390 likes | 693 Views
วิจัยสถาบัน Institutional Research. ผศ.ดร. เสมอ ถาน้อย : NU-RSN. 24-25 มี.ค. 2459 สวนป่าเขากระยาง. ความหมาย...การวิจัย ลักษณะของการวิจัย ลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย การจัดประเภทของการวิจัย ขั้นตอนในการวิจัย การกำหนดปัญหาในการวิจัย. ตัวแปรและสมมติฐานของการวิจัย
E N D
วิจัยสถาบัน Institutional Research ผศ.ดร. เสมอ ถาน้อย : NU-RSN 24-25 มี.ค. 2459 สวนป่าเขากระยาง
ความหมาย...การวิจัย ลักษณะของการวิจัย ลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย การจัดประเภทของการวิจัย ขั้นตอนในการวิจัย การกำหนดปัญหาในการวิจัย ตัวแปรและสมมติฐานของการวิจัย การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลในการวิจัย เครื่องมือและเทคนิค ในการรวบรวมข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย หลักการทำวิจัย ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
ความหมาย...การวิจัย การวิจัยคือ การสะสม การรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหา ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542) Research : A detailed study of s subject, esp. in order to discover (new) information or reach a (new) understanding (Cambridge International Dictionary of English) ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
ความหมาย...การวิจัย การวิจัยคือ การศึกษาค้นคว้าอย่างมีระเบียบ เพื่อแสวงหาคำตอบสำหรับปัญหาหรือคำถามการวิจัยที่กำหนดไว้หรือเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ด้วยกระบวนการอันเป็นที่ยอมรับในวิทยาการแต่ละสาขาซึ่งในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว นิยมใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพราะเชื่อว่าวิธีการนี้จะมีความถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
หรือการวิจัยคือ กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชื่อถือได้ โดยมีลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นกระบวนการที่มีระบบ แบบแผน 2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจน 3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียงมีหลักเหตุผล 4. บันทึกและรายงานผลออกมาอย่างระวัง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
ลักษณะของการวิจัย • การวิจัยที่ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ • การวิจัยเป็นการค้นคว้าที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ และความมีระบบ • การวิจัยเป็นงานที่มีเหตุมีผล และมีเป้าหมายที่แน่นอน • การวิจัยจะต้องมีเครื่องมือ หรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ • การวิจัยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลใหม่ และได้ความรู้ใหม่ ความรู้ที่ได้อาจเป็นความรู้เดิมได้ในกรณีที่มุ่งวิจัยเพื่อตรวจสอบซ้ำ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
การวิจัยที่ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ 5. การวิจัยมักเป็นการศึกษาค้นคว้าที่มุ่งหาข้อเท็จจริง เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ หรือพัฒนากฎเกณฑ์ ทฤษฏี หรือตรวจสอบทฤษฏี 6. การวิจัยต้องอาศัยความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์ กล้าหาญ บางครั้งจะต้องเฝ้าติดตามผลบันทึกผลอย่างละเอียดใช้เวลานาน บางครั้งผลการวิจัยขัดแย้งกับบุคคลอื่น อันอาจทำให้ได้รับการโจมตีผู้วิจัยจำต้องใช้ความกล้าหาญนำเสนอผลการวิจัยตรงตามความเป็นจริงที่ค้นพบ 7. การวิจัยจะต้องมีการบันทึก และเขียนรายงานการวิจัยอย่างระมัดระวัง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
ลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัยลักษณะที่ไม่ใช่การวิจัย • ลักษณะบางประการที่ไม่ใช่การวิจัย ได้แก่ • การที่นักศึกษาไปศึกษาบางเรื่องจากเอกสาร ตำรา วารสาร แล้วนำเอาข้อมูลความต่างๆ มาดัดแปลงตัดต่อกัน • การค้นพบ (Discovery)โดยทั่วไป เช่น นั่งคิดแล้วได้คำตอบไม่ใช่การวิจัย เพราะการค้นพบไม่มีระบบ และวิธีการที่ถูกต้องอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ • การรวบรวมข้อมูล นำมาจัดเข้าตารางซึ่งอาจเป็นในการตัดสินใจ แต่ไม่ใช่การวิจัย • การทดลองปฏิบัติการ ตามคู่มือที่แนะนำไว้ ไม่ใช่การวิจัย ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
ประโยชน์ของการวิจัย • ช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่ ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ • ช่วยพิสูจน์ หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฏีต่างๆ • ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่างๆ • ช่วยแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ • ช่วยการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม • ช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น • ช่วยปรับปรุงพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ และวิถีดำรงชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.สอดคล้องกับชื่อเรื่องและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย2. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย3. ควรกำหนดเป็นข้อๆ (มีหลายข้อ)4. มักจะขึ้นต้นด้วยข้อความเพื่อศึกษา..... เพื่อตรวจสอบ...... เพื่อเปรียบเทียบ...... เพื่อวิเคราะห์....... เพื่อประเมิน......... ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
การจัดประเภทของการวิจัยการจัดประเภทของการวิจัย • แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย • การวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research) • เป็นการวิจัยเพื่อที่จะนำผลที่ได้นั้นไปใช้ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต • การวิจัยเชิงวินิจฉัย (Diagnostic research) • เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มชน หรือชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหา เข้าใจในพฤติกรรม ตลอดจนเข้าใจในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอันจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือ อนุเคราะห์ และทำการแก้ไขต่อไป • การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory research) • เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
แบ่งตามประโยชน์ของการวิจัยแบ่งตามประโยชน์ของการวิจัย • การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) • หรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) หรือการวิจัยเชิงทฤษฎี (Theoretical research) เป็นการวิจัยที่เสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างเป็นทฤษฎี หรือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางสมบูรณ์ยิ่งขึ้น • การวิจัยประยุกต์(Applied research) • หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action research) หรือการวิจัยเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ (Operational research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเสาะแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ความรู้หรือวิทยาการต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติหรือเป็นการวิจัยที่นำผลที่ได้ไปแก้ปัญหาโดยตรง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • การวิจัยจากเอกสาร (Documentary research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน จดหมายเหตุ ศิลาจารึก แล้วเสนอผลในเชิงวิเคราะห์ • การวิจัยจากการสังเกต (Observation research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต การวิจัยประเภทนี้นิยมใช้มากทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลในสังคมในแง่ของสถานภาพ (Status) และบทบาท (Role) • การวิจัยแบบสำมะโน (Census research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากร • การวิจัยแบบสำรวจจากตัวอย่าง (Sample survey research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) • การศึกษาเฉพาะกรณีเป็นการศึกษาเรื่องที่สนใจในขอบเขตจำกัดหรือแคบ ๆ และใช้จำนวนตัวอย่างไม่มากนัก แต่จะศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่จะทำให้ทราบว่าบุคคลนั้นหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีความบกพร่องในเรื่องใด • การศึกษาแบบต่อเนื่อง (Panel study) • เป็นการศึกษาที่มีการเก็บข้อมูลเป็น ระยะ ๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการศึกษาแบบต่อเนื่องนี้จะช่วยให้เข้าใจและทราบถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี • การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) • เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาจากการทดลองซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำ(Treatment)โดยมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
แบ่งตามลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูล • การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) • เป็นการวิจัยที่นำเอาข้อมูลทางด้านคุณภาพมาวิเคราะห์ ค้นหาความรู้ความจริงโดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณลักษณะ • การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) • เป็นการวิจัยที่ค้นหาความรู้ความจริงโดยนำเอาข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลต้องใช้วิธีการทางสถิติเข้ามาช่วย ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
แบ่งตามลักษณะวิชาหรือศาสตร์แบ่งตามลักษณะวิชาหรือศาสตร์ • การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Scientific research) • เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น วิทยาศาสตร์อาจจำแนกตามสาขาต่าง ๆ เช่น • - สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ • - สาขาวิทยาศาสตร์ เช่น ศัลยศาสตร์ รังสีวิทยา ฯลฯ • - สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช เช่น อินทรีย์เคมี เภสัชศาสตร์ • วิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social research) • เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย • การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) • เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะบันทึกอดีตอย่างมีระบบ และมีความเป็นปรนัยจากการรวบรวมประเมินผล ตรวจสอบ และวิเคราะห์เหตุการณ์เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในอันที่จะนำมาสรุปอย่างมีเหตุผล • การวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา (Descriptive research) • เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในสภาพการณ์หรือภาวการณ์ของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร • การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) • เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ความจริงที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาช่วย เพื่อพิสูจน์ผลของตัวแปรที่ศึกษา มีการทดลองและควบคุมตัวแปรต่างๆ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
ขั้นตอนในการวิจัย • เลือกหัวข้อปัญหา(Selecting a topic of research) • เพื่อเป็นการกำหนด ขอบเขตหรือขอบข่ายของงาน • 2. ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย • เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นวิวัฒนาการของความรู้หรือทฤษฎีนั้น ๆ ว่ามีพัฒนาการมาอย่างไร ใครเป็นคนต้นคิด มีใครตรวจสอบวิจัยมาบ้างแล้ว มีตัวแปรใดบ้างที่เข้ามา • 3. เขียนเค้าโครงการวิจัย • ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา ความมุ่งหมายของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ตัวแปรต่างๆที่วิจัย คำนิยามศัพท์เฉพาะ สมมุติฐานในการวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง รูปแบบการวิจัย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
4. สร้างสมมติฐาน (Formulating research hypothesis) การสร้างสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่จะทำการวิจัยว่า ควรจะเป็นไปในลักษณะใด โดยอาศัยหลักของเหตุผลซึ่งอาจได้มาจากประสบการณ์หรือเอกสารงานวิจัยที่ค้นคว้ามาอนุมาน (Deductive) ว่าปัญหานั้นควรจะตอบได้ 5. พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล (Source of data) คือผู้วิจัยจะต้องระลึกอยู่เสมอว่ากำลังทำวิจัย เรื่องอะไร ข้อมูลที่จะทำการวิจัยคืออะไร อยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร จะได้มาอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด 6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย (Formulating research instrument) คือการเตรียมอุปกรณ์ในการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมก่อนที่จะทำการวิจัย โดยพิจารณาจากรูปแบบของการวิจัยและความต้องการประเภทของข้อมูลเป็นสำคัญ เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้กำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยได้มากที่สุด ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
7. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting data) • คือ การนำเอาเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ในการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัย • แบบทดลองก็เริ่มลงมือทดลองนั่นเอง • การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (Scrutinizing data and Analysis of • data) • เป็นการเลือกสรรข้อมูล จัดประเภทข้อมูลหรือจัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อให้ • สะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ และมีความหมายมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการ • เขียนรายงานการวิจัย • 9. ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป (Interpretation of data) • ผู้วิจัยพิจารณาตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลที่ได้จากการจัดกระทำ • ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล • การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์ (Research report and publishing) • เป็นการรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัย • จะต้องเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจนและรัดกุม แล้วตรวจดูความถูกต้องอีกครั้ง • หนึ่งก่อนที่จะจัดพิมพ์ต่อไป ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
การวิจัยสถาบัน ศ.ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน การวิจัยสถาบันในความหมายที่กว้าง หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับสถาบันของตนเอง โดยอาศัยกระบวนการวิจัยและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ดร.อมรวิชย์ นาครทรรพ อภิปรายเรื่อง การวิจัยสถาบันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ : การประกันคุณภาพ วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2544 วิจัยสถาบัน ประกอบด้วย 3 เรื่อง วิจัยการเรียนการสอน วิจัยผู้เรียนว่าเรียนแล้วได้อะไร วิจัยความคุ้มค่าของทรัพยากรที่ใช้ (ต้นทุนต่อหัว ค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ความคุ้มค่าการผลิตบัณฑิต)
ศ.ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ • (อภิปรายเรื่อง การวิจัยสถาบันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ : การวิจัยการเรียนการสอน วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2544) • การวิจัยสถาบัน คือ การศึกษาตนเอง เป็นการศึกษาตนเองเพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน และเพื่อการบริหาร ในภาพกว้างการวิจัยสถาบัน มี 2 ส่วน คือ ฐานข้อมูล การเงิน นักศึกษา โปรแกรมการศึกษาการวิจัยเป็นโครงการ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โครงการประจำ ติดตามบัณฑิต ต่อไปนี้ สมศ. จะเป็นผู้ใช้ผลที่ได้จากการวิจัยการติดตามบัณฑิต เพื่อประเมินสถาบัน การเรียนการสอน • ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเงินอุดหนุนการวิจัยสถาบัน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 http://sut2.sut.ac.th/PlanDiv/rule1.htm • "การวิจัยสถาบัน"หมายถึง การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลมาใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผน ปรับปรุงการบริหาร และการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
ดร.วิเชียร เกตุสิงห์(อภิปรายเรื่อง การวิจัยสถาบันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ : การยึดผู้เรียนรู้เป็นสำคัญ วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544) ผู้บริหาร ทำวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนาการบริหารสถานศึกษา เน้นการรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยสถาบันด้านกำหนดนโยบาย การวางแผน และการตัดสินใจ เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) มุ่งใช้ผลสถาบันของตนเองเป็นหลัก “วิจัยสถาบัน” คือ กระบวนการบริหารสถาบัน สถานศึกษา โดยใช้การวิจัย ทำเรื่อง ภารกิจบริหารสถานศึกษา การเรียนการสอน หลักสูตร บริหารงานบุคคล บริหารการเงิน บริหารทั่วไป กิจการนักศึกษา ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง(อภิปรายเรื่อง การวิจัยสถาบันกับการปฏิรูปการเรียนรู้ : วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2544)การวิจัยสถาบัน หรือ Institutional Research แท้จริง คือ การวิจัยว่า หน่วยงานของเรา ตัวเรา สิ่งที่เราคิด และทำอยู่ตอนนี้ในสถาบันเป็นอย่างไร ดีหรือยัง จะทำอะไร เรื่องอะไรดีแล้ว เรื่องอะไรยังไม่ดี ทำการประเมินเพื่อนำมาพัฒนาในส่วนที่ย่อหย่อนหรือพัฒนาในส่วนที่ดีแล้วให้ดีขึ้นไปอีก ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
อ.ภัทรพรรณ เล้านิรามัย (http://www.spu.ac.th/~patrapan/Tip1_46.htm) วิจัยในสถาบันอุดมศึกษา นอกจากจะเน้นการวิจัยในเชิงวิชาการซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาสังคมแล้ว การวิจัยสถาบัน เป็นการวิจัยอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาสถาบันเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันโดยตรง เพื่อนำข้อมูลหรือข้อค้นพบต่างๆที่ได้ ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารและ ผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายต่างๆ ตลอดจนการวางแผนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นในสถาบันโดยตรง ตัวอย่างของโครงการวิจัยสถาบัน เช่น การติดตามผลบัณฑิตหรือการติดตามคุณภาพบัณฑิตที่จบการศึกษาจากสถาบัน การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการให้บริการต่างๆของสถาบันทั้งในระหว่างเรียนและภายหลังจบการศึกษา การประเมินความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิต เป็นต้น ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
ดร. รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ณ อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2543 เวลา 13.00 - 14.30 น. จัดโดย สมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษาไทย http://www.drrung.com/speech/page_speeches1.html การวิจัยสถาบัน หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Institutional Research โดยความหมายที่ใช้สอนกันอยู่ในปัจจุบัน เป็นความหมายเก่าที่ใช้มาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2515-2516 หรือประมาณปี ค.ศ. 1968-69 หมายถึง ( Saupe, 1981 ) 1. การวิจัยภายในของสถาบันอุดมศึกษา 2. เน้นการรวบรวมข้อมูล เพื่อช่วยสถาบันในการ 1) วางแผน 2) กำหนดนโยบาย 3) การตัดสินใจ 3. เป็น Action Research ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
วัตถุประสงค์ของการวิจัยสถาบันวัตถุประสงค์ของการวิจัยสถาบัน • โดยทั่วไปสรุปได้ 4 ประการ คือ • วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อสถาบันมีปัญหาหรือมีอุปสรรค จำเป็นต้องมีการวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อติดตามและปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของสถาบัน เช่น ปัญหานักศึกษาที่ ลาออกกลางคัน ปัญหานักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันน้อย เป็นต้น • วิจัยเพื่อการตัดสินใจ ในกรณีที่ไม่มีปัญหา แต่ต้องการตัดสินใจในบางเรื่อง เช่น การขยายวิทยาเขต การเปิดหลักสูตรใหม่ เป็นต้น • วิจัยเพื่อวางแผนอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาได้อย่างเหมาะสม เช่น การศึกษาแนวโน้มทางเศรษฐกิจ แนวโน้มทางสังคม แนวโน้มของคู่แข่ง แนวโน้มของนักศึกษา และแนวโน้มของสภาพแวดล้อม เป็นต้น • วิจัยเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นเรื่องที่สถาบันอุดมศึกษาต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึง เพราะสถาบันอุดมศึกษาจะคงอยู่ได้ด้วยคุณภาพและความเป็นเลิศ ปัจจุบันมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งจะดำเนินการในเรื่องการประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 5 ปี ต่อ 1 ครั้ง สถาบันจึงต้องมีการประเมินคุณภาพภายในของตนเอง โดยการทำวิจัยสถาบันควบคู่ไปกับเรื่องอื่นๆด้วย
งานวิจัยสถาบันที่ดำเนินการแล้วงานวิจัยสถาบันที่ดำเนินการแล้ว • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547(http://web.ubu.ac.th/%7Eub-plan/research_institute/report.html) • การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี • การศึกษาและพัฒนาโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี • การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรง ปีการศึกษา 2544 – 2546 • การศึกษาติดตามผลบัณฑิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2545 • การศึกษาวิเคราะห์ภาระงานสอนของอาจารย์ ปีการศึกษา 2546 • การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา ปีงบประมาณ 2546 • การศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนหลักสูตรปริญญาตรี ในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
งานวิจัยสถาบันที่ดำเนินการแล้วงานวิจัยสถาบันที่ดำเนินการแล้ว • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 • การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่รับเข้าศึกษาในระบบการคัดเลือกต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการรับนักศึกษาที่เหมาะสม • ปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี • การศึกษาประสิทธิภาพการใช้อาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษาในส่วนของการใช้อาคารเพื่อการสอนเชิงบรรยาย • การศึกษาประสิทธิภาพการใช้อาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรณีศึกษาในส่วนของการใช้อาคารเพื่อการสอนเชิงปฏิบัติการ และการสนับสนุนทางวิชาการ • ค่าตอบแทนและสวัสดิการของบุคลากร เมื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปรับสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
งานวิจัยสถาบันที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีต้องการงานวิจัยสถาบันที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีต้องการ • การศึกษาการใช้ประโยชน์ของงานวิจัย ม.อุบล จากอดีตถึงปัจจุบัน • การศึกษาการคุ้มค่าของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อจากงบประมาณงานวิจัย • การศึกษาวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานผลิตบัณฑิต • การศึกษาพฤติกรรมของศิษย์เก่าและประชาชนต่อการใช้บริการวิชาการมหาวิทยาลัย • การศึกษาประสิทธิภาพของใช้อาคารเรียนรวม • การศึกษารูปแบบงบประมาณ Income Contingent Loan : ICLที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผศ.ดร.มนูญ ศรีวิรัตน์: UBU
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.1 ร้อยละการได้งานภายใน 1 ปี รวมทั้งการประกอบอาชีพอิสระ และร้อยละการเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษา (แหล่งข้อมูล:วิจัยสถาบัน) 1.2 ระดับความพอใจของผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิต สำรวจภายใน 1 ปี (แหล่งข้อมูล : วิจัยสถาบัน) 1.3 เงินเดือนเฉลี่ยตั้งต้นของบัณฑิต (แหล่งข้อมูล: วิจัยสถาบัน) รศ. ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์: KU
1.4 จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาเอกที่ตีพิมพ์ใน วารสารที่มีผู้ประเมินอิสระต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทั้งหมด (แหล่งข้อมูล : วิจัยสถาบัน) 1.5 จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ต่อจำนวนวิทยานิพนธ์ปริญญาโททั้งหมด (แหล่งข้อมูล :วิจัยสถาบัน) รศ. ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์: KU
5.1 จำนวนบทความวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ต่อจำนวนอาจารย์ประจำทุกระดับ (แหล่งข้อมูล:วิจัยสถาบัน,การประกันคุณภาพภายใน) 5.2 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอกต่ออาจารย์ประจำทุกระดับ (แหล่งข้อมูล:วิจัยสถาบัน,การประกันคุณภาพภายใน) 5.3 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยในสถาบันต่ออาจารย์ประจำทุกระดับ (แหล่งข้อมูล : วิจัยสถาบัน, การประกันคุณภาพภายใน) รศ. ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์: KU
การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ • บทคัดย่อ • ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย • วัตถุประสงค์ของการวิจัย • ขอบเขตและข้อจำกัดของการวิจัย • วิธีการวิจัย • ผลการวิจัยโดยสรุป • ข้อเสนอแนะ • บรรณานุกรม