160 likes | 410 Views
ที่มาของ 3G. 3 G หรือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ( อังกฤษ : 3G,3rd generation mobile telecommunications ) เป็นมาตรฐาน โทรศัพท์มือถือ ในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2 G ซึ่ง 3 G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT- 2000 ภายใต้กลุ่มของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
E N D
3 Gหรือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (อังกฤษ: 3G,3rd generationmobiletelecommunications ) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีสามารถการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูง
มาตรฐาน IMT-2000 • พื้นฐาน ที่สามารถรองรับบริการต่างๆ เช่น บริการประจำที่ บริการเคลื่อนที่ สื่อสารด้วยเสียง รับส่งข้อมูล เข้าถึงอินเทอร์เน็ต มัลติมีเดีย จะต้องเป็นไปในทางเดียวกัน คือสามารถโอนถ่าย ส่งต่อ ซึ่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมอื่นที่สามารถรับส่งข้อมุลได้ • โครงข่ายข้ามแดน (Global Roaming) สามารถใช้อุปกรณ์เดียวในทุกพื้นที่ทั่วโลก • ความต่อเนื่องการสื่อสาร (Seamless Delivery Service) สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแม้จะมีการเคลื่อนที่แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานีรับส่งสัญญาณ • อัตราความเร็วการรับส่งข้อมูล (Transmission Rate) 4.1 ขณะประจำที่หรือความเร็วเท่าการเดินสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างน้อย 2 เมกะบิต/วินาที 4.2 ขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับยานพาหนะ สามารถรับส่งข้อมูลอย่างน้อย 384 กิโลบิต/วินาที 4.3 ในทุกสภาพการใช้งาน มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 14.4 เมกะบิต/วินาที
เทคโนโลยี 3G คืออะไร 3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า “ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ • “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง • “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ [ • ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที • ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที • ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที
จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากร ความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอิน เทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ
ระบบ1G2G3GคืออะไรGย่อมาจากGeneration1G-ระบบAnalog2G-ระบบDigital3G-ระบบWireless 1G เริ่มตั้งแต่ 1G ... ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่งSMSก็ยังทำไม่ได้ในยุค1Gแต่จริงๆแล้ว ... ในยุคนั้น ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้ว โดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่
2Gหลังจากนั้นก็ได้พัฒนาต่อมาเป็นยุค2G...ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave ซึ่งในยุคนี้เอง เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว ในยุค 2G นี้ ... เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือที่เรียกว่าcellsiteและก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลกหรือที่เรียกว่าRoamingยุค 2G นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือเลย ... ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลง (กว่ายุค 1G) ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น
3G ต่อมา ... ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ 3G หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น ... เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว ... 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลย
3.3Gกับ3.9Gแตกต่างกันตรงไหนตอนนี้ในไทยมี3Gแท้กับ3Gเทียมครับ 3G แท้ คือ เครือข่ายที่ให้สัญญาณ สามจี จริงๆ เช่น i-mobile 3GX หรือ TOT 3G บนคลื่นความถี่ WCDMA หรือ UMTS 2100 MHz และ ยังมีระบบ CAT CDMA บนเทคโนโลยี CDMA20001xEV-DO3G เทียม ก็คือ การแปลงสัญญาณ GSM ให้เป็น 3G อย่างที่ AIS / True / Dtacกำลังทดลองให้บริการกันอยู่ AIS ก็วิ่งบนคลื่น 900 MHzอยู่ครับ Dtacกับ truemove850MHz ถ้าใบอนุญาตออกจะวิ่งที่ 2100 MHz
4.ประโยชน์ของ3Gมีอย่างไรบ้าง คำตอบ ดูคลิปพวกนี้อาจจะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นนะคะ3Gแพทย์ชนบท http://youtu.be/xJ86uU0zbZc?hd=13Gอนาคตของคนไทย http://youtu.be/gIg4bI7SL6M?hd=13Gกล้วยไม้ http://youtu.be/tqsQ_0oGics?hd=1" 3Gkas1 http://bit.ly/mEgT8C3Gsmehttp://bit.ly/l72hWK3Gtape2ดร.เสรี http://bit.ly/mvrOS73Gเพื่อยกระดับการศึกษา http://bit.ly/m1MHE13Gเพื่อวิทยาการทางแพทย์ http://bit.ly/m1MHE1 5. เอสแอล คอนซอร์เตี้ยมคืออะไร ประชาชนจะได้ใช้ 3.9G เมื่อไหร่ และใครจะเป็นคนสร้างโครงข่ายนี้
-การสร้างระบบโครงข่ายหลัก(CoreNetwork)จำนวน1ระบบ -ระบบสถานีฐาน(UTRAN)จำนวน4,772แห่ง -ระบบสื่อสัญญาณ(TransportNetwork)-ระบบบริการจัดการโครงข่าย(OSS)จำนวน1ระบบ -ระบบบริการเสริมพื้นฐาน(VAS)จำนวน1ระบบ -ระบบสนับสนุนการให้บริการ(BusinessSupportSystem)จำนวน1ระบบ - รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ (Site Preparation) และ อุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย3Gทีโอที จะดำเนินการติดตั้งสถานีฐานทั่วประเทศจำนวน 5,320 แห่ง ครอบคลุม 57 จังหวัด โดยจะเป็นการสร้างสถานีฐานใหม่จำนวน 4,772 สถานี และย้ายสถานีฐานเดิม จากใจกลางกรุงเทพฯไปติดตั้งในปริมณฑลกรุงเทพฯแทนจำนวน 548 สถานี ซึ่งหลังจากที่ได้ลงนามในสัญญาแล้ว คาดว่าประมาณกลางไตรมาสที่4 ของปี 2554 ประชาชนคนไทยจะได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เต็มรูปแบบในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 13 จังหวัดหลัก หลังจากนั้นภายในกลางปี 2555 จะสามารถใช้งานได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ระบบ3Gเกิดขึ้นได้อย่างไรรู้ไว้ใช่ว่า3Gในประเทศไทย ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า 3G ในไทย ณ ตอนนี้นั้นเป็น 3G ที่ใช้ย่านความถี่โดยแบ่งดังนี้AIS ใช้ 900, Dtacและ True ใช้ 850 ส่วน TOT นั้นใช้ 2100 ทำให้มีปัญหาในเรื่องเครื่องที่รองรับเพราะไม่ใช่ทุกเครื่องจะรองรับ 3G ทุกแบนด์ได้มันเลยเป็นแบบนี้ แต่ถ้าเมื่อไรทุกเครือข่ายใช้งาน 3Gบน 2100 Mhzซึ่งเป็นย่านมาตราฐาน 3G ทั่วโลกแล้ว ทุกเครื่องที่เขียนว่ารองรับ 3G จะใช้งานได้ครับแต่ปัญหาคือย่านดังกล่าวในประเทศเรายังไม่มีใครได้รับสัมปทานอนาคต3Gในประเทศไทยเพิ่งเปิดตัวไปสดๆร้อนๆ กับ 3G ของ AIS อย่าง AIS 3G ที่ได้เปิดให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ความถี่ 900 MHz และขยายพื้นที่บริการ 3G ทั่วกรุงเทพชั้นใน และอีก 7 จังหวัดจากทุกภาคของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี ภูเก็ต สงขลา ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน , ปราณบุรี) และเพชรบุรี (ชะอำ) AIS โดยผู้ที่ใช้ซิมของ ค่าย AIS อย่าง GSM Advance และ 1-2-call สามารถสมัครใช้บริการอินเตอร์เน็ต edge+ และ 3G ได้ โดยแนะนำให้ท่านสมัครแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตแบบคิดปริมาณการใช้งาน ถึงจะได้ความเร็ว 3G ระดับ Mbps โดยความเร็ว 3G สูงสุดระดับ HSPA+ ที่ 21 Mbps เพราะถ้าสมัครแบบรายชั่วโมงเหมือนเดิมก็จะได้ความเร็ว 3G สูงสุดที่ 384Kbps เท่านั้น และด้วยโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ในท้องตลาด จะรองรับ 3G ความถี่ 900MHz และ 2100MHz ดังนั้นผู้ที่เคยซื้อมือถือเก่าที่รองรับ 3G แต่ไม่ได้ใช้ 3G เลย ก็นำลองมาใช้อีกครั้ง เพราะครั้งนี้คุณจะได้ท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้สมบูรณ์มากขึ้น หากมีกล้องหน้าก็สามารถ video calling ได้ด้วย บนมือถือเครื่องเก่าที่คุณเคยซื้อไป
ขอบคุณสำหรับการฟังคนบรรณยายขอบคุณสำหรับการฟังคนบรรณยาย