510 likes | 672 Views
‘Train the Trainers’ Workshop. วัตถุประสงค์. เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับ โครงการการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ เว็บไซต์และแหล่งการเรียนรู้ การเข้าถึงและใช้แหล่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรัชญาด้านการศึกษาและแนวทางการปฏิบัติ
E N D
วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับ • โครงการการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ เว็บไซต์และแหล่งการเรียนรู้ • การเข้าถึงและใช้แหล่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ • ปรัชญาด้านการศึกษาและแนวทางการปฏิบัติ • หน่วยการเรียนรู้ 3 หน่วยและการศึกษารายละเอียด • การพัฒนาทีมที่มีประสิทธิภาพและสามารถส่งเสริมการพัฒนาครู โดยการสะท้อนผ่านเพื่อนร่วมงาน การโค้ช การให้คำแนะนำ และการทำ Action Research • การฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือ การติดตามและการรายงานผล
กำหนดการ • วันที่ 1 นำเสนอเกี่ยวกับ • นำเสนอเกี่ยวกับโครงการการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ เว็บไซต์และแหล่งการเรียนรู้ • 5E learning cycle • การสืบเสาะค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ • การเตรียมตัวสำหรับการสอนด้วยหน่วยการเรียนรู้ • การศึกษารายละเอียดหน่วย นิทรรศการเซลล์ (Cell Expo) • วันที่ 2 • การศึกษารายละเอียดหน่วย Healthy Soda Unit • การศึกษารายละเอียดหน่วย (คนล่าฝน) Rain Maker Unit
กำหนดการ • วันที่3 • การเตรียมตัวของผู้สอนในการใช้หน่วยการเรียนรู้ • การสร้างทีมงาน • การสะท้อนผ่านเพื่อนร่วมงาน กลุ่มครูผู้ทำวิจัย Action Research Monitoringand coaching • บทบาทของศึกษานิเทศก์ • Supporting, Monitoring, Reporting, Planning
เป้าหมายของ วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ Inspiring Science • เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อให้สามารถพัฒนาหลักสูตรรวมทั้งสื่อการเรียนการสอน • เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับระดับชั้นมัธยมปีที่ 1-3 เพื่อสารมารถนำไปจัดการเรียนรู้ ที่เน้น • การจัดการเรียนการสอนที่ใช้บริบทเป็นฐาน (Context-based teaching and learning) • การจัดการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน (Inquiry-based teaching and learning) • การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง • วัฎจักรการเรียนรู้แบบ 5 E ของ สสวท. • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ • การสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษ
เป้าหมายของ วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ Inspiring Science • การขยายผลทั่วประเทศผ่านทาง • เว็บไชต์Inspiring Science • รายการโทรทัศน์ครู (Teachers TV ) • การฝึกอบรมระดับภูมิภาค • การนิเทศติดตามระดับภูมิภาค • การสร้างเครือข่ายวิจัยเชิงปฏิบัติการในโรงเรียน • การสะท้อนผ่านเพื่อนร่วมงาน • coaching and mentoring
เว็บไชต์Inspiring Science • สื่อการเรียนรู้ที่แบ่งตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และระดับชั้น ม.1-3 • รายละเอียดและคำอธิบายหน่วยการเรียนรู้ และหลักสูตรการเรียนการสอน • รายละเอียดและคำอธิบายของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ (learning episode) • รูปแบบสื่อการเรียนรู้และการดาวน์โหลด • www.inspiringscience.obec.go.th
องค์ประกอบของหน่วยการจัดการเรียนรู้องค์ประกอบของหน่วยการจัดการเรียนรู้ • ใช้บริบทเดียวกันตลอดหน่วยการเรียนรู้ • แต่ละหน่วยประกอบด้วย 3-4 แผนการจัดการเรียนรู้ • เน้นการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • มีกิจกรรม • การสอบ Quiz
สื่อการเรียนการสอน Inspiring Science สื่อการเรียนการสอน Inspiring Science แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย • การนำเสนอของครู • PowerPoints เพื่อช่วยให้ครูได้สอนตามวัฎจักร 5E รวมทั้งบริบทในแต่ละขั้น • คลิปวิดีโอ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องราว บริบท เพื่อนำเข้าสู่แนวคิดและทักษะที่จะสอน • คู่มือครู • การนำเข้าสู่บริบทการเรียนการสอน • รายละเอียดของหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งหมดของแผนการจัดการเรียนรู้ • แนวทางการวัดผลเรียนรู้ • แนวทางการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้ 5 E ในแต่ละขั้นตอน • แนวทางการเตรียมการสอน • ใบกิจกรรมสำหรับนักเรียน • วิดีโอการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ (เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพครู อย่างต่อเนื่อง)
วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จะใช้วัฏจักร 5 E ตามขั้นตอนต่อไปนี้ • ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) • ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) • ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) • ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) • ขั้นประเมิน (Evaluation)
การใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E • ดูคลิปวิดีโอการเรียนการสอนของครูที่ใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E ในชั้นเรียน • อภิปรายตามคำถามต่อไปนี้ • ครูสร้างความสนใจให้นักเรียนอย่างไร ? • ครูทำอย่างไรในการศึกษา(หรือ ดึง ‘Elicit’) แนวคิดของผู้เรียนออกมา (*เพื่อเข้าใจในความรู้เดิมของผู้เรียน - ผู้แปล) • ผู้เรียนสำรวจและค้นหาหน้าที่ของปอดได้อย่างไร • ครูช่วยนักเรียนในการอธิบายผลการสำรวจและค้นหาได้อย่างไร • ครูขยายแนวคิดของผู้เรียนได้อย่างไร • ครูประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างไร
การสร้างความสนใจ • การนำเข้าสู่บริบทintroduces the context • การจัดเตรียมเรื่องราวหรือสถานการณ์สำหรับการเรียนรู้นั้น ๆ • การทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและมีความสอดคล้อง • สร้างความสงสัยใคร่รู้ในแนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ที่กำลังจะเรียน • ช่วยในการหาความรู้เดิมและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียน • ช่วยให้ครูรู้ว่าควรจะสอนอย่างไร/ระดับใด จึงจะสามารถพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียน
การสำรวจและค้นหา • เป็นขั้นที่สำคัญที่สุด • ผู้เรียนสร้างความเข้าใจจากประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ • เริ่มด้วยการตอบคำถามปัญหาสำคัญ ซึ่งอาจทำได้โดย • การทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกต้องการความรู้ใหม่เพิ่มเติม • การออกแบบการทดลองเพื่อสืบเสาะค้นคว้าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ลึกลับน่าค้นหา • การค้นหาแบบรูปหรือความสม่ำเสมอของปรากฏการณ์ • การค้นหาแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา • ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นพบทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยตนเอง สามารถช่วยผู้เรียนได้ต่อดังนี้ • การให้คำแนะนำ • การให้ข้อมูลที่สำคัญและเทคนิคที่ช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน • สิ่งสำคัญที่สุด คือ ผู้เรียนต้องมีแนวคิดเป็นของตัวเอง • ผู้เรียนต้องสามารถสร้างความเข้าใจจากแนวคิดหรือความรู้เดิมของตนเอง
การอธิบายและลงข้อสรุปการอธิบายและลงข้อสรุป • ครูมีบทบาทสำคัญในขั้นนี้ โดยการที่เด็กจะทำความเข้าใจได้ได้มากเท่าที่ทำได้ มักจะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างเป็นระบบของ • คำศัพท์เฉพาะทาง • คำนิยาม • แบบจำลอง • การเปรียบเทียบ • ครูควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างคำอธิบายโดยการสะท้อนความคิดผ่านการค้นพบในขั้นสำรวจและค้นหา • ครูสามารถวนซ้ำขั้นสำรวจและค้นหาได้หลายครั้ง หากจำเป็น : Explore → Explain → Explore → Explain
ขั้นขยายความรู้ • ขยายความเข้าใจให้ลุ่มลึกและครอบคลุมจากการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ • ใช้ปัญหาหรือคำถามเพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจแนวคิดสำคัญได้จริงในทางปฏิบัติ • ต้องมีการคิดเตรียมการว่าจะประยุกต์นำแนวคิดสำคัญไปใช้ ซึ่งจะทำให้การสอนขั้นนี้ง่ายขึ้น
การประเมิน • การวัดผล • ควรมีการประเมินในทุกขั้นของ 5 E เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนในการทำความเข้าใจ – การประเมินแบบ Formative • การประเมินเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้เพื่อประเมินว่าสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของหน่วยหรือไม่ เป็นการประเมินแบบ Summative – เพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียน
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • ตั้งคำถาม • ระบุตัวแปร • ระบุตัวแปรอิสระ • การตั้งสมมติฐาน • การวางแผน • การดำเนินงาน • การวัด • การบันทึกข้อมูล • การวิเคราะห์และตีความหลักฐาน • การลงข้อสรุป • การประเมินหลักฐาน • การสื่อสาร
การช่วยเหลือนักเรียนตลอดกระบวนการการช่วยเหลือนักเรียนตลอดกระบวนการ • คำถามที่ช่วยนักเรียนในการสืบเสาะหาความรู้ • ใบกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถทำได้ทั้ง แบบปิด (Closed) และแบบเปิด (open ended)แล้วแต่กรณี
เคล็ดลับความสำเร็จ • พัฒนาทักษะกระบวนการจากนั้นจึงนำไปใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • ใช้การสืบเสาะหาความรู้แบบปิดในตอนเริ่มต้น โดยการตอบคำถามใน “คำถามที่ช่วยนักเรียนในการสืบเสาะหาความรู้ (Enabling Question)” จากนั้นจึงค่อยปรับพัฒนาให้เป็นการสืบเสาะหาความรู้แบบเปิดมากขึ้น • เริ่มต้นการเน้นแนวคิดของ Fair Test (การทดสอบที่ยุติธรรม)เช่น การเปลี่ยนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ตัวแปรต้น) ควบคุมทุกสิ่งให้เหมือนกัน (ตัวแปรควบคุม) และการวัดอะไรบางอย่าง (ตัวแปรตาม) • กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เช่น การเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้นและการควบคุมตัวแปรควบคุมอย่างชัดเจน เป็นระบบ • กระตุ้นให้ผู้เรียนวางแผนเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ (มีความเที่ยง)
การเตรียมตัวใช้แผนการจัดการเรียนรู้การเตรียมตัวใช้แผนการจัดการเรียนรู้ • เลือกหน่วยการเรียนรู้จากเว็บไซต์ • อ่านบทสรุปของแต่ละหน่วยการเรียนรู้และแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ • ดาวน์โหลดและพิมพ์คู่มือครู PowerPoint ใบกิจกรรมนักเรียน และคลิปวิดีโอ สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 • ดูคลิปวิดีโอสำหรับการพัฒนาวิชาชีพครูแบบต่อเนื่อง (Continuing Professional development, CPD) ซึ่งเป็นการคลิปวิดีโอการเรียนการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ Inspiring Science ในชั้นเรียน • อ่านบทนำในคู่มือครู • อ่านคู่มือหลักสูตร
การเตรียมตัวใช้แผนการจัดการเรียนรู้การเตรียมตัวใช้แผนการจัดการเรียนรู้ • ศึกษาคำแนะนำของแต่ละขั้นของ 5 E เปรียบเทียบกับภาพนิ่ง ใน PowerPoint ดูคลิปวิดีโอ และศึกษาใบกิจกรรม เพื่อให้รู้ลำดับ และขั้นตอนในการเรียนการสอน • ดำเนินกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน • คิดคำถามเพิ่มเติม รวมถึงจังหวะและโอกาสที่จะใช้ • คิดถึงการส่งเสริมหรือช่วยเหลือเพิ่มเติมที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน • คำนึงถึงเวลาที่จะใช้ในกิจกรรมนอกเวลา
Review: นิทรรศการเซลล์ • อ่านหัวข้อการเตรียมการใช้หน่วยการเรียนรู้ ศึกษาแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ • อภิปรายกลุ่มถึงความคาดหวังที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ การจัดการเวลา คำถามเพิ่มเติม ความช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับนักเรียน รวมถึงการนำไปฝึกอบรม เพื่อให้แน่ใจว่าการนำไปใช้จะประสบผลสำเร็จ • นึกถึงสิ่งที่ต้องการจะท้าทายผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิด • อภิปรายความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ • เตรียมข้อคิดเห็น/ข้อมูลย้อนกลับ • มีข้อสงสัยที่ต้องการถามหรือไม่
Review : Thai Soda • อ่านหัวข้อการเตรียมการใช้หน่วยการเรียนรู้ ศึกษาแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ • อภิปรายกลุ่มถึงความคาดหวังที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ การจัดการเวลา คำถามเพิ่มเติม ความช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับนักเรียน รวมถึงการนำไปฝึกอบรม เพื่อให้แน่ใจว่าการนำไปใช้จะประสบผลสำเร็จ • นึกถึงสิ่งที่ต้องการจะท้าทายผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิด • อภิปรายความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ • เตรียมข้อคิดเห็น/ข้อมูลย้อนกลับ • มีข้อสงสัยที่ต้องการถามหรือไม่
Review:คนล่าฝน (Rain Maker) • อ่านหัวข้อการเตรียมการใช้หน่วยการเรียนรู้ ศึกษาแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ • อภิปรายกลุ่มถึงความคาดหวังที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ การจัดการเวลา คำถามเพิ่มเติม ความช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับนักเรียน รวมถึงการนำไปฝึกอบรม เพื่อให้แน่ใจว่าการนำไปใช้จะประสบผลสำเร็จ • นึกถึงสิ่งที่ต้องการจะท้าทายผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิด • อภิปรายความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ • เตรียมข้อคิดเห็น/ข้อมูลย้อนกลับ • มีข้อสงสัยที่ต้องการถามหรือไม่
หน่วยอื่น ๆ • Chaing Mai Rally • Fisherman’s Friend • Orchid Culture • Eco-home • Flood News • Astro Camp
การเตรียมตัวครูผู้สอนในการใช้หลักสูตร Inspiring Science • เตรียมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูวิทยาศาสตร์ชั้น ม.1-3 จาก 10 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาของท่าน • ในการอบรมเชิงปฏิบัติการนำเสนอหัวข้อต่อไปนี้ • หลักสูตร Inspiring Science • เว็บไซต์ Inspiring Science สื่อ และแหล่งการเรียนการสอน • วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E และการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • สร้างกลุ่มครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน • ศึกษารายละเอียดของหน่วยการเรียนรู้ทั้ง 3 หน่วย • การสะท้อนความเข้าใจของแต่ละบุคคล • การนิเทศแบบ Coaching (การสอนแนะ, การสอนงาน) • การวางแผนปฏิบัติการทำงานของกลุ่ม
การสร้างกลุ่ม • สร้างกลุ่มครูผู้สอนวิทยาศาสตร์โดยมีสมาชิกกลุ่มละ 4 คน • ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ แต่ละกลุ่มศึกษาหน่วยการเรียนรู้ร่วมกันและวางแผนเพื่อเตรียมตัวในการใช้หน่วยการเรียนรู้ทั้งระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการและเมื่อกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียน • จับคู่ครู 2 คนเพื่อให้เป็นผู้รับฟังและแลกเปลี่ยนการสะท้อนความคิด • จากกลุ่ม 4 คน กำหนดการสอนแนะแบบจัตุรัส (coaching square) • แต่ละกลุ่มของแต่ละโรงเรียนรวมเป็นกลุ่มสังคมของผู้วิจัยเชิงปฏิบัติการ • ใช้กรอบแนวคิดที่เรียกว่า “reality hexagon” ช่วยในการสะท้อนถึงสภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดปรัชญาและรูปแบบหลักการของหลักสูตร Inspiring Science รวมไปถึงเพื่อช่วยในการกำหนดจุดเน้นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
The Reality Hexagon • การสร้างความสนใจ • การสำรวจและค้นหา • การอธิบายและลงข้อสรุป • การขยายความรู้ • การประเมิน • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ OR • การเรียนการสอนที่ใช้บริบทเป็นฐาน • วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E • การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • การเรียนการสอนที่ใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน • ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ • การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจับคู่สะท้อนความคิดการจับคู่สะท้อนความคิด • ครูในแต่ละทีมจับคู่เพื่อเป็นคู่สะท้อนความคิด • คู่สะท้อนความคิดสังเกตชั้นเรียนทุกเดือน (สังเกตให้ครบทั้งแผนการจัดการเรียนรู้) ในการสังเกตชั้นเรียนใช้คำถามต่อไปนี้ในแต่ละขั้นของ 5E • ผู้เรียนเรียนเข้าใจหรือไม่ว่าต้องทำอะไร • ผู้เรียนได้ทำตามที่คาดหวังหรือไม่ • การช่วยเหลือของครูเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพอย่างไร • ประสิทธิภาพในการทำงานกลุ่มของผู้เรียนเป็นอย่างไร • บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้หรือไม่ • ครูสอนในบริบท (บริบทของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้) หรือไม่ • ครูกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนการสอนที่ใช้การสืบเสาะหาความรู้เป็นฐานหรือไม่ • นักเรียนได้พัฒนาความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หรือไม่
การจับคู่สะท้อนความคิด (ต่อ) • หลังจากการสังเกตชั้นเรียน คู่สะท้อนความคิดควรจะพูดคุยและให้ข้อเสนอแนะ โดยใช้คำถามต่อไปนี้ • การสอนบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ • คุณคิดว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับบทเรียนนี้ • สิ่งใดที่ดำเนินไปได้ด้วยดี • สิ่งใดที่ไม่ค่อยดีนัก • จะปรับปรุงอย่างไรในการเรียนการสอนครั้งต่อไป • มีเป้าหมายอย่างไรในครั้งต่อไป • สลับกันถามโดยใช้คำถามเดิม ควรจะบันทึกสิ่งที่สะท้อนออกมาใน logbook
Coaching and mentoring • จากกลุ่ม 4 คน สร้างการสอนแนะแบบจัตุรัส ให้แน่ใจว่า ผู้ถูกสอนแนะไม่ได้ coach ผู้ที่สอนแนะตนเอง • สอนแนะเดือนละครั้ง
กระบวนการสอนแนะ • Preparation • Engage • Enrol • Review • Agree outcomes • Coach • Wrap up
Preparation • ศึกษาบันทึกการประชุมครั้งที่ผ่านมา • สิ่งที่ได้พูดคุยไป • การดำเนินการที่เห็นพ้อง • สิ่งที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ • ตรวจสอบการวางแผนการทำงาน • ย้ำการนัดหมายการประชุม • ตรวจสอบห้องประชุมว่างพร้อมและเหมาะสมกับการประชุม • วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ • เตรียมความพร้อมของตนเอง
Engage • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับการสอนแนะ • ต้องสนใจอย่างแท้จริงในผู้รับการสอนแนะ • สังเกตว่าผู้รับการสอนแนะเป็นอย่างไรในวันนี้ ดูเพื่อวัดว่าเป็นอย่างไรในช่วงเริ่มต้นของการสอนแนะ • ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างกับผู้รับการสอนแนะทั้งที่บ้านและที่ทำงาน • จริงใจและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตนเองต่อผู้สอนแนะ
Enrol ในช่วงเริ่มต้นของการสอนแนะ • ยืนยันความพร้อมของผู้รับการสอนแนะว่าจะเข้ารับการสอนแนะ • ยืนยันเวลาที่ใช้ • ผู้รับการสอนแนะต้องการหยุดกิจกรรมเวลาใด • ผู้รับการสอนแนะมีการประชุมหรือคาบสอนต่อจากกิจกรรมการสอนแนะทันทีหรือไม่
Review ทบทวนการสอนแนะครั้งที่ผ่านมากับผู้รับการสอนแนะ • ผู้รับการสอนแนะมีการพัฒนาการสอนอย่างไร • ผู้รับการสอนแนะได้เรียนรู้อะไรบ้าง นับตั้งแต่มีการพบปะครั้งที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการสอนแนะ • เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ดีขึ้น หรือแย่ลง หรือไม่ • ความต้องการของผู้รับการสอนแนะยังเหมือนเดิมหรือไม่
Agree Outcomes • สิ่งใดที่ผู้รับการสอนแนะต้องการที่จะได้รับจากกิจกรรมในครั้งนี้ • สิ่งใดที่เกิดขึ้นกับผู้รับการสอนแนะซึ่งถือว่าเป็นคุณค่าที่ได้รับจากการสอนแนะ • ขอบเขตที่ต้องการในการรับการสอนแนะวันนี้ • ต้องการเริ่มต้นจากประเด็นใดก่อน
Coach! • ต้องมีความสนใจใคร่รู้และให้ความสนใจ • ให้มีสิ่งที่เรียกว่า‘meta-state’ ตลอดเวลาและให้กระบวนการสอนแนะเป็นไปตามที่วางไว้ • มีความสนใจอย่างแท้จริง คอยดูว่าตนเองรู้สึกอย่างไร • พร้อมที่จะรับการสะท้อนความคิดจากผู้รับการสอนแนะ
GROW • G Goal. เป็นเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งต้องชัดเจนเพียงพอ เพื่อให้รู้ว่าได้บรรลุเป้าหมายแล้ว • R Reality. สิ่งที่เป็นอยู่หรือความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย • O Options. ขั้นนี้เป็นการระบุอุปสรรคเพื่อหาวิธีการจัดการ • W Way Forward. จากขั้นที่ผ่านมาให้เปลี่ยนอุปสรรคเป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่เป้าหมาย
Wrap Up • ในขั้นสุดท้ายของการสอนแนะแต่ละครั้ง ให้ตรวจสอบว่าผู้รับการสอนแนะได้บรรลุจุดประสงค์ มีความคิดริเริ่มและพร้อมที่จะเผชิญปัญหา • ทำข้อตกลงและให้คำมั่นที่จะดำเนินการต่อไป • นึกถึงคำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับการสอนแนะได้สะท้อนความคิด • เขียนบันทึกเกี่ยวกับการสอนแนะครั้งนั้นและสะท้อนความคิดของผู้สอนแนะในข้อค้นพบต่าง ๆ • อะไรที่ดำเนินไปด้วยดี • อะไรที่ดำเนินไปได้ไม่ดีนัก • จะทำอย่างไรให้แตกต่างจากเดิม
Action Research Communities • แต่ละโรงเรียนสร้างกลุ่มทำงานที่เรียกว่า (ARC) • กระตุ้นให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสะท้อนความคิด • กระตุ้นให้ครูมีบทบาทสำคัญและเป็นผู้ตัดสินใจในรูปแบบหรือวิธีการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง (CPD) ตลอดทั้งกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ • พัฒนาความรู้และความเข้าใจในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
Action Research Approaches • ครูแต่ละคนควรจะมีสมุดบันทึกที่เรียกว่า logbook เพื่อบันทึกกิจกรรม รวมทั้งร่องรอยหลักฐานต่าง ๆ เช่น • รูปถ่าย • ตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียนในชั้นเรียน • บันทึกและแผนการทำงานของแต่ละคน • สามารถใช้เครื่องมือวิจัยดังต่อไปนี้ • อนุทินของผู้เรียน • การสังเกต • แบบสอบถาม • การสะท้อนจากเพื่อนร่วมงาน • การสัมภาษณ์ผู้เรียน หรือการสัมภาษณ์กลุ่ม
คำถามสำหรับการเขียนอนุทินของผู้เรียนคำถามสำหรับการเขียนอนุทินของผู้เรียน • วันนี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไร • นักเรียนได้พัฒนาทักษะอะไรบ้าง • อะไรบ้างที่นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลิน • อะไรบ้างที่นักเรียนไม่เข้าใจ • มีประเด็นอื่นอะไรบ้างที่นักเรียนชอบในบทเรียนนี้ • คำถามเหล่านี้สามารถใช้เป็นคำถามในการสัมภาษณ์รายบุคคลและกลุ่มได้ด้วย
แบบสอบถามสำหรับผู้เรียนแบบสอบถามสำหรับผู้เรียน
วัฏจักรการวิจัยเชิงปฏิบัติการวัฏจักรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
บทบาทของศึกษานิเทศก์ • จัดเตรียมและดำเนินการอบรม • สร้างกลุ่มการทำงานในโรงเรียน • ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนและติดตามแต่ละโรงเรียนโดย • ติดต่อทางอีเมลล์และโทรศัพท์เดือนละครั้ง • นิเทศภาคเรียนละหนึ่งครั้ง(หากครูมีปัญหาสามารถนิเทศได้มากกว่าหนึ่งครั้งหรือนิเทศเร็วกว่ากำหนด) • จัดการพบปะในช่วงท้ายของภาคเรียนเพื่อให้ทุกโรงเรียนเข้าร่วมและนำเสนอประสบการณ์ที่ได้รับและผลที่ได้รับ • ในช่วงท้ายของปีการศึกษา จัดการนำเสนอโดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอยู่แล้ว ให้โรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการใหม่ • เขียนสรุปรายงานประจำเดือนแล้วอัพโหลดขึ้นเว็บไชต์Inspiring Science • ติดตามเพื่อให้แน่ใจว่าโรงเรียนได้อัพโหลดรายงานประจำภาคเรียนขึ้นเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว
Supporting • ให้แน่ใจว่าโรงเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้ • ตอบรับจดหมายและโทรศัพท์เมื่อโรงเรียนหรือครูมีปัญหาหรือคำถาม • ติดต่อหัวหน้ากลุ่มประจำโรงเรียนทางอีเมลล์และโทรศัพท์ติดตามทุกเดือน • เยี่ยมโรงเรียนทุกภาคเรียน
Reporting • แต่ละโรงเรียนเขียนรายงานสั้น ๆ ประจำแต่ละเดือน ส่งไปยังศึกษานิเทศก์ • ศึกษานิเทศก์สรุปรายงานประจำแต่ละเดือนแล้วอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ • แต่ละโรงเรียนสรุปรายงานเพื่อนำเสนอในวันที่มีการประชุมพบปะในช่วงท้ายของภาคเรียน รายงานฉบับนี้ต้องอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ด้วย
Planning สิ่งที่ต้องวางแผน • หลักสูตรอบรม • การส่งอีเมลล์ประจำแต่ละเดือนของโรงเรียนและการโทรศัพท์ติดตาม • การเยี่ยมโรงเรียน • Magnifier day (การประชุมพบปะในช่วงท้ายของภาคเรียน) • Voice confident day (การประชุมพบปะในช่วงท้ายของปีการศึกษา)
รายละเอียดติดต่อ : ดร.กานจุลี ปัญญาอินทร์ kanchulee@hotmail.com