1 / 58

พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกเพื่อบอกทางพ้นทุกข์

วัดนาป่าพง. วัด นา ป่าพง. พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกเพื่อบอกทางพ้นทุกข์. พุทธประวัติ. เหตุที่ต้องมีพระพุทธองค์และธรรมวินัยอยู่ในโลก

eitan
Download Presentation

พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกเพื่อบอกทางพ้นทุกข์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัดนาป่าพง วัด นา ป่าพง พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกเพื่อบอกทางพ้นทุกข์ พุทธประวัติ เหตุที่ต้องมีพระพุทธองค์และธรรมวินัยอยู่ในโลก ภิกษุ ท.!ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้; ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ, และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คืออะไรเล่า ? คือ ชาติ ชรา และ มรณะ (ทุกขอริยสัจ).ภิกษุ ท.!ธรรมชาติ ๓อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้, ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. ภิกษุ ท.! เพราะเหตุใดแล ที่ ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก, เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะและ ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วจึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก. - ทสก.อํ. ๒๔/๑๕๔/๗๖. ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  2. วัดนาป่าพง วัด นา ป่าพง เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ณ.ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ เจ้าชายสิทธถะ ได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำมาสอนมีมากกว่าที่ทรงนำมาสอนมากนัก ดุจใบไม้ในป่าใหญ่ ทรงสอนเฉพาะแต่ เรื่องทุกข์กับความดับสนิทของทุกข์ ดุจใบไม้ในกำมือเดียว คือ อริยสัจ สี่ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  3. วัดนาป่าพง วัด นา ป่าพง การปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งทุกข์ ผล เหตุแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ พุทธประวัติ มรรคมีองค์ ๘ ปฏิจจสมุปบาท สายเกิด ปฏิจจสมุปบาท สายดับ . ทุกข์เป็นอย่างไร ศาสนา ศิล สมาธิ ปัญญา ศัพท์ แหล่ง ความรู้ สมถะ วิปัสนา

  4. วัดนาป่าพง วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  5. วัดนาป่าพง ทุกข์ วัด นา ป่าพง ความเป็นทุกข์สามลักษณะ ภิกษุ ท.! ความเป็นทุกข์ มีสามลักษณะเหล่านี้. สามลักษณะเหล่าไหนเล่า ? สามลักษณะคือ :- ๑. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะ ทนได้ยาก. ๒. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะ เป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่งสิ่งอื่นพร้อม กันไปในตัว, ๓. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะ แห่งความแปรปรวนเป็นไปต่าง ๆ ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล คือ ความเป็นทุกข์สามลักษณะ. • มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๕/๓๑๔๙ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  6. วัดนาป่าพง ทุกข์ วัด นา ป่าพง ความทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ตามธรรมชาติ ภิกษุ ท.! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป บันเทิงแล้วในรูป ย่อม อยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป. (ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน). ภิกษุ ท .! ส่วน ตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งความเกิดความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป ตามเป็นจริง ไม่มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในรูป ไม่บันเทิงในรูป ยังคงอยู่เป็นสุขแม้เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป. (ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน). - สฬา.สํ. ๑๘/๑๕๙/๒๑๖. พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  7. วัดนาป่าพง ทุกข์ วัด นา ป่าพง ด้วยประเภทและอาการแห่งทุกข์ตามหลักทั่วไป ความเกิด ภิกษุ ท.! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! การเกิด การกำเนิด การก้าวลง(สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ; นี้ เรียกว่า ความเกิด. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕. ความแก่ ภิกษุ ท .! ความแก่เป็น อย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท .! ความ แก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ; นี้ เรียกว่า ความแก่. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕. พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  8. วัดนาป่าพง ความตาย ภิกษุ ท .! ความตายเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท .! การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลายไป การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละการแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ; นี้ เรียกว่า ความตาย. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕ ความโศก ภิกษุ ท.! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความโศก ความเศร้า ความเป็นผู้เศร้า ความโศกกลุ้มกลัด ความโศกสุมกลุ้มกลัด ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว; นี้ เรียกว่า ความโศก. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕. ความร่ำไรรำพัน ภิกษุ ท.! ความร่ำไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน ความเป็นผู้คร่ำครวญ ความเป็นผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งอันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว; นี้ เรียกว่า ความร่ำไรรำพัน. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕. ทุกข์ วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  9. วัดนาป่าพง ความทุกข์กาย ภิกษุ ท.! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางกาย ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางกาย ความทนได้ยากความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย; นี้ เรียกว่า ความทุกข์กาย. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕. ความทุกข์ใจ ภิกษุ ท.! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางใจ ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางใจ ความทนได้ยาก ความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความความกระทบทางใจ; นี้ เรียกว่า ความทุกข์ใจ; - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕. ความคับแค้นใจ ภิกษุ ท.! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความกลุ้มใจ ความคับใจ ความเป็นผู้กลุ้มใจ ความเป็นผู้คับใจ ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว;นี้ เรียกว่า ความคับแค้นใจ. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕๕. ทุกข์ วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  10. วัดนาป่าพง ทุกข์ • ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก • ภิกษุ ท.! ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่าใด ในโลกนี้ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ มีแก่ผู้นั้นหรือว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา, การต้องไปด้วยกัน การต้องมาด้วยกัน การต้องอยู่ร่วมกันความระคนกัน กับด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น; นี้ เรียกว่า ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์. • มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕. • ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก • ภิกษุ ท.! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่าใด ในโลกนี้ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีแก่ผู้นั้น หรือว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดต่อเขา เช่น มารดาบิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม, การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน การไม่ได้อยู่ร่วมกัน ความไม่ได้ระคนกัน กับด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น; นี้ เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์. • - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕. วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  11. วัดนาป่าพง ทุกข์ วัด นา ป่าพง ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น ภิกษุ ท.! ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า "โอหนอ ! ขอเราไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา” และความคิดเกิดเล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย" ดังนี้, ข้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา; นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้นว่า " โอหนอ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา และความแก่เล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย" ดังนี้, ข้อนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา; แม้นี้ เรียกว่าความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้นว่า "โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา และความตายเล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย" ดังนี้, ข้อนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา; แม้นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความโศก ความร่ำ ไรรำ พัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า "โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความโศก ความร่ำ ไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา และความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย" ดังนี้, ข้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา; แม้นี้เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์. มหา. ที. ๑๐/๓๔๓/๒๙๕. พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  12. วัดนาป่าพง ทุกข์ ด้วยประเภทและอาการแห่งทุกข์ตามหลักทั่วไป ภิกษุ ท.! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไร-รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์, ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์,ความที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์, กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ; นี้ เรียกว่า ความเกิด. ภิกษุ ท .! ความแก่เป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท .! ความ แก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ; นี้ เรียกว่า ความแก่. ภิกษุ ท .! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท .! การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลายไป การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละการแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ; นี้ เรียกว่า ความตาย. วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  13. วัดนาป่าพง ทุกข์ ภิกษุ ท.! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความโศก ความเศร้า ความเป็นผู้เศร้า ความโศกกลุ้มกลัด ความโศกสุมกลุ้มกลัด ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว; นี้ เรียกว่า ความโศก. ภิกษุ ท.! ความร่ำไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน ความเป็นผู้คร่ำครวญ ความเป็นผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งอันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว; นี้ เรียกว่า ความร่ำไรรำพัน. ภิกษุ ท.! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางกาย ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางกาย ความทนได้ยากความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย; นี้ เรียกว่า ความทุกข์กาย. ภิกษุ ท.! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางใจ ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางใจ ความทนได้ยาก ความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความความกระทบทางใจ; นี้ เรียกว่า ความทุกข์ใจ; ภิกษุ ท.! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความกลุ้มใจ ความคับใจ ความเป็นผู้กลุ้มใจ ความเป็นผู้คับใจ ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว;นี้ เรียกว่า ความคับแค้นใจ. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕. วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  14. วัดนาป่าพง ทุกข์ ภิกษุ ท.! ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่าใด ในโลกนี้ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ มีแก่ผู้นั้นหรือว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา, การต้องไปด้วยกัน การต้องมาด้วยกัน การต้องอยู่ร่วมกันความระคนกัน กับด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น; นี้ เรียกว่า ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่าใด ในโลกนี้ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีแก่ผู้นั้น หรือว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดต่อเขา เช่น มารดาบิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม, การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน การไม่ได้อยู่ร่วมกัน ความไม่ได้ระคนกัน กับด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น; นี้ เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า "โอหนอ ! ขอเราไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา” และความคิดเกิดเล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย" ดังนี้, ข้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา; นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์. วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  15. วัดนาป่าพง ทุกข์ ภิกษุ ท.! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้นว่า " โอหนอ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา และความแก่เล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย" ดังนี้, ข้อนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา; แม้นี้ เรียกว่าความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้นว่า "โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา และความตายเล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย" ดังนี้, ข้อนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา; แม้นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความโศก ความร่ำ ไรรำ พัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า "โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความโศก ความร่ำ ไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา และความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย" ดังนี้, ข้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา; แม้นี้เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์. วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  16. วัดนาป่าพง ทุกข์ ภิกษุ ท.! กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่รูป, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่เวทนา, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่สัญญา,ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่สังขาร, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ วิญญาณ. ภิกษุ ท.! เหล่านี้ เราเรียกว่า กล่าวโดยย่อขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือเป็นทุกข์. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์. - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕. วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  17. วัดนาป่าพง ทุกข์ วัด นา ป่าพง มุมมองของคนธรรมดา • ได้พบกับสิ่งที่ไม่ปรารถนา ไม่ชอบเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน • ไม่ได้ในสิ่งที่อยากได้ ไม่ได้เงิน สิ่งของแพงๆ อาชีพ การงานไม่เป็นอย่างที่หวัง สอบตก เอ็นไม่ติด • พลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก พลัดพรากจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง อกหัก รักคุด พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  18. วัดนาป่าพง วัด นา ป่าพง การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ภิกษุ ท.! อริยสัจคือความก่อขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร ; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ; เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป ; เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก ; เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัยจึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกินมีเวทนา ; เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน ; เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุ ท.! นี้ เราเรียกว่า อริยสัจคือความก่อขึ้นแห่งทุกข์ แล. - ติก.อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑. สมุทัย พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  19. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท .! อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ความ ไม่รู้อันใด เป็นความไม่รู้ในทุกข์, เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์, และเป็นไม่รู้ในทางดำ เนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า อวิชชา.ภิกษุ ท .! ด้วยเหตุนี้แหละ, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ; เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีนาม รูป; เพราะนาม รูป เป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก; เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา; เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา; เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีอุปาทาน; เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรมรณะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล. - นิทาน. สํ. ๑๖/๒-๕/๕-๑๗. วัด นา ป่าพง สมุทัย พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  20. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! สังขารทั้งหลายเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร และจิตต สังขาร. ภิกษุ ท .!เหล่านี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย ภิกษุ ท .! วิญญาณ เป็น อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท .! หมู แห่งวิญญาณมีหกอย่างเหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย และวิญญาณทางใจ. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่าวิญญาณ ภิกษุ ท.! นาม รูป เป็นอย่างไรเล่า? นาม คือ เวทนา สัญญาเจตนา ผัสสะ และมนสิการ. นี้ เรียกว่า นาม. รูป คือ มหาภูตทั้งสี่ด้วยและรูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย. นี้ เรียกว่า รูป. ด้วยเหตุนี้แหละ นามอันนี้ด้วย รูปอันนี้ด้วย. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า นามรูป ภิกษุ ท.! อายตนะหก เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! หมู่แห่งอายตนะมีหกอย่างเหล่านี้คือ อายตนะคือตา อายตนะคือหูอายตนะคือจมูก อายตนะคือลิ้น อายตนะคือกาย และอายตนะคือใจ. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่าอายตนะหก ภิกษุ ท.! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! หมู่แห่งผัสสะมีหกอย่าง เหล่านี้ คือสัมผัสทางตา สัมผัสทางหู สัมผัสทางจมูก สัมผัสทางลิ้นสัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า ผัสสะ. ภิกษุ ท.! เวทนาเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! หมู่แห่งเวทนามีหกอย่าง เหล่านี้ คือ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางกาย และเวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า เวทนา. วัด นา ป่าพง สมุทัย พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  21. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! หมู่แห่งตัณหามีหกอย่างเหล่านี้ คือตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรสตัณหาในโผฏฐัพพะ และตัณหาในธรรมารมณ์. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า ตัณหา. ภิกษุ ท.! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! อุปาทานมีสี่อย่างเหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า อุปาทาน. ภิกษุ ท .! ภ พ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภพ มีสามเหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า ภพ. ภิกษุ ท.! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? ชาติคือ การเกิด การกำเนิดการก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่า-นั้น ๆ. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า ชาติ. ภิกษุ ท.! ชรา เป็นอย่างไรเล่า? ชรา คือ ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ; นี้เรียกว่า ชรา. ภิกษุ ท.! มรณะ เป็นอย่าไรเล่า? มรณะคือ การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ; นี้ เรียกว่า มรณะ; ด้วยเหตุนี้แหละ ชราอันนี้ด้วย มรณะอันนี้ด้วย. ภิกษุ ท.! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ. วัด นา ป่าพง สมุทัย พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  22. วัดนาป่าพง อาการเกิดแห่งความทุกข์โดยสังเขป มิคชาละ! รูป ทั้งหลายที่เห็นด้วยตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนาน่ารักน่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยั่วยวนชวนให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าภิกษุเพลิดเพลินพร่ำสรรเสริญ สยบ มัวเมาในรูป นั้นไซร้; เมื่อ ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญสยบ มัวเม า ใน รูป นั้น, นันทิ (ความเพลิน ) ย่อมเกิด ขึ้น . มิคชาละ! เรากล่าวว่า “ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนันทิ” ดังนี้(ในกรณีแห่งเสียง ที่ได้ยินด้วยหู กลิ่นที่ดมด้วยจมูก รสที่ลิ้มด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยผิดกาย และ ธัมมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่เห็นด้วยตา). - สฬา.สํ. ๑๘/๔๕/๖๘. วัด นา ป่าพง สมุทัย พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  23. วัดนาป่าพง อุทเทศแห่งสมุทยอริยสัจ ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ตัณหานี้ ใดที่ทำให้มี การเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน ซึ่งมีปรกติทำให้ความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ,ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น; นี้เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์. - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔/๑๖๘๐. วัด นา ป่าพง สมุทัย พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  24. วัดนาป่าพง กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท. อิมสฺมึ สติ อิทํโหติ เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี อิมสฺสุปฺปาทา อิทํอุปฺปชฺชติ เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. อิมสฺมึอสติอิทํ น โหติ เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี อิมสฺส นิโรธาอิทํ นิรุชฺฌติ เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป. (ม.ม. ๑๓/๓๕๕/๓๗๑, นิทาน. สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔,....) วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  25. วัดนาป่าพง เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่ง สังขาร จึงมีความดับแห่ง วิญญาณ ; เพราะมีความดับแห่ง วิญญาณ จึงมีความดับแห่ง นามรูป; เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ; เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ; เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา; เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา; เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน; เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่ง ภพ; เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่ง ชาติ; เพราะมีความดับแห่ง ชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้” , ดังนี้ วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  26. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?คือความคลายคืนโดยไม่มีเหลือและความดับไม่เหลือ ความละวาง ความสละคืนความผ่านพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเทียว. ภิกษุ ท.! ก็ ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละได้ ย่อมละได้ในที่ไหน?เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่ไหน ? สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก; ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละได้ในสิ่งนั้น, เมื่อจะดับย่อมดับได้ในสิ่งนั้น. ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ? ตา ….ห ู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ …(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ ในที่นั่น,.เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.รูป ทั้งหลาย…เสียงทั้งหลาย…กลิ่นทั้งหลาย…รสทั้งหลาย…โผฏฐัพพะทั้งหลาย…ธรรมารมณ์ทั้งหลาย…(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ ในที่นั้น,เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  27. วัดนาป่าพง ความรู้แจ้งทางตา…ความรู้แจ้งทางหู…ความรู้แจ้งทางจมูก…ความรู้แจ้งทางลิ้น…ความรู้แจ้งทางกาย…ความรู้แจ้งทางใจ…(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก; ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น. การกระทบทางตา…การกระทบทางหู…การกระทบทางจมูก…การกระทบทางลิ้น…การกระทบทางกาย…การการะทบทางใจ…(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก; ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น. ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา…ความรู้สึกเกิดแก่การกระทบทางหู…ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก…ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น…ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย…ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ…(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก;ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น. ความจำหมายในรูป…ความจำหมายในเสียง…ความจำหมายในกลิ่น…ความจำหมายในรส…ความจำหมายในโผฏฐัพพะ…ความจำหมายในธรรมารมณ์…(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  28. วัดนาป่าพง ความอยากในรูป…ความอยากในเสียง…ความอยากในกลิ่น….ความอยากในรส…ความอยากในโผฏฐัพพะ…ความอยากในธรรมารมณ์…(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก; ตัณ หานี้เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น. เมื่อจะดับ ย่อมดังได้ในที่นั้น. ความตริหารูป…ความตริหาเสียง…ความตริหากลิ่น…ความตริหารส…ความตริหาโผฏฐัพพะ …ความตริหาธรรมารมณ์…(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก; ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)…ความไตร่ตรองต่อเสียง…ความไตร่ตรองต่อกลิ่น…ความไตร่ตรองต่อรส…ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ…ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์…(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น,เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  29. วัดนาป่าพง • ความหมายของคำว่า "ความดับ • "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวอยู่ว่า 'ความดับ ๆ' ดังนี้. อันว่า'ความดับ ๆ' ดังกล่าวนี้ หมายถึงความดับแห่งธรรมทั้งหลาย เหล่าไหนเล่า ? พระเจ้าข้า!" • อานนท์ ! รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี วิญญาณก็ดี เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดา, คำอันเรากล่าวว่า "ความดับ ๆ" หมายถึงความดับแห่งขันธ์มีรูปเป็นต้นนั้น ๆ ดังนี้. • อานนท์ ! คำ อันเรากล่าวว่า "ความดับ ๆ" ดังนี้ หมายถึงความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล. • ขนฺธ.สํ. ๑๗/๓๐/๔๘. • หมายเหตุ : ผู้ศึกษาพึงทำความสังเกตว่า พระองค์ตรัสความดับของเบญจขันธ์ หมายถึงความดับทุกข์โดยตรง เพราะได้ตรัสไว้ในที่ทั่วไปว่า ปัญจุปาทานักขันธ์ คือตัวทุกข์ โดยสรุป และเมื่อดับปัญจุปาทานักขันธ์เสียแล้ว ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ซึ่งเป็นอาการแห่งความทุกข์ ก็ดับไปด้วยกัน. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  30. วัดนาป่าพง ความดับของรูปขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุดิน, . ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุน้ำ, ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุไฟ, ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุลม ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล. - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๙/๔๑๕. - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๘๖/๔๙๕. ( ความดับในกรณีเช่นนี้ ทุกแห่ง หมายถึงดับนันทิราคะในสิ่งนั้น ๆ เสีย ). วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  31. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของเวทนา ที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางตา, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางหูของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางจมูก, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางกาย และของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางใจ ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล. - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๘๘. ความดับของสัญญาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบ รำงับ ความ ตั้งอยู่ไม่ได้ของสัญญาในรูป ของสัญญาในเสียง ของสัญญาในกลิ่น ของสัญญาในรส ของสัญญาในโผฏฐัพพะ และของสัญญาในธรรมารมณ์ ใด ๆ, อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์ อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำ งับของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทง, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล. - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๙๐. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  32. วัดนาป่าพง ความดับของสังขารขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของสัญเจตนาในรูป, ของสัญเจตนาในเสียง, ของสัญเจตนาในกลิ่น, ของสัญเจตนาในรส, ของสัญเจตนาในโผฏฐัพพะ และของสัญเจตนาในธรรมารมณ์ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นวามเข้าไปสงบรำ งับของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะแล. - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๙๒. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  33. วัดนาป่าพง ความดับของวิญญาณขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ของวิญญาณทางตา, ของวิญญาณทางหู ของวิญญาณทางจมูก, ของวิญญาณทางลิ้น, ของวิญญาณทางกาย และของวิญญาณทางใจ ใด ๆ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทงทั้งหลาย. อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล. - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๘๗/๔๙๘. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  34. วัดนาป่าพง ความดับของสัญญาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ ความดับของสัญญาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบ รำ งับ ความ ตั้งอยู่ไม่ได้ของสัญญาในรูป ของสัญญาในเสียง ของสัญญาในกลิ่น ของสัญญาในรส ของสัญญาในโผฏฐัพพะ และของสัญญาในธรรมารมณ์ ใด ๆ, อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์ อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำ งับของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทง, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล. - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๙๐. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  35. วัดนาป่าพง ความดับของเวทนาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของเวทนา ที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางตา, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางหูของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางจมูก, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางกาย และของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางใจ ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล. - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๘๘ วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  36. วัดนาป่าพง ความดับของเบญจขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ของรูปของเวทนา ของสัญญา ของสังขาร และของวิญญาณ ใด ๆ, อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับ ของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล. - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๒๘๗/๔๙๘. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  37. วัดนาป่าพง สิ่งนั้น “หาพบในกายนี้” "แน่ะเธอ ! ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติไม่อุบัติ ; เราไม่กล่าวว่าใครๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลกนั้น ด้วยการไป. "แน่ะเธอ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง, เราได้บัญญัติโลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิทไม่เหลือของโลก, และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลก ไว้"ดังนี้แล. - จตุกฺก.อํ. ๒๑/๖๒/๔๕. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  38. วัดนาป่าพง ลักษณะแห่งนิพพานธาตุสองชนิด ภิกษุ ท.! นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง, สองอย่างเหล่าไหนเล่า?สองอย่างคือ สอุปาทิเสสนิพ พานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ก. สอุปาทิเสสนิพ พานธาตุ ภิกษุ ท.! สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.!ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้วมีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดให้อยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. อินทรีย์ห้าของเธอยังตั้งอยู่ เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยังไม่ถูกกำจัด เธอย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นที่ชอบใจบ้าง ไม่เป็นที่ชอบใจบ้าง ให้รู้สึกสุขและทุกข์บ้าง. ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะของเธอ อันใด,. ภิกษุ ท.! อันนั้นแหละ เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  39. วัดนาป่าพง ข. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ภิกษุ ท.! ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.!ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้วมีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดอยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. ภิกษุ ท.! เวทนาทั้งหลายทั้งปวงของเธอ อันเธอไม่เพลิดเพลินแล้ว จักดับเย็นในโลกนี้เอง. ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  40. วัดนาป่าพง อุทเทศแห่งนิโรธอริยสัจ ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเทียว, ความละไปของตัณหานั้น, ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น, ความหลุดออกไปของตัณหานั้น และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใด ; อันนี้ เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์. - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔/๑๖๘๑. วัด นา ป่าพง นิโรธ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  41. วัดนาป่าพง • สัมมาทิฐิ วัด นา ป่าพง • สัมมาสังกับปะ • สัมมาวาจา ภิกษุ ท.! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้นั่นเองกล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท.! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. • สัมมากัมมันตะ มรรค • สัมมาอาชีวะ • สัมมาวายามะ พุทธประวัติ • สัมมาสติ ศาสนา • สัมมาสมาธิ ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  42. วัดนาป่าพง • สัมมาทิฐิ ภิกษุ ท.! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท.! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่าความเห็นชอบ. วัด นา ป่าพง มรรค พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  43. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท.! ความดำริในการออก (จากกาม) ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ. วัด นา ป่าพง • สัมมาสังกับปะ มรรค พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  44. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท .! วาจาชอบ เป็นย่างไร ? ภิกษุ ท .! การเว้น จากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ่อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ วัด นา ป่าพง • สัมมาวาจา มรรค พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  45. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท .! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท .! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ. วัด นา ป่าพง • สัมมากัมมันตะ มรรค พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  46. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! อา ชีวะชอบ เป็น อย่างไร? ภิกษุ ท.! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ วัด นา ป่าพง มรรค • สัมมาอาชีวะ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  47. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ. วัด นา ป่าพง มรรค • สัมมาวายามะ พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  48. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ. วัด นา ป่าพง มรรค พุทธประวัติ • สัมมาสติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  49. วัดนาป่าพง ภิกษุ ท.! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อัน .เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่, เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า "เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม" แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.!นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ วัด นา ป่าพง มรรค พุทธประวัติ ศาสนา • สัมมาสมาธิ ศัพท์ แหล่ง ความรู้

  50. วัดนาป่าพง ศีลเป็นฐานรองรับอริยมรรคมีองค์แปด๑ . ภิกษุ ท.! การงานประเภทใดประเภทหนึ่งที่ต้องทำด้วยกำลัง อันบุคคลกระทำอยู่ การงานเหล่านั้นทั้งหมด ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดินบุคคลจึงทำการงานที่ต้องทำด้วยกำลังเหล่านั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้ ฉันใด, ภิกษุ ท.!ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เกิดขึ้นได้ย่อมทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากขึ้นได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท.! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘ให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากขึ้นได้ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอบรมสัมมาทิฏฐิ ย่อมอบรมสัมมาสังกัปปะ,ย่อมอบรมสัมมาวาจา ย่อมอบรมสัมมากัมมันตะ ย่อมอบรมสัมมาอาชีวะ ย่อมอบรมสัมมาวายามะ ย่อมอบรมสัมมาสติ และย่อมอบรมสัมมาสมาธิ, ชนิดที่โอนไปสู่นิพพาน เอนไปสู่นิพพาน . ภิกษุ ท.! ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมทำอริยมรรคมีองค์ ๘ให้เกิดขึ้นได้ ย่อมทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากขึ้นได้ ด้วยประการฉะนี้แล. ๑ บาลี พระพุทธภาษิต มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๙/๒๗๐. วัด นา ป่าพง พุทธประวัติ ศาสนา ศัพท์ แหล่ง ความรู้

More Related