10 likes | 133 Views
แนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและทดลอง ทางพันธุวิศวกรรมในห้องปฏิบัติการ. โปรแกรมความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. คณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (NBC). คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (Institutional Biosafety Committee – IBC).
E N D
แนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและทดลองแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและทดลอง ทางพันธุวิศวกรรมในห้องปฏิบัติการ โปรแกรมความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ คณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (NBC) คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (Institutional Biosafety Committee – IBC) ประเภทที่ 2 (BL1-2) ประเภทที่ 3 (BL3-4) ประเภทที่ 1 (BL1) รายงานความก้าวหน้าปีละ 1 ครั้ง ประเมินประเภทของงาน หัวหน้าโครงการวิจัย แหล่งทุน ดำเนินการ สิ้นสุดโครงการ ขั้นตอนการเสนอแบบประเมินและพิจารณาโครงการวิจัย ทางพันธุวิศวกรรม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) หรือ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่(Modern Biotechnology)เพื่อผลิตหรือปรับปรุงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เช่น พืช จุลินทรีย์ จำนวนมากที่ดำเนินการในระดับห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยของภาคเอกชน ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรมบางชนิดได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็น ด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและลดความเสี่ยงหรืออันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในระดับนานาชาติ หลายประเทศได้จัดทำกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพันธุวิศวกรรม สำหรับประเทศไทยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรมขึ้น • โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ • เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ระบุกระบวนการในการขออนุมัติดำเนินการวิจัยและทดลองที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม • เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้วิจัยและคณะได้ดำเนินการทดลองอย่างปลอดภัยจากความเสี่ยง และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และสุขอนามัยของมนุษย์ • เพื่อให้ทราบถึงการจัดลำดับประเภทของงานวิจัยและทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม • ตามระดับความเสี่ยงอันตราย องค์กรหรือหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย • คณะกรรมการกลางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นองค์กรหลักที่มีหน้าที่จัดทำมาตรการสำหรับการควบคุมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และ/หรือให้คำปรึกษา ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม เพื่อป้องกันมิให้การศึกษาและทดลองก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสาธารณชนโดยทั่วไป รวมถึงเป็นผู้พิจารณาอนุมัติโครงการวิจัยที่จัดอยู่ในประเภทที่ 3 • คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน เป็นองค์กรภายในแต่ละหน่วยงาน/สถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีงานวิจัยหรือทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลง • พันธุกรรมทำหน้าที่สนับสนุนโครงการวิจัย • ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม • และพิจารณา ตรวจสอบ ประเมินโครงการ • รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้วิจัย เพื่อให้เกิด • ความคล่องตัวในการดำเนินงาน • หัวหน้าโครงการวิจัยเป็นบุคคลที่จะต้องจำแนกประเภทของงานวิจัยว่าอยู่ในประเภทใดใน 3 ประเภท และนำเสนอโครงการวิจัยต่อคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบันเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ก่อนดำเนินการขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุน นอกจากนี้จะต้องทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานวิจัยให้ถูกต้อง และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติฯ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ สาธารณชนและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก • แหล่งทุน/ผู้ให้ทุนเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนทุนวิจัย ทั้งที่เป็นแหล่งทุนภายในประเทศ และนอกประเทศ ในกรณีที่ผู้วิจัยไม่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติฯ ผู้ให้ทุนอาจระงับการให้ทุนอุดหนุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรมความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ 113 อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร. 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6703 E-mail: biosafety@biotec.or.th URL: http://biosafety.biotec.or.th