เข้าใจว่า การทำบุญคือการให้ทานเท่านั้น - เข้าใจว่าตนเองยังไม่ได้ทำบุญเพียงพอ เพราะ ยังไม่สามารถหารายได้ด้วยตนเอง จึงไม่มีทรัพย์ที่จะทำบุญ 1.2 เมื่อได้เรียนรู้หลักธรรมที่สอดแทรกเข้าไปในการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายแสดงความรู้สึกดีใจ ที่สามารถทำบุญได้หลายวิธี และตนเองก็ทำอยู่แล้วหลายประการ เช่น ความอ่อนน้อมฯ
1.3 กลุ่มเป้าหมาย 90 % เข้าใจว่า คำว่ามงคล หมายถึง ฤกษ์งามยามดี และพิธีรีตองต่างๆ ต่อมาเมื่อได้เรียนรู้ จึงแสดงความรู้สึกพึงพอใจกับบันไดชีวิต 38 ขั้น 2. ด้านความประพฤติ 2.1 จากแบบบันทึกความดี เมื่ออยู่นอกชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย พยายามทำตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 2.2 กลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการด้านความเข้าใจ และพยายาม ปรับพฤติกรรมตนเอง 2.3 ในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมด้านความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และความสามัคคีกันมากที่สุด ส่วนการตรงต่อเวลา เป็นพฤติกรรมที่ปรับปรุงได้ช้าที่สุด
3. ด้านการแสดงออกทางผลงาน 3.1 งานรายบุคคล กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ความเข้าใจ ด้านธรรมะ สอดแทรกลงในหนังสือสำหรับเด็กได้ทุกคน แต่ ตื้น-ลึก ไม่เท่ากัน และลีลาความแนบเนียนต่างกัน 3.2 งานกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายสามารถพัฒนาผลงานได้เหมาะสม มีหลักธรรมสอดแทรกในผลงานทุกกลุ่ม
สรุปผลการวิจัย 1. นักศึกษาได้เรียนรู้หลักธรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาตนเอง และนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างวรรณกรรมต่างๆ 2. นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์หนังสือสำหรับเด็ก ที่มีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปได้อย่างกลมกลืน เหมาะสมและเพิ่มคุณค่าให้แก่หนังสือเหล่านั้นมากขึ้น
ภาคผนวก ตัวอย่างการเรียนการสอนและผลงาน