1 / 20

กระบวนการบริหาร

กระบวนการบริหาร. ทรัพยากรมนุษย์ในยุคสารสนเทศ.

elijah
Download Presentation

กระบวนการบริหาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในยุคสารสนเทศ

  2. กระบวนการทำงาน ส่วนกระบวนการทำงานเป็นเรื่องของการปฏิบัติ (Implementation) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเนื้อหาสาระของงาน คือทำตามการวางแผนที่ได้ตั้งไว้หรือสามารถทำได้หลังจากที่ได้ออกแบบงานแล้ว การออกแบบงานจะประกอบไปด้วย การตัดสินใจว่าใคร(Who)จะเป็นผู้ทำงานอะไร (What) ทำที่ไหน (Where) ทำงานนี้เพื่อจุดประสงค์อะไร (Why) ทำงานเมื่อไหร่อย่างไร(How) เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งกระบวนการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นต้องมาจาก การวางแผนงานที่ดี ถ้ามีการวางแผนไม่ดีมาแล้วถึงจะทำงานได้ดีเท่าใดก็อาจทำไห้งานมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ต้องการเพราะนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงคือต้องมีการการวางแผนที่ดีด้วย

  3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการในการสรรหา (Recruitment Process) • การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning) จะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนงานและการดำเนินงานขององค์การอย่างชัดเจนรวมถึงแผนการที่วางไว้ในอนาคต • ความต้องการและการร้องขอ (Specific Requests) ในแต่ละฝ่ายถ้ามีพนักงานลาออกหรือมีคนขาด เนื่องจากบริษัทกำขยาย เพราะฉะนั้นในแต่ละฝ่ายถ้ามีงานมากเกินไปจะใช้การร้องขอต่อฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ตามความจำเป็นและเป็นไปตามนโยบายขององค์การ • การระบุตำแหน่งงาน (Job Opening Identified) ในการระบุตำแหน่งงานจะเกิดขึ้นจากการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

  4. กระบวนการในการสรรหา (Recruitment Process)(ต่อ) • สารสนเทศในการวิเคราะห์งาน (job Analysis Information)ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์งานจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สรรหาพนักงาน เพราะจะทำให้ทราบถึงคุณสมบัติและความสามารถต่างๆของพนักงานต่องานที่ทำ • ข้อคิดเห็น (Comments)หลังจากที่วิเคราะห์งานแล้ว การระบุตำแหน่งจำเป็นต้องอาศัยข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆมาเป็นแนวทางด้วย เพื่อทำให้การทำงานโปร่งใสและขจัดข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต • การกำหนดคุณสมบัติบุคลากร (Job Requirement) เกิดขึ้นหลังจากการวิเคราห์งานแล้วมีการตรวจสอบ รวมทั้งมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากฝ่ายบริหาร จะทำให้บุคลากรใหม่ทำงานได้ตรงกับงานนั้นมากขึ้น • ความพึงพอใจของพนักงานใหม่ (Satisfactory Pool of Recruits)เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจในองคืการที่พนักงานยใหม่ได้ทำงาน

  5. ช่องทางในการสรรหา (Channels of Recruitment) • จากการเขียนจดหมายสมัครงาน (Write-in) • ผู้สมัครไปสมัครเองกับบริษัทที่ผู้สมัครสนใจ (Walk-in) • การแนะนำของพนักงานในองค์การ (Employee Referrals) • การโฆษณา (Advertising) • กรมแรงงาน (Department of Labour) • บริษัทจัดหางาน (Agencies) • สถาบันการศึกษา (Educational Institutions) • สมัครทางอินเตอร์เน็ต (Internet)

  6. การคัดเลือกบุคลากร (Selection) เป็นการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาทำงานกับองค์การและจะต้องผ่านการคัดเลือก โดยองค์การคิดว่าบุคคลนั้นจะมาทำงานให้กับองค์การได้ดีที่สุด การสรรหาคัดเลือกในเชิงรุกและในเชิงรับ ในภาคเอกชนก่อนจะวิกฤติการณ์ฟองสบู่จะแตก (พ.ศ. 2540) เอกชนได้ใช้นโยบายสรรหาเชิงรุก ในต่างประเทศจะมีนโยบายคือหางานให้นักศึกษาทำ นโยบายเชิงรุกของมหาวิทยาลัยคือให้บริษัทมาติดต่อที่มหาวิทยาลัยเพื่อคัดเลือนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาที่อยู่ในช่วงภาคเรียนสุดท้ายของการศึกษา การสร้างนโยบายเชิงรุกของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นจุดขายให้กับมหาวิทยาลัยเอง

  7. ความสำคัญของกระบวนการคัดเลือกความสำคัญของกระบวนการคัดเลือก • 1. ต้นทุน (Costs)ต้นทุนเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการบริหารองค์การ ดังนั้นยิ่งให้ต้นทุนต่ำลงเท่าไร จะสามารถเพิ่มผลผลิตและผลกำไรให้กับบริษัทได้มากขึ้นเท่านั้น นั่นหมายความว่าบริษัทมีวิธีการบริหารและการจัดการที่ดี และสิ่งที่เป็นต้นทุนที่มากที่สุดในการจัดองค์การคือต้นทุนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมาจากการสรรหาและว่าจ้างพนักงาน การสัมภาษณ์ การตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายอื่นๆในการรับบุคคลเข้าทำงาน • 2. การวัดความสามารถ (Competency)ก่อนที่องค์การหรือบริษัทจะทำการคัดเลือกบุคลากร จะต้องมีการวัดความสามารถของผู้สมัครก่อน เพราะบางคนอาจจะไม่มีความสามารถเพียงพอในการปฏิบัติงาน ดังนยั้นยจึงต้องมีการกลั่นกรองเอาบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติออกไปก่อนที่จะรับบุคคลนั้นเข้ามาทำงาน และเพื่อทำให้กระบวนการการคัดเลือกมีประสิทธิภาพ • 3. การตรวจสอบ (Check)ผู้บริหารควรตรวจสอบให้รอบคอบก่อนการจ้างงาน เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติแท้จริงเข้ามาทำงาน การตรวจสอบเช่น การตรวจสอบจากนายจ้างเดิม การตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้สมัคร เช่นใบรับรองวุฒของการศึกษาและประวัติของการถูกตัดสินลงโทษทางกฏหมายหรือจาสถานที่ทำงานเดิม

  8. การทอลองงาน (Probation) ถ้ามองทางด้านลบ คือเผื่อตอนคัดเลือกไม่สมบูรณ์ ก็เลยไม่อยากให้เกิดปัญหา จึงใช้ระยะของการทดลองงาน ถ้าไม่ดีหรือไม่ผ่านการประเมินก็จะไม่รับบรรจุเข้าทำงาน ส่วนในต่างประเทศบางทีก็มีปัญหากับสหภาพแรงงาน แต่สำหรับเมืองไทยสหภาพแรงงานจะไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไร ในภาครัฐเองก็มีในเรื่องของการทดลองงานเหมือนกัน โดยใช้ระยะเวลากำหนด เพราะการคัดเลือก เป็นแค่เพียงการคาดการณ์อย่างมีเหตุผล (Predictive Validity) แต่ก็ไม่สามารถประกันได้ 100 % ทางออกที่ดีคือให้พนักงานใหม่ได้ทดลองงาน แต่ในทางปฏิบัติเมื่อให้คนเข้ามาทดลองงานก็จะเกิดความเกรงใจกัน โดยเฉพาะในสังคมไทยจึงก็ไม่ค่อย ให้ออกหลังจากทดลองงานไม่ได้จริงๆ

  9. กระบวนการในการคัดเลือก (The Selection Process) 1. คัดเลือกจากใบสมัครแต่ละบุคคล (Recruited Individuals)คือดูจากใบสมัครแต่ละบุคคล แต่เป็นแค่ข้อมูลทั่วๆไป 2. คัดเลือกจากการสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview)ใช้การสัมภาษณ์ ไม่จำเป็นต้องเรียกมาสัมภาษณ์ เช่น อาจจะสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ คือเป็นการสัมภาษณ์เบื้องต้นนอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น อาจใช้วีดิทัศน์ หรืออัดเทป หรือคอมพิวเตอร์ช่วย หรือใช้การสัมภาษณ์ทางอินเตอร์เน็ต 3. คัดเลือกโดยดูจากประวัติย่อในใบสมัคร (Review of Application and Resumes)จะต้องดูใบสมัครและประวัติย่อ ภาครัฐจะเน้นเรื่องนี้มาก คือถ้ารับคนขาดคุณสมบัติ กรรมการก็มีความผิด ในองค์การขนาดใหญ่จะมีการตรวจสอบวุฒิการศึกษาอย่างละเอียด

  10. 4. การสอบคัดเลือก (Selection Tests)ในการทดสอบจะต้องทดสอบอะไรบ้าง เกณฑ์ที่ชี้วัดจริง ๆ คือใช้เกณฑ์แบบเอาหลาย ๆ อย่างมาถาม การวัดนี้บอกในสิ่งที่ผู้บริหารต้องการทราบการวัดต้องใช้เครื่องมือ การวัดคนเข้ามาทำงานคือต้องใช้ข้อสอบ แม้แต่ลักษณะข้อสอบก็มีปัญหาคือจะใช้แบบชนิดเขียนบรรยาย (Essay Type) หรือแบบจำแนกตามวัตถุประสงค์ (Objective Type) 5. การอ้างอิงและตรวจสอบภูมิหลัง (Reference and Background Check)คือจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติ เช่นในต่างประเทศมีการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุลใหม่ จะต้องตรวจสอบประวัติต่าง ๆ เกี่ยวกับความด่างพร้อยหรือความผิดทางกฎหมาย 6. การตรวจสอบร่างกาย (Physical Examination)การตรวจสอบร่างกายหรือตรวจสุขภาพคือต้องดูว่ามีโรคไม่พึงปรารถนาหรือเป็นอุปสรรคในการทำงานหรือไม่ 7. สิทธิในการว่าจ้าง (Employed Individual)ดูเรื่องสิทธิส่วนบุคคล

  11. การสัมภาษณ์บุคคลเข้าทำงาน (Employment Inerviews) • ถือเป็นหัวใจของการรับคนเข้าทำงาน ซึ่งบางหน่วยงานไม่ต้องทดสอบข้อเขียนใช้การสัมภาษณ์เลย เราจะเชื่อการสัมภาษณ์บางทีก็ลำบาก ในภาคเอกชนจะใช้การสัมภาษณ์เป็นหลัก • คำถามที่ผู้สัมภาษณ์จะถามถึง • *ประสบการณ์การทำงาน (Occupational Eeperience) • พวกที่มีประสบการณแล้วไม่ค่อยมีปัญหา แต่พวกที่จบใหม่ก็จะมีปัญหาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในใบสมัครต้องเขียนให้ดี • * การประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน (Academic Achievement) การประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งตามความจริงในการทำงานการเรียนดีอาจจะช่วยไม่ได้ 100% แต่ในเมืองไทยให้เป็นประเด็นสำคัญ

  12. * ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Interpersonal Skills) • คือดูว่าจะทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานได้อย่างไร คืออาจจะต้องดูว่าเป็นสมาชิกในชมรมอะไรบ้าง • * คุณสมบัติพิเศษส่วนบุคคล (Personal Qualities) • ดูว่าเขามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร บางคนก็จะพยายามโฆษณาคุณสมบัติตัวเอง • * ความเหมาะสมในองค์การ (Organization Fit) • เหมาะกับหน่วยงานนั้นหรือไม่

  13. กระบวนการการประเมินผลกระบวนการการประเมินผล • กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินให้ชัดเจน • กำหนดแบบประเมิน หรือลักษณะงานที่ประเมิน • กำหนดตัวผู้ประเมิน คือต้องรู้ว่าประเมินโดยใคร เช่นประเมินคนเดียว หรือประเมินเป็นกลุ่ม • กำหนดวิธีการประเมิน จะใช้เป็นแนวทางใด • การวิเคราะห์และนำผลไปใช้ ประเทศไทยมีปัญหาในการประเมินมากเกินแต่เอาผลประเมินมาใช้เพียงนิดเดียว

  14. ความรับผิดชอบในการประเมินผล (Responsibility for Appraisal) • * หัวหน้างาน (Immediate Supervisor) ให้หัวหน้างานที่สูงกว่าเราอีกขั้นเป็นผู้ ประเมิน • * ลูกน้อง (Subordinates)ให้ลูกน้องประเมิน แต่ในเมืองไทยอาจจะลำบากนิดหนึ่งเพราะเกรงกลังภัยถ้าหากประเมินตรงๆ • * เพื่อนร่วมงาน(Peers)ให้เพื่อนร่วมงานประเมินให้ระดับระนาบประเมิน • * ประเมินตัวเอง(Self-appraisal) เปิดกว้างให้เขาประเมินตัวเอง แต่ต้องระวังเรื่องความลำเอียงเข้าข้างตัวเอง • * ลูกค้าประเมิน(Customer Appraisal)ให้ลูกค้าหรือคนติดต่อเป็นผู้ประเมิน • * การประเมินรอบทิศทาง 360 องศา(360 – Degree Feedback) ให้ทุกฝ่ายทุกกลุ่มเป็นผู้ประเมิน หรือเป็นการประเมินรอบทิศทาง 360 องศา

  15. ปัจจัยที่ทำให้การประเมินผิดพลาดไปปัจจัยที่ทำให้การประเมินผิดพลาดไป • *ความประทับใจในบางเรื่อง เช่นผู้ถูกประเมินเรียนจบมาได้เกียรตินิยม • * ความนิยมที่จะประเมินเป็นกลางๆ • * ใช้เหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นบรรทัดฐานในการประเมิน • * ใจดีเกินไป • * ใจหินเกินไป • * ไม่ชอบเห็นใครเก่งกว่า

  16. เหตุผลที่ทำให้การประเมินล้มเหลวเหตุผลที่ทำให้การประเมินล้มเหลว • ข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอหรือไม่ตรงข้อเท็จจริงหรือไม่ถูกต้อง • มาตราฐานไม่ชัดเจน (สิ่งที่เป็นนามธรรมวัดยาก เช่นมีใบเสร็จไหม) • หน่วยงานไม่ให้ความสำคัญ (ไม่ได้คิดว่าจะใช้ผลการประเมินมาใช้ในการตรวจสอบอะไร) • ขาดการเตรียมที่ดี (ในประเทศไทยไม่ค่อยได้เตรียมการ) • ผู้ประเมินไม่ซื่อตรงหรือจริงใจ • ผู้ประเมินขาดทักษะในการประเมิน • ผู้ถูกประเมินไม่ทราบผลการประเมิน • ไม่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการตามผลประเมิน • ไม่ไดใช้การประเมินพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน • วิธีการประเมินไม่ชัดเจน ใช้ภาษาคลุมเครือ

  17. การวัดประสิทธิภาพในการทำงานการวัดประสิทธิภาพในการทำงาน • จะต้องดูกลยุทธ์หรือแผนในระยะยาวของหน่วยงาน เมืองไทยชอบทำให้เสร็จตามระยะเวลา แต่บางอย่างมันก็ประเมินลำบาก เพราะบางทีก็ไม่เสร็จตามระยะเวลา การวัดนอกจากมีเหตุผล(Validity) และ เชื่อถือได้ (Reliability) แล้ว ในต่างประเทศยังต้องมีการให้ยอมรับ (Acceptability) คือประเมินแล้วต้องให้ผู้ถูกประเมินทราบ • ความเฉพาะเจาะจง (Specification) คือจะวัดอะไร เช่น การวัดเฉพาะเลื่อนชั้นเงินเดือนการประเมินผลการปฏิบัติงานตามระยะเวลา ประเมินเลื่อนตำแหน่ง หรืออื่นๆ แต่ในเมืองไทยชอบเอามารวมกัน

  18. แนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management Approach) • แนวทางเปรียบเทียบ (The Comparative Approach) กำหนดเป็นช่วง(Range) เช่น คะแนนในการเรียนนี่เป็นเชิงคุณภาพ บางทีมันอาจจะไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร • แนวทางตามคุณลักษณะ (The Attribute Approach) เช่น เรื่องของโควต้า ในเรื่องของผลงานดีเด่น มีไม่เกิน 15 คน อันนี้เป็นเชิงปริมาณมากขึ้น การให้คะแนนที่เป็นระดับ (Scale) ต่างๆ การที่จะแย้งจะยากเพราะเป็นเชิงปริมาณ • แนวทางด้านพฤติกรรม(The Behavioral Approach) สามารถวัดได้เช่น ระดับคะแนนทางด้านพฤติกรรม (Behavior Scale) และใช้การกระตุ้นของพฤติกรรมองค์การ(Organization Behavior Motivation) ประเมินพฤติกรรมโดยรวม

  19. แนวทางเน้นที่ผลลัพธ์ (The Results Approach) ที่เน้นคือการประเมินแบบยึดวัตถุประสงค์ MBO (Management by Objective) คือมีการตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้ก่อน • แนวทางคุณภาพ (The Quality Approach ) เป็นเป้าหมายในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพราะฉะนั้นทุกหน่วยงานต้องตอบได้ว่าผลผลิต (Productivity) คืออะไรแต่ในภาครัฐหาข้อสรุปยาก ในภาคเอกชนจะง่ายกว่าคือ ดูที่ผลกำไร ในทางธุรกิจใช้ว่าผลิตภาพ (Productivity) บางทีก็ไม่ได้เกิดจากคนแต่มาจากนวัตกรรม (Innovation) หรือนวัตกรรมทางความคิด (Innovative Idea) ซึ่งจะทำให้ เกิดผลผลิตภาพเพิ่มขึ้น

  20. การจำแนกมาตราฐานผลการปฏิบัติงาน (Identifying Performance Standards) • การเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจสมัยใหม่ คะแนนต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินบางหน่วยงานมันจะบอกเลยว่าใช้ได้ไม่เกิน 1ปี หรือการสอบต่างๆ เช่นการสอบวัดผลทางภาษาอังกฤษอาจจะใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี เป็นต้น การประเมินด้วยข้อเขียน (Essay) ในหน่วยงานเอกชนของเราไม่ค่อยใช้

More Related