430 likes | 676 Views
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม โดยการฝึกอบรมแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. โดย ผศ.สมศรี ภัทรธรรม. บทนำ. ปี 2547 ผลิตข้าวเป็นอันดับ 6 ของโลก. ได้ข้าวเปลือก 5.53 ล้านตัน. มีฟางข้าว 9.22 ล้านตัน. การวิเคราะห์ปริมาณธาตุในฟางข้าว.
E N D
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม โดยการฝึกอบรมแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ผศ.สมศรี ภัทรธรรม
บทนำ ปี 2547 ผลิตข้าวเป็นอันดับ 6 ของโลก ได้ข้าวเปลือก 5.53 ล้านตัน มีฟางข้าว 9.22 ล้านตัน
การวิเคราะห์ปริมาณธาตุในฟางข้าวการวิเคราะห์ปริมาณธาตุในฟางข้าว ธาตุฟอสฟอรัส 8,667 กิโลกรัม ธาตุไนโตรเจน 60,852 กิโลกรัม ธาตุโพแทสเซียม 132,768 กิโลกรัม
การกำจัดฟางข้าวของเกษตรกร และผลกระทบที่ตามมา กำจัดโดยการเผาฟาง พ.ศ. 2528 ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินร้อยละ 0.9 – 1.3 พ.ศ. 2548 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินร้อยละ 0.3 – 0.8 ทำลายอินทรีย์วัตถุในดิน ความหอมของข้าวหอมดอกมะลิลดลง
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม 2. เพื่อศึกษาการกำจัดฟางข้าวของเกษตรกรก่อนการฝึกอบรมและแหล่งความรู้ของเกษตรกร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย (ต่อ) 3 เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม ประโยชน์จากการศึกษาดูงานและการประยุกต์ความรู้การกำจัดฟางข้าวไปใช้ของเกษตรกร 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการฝึกอบรมของเกษตรกร 5. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการฝึกอบรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการมีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับจากการฝึกอบรมและความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ 2. ทำให้ได้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม ในพื้นที่ปลูกข้าวของภาคต่าง ๆ ใน ประเทศไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (ต่อ) 3. ทำให้ได้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม รวมทั้งการใช้ประโยชน์ฟางข้าวต่อไปในอนาคต
นิยามศัพท์ “เกษตรกร” หมายถึง ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม ในภาคตะวันวันออกเฉียงเหนือ
นิยามศัพท์ (ต่อ) “เกษตรกรที่ฝึกอบรมกลุ่มที่ 1” หมายถึง ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มาจากจังหวัดบุรีรัมย์และสุรินทร์ “เกษตรกรที่ฝึกอบรมกลุ่มที่ 2” หมายถึง ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มาจาก จังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี
วิธีการวิจัย การจัดการฝึกอบรม 1. ทำการศึกษาพื้นที่และเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับการกำจัดฟางข้าว และการใช้ประโยชน์จากฟางข้าว 2. จัดการฝึกอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสมแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ
วิธีการวิจัย (ต่อ) ประชากร จำนวนเกษตรกรที่ลงทะเบียนทั้งหมด 110 คน
วิธีการวิจัย (ต่อ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม แบ่งเป็น 5 ตอน 1 .สภาพทั่วไปของเกษตรกร 2. การกำจัดฟางข้าวก่อนการฝึกอบรม 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม ประโยชน์จาก การศึกษาดูงาน และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ของ เกษตรกร
วิธีการวิจัย (ต่อ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. ความพึงพอใจของเกษตรกรเกี่ยวกับการฝึกอบรม การกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม 5. ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการฝึกอบรม
วิธีการวิจัย (ต่อ) การรวบรวมข้อมูล หลังจากการบรรยายและศึกษาดูงาน เกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์ได้ 100 ชุด คิดเป็นร้อยละ 90.91
วิธีการวิจัย (ต่อ) การวิเคราะห์ข้อมูล - ค่าร้อยละ - ค่ามัชฌิมเลขคณิต - ค่า t - ค่าไคสแควร์
ผลการวิจัย สภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร
ผลการวิจัย (ต่อ) การกำจัดฟางข้าวของเกษตรกรก่อนการฝึกอบรม
ผลการวิจัย (ต่อ) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการฝึกอบรม
ผลการวิจัย (ต่อ) คะแนนเฉลี่ย 3.73
ผลการวิจัย (ต่อ) คะแนนเฉลี่ย 3.64
ผลการวิจัย (ต่อ) ความพึงพอใจในการอบรมของเกษตรกร
ผลการวิจัย (ต่อ) การพิสูจน์สมมติฐาน สมมติฐานที่ 1 เกษตรกรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา การมีตำแหน่งทางสังคม การเป็นสมาชิกกลุ่ม และกลุ่มที่ได้เข้า รับการอบรมแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าว ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการวิจัย (ต่อ) การพิสูจน์สมมติฐาน สมมติฐานที่ 2 เกษตรกรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา การมีตำแหน่งทางสังคม การเป็นสมาชิกกลุ่ม และกลุ่มที่ได้เข้า รับการอบรมแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ ความเข้าใจประยุกต์ใช้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
ข้อวิจารณ์ 1. กลุ่มเกษตรกรที่รับการฝึกอบรมมีความเหมาะสม เนื่องจากมีความหลากหลาย 2. มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ารับการฝึกอบรม เทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าว เนื่องจากเป็นเกษตรกรที่มีพัฒนาการทั้งด้านอาชีพและสังคม
ข้อวิจารณ์ (ต่อ) 3. เกษตรกรส่วนมากไม่มีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม เนื่องจากไม่มีการนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร 4. การจัดการฝึกอบรมด้านการบรรยาย ทำให้เกษตรกรที่ได้รับการฝึกอบรมได้รับความรู้มาก เนื่องจากมีอาชีพหลักทำนา
ข้อวิจารณ์ (ต่อ) 5. การศึกษาดูงานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเกษตรกรได้มองเห็นผลของการบรรยายว่าสามารถปฏิบัติได้จริง 6. เกษตรกรได้รับความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำนาไม่แตกต่างกัน
ข้อวิจารณ์ (ต่อ) 7. การจัดการฝึกอบรมประสบความสำเร็จ เพราะเกษตรกรเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมอย่างชัดเจน
ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการศึกษาการกำจัดฟางข้าวของเกษตรกรทุกภาคของประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์การกำจัดฟางข้าวของเกษตรกร อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 2. ควรมีการศึกษาการจัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรที่มีปัญหาการกำจัดฟางข้าว เพื่อพัฒนาการกำจัดฟางข้าวของเกษตรกรให้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งพัฒนาความรู้การใช้ประโยชน์ฟางข้าวที่เกษตรกรควรนำไปประยุกต์ใช้ อันจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของฟาง
ข้อเสนอแนะ (ต่อ) 3. ควรมีการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการกำจัดฟางข้าวที่เหมาะสม และการใช้ประโยชน์ฟางข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยการใช้สื่อต่าง ๆ ที่สามารถเผยแพร่อย่างกว้างขวางให้แก่เกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ