210 likes | 400 Views
สรุปบทเรียน. การประชุมวิชาการระดับภูมิภาค SHA Conference & contest “ Sustainable Development ; ประณีตและยั่งยืน.......บนพื้นฐานงานคุณภาพ” วันที่ 10 -11 พฤศจิกายน 2552 สถานที่ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนปาร์ค กรุงเทพฯ
E N D
สรุปบทเรียน การประชุมวิชาการระดับภูมิภาค SHA Conference & contest “ Sustainable Development ;ประณีตและยั่งยืน.......บนพื้นฐานงานคุณภาพ” วันที่ 10 -11พฤศจิกายน 2552 สถานที่ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนปาร์ค กรุงเทพฯ โดย นางสาวอัมพร บุญบุตร พยาบาลHA
HA & SHA กระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
SHA Sustainable Health Care & Health Promotion by Appreciation and Accreditation : SHA
SHA 5SS = Safety ความปลอดภัยในระดับที่เกิด ความเสี่ยงน้อยที่สุด S = Standard การใช้มาตรฐานคุณภาพใน งานประจำวัน S = Spirituality humanistic Sensibility มิติด้านจิตใจ S = Self Sufficiency Back to Basic Approach แนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง S = Sustainable ความยั่งยืน
SHA 3H H = Humanized Health Care การดุแลด้วยความรัก ความเอื้ออาทร คำนึงด้านมิติจิตใจทั้ง ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ H = HA & HPH มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล
SHA 2A A = Appreciative การชื่นชม ยินดีมุมมองในเชิงคุณภาพ A = Accreditation การรับรอง คุณภาพ
SHA หมายถึง?? ในความหมายโดยรวมคือความปรารถนา ความท้าท้าย หรือความฝันที่จะได้เห็นโรงพยาบาลหรือองค์กรสุขภาพผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล มีความปลอดภัย และใช้มาตรฐานคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย ผสมผสานมิติด้านจิตใจการทำงานร่วมกับชุมชน สังคม เกิดการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีความประณีต งดงาม อยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเอื้ออาทร เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และเพื่อการเยียวยาได้
กรอบแนวคิด SHA “SHA” เป็นแนวคิดที่ผสมผสานทั้งมิติคุณภาพ Quality Improvement , safety , Humanized Health Care , Humanized management รวมทั้ง Humanized Skill เพื่อขยายกรอบแนวคิดการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยให้หายจากความทุกข์ จากโรค จากความเจ็บป่วย ในโรงพยาบาลที่มีความเป็นมนุษย์ สุนทรียภาพ และสันติภาพ
กรอบแนวคิด SHA “ SHA” เป็นแนวคิดที่ท้าทายในการขับเคลื่อน ยุคของการพัฒนาคุณภาพไปสู่ระบบบริการ สุขภาพในฝัน หรือในอุดมคติ เพื่อพัฒนาแบบ องค์รวม มีความสุขใจทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ
ที่มาของแนวคิด SHA จากระบบการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน รพ. และบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ผสมผสานมาตรการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในระบบงานที่สำคัญอื่นในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้รับความปลอดภัยใน รพ. (Patient Safety) แนวคิดการดูแลมิติองค์รวม จิตใจ การสร้างเสริมสุขภาพ และวิถีชีวิตความเชื่อ ประเพณีต่างๆ ของชุมชน เน้นการวางงานของรพ. เอง เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วย และชุมชนมากที่สุด โดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันและการสร้างพลังอำนาจ
SHA….กับโรงพยาบาลในฝัน คือโรงพยาบาลที่สามารถรักษาคุณภาพตามมาตรฐาน วิชาชีพ (Standard) รักษาคุณธรรมจริยธรรม ด้วยจิตวิญญาณ (Spirituality) ซึ่งเน้นเป้าหมาย สำคัญคือความปลอดภัยของผู้ป่วย (Safety) ภายใต้ การบริหารจัดการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficient Economy) โดยการธำรงระดับ คุณภาพไว้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน (Sustainable)
SHA…มีแนวคิดและกระบวนการSHA…มีแนวคิดและกระบวนการ ปรับกระบวนการเยี่ยมสำรวจมาเป็นวิธีการสร้างความ ประทับใจและการชื่นชมด้วยใจ (Appreciation) โดยวิธีการเยี่ยมสำรวจเชิงสร้างสรรค์ สร้างการเรียนรู้ ร่วมกัน และยึดมั่นมาตรฐานการรับรองคุณภาพ รพ. ทั้ง 4 ตอน (Accreditation)
ดร.นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (สำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ) การนำ SHA มาใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพนั้นต้องเริ่มจากความคิดที่สร้างสรรค์ตนเอง/องค์กรก่อน โดยการก้าวให้ผ่านพ้นองค์กรปรนัยให้ได้ ลักษณะขององค์กรปรนัย เดินตามช่อง มองแค่ที่เห็น เน้นแต่ตัวชี้วัด วิสัยทัศน์มีไว้ท่องจำ งานที่ทำไม่มีความหมาย
ดร.นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (สำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ) การบริการระบบสุขภาพในอุดมคติคือการคำนึงถึง 5S ใน SHA และการบูรณาการการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมแห่งสุขภาวะ โดยการมองแบบบูรณาการมองภาพใหญ่ทั้งหมด ด้วยความละเอียดอ่อนต่อความเป็นมนุษย์ทั้งของตัวเราผู้ให้บริการ และความเป็นมนุษย์ของผู้รับบริการโดยการเน้น ให้มีความอ่อนโยนต่อชีวิต ที่ควรทะนุถนอม อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ อ่อนไหวต่อความทุกข์ของผู้อื่น
พลัง OM : มุมมองผู้ปฏิบัติและผู้เยี่ยมสำรวจ OM = Outcome Mapping = แผนที่ผลลัพธ์ OM เป็นเครื่องที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพที่ทำให้การพัฒนาสำเร็จผลและเกิดความยั่งยืน โดยการประสานเครือข่ายหาพันธมิตร ในการเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมแก้ไข ช่วยกันออกแบบกิจกรรม และสุดท้ายคือ การทำด้วยหัวใจมาร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุ (RCA) และกำหนดกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยกันแก้ไขเพื่อให้เกิด ผลลัพธ์ (Outcome) ตามที่ต้องการ โดยมีเครือข่ายภาคีทั้งหมด (Boundary Partner) ทั้ง Direct Partner, Strategic Partner มาร่วมกันกำหนดแนวทาง
OM การพัฒนาที่ยั่งยืนคือ 1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องให้ (keep your eye mind open ) = พัฒนาศักยภาพคน 2. ให้คนในพื้นที่เป็นคนทำ คนรับผิดชอบ คนควบคุม = ความเป็นเจ้าของ 3. คนนอกเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการปรับเปลี่ยน = การเพิ่มพลังอำนาจ (Empowerment)
OM โดยสรุป OM เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผน ติดตาม ประเมินผล ขับเคลื่อน การพัฒนางาน ที่มุ่งเน้นการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพันธมิตรที่เป็นภาคีให้เกิดความรู้สึกในความเป็นเจ้าของเพื่อคงไว้ซึ่งความยั่งยืน (Sustainable)
OM ในมุมมองของผู้เยี่ยมสำรวจ OM เป็นเครื่องมือทีนำมาใช้ในการพัฒนาเชื่อมโยงกับมาตรฐานในบทต่างๆ ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของ Partner ในทุกภาคส่วนมุ่งเน้นให้ความสำคัญที่คนได้เรียนรู้แล้วส่งผลในการปรับพฤติกรรมที่ได้เปลี่ยนแปลงไปในกระบวนการพัฒนาคุณภาพนั้นๆ
การนำ OM มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ โดยการนำ OM มาใช้ตอบ Expect to see เอาปัญหามาคุยกัน Like to see แนวคิดมนการทำเพราะต้องการเห็นการปรับเปลี่ยนหันหน้าเข้าหากัน เกิดแนวคิดในการพัฒนาเชิงระบบ Love to see ปฏิบัติจนเกิดเป็นวัฒนธรรม แทรกตัวอยู่ในงานประจำอย่างต่อเนื่อง
ประเภทของ OM 1. Micro OM = Tool used by Direct Partner ในกลุ่มของแพทย์ พยาบาล วิสัญญี และทีมสหสาขาที่เกี่ยวข้องกันภายในองค์กร 2. Macro OM = Tool used by Boundary Partner ในกลุ่มของพันธมิตรภายนอกที่เกี่ยวข้องเช่น พระ นักเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.อสม. PCU ฯลฯ
องค์ประกอบที่สำคัญของ OM 1. Context 2. Partner 3. Learning 4. Behavior Change