30 likes | 237 Views
โครงการธนาคารอาหารชุมชน (เกษตรวิชญา) ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ความเป็นมา.
E N D
โครงการธนาคารอาหารชุมชน (เกษตรวิชญา) ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นมา ปี 2544 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชดำริที่จะมอบที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแหะ หมู่ที่ 4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยี การเกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในรูปแบบของศูนย์บริการและถ่าย -ทอดเทคโนโลยีชุมชนรวมทั้งฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารธรรมชาติและมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และจากเหตุผลดังกล่าวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังพื้นที่สวนบ้านกองแหะ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2544 ทรงมีพระดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสมต่อการเกษตร ปี 2545 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับมอบพื้นที่ จำนวน 1,350 ไร่ โดยมอบให้หน่วยงานในสังกัดเข้าดำเนินการ ส.ป.ก. รับผิดชอบพื้นที่ 123 ไร่ ดำเนินงานโครงการธนาคารอาหารชุมชน โดยดำเนินการแบบกรมป่าไม้เช่นเดียวกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และกิจกรรมดังกล่าวอยู่ในแผนงานพัฒนาพื้นที่และถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นการสร้างแหล่งผลิตอาหารธรรมชาติ จำนวน 80 ไร่ (พื้นที่ธนาคารอาหารชุมชนมีเนื้อที่ 123 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำประมาณ 25 ไร่ พื้นที่ลำห้วย ถนน และอื่นๆ ประมาณ 18 ไร่ และพัฒนาเป็นพื้นที่ธนาคารอาหารชุมชนประมาณ 80 ไร่) ปี 2546 ส.ป.ก. เริ่มใช้ชื่อโครงการ “ธนาคารอาหารชุมชน ในโครงการเกษตรวิชญา” มีวัตถุ ประสงค์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งรวบรวมพืชสมุนไพรและผลิตอาหารตามธรรมชาติ ปี 2547 คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการพระราชดำริ (กปร.) สนับสนุนงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรือนเพาะชำและเครื่องสูบน้ำ สำหรับกิจกรรมอื่นๆ ใช้งบประมาณ ส.ป.ก. ทิศทางการดำเนินงาน/การมีส่วนร่วมของ ส.ป.ก. - พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่และนอกพื้นที่โครงการฯ - ฟื้นฟูและอนุรักษ์เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน บริเวณรอบๆ โครงการ - เป็นสถานที่ศึกษา/ดูงาน สำหรับเกษตรกรและบุตร หลานในเขตปฏิรูปที่ดิน
วัตถุประสงค์ • - เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม อนุรักษ์แหล่งน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกื้อกูลกันทั้งระบบ • - เป็นแหล่งรวบรวมพัฒนาพืชและสมุนไพรให้มีความหลากหลาย มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของ ชุมชน • พัฒนาระบบนิเวศของป่าไม้ให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ เกื้อกูลกับการเพาะพันธุ์สัตว์ธรรมชาติ • เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารตามธรรมชาติ ทั้งพืชผัก ผลไม้ พืชสมุนไพรสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรและยุวเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ดำเนินงาน บ้านกองแหะ หมู่ที่ 4 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ผลการดำเนินงาน (ปี 2546 - 2554) • ก่อสร้างอาคารเรือนเพาะชำ พร้อมเครื่องสูบน้ำและ • อุปกรณ์ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า (งบประมาณ กปร.) • ปลูกต้นไม้ต่างๆ ในพื้นที่ 80 ไร่ จำนวน 42,000 ต้น - เพาะพันธุ์พืชและพืชสมุนไพร เพื่อปลูกในพื้นที่ โครงการและแจกจ่ายแก่สมาชิก • ดูแลรักษาพื้นที่โครงการ จัดทำแนวกันไฟรอบพื้นที่ • ปลูกต้นไม้ทดแทน • - ฝึกอบรม ศึกษาดูงานของเกษตรกร และสนับสนุน • บุตรหลานในพื้นที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้และปลูกต้นไม้ จำนวน 861 ราย
ผลที่ได้รับ/คาดว่าจะได้รับผลที่ได้รับ/คาดว่าจะได้รับ 1. เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้จากโครงการธนาคารอาหาร ชุมชนจากพันธุ์พืชและสมุนไพรในโครงการฯ2. เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ได้ศึกษา ดูงาน นำความรู้ ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง 3. ยุวเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินได้ศึกษา ดูงาน และปรับเปลี่ยนแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนในพื้นที่ของตนเองอย่างยั่งยืน แผนดำเนินงานปี 2555 งบประมาณ 413,900 บาท พัฒนาองค์ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต - หลักสูตรสานฝันธนาคารอาหารชุมชนสู่ยุวเกษตรกร/ ครู จำนวน 50 ราย - หลักสูตรสานฝันธนาคารอาหารชุมชนสู่เกษตรกรใน เขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 50 ราย - สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรและยุวเกษตรกร ที่ผ่านการอบรม จำนวน 100 ราย