1 / 74

การแตกร้าวของคอนกรีต

บทที่ 17. การแตกร้าวของคอนกรีต. ผู้จัดทำ. 1. นาย ณฤ พล นิยม 5310110136 2. นาย ณัฐ พงศ์ โอร พันธ์ 5310110153 3. นางสาวมุกรวี อุบล สถิตย์ 5310110476. เสนอ อาจารย์ สิทธิชัย พิริย คุณธร . Concrete. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ellard
Download Presentation

การแตกร้าวของคอนกรีต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 17 การแตกร้าวของคอนกรีต

  2. ผู้จัดทำ 1. นาย ณฤพล นิยม 5310110136 2. นาย ณัฐพงศ์ โอรพันธ์ 5310110153 3. นางสาวมุกรวี อุบลสถิตย์ 5310110476 เสนอ อาจารย์ สิทธิชัย พิริยคุณธร Concrete ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  3. http://www.phigroup.co.uk/tags/concrete-panel/concrete-panel

  4. หัวข้อที่จะศึกษา 4 1 6 3 2 7 การแตกร้าวของถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแตกร้าว ขั้นตอนการเกิดการแตกร้าว หน่วยแรงกับการแตกร้าว สาเหตุของการแตกร้าว การวัดความกว้างของรอยแตก 5 ตัวอย่าง การแตกร้าว ของคอนกรีต

  5. 1 ขั้นตอนการเกิดการแตกร้าว การแตกร้าวของคอนกรีตเกิดขึ้นได้อย่างไร?

  6. ขั้นตอนการเกิดการแตกร้าวขั้นตอนการเกิดการแตกร้าว เริ่มแรกพิจารณาแท่งคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัวดี ซึ่งยังมีความชื้นอยู่ และปลายทั้งสองด้านของแท่งคอนกรีตถูกปล่อยไว้อย่างอิสระ ไม่ยึดติดกับวัตถุอื่นใด รูป คอนกรีตชื้น ต่อมาเมื่อแท่งคอนกรีตแข็งตัว และแห้งลงก็จะเกิดการหดตัวได้อย่างอิสระโดยที่ปลายทั้งสองด้านไม่ถูกรั้งจึงไม่เกิดหน่วยแรงใดๆในเนื้อคอนกรีต ในสภาวะเช่นนี้จะไม่เกิดการแตกร้าวขึ้น รูป คอนกรีตแห้งลงเกิดการหดตัว *คอนกรีตที่ปลายทั้งสองไม่ถูกยึด*

  7. การแตกร้าวจะเกิดขึ้นในกรณีแท่งคอนกรีตถูกยึดปลายทั้งสองไว้การแตกร้าวจะเกิดขึ้นในกรณีแท่งคอนกรีตถูกยึดปลายทั้งสองไว้ เมื่อคอนกรีตแห้งตัวจะทำให้เกิดหน่วยแรงดึงในเนื้อคอนกรีต ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับปล่อยให้คอนกรีตแข็งตัวและเกิดการหดตัวโดยอิสระ รูป คอนกรีตที่ถูกยึดที่ปลายทั้งสองข้างเมื่อแห้งตัวจะเกิดแรงดึงขึ้น การแตกร้าวของคอนกรีต (ต่อ) ในขณะเดียวกันเราก็จะดึงแท่งคอนกรีตให้ยาวออกไปเท่าเดิม แต่เมื่อเวลาผ่านไปคอนกรีตจะเกิดความคืบ ซึ่งทำให้หน่วยแรงดึงในคอนกรีตลดลง รูป เมื่อเวลาผ่านไป จะเกิดความคืบขึ้นแรงดึงจะลดลง

  8. ขั้นตอนการเกิดการแตกร้าว(ต่อ)ขั้นตอนการเกิดการแตกร้าว(ต่อ) ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีตสดหรือคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ถ้าหน่วยแรงดึงที่เกิดขึ้นสูงกว่ากำลังรับแรงดึงคอนกรีต คอนกรีตก็จะเกิดการแตกร้าว และหน่วยแรงดึงที่เกิดขึ้นในคอนกรีตก็จะหมดไป รูป เกิดรอยร้าวเมื่อหน่วยแรงดึงสุทธิสูงกว่ากำลังของคอนกรีต

  9. 2 หน่วยแรงกับการแตกร้าว การแตกร้าวเป็นผลเกิดจากการกระทำของหน่วยแรงต่างๆในคอนกรีต

  10. Concrete Crack การแตกร้าวเป็นผลเกิดจากการกระทำของหน่วยแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในคอนกรีตซึ่งสามารถแสดงด้วยกราฟที่ชี้ให้เห็นถึงการกระทำของหน่วยแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในคอนกรีต

  11. แกนนอน(x) : เวลา แกนตั้ง(Y): การเปลี่ยนแปลงปริมาตร หน่วยแรง กำลัง และความ คืบ เส้นโค้ง A : เมื่อเวลาผ่านไปคอนกรีต แห้งและเย็นตัวลงก็จะเกิด การหดตัว เส้นโค้ง B : การที่คอนกรีตถูกยึดไว้จะ ทำให้เกิดหน่วยแรงดึง ภายใน คอนกรีต เส้นโค้ง C: การเกิดความคืบใน คอนกรีต ทำให้หน่วยแรง ดึงในคอนกรีตลดลง เส้นโค้ง D : เป็นผลจากแรงดึงที่ เกิดขึ้น น้อยกว่ากำลังรับแรงดึงของ คอนกรีต y x กราฟแสดงความสัมพันธ์ของหน่วยแรงดึงสุทธิที่เกิดขึ้นและกำลังรับแรงดึงของคอนกรีต แต่ถ้าหน่วยแรงดึง C เท่ากับกำลังรับแรงดึงของคอนกรีต คอนกรีตจะแตก แต่ถ้าหน่วยแรงดึงน้อยกว่ากำลังรับแรงดึง การแตกร้าวก็จะไม่เกิดขึ้น

  12. 1.การหดตัวของคอนกรีตเมื่อคอนกรีตแห้งและเย็นลง1.การหดตัวของคอนกรีตเมื่อคอนกรีตแห้งและเย็นลง 2.คอนกรีตถูกยึดรั้งไว้ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้อิสระ 3.ความยืดหยุ่นของคอนกรีต(Elasticity) 4.ความคืบของคอนกรีต(Creep) 5.กำลังดึงของคอนกรีต(Tensile Strength) การแตกร้าวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเหล่านี้

  13. 3 สาเหตุการแตกร้าว Structural Crack , Non Structural Crack

  14. สาเหตุการแตกร้าว • แบ่งออกเป็น 2ประเภท • 1) Structural Crack • 2) Non Structural Crack

  15. ประเภทที่ 1 Structural Crack

  16. Structural Crack มาจากสาเหตุหลัก 3 ประการ 1.การแตกร้าว เนื่องจากการออกแบบไม่ถูกต้อง เช่น การคำนวณการออกแบบ หรือการให้รายละเอียดการเสริมเหล็กไม่ถูกต้อง 2.การแตกร้าว เนื่องจากการใช้วัสดุก่อสร้างไม่มีคุณภาพ เช่น ใช้หินผุ หินมีดินปน ทรายสกปรก น้ำสกปรก หรือทำการผสมคอนกรีตไม่ได้สัดส่วนถูกต้อง รวมทั้งการใช้เหล็กเสริมที่เป็นสนิมมาก 3.การแตกร้าว เนื่องจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น การผสม การขนส่ง การเทลงแบบ การหล่อคอนกรีตไม่ดีพอ เป็นต้น www.colorlandscapes.wordpress.com

  17. ประเภทที่ 2 Non Structural Crack

  18. ชนิดของการแตกร้าวประเภท Non Structural Crack • อาจมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ • การหดตัวของคอนกรีต • การทรุดตัวของคอนกรีต • ความร้อน • อื่นๆ • ซึ่งการแตกร้าวจำพวกนี้สามารถจำแนกตามเวลาที่เกิดได้เป็น • -การแตกร้าวก่อนคอนกรีตแข็งตัว • -การแตกร้าวหลังคอนกรีตแข็งตัวแล้ว • โดยสรุปไว้ได้ดังแผนภาพ

  19. อธิบายเพิ่มเติม (จากแผนภาพ) ปฏิกิริยา Carbonation คือ การที่ CO2เข้าไปทำปฏิกิริยากับซีเมนต์เพสต์ที่แข็งตัวแล้ว โดยทำปฏิกิริยากับ Ca(OH)2เป็นหลักทำให้ได้ CaCO3จะส่งผลทำให้คอนกรีตเสียหาย แต่จะทำให้ความเป็นด่างของซีเมนต์เพสต์ลดลง และทำให้ฟิล์มที่เคลือบอยู่ระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตถูกทำลายจึงอาจส่งผลทำให้เกิดสนิมของเหล็กเสริม

  20. ประเภทของการแตกร้าว การแตกร้าวของคอนกรีต สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อาทิเช่น การหดตัวของคอนกรีตในระหว่างการเซ็ตตัว (drying shrinkage) การยืดหดขยายตัวของคอนกรีตเนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิในระหว่างกลางวัน และกลางคืน (thermal contraction) และ อื่นๆ

  21. ประเภทของการแตกร้าว Crazing การแตกแบบลายงา ซึ่งเป็นการแตกร้าวแบบไม่มีรูปแบบกระจายตัว ซึ่งรอยแตกร้าวจะมีขนาดเล็กมากและมักเกิดขึ้นที่ผิวของคอนกรีต ซึ่งมีผลต่อความสวยงามเท่านั้นวิธีการและแนวทางแก้ไข เนื่องจากการแตกร้าวแบบนี้ จะไม่มีผลต่อโครงสร้าง หากต้องการความสวยงาม สามารถเลือกวัสดุที่เหมาะสม เทปรับผิวเพื่อความเรียบร้อยและสวยงาม http://www.nachi.org/visual-inspection-concrete.htm

  22. ประเภทของการแตกร้าว(ต่อ)ประเภทของการแตกร้าว(ต่อ) Plastic shrinkage cracking Plastic shrinkage cracking เป็นการแตกร้าวเนื่องมาจากการ หดตัวของคอนกรีตในระหว่างการเซ็ตตัว กล่าวคือ ในขณะที่คอนกรีตกำลังเซ็ตตัวนั้น น้ำที่อยู่ในส่วนผสมของคอนกรีตเกิดการระเหยตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้คอนกรีตเกิดการหดตัวที่ผิวหน้า ทำให้เกิดรอยแตกร้าวขึ้น ซึ่งจะมีความลึกแตกต่างกันไป โดยรอยแตกร้าวบริเวณผิวหน้าจะมีขนาดใหญ่กว่าด้านล่าง Plastic shrinkage cracking in concrete pavement. ที่มารูป http://www.fhwa.dot.gov/publications/research/infrastructure/pavements/pccp/04122/03.cfm

  23. ประเภทของการแตกร้าว (ต่อ) วิธีการและแนวทางแก้ไข ควรเลือกวัสดุที่มีความยืดหยุ่นในการซีลปิดผิวรอยแตกร้าว ในกรณีที่เป็นพื้นที่มีการสัญจรหรือพื้นโรงงานควรเลือกวัสดุที่มีความแข็งพอสมควร (ควรมีค่า Shore Hardness ASTM 2240 ประมาณ 75-80 A)

  24. ประเภทของการแตกร้าว (ต่อ) http://www.nachi.org/visual-inspection-concrete.htm Plastic Settlement เป็นการทรุดหรือจมตัวของวัสดุ ผสมหยาบในเนื้อคอนกรีต รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุเกิดจาก ส่วนผสมของคอนกรีต เหลวPlastic settlement crackingเกินไป ดังนั้นในช่วงเวลาที่ คอนกรีตกำลังก่อตัวอยู่ วัสดุผสมจำพวกหินและทรายก็ยังจมอยู่เบื้องล่างเรื่อยๆ ถ้ามีวัสดุขวางกั้นอยู่ เช่น เหล็กเสริม ท่อสายไฟ หรือท่อน้ำ ส่วนที่จมตัว ทรุดตัวอยู่รอบๆวัสดุนั้น ทำให้เกิดรอยร้าวบนผิวหน้าคอนกรีตตามแนวของวัสดุนั้นๆสาเหตุดังกล่าวนี้สามารถควบคุมได้ด้วยการลดปริมาณน้ำในส่วนผสมลงและใช้ หิน ทรายที่มีขนาดลดหลั่นพอดี

  25. ประเภทของการแตกร้าว (ต่อ) • เกิดขึ้นเนื่องจากน้ำที่ผสมอยู่ในคอนกรีต ซึ่งมักจะมีมากกว่าความต้องการของ ปฏิกิริยา hydration ดังนั้นน้ำจึงเกิดการระเหยตัวทำให้คอนกรีตเกิดการหดตัวและเกิดการแตกร้าวขึ้นแนวทางและวิธีการแก้ไข สามารถใช้น้ำยาอีพ็อกซี่ที่มีค่าความหนืดต่ำ ฉีดอัดเข้าไปในรอยแตกร้าว สามารถเลือกใช้ทั้งวิธี low หรือ high pressure ก็ได้ Drying shrinkage http://www.nachi.org/visual-inspection-concrete.htm

  26. ประเภทของการแตกร้าว (ต่อ) Alkali-aggregate reaction เป็นการเสื่อมสภาพของคอนกรีตเนื่องมาจากองค์ประกอบทางสารเคมีบางประเภทของหิน หรือทราย ที่เป็นส่วนผสมของคอนกรีต ทำปฏิกิริยากับ alkali hydroxide ในคอนกรีตซึ่งแบ่งเป็นสองประเภท คือ alkali-silica reaction และ alkali carbonate reactionแนวทางและวิธีการแก้ไข ควรจะปรึกษาวิศวกรโครงสร้างที่มีความชำนาญในการแก้ไขและวิเคราะห์ปัญหานี้

  27. ประเภทของการแตกร้าว (ต่อ) Thermal cracks เกิดขึ้นเนื่องมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากปฏิกิริยา Hydration ของซีเมนต์และน้ำจากปริมาณคอนกรีตจำนวนมาก ทำให้เกิดการแตกร้าว ขนาดของรอยแตกร้าวขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิของผิวชั้นล่างและผิว ชั้นบนของคอนกรีตแนวทางและวิธีการแก้ไข สามารถเลือกใช้วิธีการ low หรือ high epoxy grouting http://www.nachi.org/visual-inspection-concrete.htm

  28. ประเภทของการแตกร้าว (ต่อ) Corrosion เป็นการแตกร้าวเนื่องมาจากสนิมในเหล็กเสริมโครงสร้าง เนื่องจากสนิมทำให้เหล็กเกิดการขยายตัวขึ้นมากทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าว ขึ้นในที่สุดแนวทางและวิธีการแก้ไข ควรทำการสกัด คอนกรีตที่เกิดการแตกร้าวและหลุดร่อน ออก ต้องทำการขัดสนิมที่เหล็กเสริมออกให้ ให้ สะอาด และทาเคลือบด้วยน้ำยากันสนิม ก่อนทำการฉาบ ซ่อมแซมด้วยวัสดุฉาบ ที่มีความแข็งแรง http://www.nachi.org/visual-inspection-concrete.htm

  29. การแตกร้าวจากสาเหตุต่างๆการแตกร้าวจากสาเหตุต่างๆ ทั้งแบบ Structural และ Non Structural Crack

  30. 1. รอยแตกร้าวที่เกิดจากแบบโป่ง งอ หรือเคลื่อนที่เนื่องจากไม้ขยายตัว ตาปูหรือเครื่องยึดเหนี่ยวหลุด แบบไม่แข็งแรงพอ เป็นต้น รอยร้าวเหล่านี้ไม่แสดงแบบที่ชี้บอกลักษณะที่แน่นอน

  31. 2. รอยแตกร้าวที่เกิดจากพื้นดินข้างล่างไม่แข็งแรงพอ ยุบตัวลงทำให้คอนกรีตเคลื่อนทรุดลงขณะที่กำลังจะแข็งตัว รอยร้าวเหล่านี้ไม่แสดงแบบที่ชี้บอกลักษณะที่แน่นอน

  32. 3. รอยแตกร้าวที่อาจเกิดขึ้นเหนือเหล็กเสริมคอนกรีต เมื่อคอนกรีตทรุดตัวลงบนเหล็ก จะป้องกันได้โดยใช้คอนกรีตที่มีการยุบตัวน้อย และทำให้พื้นข้างล่างแข็งแรงพอ

  33. 4. รอยแตกร้าวลายงาเกิดได้เนื่องจากการบ่มที่ไม่เพียงพอ หรือเกิดจากการใส่ซีเมนต์มากเกินไป หรือเกิดจากการพองตัวของทรายหรือซีเมนต์ที่เผาสุก

  34. 5. รอยแตกร้าวจากการหดตัวที่เกิดในขณะที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัว เนื่องจากคอนกรีตเสียน้ำไปอย่างรวดเร็ว จากการระเหยไปในอากาศ หรือถูกพื้นดินแห้งข้างล่างดูดน้ำไป

  35. 6. รอยแตกร้าวที่เกิดจากสนิมของเหล็กเสริมคอนกรีตขยายตัว จะป้องกันได้โดยใช้คอนกรีตที่มีส่วนผสมแน่นดี และมีคอนกรีตหุ้มเหล็กอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันความชื้นเข้าไปทำให้เหล็กเป็นสนิม

  36. 4 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแตกร้าว

  37. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแตกร้าวปัจจัยที่ทำให้เกิดการแตกร้าว ประกอบด้วย 5 ปัจจัยด้วยกัน • 1. วัตถุดิบและสัดส่วนการผสมคอนกรีต • 2.การเทคอนกรีต(Placing) • 3.สภาพการทำงาน • 4. การบ่มคอนกรีต(Curing) • 5.การยึดรั้งตัว(Restraint)

  38. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแตกร้าวปัจจัยที่ทำให้เกิดการแตกร้าว • วัสดุมวลรวม • จะมีผลต่อการออกแบบส่วนผสม สัมประสิทธิ์การนำความร้อน และความแข็งแรง เป็นต้น • น้ำ • ถ้าใช้น้ำมากเกินความจำเป็น ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดการแตกร้าวได้มาก และยังทำให้กำลังอัดของคอนกรีตต่ำลงด้วย • 1.วัตถุดิบและสัดส่วนการผสมคอนกรีต • ปูนซีเมนต์ • ปูนซีเมนต์ที่ปริมาณซิลิกาสูง หรือมีความละเอียดสูง • น้ำยาผสมคอนกรีต • น้ำยาบางชนิดอาจมีผลทำให้เกิดการแตกร้าวได้ เช่น น้ำยาเร่งการแข็งตัว

  39. 2.การเทคอนกรีต (Placing) ปัจจัยที่ทำให้เกิด การแตกร้าว อัตราการเทและสภาพการทำงานมีผลต่อการแตกร้าวอย่างแน่นอน ซึ่งมักเป็นผลมาจากการเยิ้มจากคอนกรีต(Bleeding) น้ำที่ไหลเยิ้มขึ้นมาที่ส่วนบนของคอนกรีต จะทำให้เกิดช่องว่างใต้หิน โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ลึกๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกร้าวภายในได้ รวมทั้งการแยกตัวของคอนกรีต อุณหภูมิภายนอก การทรุดตัวไม่เท่ากันของพื้นล่างหรือส่วนที่เป็นแบบรองรับคอนกรีต ก็สามารถทำให้เกิดการแตกร้าวได้เช่นกัน

  40. 3.สภาพการทำงาน ปัจจัยที่ทำให้เกิด การแตกร้าว • อุณหภูมิ (Temperature) • ปกติอัตราการรับกำลังได้ของคอนกรีตจะแปรตามอุณหภูมิ อย่างไรก็ตามความสำคัญของอุณหภูมิที่มีต่อคอนกรีตคือ เมื่อคอนกรีตเย็นตัวลง จะหดตัว โดยเฉพาะงานคอนกรีตในอากาศร้อนและงานคอนกรีตปริมาณมากๆ พื้นคอนกรีตที่หล่อขณะอากาศเย็นจะเกิดการแตกร้าวน้อยกว่าหล่อขณะอากาศร้อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ การเทคอนกรีตปริมาณมากๆ จึงมักเทตอนกลางคืน

  41. สภาพการทำงาน (ต่อ) ปัจจัยที่ทำให้เกิด การแตกร้าว • 2.การสัมผัสกับสภาพรอบข้าง (Exposure) • อุณหภูมิและความชื้นที่แตกต่างกันมากในช่วงวัน เป็นผลทำให้เกิดการรั้งภายในของคอนกรีตอย่างมาก เพราะการยืดหดตัวของผิว และส่วนที่อยู่ภายในจะไม่เท่ากันทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวได้

  42. 4.การบ่มคอนกรีต(Curing) รอยแตกร้าวที่เกิดจากการระเหยอย่างรวดเร็วของน้ำ ความชื้นในคอนกรีตเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่าก่อนหรือหลังการบ่ม สำหรับงานพื้นถ้าคอนกรีตแห้งเร็วเกินไป อัตราการระเหยของน้ำที่ผิวหน้าคอนกรีต อาจจะเร็วกว่าอัตรากว่าเยิ้ม เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ผิวหน้าของคอนกรีตจะเกิดการหดตัว ทำให้เกิดการแตกร้าวขึ้น การป้องกันสามารถทำได้โดยทำให้แบบหล่อชุ่มน้ำ หลีกเลี่ยงการเทคอนกรีตในช่วงอุณหภูมิสูง บ่มคอนกรีตทันทีที่ทำได้ พยายามป้องกันลมและแสงแดดขณะเทคอนกรีต เพื่อไม่ให้น้ำในคอนกรีตระเหยเร็วเกินไป ที่มา http://www.phigroup.co.uk/tags/concrete-panel/concretel

  43. 5.การยึดรั้งตัว (Restraint) คอนกรีตที่ถูกยึดรั้งไว้ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ไม่ว่าจะเป็นการยึดรั้งจากฐานราก หรือโครงสร้างใกล้เคียงก็จะทำให้เกิดการแตกร้าวขึ้นได้ การเกิดรอยแตกในแนวดิ่งที่ฐานกำแพงของอาคารถือเป็นเรื่องปกติ ถ้ารอยแตกนั้นไม่ขยายต่อด้านบน ดังนั้นจึงมักพบว่า กำแพงหรือพื้นยาวมักจะเกิดรอยแตกขึ้นเป็นช่องๆ ได้ ส่วนกำแพงที่หล่อติดเป็นชิ้นเดียวกันกับโครงสร้าง มีโอกาสที่จะแตกร้าวทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

  44. การยึดรั้งตัว (ต่อ) โดยทั่วไป คอนกรีตที่ถูกยึดรั้งไม่ให้หดตัวสูงจะเกิดรอยแตกขึ้นมา แต่รอยแตกเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นรอยแคบๆ การเสริมกำแพงหรือพื้นด้วยเหล็กปริมาณมากๆ ทำให้เกิดรอยแตกลักษณะนี้มากกว่าการเสริมเหล็กปริมาณน้อย หรือมักเรียกว่าเหล็กเสริมอุณหภูมิ(Temperature Reinforcement) แต่เมื่อรวมความกว้างของรอยแตกแล้วทั้ง 2 กรณี จะมีความกว้างเท่าๆกัน เหล็กที่รับแรงดึงสูง (High-Yield-Point) ทำให้เกิดรอยแตกกระจายอยู่ทั่วไปมากกว่าเหล็กก่อสร้างทั่วไป (Structural-Grade-Steel) รอยแตกแคบๆ มักไม่ก่อให้เกิดปัญหาเพราะสังเกตได้ยากและฝนมีโอกาสซึมผ่านค่อนข้างน้อย

  45. Concrete Cracks www.howtostainconcretefloors.com

  46. 5 ตัวอย่างการแตกร้าวของคอนกรีต

More Related