1.01k likes | 1.59k Views
การประเมินผล การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปี 2554-2555. www.crcn.in.th. วัตถุประสงค์ของโครงการ.
E N D
การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครปี 2554-2555 www.crcn.in.th
วัตถุประสงค์ของโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการ • เพื่อประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และหรือโรคความดันโลหิตสูงจากเวชระเบียนผู้ป่วยตามเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยบริการในเครือข่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า • เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และหรือโรคความดันโลหิตสูงจากเวชระเบียนผู้ป่วยตามเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยบริการในเครือข่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีพ.ศ.ปัจจุบันกับผลการประเมินการดูแลรักษาของปีที่ผ่านมา • เพื่อหาความชุกของผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาในหน่วยบริการในเครือข่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีความสมบูรณ์ ครอบคลุมมากกว่าที่ได้ดำเนินการในปี 2553
เกณฑ์มาตรฐาน (ตัวชี้วัด) • ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ใช้ตัวชี้วัดที่ถูกพัฒนาและกำหนดโดยเครือข่าย TCEN(Toward Clinical Excellence’ Network)และ CPG โรคเบาหวาน • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ใช้ตัวชี้วัดที่ถูกพัฒนาและกำหนดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และสปสช. WWW.CRCN.IN.TH
ตัวชี้วัดผลลัพธ์การให้บริการตามมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ความชุก(Prevalence)และอัตราการเกิดโรค(Incidence) • การตรวจหาระดับ Fasting blood sugar อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ≥70และ≤130 mg/dl • การตรวจหาระดับHbA1cประจำปี • การตรวจพบระดับ HbA1c< 7% • การรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเบาหวาน • การตรวจวิเคราะห์ Lipid profile ประจำปี • การตรวจพบระดับLDL ของผู้ป่วย < 100 mg/dl • การตรวจพบระดับความดันโลหิตสูง ≤ 130/80 mmHg • การตรวจหาระดับ Microalbuminuria ประจำปี • การได้รับยากลุ่ม ACE inhibitor หรือ ARB ของผู้ป่วยที่มีMicroalbuminuria • การตรวจจอประสาทตาประจำปีของผู้ป่วย • การตรวจสุขภาพช่องปากประจำปีของผู้ป่วย
ตัวชี้วัดผลลัพธ์การให้บริการตามมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 • การตรวจเท้าอย่างละเอียดประจำปีของผู้ป่วย • การตรวจพบแผลที่เท้าในผู้ป่วย • การตัดนิ้วเท้า, เท้า หรือขาในผู้ป่วย • การสอนให้ตรวจและดูเท้าด้วยตนเองหรือสอนผู้ดูแลอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี • การให้คำแนะนำปรึกษาให้เลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วย • การตรวจหา Diabetic retinopathy ในผู้ป่วย • การตรวจหา Diabetic nephropathy ในผู้ป่วย • การตรวจพบ Myocardial infarction ในผู้ป่วย • การตรวจพบ Cerebral infarction ในผู้ป่วย • ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง Impaired fasting glucose (IFG) • การส่งกลับ/ส่งต่อผู้ที่ควบคุมเบาหวานได้ไปดูแลที่ศูนย์สุขภาพชุมชน /โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
ตัวชี้วัดผลลัพธ์การให้บริการตามมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตัวชี้วัดผลลัพธ์การให้บริการตามมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง • การตรวจพบระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ < 140/90 mmHg • การได้รับการตรวจติดตาม (follow up) อย่างน้อยสองครั้งในรอบปีที่ผ่านมา • การตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการประจำปี • การตรวจพบภาวะแทรกซ้อนหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วย • การตรวจพบภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย • การตรวจพบภาวะผิดปกติทางไตในผู้ป่วยในผู้ป่วย • ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับคำแนะนำปรึกษาให้เลิกสูบบุหรี่ WWW.CRCN.IN.TH
ขั้นตอนการดำเนินงาน • จัดประชุมชี้แจงผู้ประสานงานโครงการ • เตรียมชุดแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย(CRF version14 dated 5 March 2555) • เลือกเวชระเบียนของผู้ป่วยจากฐานข้อมูลผู้ป่วยมาตามนัดในช่วงวันที่ 15 เมย. – 15 มิ.ย.2555 • ชี้แจงและขอความยินยอม WWW.CRCN.IN.TH
การขอความยินยอม ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล • ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการ (เอกสารชี้แจง) • ขอความยินยอมจากผู้ป่วยโดยให้ลงนามแสดงความยินยอมในหนังสือแสดงเจตนายินยอม และฉีกสำเนาเอกสารสีชมพูให้ผู้ป่วย เก็บสีขาวไว้ที่รพ. • ดำเนินการในสถานที่ที่โรงพยาบาลเห็นเหมาะสม WWW.CRCN.IN.TH
การขอความยินยอม (2) • ผู้ป่วยสามารถซักถามได้จนเข้าใจชัดเจน • ผู้ป่วยสามารถแสดงความยินยอมได้อย่างอิสระ โดยไม่มีผลต่อกระบวนการการรักษาจากแพทย์ของโรงพยาบาล WWW.CRCN.IN.TH
ขั้นตอนการเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลไปตามลำดับผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ที่หน่วยบริการฯ ที่ OPD จนครบตามจำนวนที่กำหนดในแต่ละโรค • ในช่วงวันที่ 15 เมษายน–15 มิ.ย.2555 • ไม่เอาผู้ป่วย Admit ในแผนก IPD* • เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ในหน่วยบริการของโรงพยาบาล • ไม่มีการข้ามเวชระเบียน และผู้ป่วยยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ • ระบุผู้ป่วยว่าเป็นผู้ป่วยที่มาตรงนัด หรือไม่ตรงนัด ณ.วันที่มาติดตามการรักษาในหน้าแรกของ แบบบันทึกข้อมูล WWW.CRCN.IN.TH
ขั้นตอนการเก็บข้อมูล • ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในรพ. เป็นระยะเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 12 เดือน(1 ปีขึ้นไป) • การค้นหาผู้ป่วย ต้องครอบคลุมทุกOPDที่ให้การดูแลรักษา • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ทั้งในและนอกเวลา)เช่น OPD เฉพาะโรคเบาหวาน&ความดัน ,OPD อายุรกรรมทั่วไป ,OPD เวชศาสตร์ครอบครัว,OPD ตรวจโรคทั่วไป / ประกันสังคม WWW.CRCN.IN.TH
ขั้นตอนการเก็บข้อมูล • ทบทวนเวชระเบียนตามตัวชี้วัดที่ปรากฏเป็นข้อคำถามในแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย (CRF) • การเก็บข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเก็บคู่ ขนานกันไปกับการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิต สูง(แยกเก็บ)ให้ได้จำนวนตามที่กำหนดในแต่ละโรคและเป็นสัดส่วนในแต่ละOPD WWW.CRCN.IN.TH
ขั้นตอนการเก็บข้อมูล • บันทึกตามความเป็นจริงที่ปรากฏใน • เวชระเบียนกระดาษ (OPD card) • เวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์ (OPD Online) • แฟ้มข้อมูลผู้ป่วยของคลินิกเฉพาะโรค • ฐานข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ (Log book หรือ online) • สมุดประจำตัวผู้ป่วย (สมุดเด็กดี) WWW.CRCN.IN.TH
ขั้นตอนการเก็บข้อมูล • ไม่มีการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและแพทย์ • ไม่มีการตรวจร่างกายผู้ป่วยแต่อย่างใด • ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลนาน 2 เดือน กำหนดส่งงานไม่เกินวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 WWW.CRCN.IN.TH
ขั้นตอนการดำเนินการเมื่อแล้วเสร็จขั้นตอนการดำเนินการเมื่อแล้วเสร็จ 1. แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย (CRF) จะถูกส่งทางไปรษณีย์มายังหน่วยบริหารจัดการข้อมูลของ CRCN 2. บันทึกข้อมูลด้วยการสแกนคอมพิวเตอร์ 3. วิเคราะห์ข้อมูล แปลผล 4. รายงานผลการศึกษาวิจัยให้กับ สปสช. WWW.CRCN.IN.TH
หน้าปกของแบบบันทึกข้อมูลหน้าปกของแบบบันทึกข้อมูล รหัสประจำตัว ท่านต้องเป็นผู้ให้รหัสและกรอกเอง รหัส รพ.CRCN เป็นผู้กำหนดให้ แต่ท่านต้องกรอกเอง WWW.CRCN.IN.TH
หน้าปกของแบบบันทึกข้อมูลหน้าปกของแบบบันทึกข้อมูล ขอความกรุณาให้ท่านระบุจุดบริการที่ผู้ป่วยมาติดตามการรักษาว่าเป็น OPDประเภทใด WWW.CRCN.IN.TH
ข้อตกลงในการกรอกข้อมูลข้อตกลงในการกรอกข้อมูล • หัวกระดาษของข้อคำถามจะมีข้อมูลรหัสประจำตัวและรหัสโรง พยาบาลเหมือนกันทุกแผ่น • โปรดกรอกรหัสประจำตัวและรหัสโรงพยาบาลให้ครบทุกหน้าเพื่อใช้จำแนกว่าแผ่นใดเป็นของผู้ป่วยรายใด • ระบุว่าเป็นผู้ป่วยที่มาตรงนัด/ไม่ตรงนัดในการมารับบริการครั้งนี้ • รายละเอียดและขั้นตอนการบันทึกตามเอกสารที่แจ้งวิธีการบันทึก Patient Log WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • เพศ • อายุ(พ.ศ. 2555 – พ.ศ. เกิด) • อาชีพ • ศาสนา • สิทธิการรักษา • ประเภทของโรค (เฉพาะเบาหวาน และความดันโลหิต) • น้ำหนัก (ล่าสุด = ต้องไม่เกิน 12 เดือน) • ส่วนสูง(ล่าสุด) WWW.CRCN.IN.TH
รอบเอว(Waist Circumference) • รอบสะดือ (L4-L5) • กึ่งกลางระหว่างซี่โครงซี่สุดท้ายกับส่วนบนสุดของกระดูกสะโพก (L2-L3) • ส่วนบนสุดของกระดูกสะโพก (L1) • ไม่ทราบ/ไม่มีข้อมูลในเวชระเบียน WWW.CRCN.IN.TH
WaistCircumference WWW.CRCN.IN.TH
ตัวอย่างการวัด Waist Circumference WWW.CRCN.IN.TH
แบบบันทึกข้อมูลโครงการ CASE RECORD Form (CRF)ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (DM type II) คำอธิบายการกรอกแบบบันทึกข้อมูล
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน ข้อที่10.ระยะเวลา ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานหรือรักษา ณ รพ.นั้น ให้พิจารณาจากประวัติการรักษา • การซักประวัติของแพทย์ที่อาจจะระบุว่า ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เมื่อใด กี่ปีมาแล้ว หรือ • ดูระยะเวลาของการมาติดตามการรักษาว่ามีระยะเวลามากกว่าเท่ากับ 12 เดือนหรือไม่ ช่วยย้ำเตือน (remind) WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน • ข้อ 11. ปีพ.ศ.ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานหรือรักษา ณ รพ.นั้นให้พิจารณาจากประวัติการรักษา • การซักประวัติของแพทย์ที่อาจจะระบุว่า ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เมื่อใด • ปีพ.ศ.ที่ผู้ป่วยเริ่มมารักษาในโรงพยาบาลครั้งแรกตามที่ปรากฏในเวชระเบียน • กรณีมีการทำลายเวชระเบียนทุก 5 ปีให้กรอกปีพ.ศ.ที่เริ่มมารักษาของเวชระเบียนเล่มใหม่ WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน • ข้อ ที่ 12. ประเภทของผู้ป่วยที่มารักษา ณ รพ.นั้น ในวันนัด • ผู้ป่วยที่มารักษาประจำที่โรงพยาบาลหมายถึง ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ OPD หรือคลินิกของโรงพยาบาลเป็นประจำ • ไม่ได้ถูกส่งต่อมาจาก PCU หรือส่งปรึกษามาจากโรงพยาบาลอื่น • ผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจาก PCUหมายถึง ผู้ป่วยที่รักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ รพ.สต. หรือสถานีอนามัยเป็นประจำแล้ว โดยมีรหัส HN:ของผู้ป่วยในรพ.ที่เก็บข้อมูล • ถูกส่งต่อมาปรึกษา หรือมารับยาหรือมาประเมินภาวะแทรกซ้อนที่โรงพยาบาลของท่านเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจจะมีหลายครั้งในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา หรือนานๆครั้งแต่มีประวัติในโรงพยาบาลมานานกว่า 12 เดือนก็ได้ WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน ข้อ 13.วันเดือนปีที่ผู้ป่วยเข้ามารับ การรักษาครั้งล่าสุด WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 14. Fasting Plasma Glucose (FPG) ในช่วง 12 เดือน(ไม่ใช่ระดับน้ำตาลอดอาหาร 8 ช.ม. แบบ DTX) • เจาะเลือดผ่านเส้น vein ซึ่งไม่ใช่จากปลายนิ้ว หรือ Capillary tube และต้องผ่านการตรวจด้วยเครื่องอัตโนมัติ • ครั้งที่ 1ค่า FPG ครั้งล่าสุดที่มาติดตามการรักษา • ครั้งที่ 2ค่า FPG ก่อนหน้าครั้งล่าสุดนั่นคือค่า FPG ถัดมาจากครั้งที่ 1 ซึ่งต้องจะอยู่ในห้วง 12 เดือนหรือไม่ก็ได้เช่นกัน • ให้ระบุวัน เดือน ปีที่แพทย์สั่งตรวจหาระดับ FPG • การเลือกตอบข้อ“ไม่ได้รับการตรวจ” จะหมายรวมถึง การไม่ปรากฏข้อมูลในเวชระเบียนด้วย WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 15. ระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วโดยใช้ Dipstick (DTx) ครั้งล่าสุด ในช่วง 12 เดือนและให้ระบุวัน เดือน ปีที่แพทย์สั่งตรวจหาระดับ DTx(กรณี follow up) 16.การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร(Postprandial Blood Glucose)ให้กรอกค่าที่มารับการรักษาในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ครั้งล่าสุดนับจากวันที่เข้าร่วมโครงการ และระบุวันเดือนปีที่เจาะเลือดตรวจด้วย WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 17.1-17.11การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานครั้งล่าสุดที่มาติดตามการรักษาในช่วง 12 เดือน • 17.1) Hb A1C • 17.2) Hemoglobin • 17.3) Serum BUN • 17.4) Serum Creatinine
ส่วนที่2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน (ต่อ) การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานครั้งล่าสุดที่มาติดตามการรักษาในช่วง 12เดือน • 17.5) Serum Potassium • 17.6) Serum Uric Acid • 17.7) Total Cholesterol • 17.8) Triglyceride • 17.9) HDL Cholesterol • 17.10) LDL Cholesterol • 17.11)Estimated GFR
ส่วนที่2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน • ให้กรอกค่าครั้งล่าสุดที่แพทย์สั่งตรวจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา • นับจากวันที่เข้าร่วมโครงการ ระบุวันเดือนปีที่เจาะเลือดตรวจด้วย • การเลือกตอบข้อ“ไม่ได้รับการตรวจ” จะหมายรวมถึงการไม่ปรากฏข้อมูลในเวชระเบียนด้วย WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 17.7-17.10 การตรวจ Lipid profile ในช่วง 12 เดือน • สำหรับ LDLให้ระบุว่าเป็นแบบ • Measured-LDL/Direct-LDLคือ เครื่องตรวจจะวัดระดับ LDL จากเลือดโดยตรงหรือ • Calculated-LDL คือ เครื่องตรวจจะคำนวณอัตโนมัติ • กรณีโรงพยาบาลมีการรายงานค่า LDL ทั้งสองแบบให้เลือกเฉพาะค่า Measured-LDL/Direct-LDL มากรอกเท่านั้น • ไม่รู้ว่า LDL ที่ได้นั้นเป็นค่าแบบใดให้สอบถามจากเจ้าหน้าที่ตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน • ให้กรอกผลการตรวจครั้งล่าสุดของแต่ละตัว • พร้อมระบุวันที่ที่ได้รับการตรวจด้วย • กรณีที่มี Triglyceride (TG) ≥ 360ขึ้นไปเครื่องตรวจอาจจะไม่รายงานระดับ LDL-cholesterol หรือรายงานว่า “ไม่สามารถคำนวณได้” ก็ให้เลือกตอบตัวเลือก • “คำนวณไม่ได้ เนื่องจาก TG สูงมาก” หรือ ถ้ามีการรายงานค่า LDL-cholesterol ก็ให้กรอกลงค่า LDL ไปตามความเป็นจริง WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน Tips การตรวจ GFR ข้อ 17.11 ในช่วง 12 เดือน • ให้ระบุค่าที่ตรวจโดยใช้หน่วย ml/min/1.73 m3และระบุวันเดือนปีที่เจาะเลือดตรวจด้วย • ให้ระบุวิธีการคำนวณค่า GFR ที่โรงพยาบาลของท่านใช้ว่า คำนวณด้วยสูตรใด(ดูสูตรได้ในคำอธิบายข้อคำถามช่วยในการกรอกข้อมูลหน้าซ้ายมือ 3/11) เลือกตอบได้เพียงสูตรเดียวเท่านั้น • ถ้าโรงพยาบาลไม่ได้คำนวณและบันทึกค่า GFR ในเวชระเบียน= ไม่ได้รับการตรวจ WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 18. ระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานที่มาติดตามการรักษาจำนวน 2 ครั้ง • ให้กรอกข้อมูลความดันโลหิตในช่วง 12 เดือนที่ผู้ป่วยมาติดตามการรักษาที่ OPD • ครั้งที่ 1ค่า BP ครั้งล่าสุดในการมาติดตามการรักษาโรคเบาหวาน • ครั้งที่ 2ค่า BP ก่อนหน้าครั้งล่าสุด นั่นคือวันก่อนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งต้องอยู่ในห้วง 12 เดือนเช่นกัน และระบุวันเดือนปีที่ผู้ป่วยมาติดตามการรักษาพร้อมทั้งระบุวิธีการวัดว่าเป็นแบบใด หากไม่มีข้อในเวชระเบียนให้ตอบว่า “ไม่ทราบ”
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 19. การได้รับยา Aspirin หรือ Clopidogrel (เช่น Plavix®, Pidogen®, Apolets®) • พิจารณาข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานทุกรายว่า วันที่มาตามนัดนั้นผู้ป่วยได้ยาตัวใด • ตอบได้เพียง 1 ข้อ • ให้ระบุวันที่มาติดตามการรักษาด้วย • ถ้าไม่ได้รับยา โปรดระบุ เหตุผลที่ไม่ได้รับยา
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 20. ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานแบบเฉียบพลันในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา 1. ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเฉียบพลัน 2. มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเฉียบพลัน (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) • 2.1 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) • 2.2 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบ Diabetic ketoacidosis; DKA • 2.3 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบ Hyperosmolar Non-ketotic Hyperglycemic Syndrome, HNHS • 2.4 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ที่ไม่ระบุว่าเป็นแบบใด
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน นิยามของ Hypoglycemia, DKA ,และ HNHS • Hypoglycemia;หมายถึง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ plasma glucose < 70 mg/dL, มีอาการแสดง, และอาการหายไปเมื่อได้รับน้ำตาล • Diabetic ketoacidosis; DKA หมายถึง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ≥ 250 mg/dLและมี metabolic acidosisร่วมกับ High anion gap และ pH < 7.35 และมี serum ketoneให้ผลเป็นบวก(1 : 2 dilution) WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน • Hyperosmolar non-ketotic hyperglycemic syndrome; HNHSหมายถึง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ≥ 500 mg/dLและมีserum osmolality > 350 mOsm/H2Oอาจมีserum ketone 0 – 1+ได้ • Hyperglycemiaหมายถึง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ที่ไม่ระบุว่าเป็นแบบใด WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน • ให้พิจารณาเฉพาะอาการแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันเท่านั้น • กรณีที่ผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อนของเบาหวานแบบเฉียบพลันหลายโรคในเวลาที่ต่างกันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ให้ตอบได้มากกว่า 1ข้อ ผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Admit) เนื่องจากป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานแบบเฉียบพลันนั้นหรือไม่ กรณีที่ไม่ปรากฏข้อมูลหรือหลักฐานว่าผู้ป่วยได้รับการ Admit ให้ตอบว่าไม่มีข้อมูล • ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานแบบเฉียบพลันเลยให้ตอบ 1และข้ามไปทำข้อ 20 ต่อไป WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 21. การตรวจหา Albumin/ Protein ในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตในรอบ 12 เดือน • หากไม่พบข้อมูลในเวชระเบียน สมุดทะเบียนหรือฐานข้อมูล ให้ตอบตัวเลือกข้อ 1 • ไ่ม่ได้รับการตรวจหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น DN • ตรวจแต่พบว่ามีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ • การตรวจในรพ.แต่ละแห่งจะรายงานผลการตรวจแตกต่างกันซึ่งจำแนกได้ 4 กรณีดังนี้ให้เลือกตอบเพียงกรณีเดียวเท่านั้น WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 21. การตรวจหา Albumin/ Protein ในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไตในรอบ 12 เดือน • กรณีที่ 1 ใช้ Urine Dipstick ทั่วไป/ UA ที่เป็น Urine Dipstick • ผลเป็นลบซึ่งไม่พบ Albumin/ Proteinแต่แพทย์อาจจะส่งตรวจวิเคราะห์ Albumin/Creatinine Ratio เพื่อยืนยันการเกิดภาวะ Albuminuriaต่อไป ดังนั้นต้องตรวจสอบด้วยว่ามีผลที่แพทย์ส่งตรวจ Albumin/Creatinin Ratio หรือไม่ WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน • ผลเป็น Trace คือการตรวจพบ albumin ในปัสสาวะ ≤ 10 mg/100ml หรือ 150 mg/24 hrs ซึ่งสามารถพบได้ใน normal urine และยังไม่ถึงระดับที่จะเป็นภาวะ Microalbuminuriaถือว่าเป็นลบดังนั้นให้ตอบตัวเลือกที่ 1ด้วย • ผลเป็นบวกแสดงว่า ตรวจพบภาวะ Macroproteinuria WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน กรณีที่ 2ใช้ Microalbuminuria Dipstick • ผลเป็นลบคือ ไม่มีโปรตีนในปัสสาวะเลย • ผลเป็นบวกแสดงว่า พบ Microalbuminuria ซึ่งต้องมีค่า ≥ 20 mg/L ขึ้นไป และกรณีผลเป็น Trace ถือว่าผลเป็นบวก ดังนั้นให้ตอบตัวเลือกที่ 2(ตรงจุดนี้จะแตกต่างกับกรณีที่ 1ที่ใช้ Urine Dipstick เพราะให้ dipstick คนละประเภท) • ทั้งนี้ให้ระบุวันเดือนปีที่ได้รับการตรวจด้วย WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน • กรณีที่ 3Morning urine หา Albumin/Creatinine ratioรายงานผลการ • ตรวจเป็นช่วงค่าตั้งแต่ < 30 ถึง ≥ 300 mg/g ตามตัวเลือก (สังเกตหน่วยที่ • ใช้เป็น mg/g) • ถ้าตรวจพบ 30-299mg/gแปลว่า มีภาวะMicroalbuminuria • ถ้า ≥ 300mg/g แปลว่า มีภาวะ Macroproteinuria
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน กรณีที่ 4รายงานผลการตรวจเป็นค่าตัวเลขอารบิคมี • จุดทศนิยม 2 ตำแหน่งเพียงค่าเดียว หรือ เป็นช่วงของผล • การตรวจ(สังเกตหน่วยที่ใช้) • กรอกตัวเลขตามแต่ละหน่วยของการวัดระดับ Albuminuria ตามฐานข้อมูลที่มีอยู่ WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 22. DiabeticNephropathy; DN (โรคไตจากเบาหวาน) • เพิ่งเกิดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา • มีอยู่แล้วแต่เดิม (นาน > 12 เดือน) • วินิจฉัยโดยแพทย์ระบุในเวชระเบียนหรือดูจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น • กรณีที่แพทย์ไม่ได้ให้การวินิจฉัยใด แต่ผลตรวจปัสสาวะจะเข้าได้กับ DN ตามเกณฑ์การพิจารณา ให้ระบุว่าดูจากผลทางห้องปฎิบัติการเท่านั้น WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 23. การได้รับยา ACEI หรือ ARB ในช่วง 12 เดือน • ACEI; Captopril,Enalapril,Fosinopril,Cilazepril,Perindopril,Quinapril,Ramipril,Lisinopril • ARB; Candesartan,Irbesartan,Losartan,Telmisartan,Valsartan • ให้พิจารณาในผู้ป่วยเบาหวานทุกราย • ระบุวันเดือนปีที่ได้รับยาครั้งล่าสุดด้วย • กรณีไม่ได้ใช้ยา ให้ระบุเหตุผลของการไม่ให้ยาด้วย WWW.CRCN.IN.TH
ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโรคเบาหวาน 24. ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้ป่วยได้รับการตรวจวัดสายตา(Visual Acuity, VA) หรือไม่ VA: การประเมินความสามารถในการมองเห็นของตาทั้งสองข้าง จากปกติไปจนมองไม่เห็น โดยใช้แผ่นป้าย SANLLEN Chartซึ่งประกอบไปด้วยตัวเลขขนาดต่างๆและแผ่น E chartดังนี้ โดยทั่วไปมักบันทึกเป็นสัดส่วน เช่น 6/6 (ระบบเมตริก) หรือ 20/20 (ระบบฟุต) WWW.CRCN.IN.TH