460 likes | 668 Views
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1. ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. เม็กซิโก เริ่มมีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบสูงขึ้นผิดปกติ ตั้งแต่ 18 มีนาคม 2552 และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง.
E N D
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
เม็กซิโก เริ่มมีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบสูงขึ้นผิดปกติ ตั้งแต่ 18 มีนาคม 2552 และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปลายเดือนเมษายน 2552 สหรัฐอเมริการายงานผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดสุกร (swine flu) ใน 2 มลรัฐที่มีชายแดนติดกับประเทศเม็กซิโก (แคลิฟอร์เนียและเท็กซัส)
ประกาศเตือนขององค์การอนามัยโลก (1) • เมื่อวันที่ 25 เมษายน 52 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern : PHEIC )
ประกาศเตือนขององค์การอนามัยโลก (2) • วันที่ 27 เมษายน 52 ได้ประกาศปรับเตือนการระบาดจากเดิม ระดับ 3 เป็นระดับ 4 (มีการระบาดอย่างต่อเนื่องในระดับชุมชน) จากความรุนแรง 6 ระดับ • แนะนำมาตรการว่า ไม่ควรจำกัดการเดินทางหรือปิดพรมแดน หากประชาชนมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรเลื่อนการเดินทางระหว่างประเทศและหากเริ่มป่วยหลังจากการเดินทางระหว่างประเทศ ควรไปพบแพทย์ทันที • การบริโภคเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์จากหมูที่ปรุงสุก ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ • ประชาชนทั่วไปควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำ บ่อยๆ และหากเริ่มมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ควรไปพบแพทย์
ประกาศเตือนขององค์การอนามัยโลก (3) • วันที่ 29 เมษายน 2552 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยกระดับการเตือนการระบาดเป็นระดับ 5 (มีการระบาดอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน) • เน้นย้ำให้ทุกประเทศเริ่มปฏิบัติการตามแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้น การค้นหาโรคได้รวดเร็ว การรักษาพยาบาล และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลในสถานบริการสาธารณสุข • 29 เมษายน 2552 WHO ประกาศเปลี่ยนชื่อจากเดิม Swine Influenza หรือไข้หวัดสุกร เป็น Influenza A (H1N1)เนื่องจากพบว่า เชื้อไวรัสที่พบเป็นสายพันธุ์ใหม่ ไม่เคยพบมาก่อนในโลก และการระบาดครั้งนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อนี้จากสุกร
การตอบสนองต่อสถานการณ์ทั่วโลกการตอบสนองต่อสถานการณ์ทั่วโลก หลายประเทศออกประกาศแนะนำหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศที่เป็นแหล่งโรค และมีมาตรการคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ ประเทศออสเตรเลีย, จีน, ไอซ์แลนด์, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เกาหลีใต้ ไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลก เฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้าประเทศอย่างใกล้ชิด บางประเทศห้ามนำเข้าและขายผลิตภัณฑ์จากหมู รัฐบาลประเทศอียิปต์สั่งทำลายหมูกว่าสี่แสนตัว
สถานการณ์การรายงานขององค์การอนามัยโลกสถานการณ์การรายงานขององค์การอนามัยโลก ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 • พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1จำนวน29 ประเทศ • ผู้ป่วยยืนยันรวม 4,657 ราย • เสียชีวิต 50 ราย สถานการณ์รายวัน ติดตามได้จากเว็บไซต์ กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.thหรือ องค์การอนามัยโลก www.who.int
พบผู้ป่วยสงสัย พบผู้ป่วยยืนยัน และมีผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยยืนยัน แผนที่การกระจายของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1
แผนที่ประเทศที่พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1
สถานการณ์การรายงานของประเทศสหรัฐอเมริกา • ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2552 • พบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในสหรัฐอเมริกา ใน 44 มลรัฐ • ผู้ป่วยยืนยันรวม 2,532 ราย • เสียชีวิต 3 ราย
แผนที่การกระจายของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
การติดต่อและอาการของโรคการติดต่อและอาการของโรค • เชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย • ทางติดต่อ - โดยการถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง - รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ • อาการ ใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหากมีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดอักเสบรุนแรง หอบ หายใจลำบาก
การเฝ้าระวังของไทย • ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2552 - 10 พฤษภาคม 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้รับแจ้งผู้ป่วยที่เข้าข่ายเฝ้าระวังโรคและได้ทำการสอบสวนโรค จำนวน 72 ราย • พบผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 จำนวน 1 ราย กำลังรอยืนยันผลตรวจทางห้องปฏิบัติการจากศูนย์ควบคุมป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา • ปัจจุบัน (ณ วันที่ 11 พ.ค.52 เวลา 15.00 น.) ยังไม่พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ในประเทศไทย
6. การระบาดกระจาย หลายภูมิภาคของโลก (Pandemic) 5. การระบาดขยายตัว ภายในประเทศ หรือ หลายประเทศ ในภูมิภาคเดียว 4. เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ติดต่อจากคนสู่คน มีผู้ป่วย/ตาย แต่ยังอยู่ในวงจำกัด 3. คนติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ และป่วย/ตาย แต่ยังไม่ ติดต่อจากคนสู่คน 2.เชื้อสายพันธุ์ใหม่ มีความเสี่ยงที่จะติดต่อ มายังคนสูงขึ้น ขั้นตอนการเกิดการระบาดใหญ่ (WHO 2005) 1. พบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ในสัตว์ ความเสี่ยงในคนต่ำ 10 Sep 06
ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009) ระดับที่ 5-6 / การระบาดใหญ่ หลังการระบาดระลอกที่มีผู้ป่วยสูงสุด ระดับที่ 4 หลังการระบาดใหญ่ ระดับที่ 1-3 เวลา มีความเป็นไปได้ ที่จะมีการระบาดระลอกถัดไป มีการแพร่กระจายเชื้อ จากคนสู่คนเป็นวงกว้าง การระบาดอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีการติดเชื้อในสัตว์/พบคนติดเชื้อจำนวนน้อย พบการติดต่อจากคนสู่คนอย่างต่อเนื่อง
ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009) • ระดับ 1 ไม่พบรายงานเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ ที่จะเป็นสาเหตุการเกิดโรคในคน • ระดับ 2 เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ ทำให้เกิดการ ติดเชื้อเกิดขึ้นในคน และมีโอกาสทำให้เกิด การแพร่ระบาดของโรค
ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009) • ระดับ 3เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่กลายพันธุ์ ทำให้พบ ผู้ป่วยเป็นกลุ่มเล็ก การติดต่อระหว่างคนสู่ คนอยู่ในวงจำกัด เช่น การสัมผัสใกล้ชิด ระหว่างผู้ติดเชื้อกับผู้ดูแลผู้ป่วยที่ไม่ได้มี การป้องกันการติดเชื้อ
ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009) • ระดับ 4เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่กลายพันธุ์จากการผสม สายพันธุ์ (reassortant) สามารถทำให้เกิดการ ระบาดในระดับชุมชน มีความเสี่ยงของการเกิด การระบาดใหญ่เพิ่มขึ้น บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของ ความเสี่ยงของการเกิดการระบาดใหญ่ แต่ จำเป็นทำให้เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก
ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ระดับการเตือนภัยการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ปรับปรุง โดยองค์การอนามัยโลก (2009) • ระดับ 5 มีการแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวจากคนสู่ คนในอย่างน้อย 2 ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ขององค์การอนามัยโลก ประเทศส่วนใหญ่ยังไม่มีการ ติดเชื้อ • ระดับ 6 การระบาดของโรคในประเทศอื่นอย่างน้อย 1 ประเทศในภูมิภาคอื่นขององค์การอนามัยโลก นอกเหนือจากเกณฑ์ในระดับ 5 ซึ่งระดับการ เกิดระบาดใหญ่ไปทั่วโลก
การแพร่โรคจากผู้เดินทางระหว่างประเทศการแพร่โรคจากผู้เดินทางระหว่างประเทศ 21 Feb 08
โอกาสทองของ การควบคุมโรค ; Early phase Ro = 2 Later stage Ro = 4 16 Nov 05
นอกประเทศ ในประเทศ Phase 4 Phase 5 ; ;
นอกประเทศ ในประเทศ Phase 4 Phase 5 ; ; ยุทธศาสตร์ ป้องกัน สกัดกั้น โรคเข้าประเทศ เฝ้าระวังโรคเข้มข้น ค้นหาไว ควบคุมไม่ให้แพร่กระจาย ชะลอการระบาด ช่วยเหลือ บรรเทาความเสียหายและผลกระทบ
ครม. เห็นชอบ 10 กค. 2550 คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอำนวยการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดนกและ การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ (รองนายกฯ) แผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2553)
นายกรัฐมนตรี ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน คณะกรรมการอำนวยการฯ (รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ประสานกับองค์กรระหว่างประเทศ/ นานาชาติ WHO US CDC ….… กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) โครงสร้างคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไข สถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ในปัจจุบัน (รองนรม.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน)
การเตรียมความพร้อมโดย ความร่วมมือพหุภาคี Multi-sector cooperation ภาคเอกชน Private ภาครัฐ Public ภาคบริการพื้นฐาน (Essential services) พลังงาน ไฟฟ้า น้ำประปา ขนส่ง คมนาคม สื่อสาร / IT การเงิน / ธนาคาร รักษาความปลอดภัย 22 Aug 07
การเตรียมพร้อม รับการระบาดใหญ่ ใช้หลายยุทธศาสตร์ ยาต้านไวรัส วัคซีน การดูแลผู้ป่วย อุปกรณ์ป้องกันตัว ด้านการ แพทย์/เวชภัณฑ์ (Medical/Pharma.) ส่งเสริมอนามัยบุคคล จำกัดการเดินทาง แยกกักผู้สัมผัสโรค จำกัดกิจกรรมทางสังคม ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ ด้านสาธารณสุข/สังคม (Non-med/non-pharma) ด้านเศรษฐกิจและสังคม (Social and economic systems - to keep the society running) รักษาความมั่นคง / กฎหมาย จัดหาอาหารและน้ำดื่ม จ่ายพลังงาน เชื้อเพลิง บริการคมนาคมขนส่ง บริการสื่อสารโทรคมนาคม จัดระบบการเงิน ธนาคาร Source: David Nabarro at APEC-HMM, Sydney 8 June 2007
นโยบาย นำนโยบายและแผน สู่การปฏิบัติ แผน ยุทธศาสตร์ ของประเทศ แผนปฎิบัติการ ของหน่วยงานต่างๆ ในภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ โครงการ / กิจกรรม แนวทางปฏิบัติ (Guidelines) มาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติ (SOPs) รองรับแผนปฏิบัติการ ในทุกภาคส่วน การซ้อมแผนความพร้อมทุกระดับ ซ้อมบนโต๊ะ (Tabletop) / ซ้อมปฏิบัติ (Drills)
คณะรัฐมนตรี • เผยแพร่ • สู่ทุกภาคส่วน แผนยุทธศาสตร์ฯ ป้องกันแก้ไขและเตรียมพร้อมรับปัญหาไข้หวัดนก และการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2553) แผนภูมิขั้นตอนการดำเนินงานเตรียมความพร้อมป้องกันแก้ไขและเตรียมความพร้อมรับปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ สำหรับประเทศไทย • จัดทำแผน • โดยคณะทำงาน แผนปฏิบัติการแม่บท (Master Operation Plan) • ขอความเห็นชอบจาก ครม. • เผยแพร่สู่ทุกภาคส่วน • ทุกระดับ • ส่วนกลาง • ส่วนภูมิภาค • ท้องถิ่น/ชุมชน • แผนปฏิบัติการ • ภาครัฐ (ทุกกระทรวง) • ภาคเอกชน • ภาครัฐวิสาหกิจ • สนับสนุน • การจัดทำแผน • ในทุกภาคส่วน ดำเนินการเตรียม ความพร้อมตามแผน • อำนวยการ • ประสาน / สนับสนุน • กำกับติดตาม ทุกระดับ ทุกภาคส่วน วงจร การเตรียม ความพร้อม ซ้อมแผน ความพร้อม เป็นระยะ ปรับแผน เป็นระยะ
ระดับกรม เริ่ม มีนาคม 49 ทำแล้วทุกจังหวัด ระดับจังหวัด เมื่อรัฐบาลพร้อม ปฏิทินการ ซ้อมแผนบนโต๊ะ ระดับประเทศ 8 มีค. 50 ระดับกระทรวง เริ่ม กค.. 49
แนวทางการป้องกัน และควบคุมโรค
มาตรการหลักตามแผนปฏิบัติการแม่บทการเตรียมความพร้อม สำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ การประสานสั่งการ การเตรียมพร้อมด้านปศุสัตว์ การเตรียมพร้อมด้านสาธารณสุข การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การคมนาคม ขนส่ง เดินทางและการข้ามแดน การรักษาความสงบเรียบร้อยและการบรรเทาทุกข์ การร่วมมือพหุภาคีและความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดทำแผนประคองกิจการภายในองค์กร
การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข • เปิดศูนย์ปฏิบัติการ ทำการทุกวัน ตั้งแต่ 25 เม.ย. 2552 • เร่งรัดและเพิ่มระดับความเข้มข้นการเฝ้าระวังโรค โดยสถานบริการสธ., ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วทั่วประเทศและอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคน • เตรียมพร้อมด้านการตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ทราบผลตรวจใน 48 ชม. ด้วยเครือข่าย 14 แห่ง และรถตรวจเคลื่อนที่ 6 คัน พร้อมทั้งพันธมิตรทางห้องปฏิบัติการ • เตรียมความพร้อมด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ฝึกอบรมบุคลากรและเตรียมห้องแยกผู้ป่วยในรพ.ทุกแห่ง
การดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข • สำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เตรียมพร้อมด้วยยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วยกว่า 3 แสนคนแลพร้อมเพิ่มปริมาณการผลิต ในกรณีจำเป็นฉุกเฉิน • ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อมวลชน เว็บไซต์ call center • ตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิที่สนามบินนานาชาติและมีแพทย์ประจำจุดตรวจ พร้อมส่งผู้ป่วยทันทีหากพบผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ • ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่น เฝ้าระวังโรคในสถานศึกษา สายการบิน บริษัททัวร์ โรงแรม การซ้อมแผนทุกภาคส่วนระดับจังหวัด
ภารกิจของสาธารณสุข สธ. ถือว่าการป้องกันไข้หวัดใหญ่ ที่ระบาดในเม็กซิโก เป็นนโยบายสำคัญที่มีผลกระทบสูงเช่นเดียวกับ การดำเนินงานไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมรับไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ที่ผ่านมา ผู้บริหาร สธ. ให้ความสำคัญ และ ดูแลอย่างเต็มที่ สาธารณสุขจังหวัด ตรวจสอบสถานการณ์โรค ความพร้อมของระบบงาน และการสำรองเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างเพียงพอ
ภารกิจของสาธารณสุข (ต่อ) ทบทวนและส่งเสริมทีม SRRT ทั้งด้านบุคลากรและทรัพยากร ให้เพียงพอ สื่อสารกับอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อช่วยค้นหาโรคในชุมชน ส่งเสริมความตระหนัก และบทบาทของประชาชน ในการป้องกันตนเอง ประสานงานอย่างใกล้ชิด ระหว่างสาธารณสุข ปศุสัตว์ และ ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มเสี่ยง • ผู้ที่เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด • นักท่องเที่ยว • ประชาชนที่เดินทาง • ผู้สัมผัสโรค • ผู้ให้บริการ : โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร • ครอบครัว ชุมชน
คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค (1) • หากท่านมีอาการไข้ ขอให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สายการบินหรือพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เพื่อให้การดูแลท่าน และเพื่อประกันความปลอดภัยของผู้โดยสารคนอื่นในสนามบินและบนเครื่องบิน • ประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermo Scanner) ที่สนามบินนานาชาติทุกแห่ง หากพบว่าท่านมีไข้ จะมีแพทย์ตรวจและให้การดูแลท่าน ณ จุดคัดกรอง ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ • สำหรับผู้ที่ไม่มีไข้และไม่มีอาการป่วย ควรสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน
คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่มีการระบาดของโรค (2) • ระหว่างสังเกตอาการ หากท่านมีไข้ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ เจ็บคอ ร่วมกับ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น รีบสวมหน้ากากอนามัย หรือปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอหรือจาม และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และไปพบแพทย์ พร้อมแสดงบัตรเตือนเรื่องสุขภาพที่ได้รับจากด่านควบคุมโรคที่สนามบิน เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดต่อไป • หากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ควรหยุดงานหรือหยุดเรียน พักอยู่ที่บ้านหรือที่พัก และสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน • ควรปิดปากปิดจมูกทุกครั้งด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูทุกครั้งเมื่อท่านไอจาม และทิ้งลงในถังขยะ หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่กับผู้อื่น
คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา (1) • ขอให้ทางโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่ง ตรวจสอบว่ามีนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีประวัติเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ และติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและนักเรียน ขอให้สังเกตอาการตนเองจนครบ 7 วันนับจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย หากมีไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ น้ำมูก ฯลฯ ขอให้ไปพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการเจ็บป่วยและให้การวินิจฉัยรักษา และหยุดเรียนจนกว่าจะหายดี
คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา (2) • ขอให้ครูประจำชั้นตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนและตรวจอาการนักเรียนในแต่ละวัน หากพบนักเรียนมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีนักเรียนขาดเรียนมากผิดปกติ (ตั้งแต่ 3 คน ในห้องเรียนเดียวกัน) ขอให้ตรวจสอบสาเหตุ หากสงสัยว่าขาดเรียนจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ (เขตกรุงเทพมหานคร แจ้ง โทร. 0 2246 0358 หรือ โทร. 0 2245 8106 นอกกรุงเทพมหานคร แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด) เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคได้ทันการณ์ • ขอให้โรงเรียนจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการล้างมือ เช่น อ่างล้างมือ สบู่ ฯลฯ และรณรงค์ส่งเสริมให้นักเรียนล้างมืออย่างถูกต้อง ซึ่งในชั้นต้นนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะสนับสนุนหน้ากากอนามัยจำนวนหนึ่ง เพื่อสำรองไว้ที่ห้องปฐมพยาบาล สำหรับให้นักเรียนที่ป่วยสวมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
คำแนะนำสำหรับประชาชน (1) • หากไม่มีความจำเป็น ควรชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง • ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่เกิดการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด • หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ หรือเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ • ติดตามข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด
คำแนะนำสำหรับประชาชน (2) • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดย - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ ดื่มน้ำ สะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสุรา - หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม - หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้าน หรือสถานที่ทำงานเดียวกัน ต้องรีบแจ้งสำนักงาน สาธารณสุขหรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเข้า ดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดทันที
คำแนะนำสำหรับประชาชน (3) • ติดตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด • ค้นหาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ -เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th - เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th - เว็บไซต์กรมควบคุมโรค www.ddc.moph.go.th • และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และ สถาบันศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ โทร 025901994 ตลอด 24 ชั่วโมง