510 likes | 979 Views
บทที่ 6. วิเคราะห์การเมืองไทยเชิงปรัชญา. คำถามที่ท้าทายให้คุณตอบ. จงอธิบายวิวัฒนาการการเมืองไทยจากอดีตสมัยสุโขทัยจนถึง ปัจจุบัน ? แนวความคิดแบบชาตินิยมเป็นอย่างไร ? แนวความคิดแบบสังคมนิยมมีลักษณะเป็นอย่างไร ? อำนาจนิยมหรือเผด็จการทางทหารเป็นอย่างไร ?
E N D
บทที่ 6 วิเคราะห์การเมืองไทยเชิงปรัชญา
คำถามที่ท้าทายให้คุณตอบคำถามที่ท้าทายให้คุณตอบ • จงอธิบายวิวัฒนาการการเมืองไทยจากอดีตสมัยสุโขทัยจนถึง ปัจจุบัน ? • แนวความคิดแบบชาตินิยมเป็นอย่างไร ? • แนวความคิดแบบสังคมนิยมมีลักษณะเป็นอย่างไร ? • อำนาจนิยมหรือเผด็จการทางทหารเป็นอย่างไร ? • ปัจจุบันแนวคิดทางการเมืองไทยเป็นอย่างไร ? • ในอนาคตการเมืองไทยจะวิวัฒนาการไปอย่างไร ?
วัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิต • สามารถอธิบายวิวัฒนาการการเมืองไทยจากอดีตสมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันได้ • สามารถอธิบายแนวความคิดแบบชาตินิยมได้ • สามารถเข้าใจและอธิบายแนวความคิดแบบสังคมนิยมได้ • อำนาจนิยมหรือเผด็จการทางทหาร • สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ แนวคิดทางการเมืองไทยในยุคปัจจุบันได้ • สามารถพยากรณ์ทิศทางแนวคิดทางการเมืองไทยในอนาคตได้
1. วิวัฒนาการแนวคิดทางการเมืองจากสุโขทัยถึงปัจจุบัน • จากแนวคิดแบบธรรมราชาในสมัยสุโขทัยได้ปรับเปลี่ยนเป็นเทวราชาแบบพิเศษที่มีการผสมผสานระหว่างธรรมราชาแบบพ่อปกครองลูกมาเป็นเทวราชาแบบพระโพธิสัตว์ในสมัยอยุธยา • ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง แนวคิดแบบธรรมราชาและเทวราชาก็ยังเป็นแนวคิดต่อเนื่อง จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 ได้เกิดความคิดที่จะลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่กษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยโดยทรงให้เหตุผลว่าประชาชนยังขาดการศึกษาและยังไม่มีความเข้าใจในระบบประชาธิปไตยอย่างดีพอ
1. วิวัฒนาการแนวคิดทางการเมืองจากสุโขทัยถึงปัจจุบัน (ต่อ) • แนวคิดแบบจำกัดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ ได้ประสบความสำเร็จในรัชกาลที่ 7 แต่ก็ได้ยกย่องถวายพระเกียรติให้กษัตริย์ ซึ่งถึงแม้ว่าพระองค์จะอยู่ภายใต้กฏหมาย แต่ในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติโดยการเทิดทูนเอาไว้ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” อีกประการหนึ่ง ที่พระองค์ทรงกระทำอะไรไม่ผิดเพราะทรงปฏิบัติพระราชอำนาจโดยผ่านอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 คือ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ดังนั้นอำนาจทั้ง 3 นี้ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ปฏิบัติการ
2. แนวคิดชาตินิยม(Nationalism) เป็นแนวคิดที่สดุดี ความภักดีและการ เสียสละเพื่อชาติของตนเหนือสิ่งอื่นใดเป็นค่านิยมและวิธีการที่จะทำให้ชาติมีความสมบูรณ์พูนสุข ถือว่าชาติของตนต้องเหนือกว่าชาติอื่นๆ ชาติต่าง ๆ ในยุโรปเมื่อกลายมาเป็นรัฐชาติและเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยแล้วทำให้แต่ละชาติมีแนวคิดในเรื่องชาตินิยมอย่างเข้มข้น อันนำไปสู่สงครามโลกในเวลาต่อมา
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ทั้งพระราชนิพนธ์ บทละคร ประวัติศาสตร์ เรื่องแปล สารคดี เรื่องปลุกใจให้รักชาติ ทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงตั้งกองลูกเสือไทย ส่งเสริมการศึกษา ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ทรงสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งธนาคาร ประกาศใช้พระราชบัญญัตินามสกุล ออกแบบธงไตรรงค์ขึ้นใช้ ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก
รัชกาลที่ 6 มีวิธีการหรือเครื่องมือในการสร้างชาตินิยมอยู่ 2 ประการ ใหญ่ ๆ คือ 1. ทรงใช้บทพระราชนิพนธ์ พระบรมราชโองการและ พระราชดำรัส 2. ทรงใช้สัญลักษณ์และการสร้างสถาบันต่าง ๆ ขึ้น พระราชดำริทางการเมือง แบบชาตินิยมของรัชกาลที่ 6
จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ พลเอก เผ่า ศรียานนท์
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ๑๔ ก.ค. ๒๔๔๐ – ๑๑ มิ.ย. ๒๕๐๗ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๓ ดำรงตำแหน่ง ๑๖ ธ.ค. ๒๔๘๑ – ๑ ส.ค. ๒๔๘๗ (ลาออก) ๘ เม.ย. ๒๔๙๑ – ๑๖ ก.ย. ๒๕๐๐ (รัฐประหาร) รวม ๑๘ ปี
ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยมของความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยมของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม • เน้นความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อชาติและการปฏิบัติตามนโยบายสร้างชาติของรัฐบาลโดยเคร่งครัด • 1. การใช้แนวคิดแบบรัฐนิยม • 2. การฟื้นฟูวัฒนธรรมแห่งชาติ • 3. บทเพลงและละครปลุกใจ • 4. การใช้คำขวัญ บทความ สุนทรพจน์ และคติเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยม • การใช้สื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ประมวลวัน ใช้คำขวัญว่า • “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย”
ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยมความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยม • ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยม และเผด็จการทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เน้นความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนสร้างความปลอดภัยให้สถาบันทั้ง 3 ด้วยแนวคิดความสามัคคีและอำนาจเผด็จการทางทหาร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 16 มิ.ย. 2451 – 8 ธ.ค. 2506 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 9 ก.พ. 2502 – 8 ธ.ค. 2506 (ถึงแก่อสัญกรรม) “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”
3. แนวคิดสังคมนิยม (Socialism) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นภายหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในยุโรปแข่งกับลัทธิเสรีประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจเสรีที่เป็นทุนนิยมยกย่องการทำลายระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมระบอบศักดินา และการเอารัดเอาเปรียบมนุษย์ด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่าการใช้กำลังในการต่อสู้กับระบอบทุนนิยมเป็นสิ่งที่ถูกต้องซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมของคอมมิวนิสต์
สังคมนิยมเน้นอะไร ? สังคมนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจ และ การเมืองที่มีนโยบายมุ่งสนับสนุนและปรารถนาจะให้ชุมชน สังคม หรือส่วนรวมถือกรรมสิทธิ์หรือควบคุมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในการผลิต เช่น ทุน ทรัพยากร ที่ดิน วิทยาการ ทั้งนี้เพื่อมุ่งกระจายผลประโยชน์เหล่านี้เพื่อประชาชนทั้งมวล เน้นให้สังคมได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด - สังคมนิยมของปรีดี พนมยงค์ มีลักษณะให้รัฐเข้าควบคุมปัจจัยการผลิตโดยยึดหลักตอบแทนผลประโยชน์ให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตและผู้ผลิตเดิม
แนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic Socialism) เป็นแนวความคิด ซึ่งผสมผสานแนวความคิดของสังคมนิยมและประชาธิปไตยเข้าด้วยกัน รัฐจะเข้าควบคุมกิจการบางอย่างและเปิดให้เสรีในบางกิจการ แนวคิดนี้เน้นหลักการของแนวคิดสังคมนิยมว่าเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความเจริญขึ้นในสังคมที่ยังล้าหลังได้รวดเร็วกว่าแนวคิดทุนนิยมและทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคมที่มีความแตกต่างกันอยู่มากระหว่างคนมั่งมีกับคนยากจน
4. อำนาจนิยมหรือเผด็จการทางทหาร • แม้ประเทศไทยจะมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ในความเป็นจริง ประเทศไทยยังตกอยู่วังวนแห่งอำนาจเผด็จการทางทหาร • นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ คณะราษฎรก็มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจขึ้นเป็นใหญ่ในหมู่ตนเอง ประชาชนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริงในการกำหนดชะตาชีวิตให้แก่ตัวเอง • ไม่มีใครรับรองได้ว่าประเทศไทยจะปลอดจากรัฐประหารเมื่อใด การสืบทอดอำนาจได้มีเรื่อยมา โดยเฉพาะแนวคิดแบบชาตินิยมผสมเผด็จการทหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และได้รับการสืบต่ออำนาจโดยจอมพลถนอม กิตติขจร จนนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 การชุมนุมกำลังของประชาชนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย วันที่ 13 ตุลาคม 2516 เวลา 17.00 น. ซ้ายพิฆาตขวา
จอมพลประภาส จารุเสถียร จอมพลถนอม กิตติขจร พันเอกณรงค์ กิตติขจร 3 ผู้นำ ยุค 14 ตุลาคม 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 1. เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน แต่เอาต้นประชาธิปไตยมาทำบอนไซประดับบ้าน จอมพลถนอม กิตติขจรผู้นำคนต่อมามีบารมีไม่พอไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สมดุลทางอำนาจได้ 2. ความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ทำให้ชนชั้นกลางไม่พอใจระบอบการเผด็จการทางทหารของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร 3. ประชาชนเดือดร้อนเพราะข้าวสารและน้ำตาลทราบขาดแคลนรัฐบาล 4. ไทยมีนโยบายต่างประเทศตามแบบอเมริกา สหรัฐใช้ดินแดนไทยเป็นที่ตั้งฐานทัพ ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดที่อินโดจีน 5. แกนนำนิสิต 13 คนที่เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญถูกตำรวจจับ
เหตุการณ์นี้เป็นการรวมพลังของปัญญาชนและชนชั้นกลาง นำขบวนโดยนิสิตนักศึกษาออกมาเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ทำให้นักศึกษาเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยมารวมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนรวมตัวกันเป็นแสนคนเคลื่อนตัวมายังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 13 ตุลาคม และได้กลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาวิปโยคเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม 13 คน และให้ผู้นำประเทศในเวลานั้นลาออก
ผู้นำนิสิต นักศึกษาสมัย 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 จิรนันท์ พิตรปรีชา ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ธีระยุทธ บุญมี สุธรรม แสงประทุม
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เป็นเหตุการณ์ที่พัฒนามาจาก 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่ต่อต้านขบวนการนิสิตนักศึกษา กลุ่มนิสิตนักศึกษาเรียกพวกนี้ว่า ขวาพิฆาตซ้าย นิสิตนักศึกษามีความเห็นว่าลัทธิสังคมนิยมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่เสียเปรียบในสังคมได้ดีกว่าอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย
โดยความขัดแย้งทางอุดมการณ์เริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา ทำให้สังคมไทยแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ 1. ฝ่ายซ้ายหมายถึง พวกที่ชื่นชมอุดมการณ์สังคมนิยม 2. ฝ่ายขวา ที่มีลักษณะอนุรักษ์ไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลงใด ๆความขัดแย้งเริ่มรุนแรงจนถึงขั้นนองเลือด
ผลคือ ฝ่ายนิสิตนักศึกษาถูกโจมตีจากฝ่ายขวา(พวกอนุรักษ์) อย่างเหี้ยมโหด มีผู้ล้มเจ็บและตายจำนวนมากเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมมากกว่าครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ เช่นมีการเผาคนทั้งเป็นมีการแขวนคอเป็นต้น การสังหารหมู่ครั้งนี้มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 300 คนและถูกจับ300–400คน นักศึกษาที่รอดจากการถูกจับประมาณ 2000 – 3000 คน หนีไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ส่วนฝ่ายทหารจึงทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ภายหลังการรัฐประหารนองเลือดในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ฝ่ายขวาหรือฝ่ายอนุรักษ์นำโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ขึ้นบริหารประเทศ(ตุลาคม 2519–2525) รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลพลเรือนที่อยู่ภายใต้การปรึกษาของ คณะปฏิรูป ประกอบด้วยทหาร 24 นาย มีสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ประกอบด้วยทหารและพลเรือน 340 คนในจำนวนนี้มี 130 คนมาจากทหาร 3 เหล่าทัพ
รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียรบริหารงานไม่ถึงปีก็ถูกยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร เมื่อ 20 ตุลาคม 2520 พลเอกเกรียงศักดิ์ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรีแทนรัฐบาลก็ได้ปรับให้มีลักษณะแบบประชาธิปไตยเสรีนิยมมากขึ้น จากนั้น การเมืองไทยก็วนเวียนอยู่กับการรัฐประหารของทหารอยู่เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จึงทำให้ทหารต้องกลายเป็นทหารอาชีพ
จ.ป.ร. 5 จ.ป.ร. 7 พฤษภาทมิฬ ระหว่าง 17-20 พฤษภาคม 2535 จุดจบเผด็จการทางทหาร
รัฐบาลในขณะนั้นเป็นรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และผู้ที่ทำการรัฐประหารคือกลุ่มผู้นำทางทหาร นำโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ และพลเอกสุจินดา คราประยูร โดยได้อ้างว่ารัฐบาลมีการทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวง ดังนั้นผู้นำทหารพร้อมด้วยคณะนายทหารที่เรียกตัวเองว่าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ทำการรัฐประหารเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534
คณะ ร.ส.ช. ได้ทำการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521 และให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับ ร.ส.ช. และได้ทำการแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงให้เห็นว่าคณะร.ส.ช. ไม่ต้องการอำนาจทางการเมือง แต่คณะ ร.ส.ช. ก็มีอำนาจในการบริหารการเมืองอยู่ดี โดยได้มอบอำนาจเฉพาะด้านเศรษฐกิจให้แก่นายอานันท์ ปันยารชุนโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้คำสัญญาว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยใช้เวลาเพียง 6 เดือน และย้ำว่าผู้นำร.ส.ช. จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่ในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของไทย โดยยอมเสียสัจจะเพื่อชาติ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2535 โดยอาศัยรัฐธรรมนูญฉบับร.ส.ช. พ.ศ. 2534 “ข้อที่ว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากส.ส.” จึงทำให้ประชาชนไม่พอใจ ได้มีการเดินขบวนประท้วงคัดค้านการเข้ากุมอำนาจทางการเมืองของผู้นำร.ส.ช. จนกลายเป็นเหตุการณ์ก่อนพฤษภาทมิฬที่จบลงด้วยการนองเลือดในหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ.2535
ซึ่งต่อมาเรียกว่าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬซึ่งต่อมาเรียกว่าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ แต่ในหลวงได้ทรงยุติศึกโดยเรียกพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็น จปร. 5 และพลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็น จปร. 7 เข้าเฝ้า และทรงขอให้ยุติการขัดแย้ง เพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมาชนะกันในเมื่อ ความชนะนั้นเป็นความพินาศของประเทศชาติ
ในที่สุด พลเอก สุจินดา ก็ลาออก และได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเป็นการชั่วคราว และก็ได้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายชวน หลีกภัย ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนายชวนก็มีนายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ นายบรรหาร ศิลปอาชา พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ แล้วก็มานายชวน หลีกภัย
หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำให้ทหารกลับเข้าสู่กรม กองกลายเป็นทหารอาชีพ ประชาชนชาวไทยคิดว่าประเทศไทยเป็นอารยประเทศปลอดจากกลิ่นอายแห่งการปฏิวัติรัฐประหาร ในสมัยนั้น เกียรติภูมิของทหาร เป็นภาพที่ติดลบในสายตาของประชาชน แต่กลับกลายเป็นผลดีที่ทำให้ทหารได้มีจิตสำนึกว่า ตนเองมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศชาติ ไม่ใช่การยึดอำนาจและสืบทอดอำนาจเผด็จการ
นายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการนำพรรคไทยรักไทยมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งจัดตั้งรัฐบาลผสม เขายังสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งด้วยการเป็นผู้นำพรรคไทยรักไทยเป็นพรรคเดียวในการจัดตั้งรัฐบาล แต่แล้วก็ต้องพ่ายแพ้ต่อกลุ่มม็อบจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อทหารเห็นความขัดแย้งของคนไทยระหว่างรัฐบาลกับม็อบจึงได้ออกมาทำการรัฐประหาร
คมช. ภายใต้การนำของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ได้เชิญให้องคมนตรีคือ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 เพื่อรอการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการเลือกตั้งครั้งใหม่ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2489 เริ่มดำรงตำแหน่งประธาน คมช. 19 กันยายน พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน
ผบ.ทบ. 11 นายกฯ 2 ผบ.ทบ. 16 นายกฯ 11 ผบ.ทบ. 17 นายกฯ 10 ผบ.ทบ. 12 นายกฯ 3 ผบ.ทบ. 22 นายกฯ 16 ผบ.ทบ. 25 นายกฯ 22 ผบ.ทบ. 26 นายกฯ 19 ผบ.ทบ. 31 นายกฯ 24 จ.ป.ร. ผบ.ทบ. 35 คน เป็นนายกฯ 8 คน (โรงเรียนผลิตนายกรัฐมนตรี)
คนไทยคิดว่าการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ล้าสมัยและจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปจนกระทั่ง 19 กันยายน 2549 • ประชาชนชาวไทยก็รู้สึกช็อคทั้งประเทศ เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้น • แต่ความรู้สึกในครั้งนี้กลับแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเพราะในครั้งนี้ คนไทยรู้สึกพอใจที่ทหารได้เข้ามาแก้ไขปัญหาระหว่างความขัดแย้งของรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน V.S. เตรียมทหารรุ่นที่ 6จปร.รุ่นที่ 17 ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 35 เตรียมทหารรุ่นที่ 10 นายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 นายกรัฐมนตรี คนที่ 23
1.ราชาธิปไตย อำนาจอยู่ที่กษัตริย์เจ้านายขุนนางชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ทางการเมืองจะเลือกได้แต่เฉพาะผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น ในระบบนี้ไทยเผชิญวิกฤติการณ์ 2 ครั้งคือ ครั้งที่ 1 เสียอยุธยาให้พม่า ครั้งที่ 2 เผชิญการล่าอาณานิคมของยุโรป ทำให้รัชกาลที่ 5 ต้องปรับปฏิรูปใหม่มีกระทรวงทบวงกรมจึงต้องมีการสร้างระบบราชการขึ้นมา ด้วยการส่งคนไปเรียนเมืองนอกเกิดข้าราชการแทนฝรั่ง
ในสมัยนั้นกระแสประชาธิปไตยมาแรงข้าราชการที่ไปเรียนต่างประเทศอยากให้ไทยเป็นแบบฝรั่งจึงมีการทูลฎีกาถวายความเห็นแด่รัชกาลที่ 5 แต่พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยเนื่องจากทรงเห็นว่าประชาชนยังไม่มีความพร้อม ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดกบฎร.ศ. 130 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดการปฏิวัตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475
2. อำมาตยาธิปไตย เกิดจากการปฏิวัติของพวกคณะราษฎรดูเหมือนจะเป็นการปฏิวัติ แต่จริงๆคือการแย่งอำนาจมาจากกษัตริย์สู่กลุ่มทหาร จากพ.ศ. 2475 – 2500 การเมืองวนเวียนอยู่กับการเปลี่ยนอำนาจจากสายทหารไปพลเรือนและจากพลเรือนไปสู่สายทหาร เริ่มมีการพัฒนาในยุคจอมพลสฤษดิ์เป็นกึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรมได้เกิดพ่อค้านายทุนขึ้นกรรมาชีพตั้งสหภาพ เกิดชนชั้นกลางใหม่มีการศึกษาดีตื่นตัวทางการเมืองแตกต่างจากรุ่นบรรพบุรุษซึ่งเป็นพวกต่างด้าว
แต่ได้ถูกทหารแช่แข็งประชาธิปไตยจึงทำให้นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คน 5 แสน มีนิสิตเป็นศูนย์กลางจึงลุกฮือขึ้นต่อสู้กับเผด็จการเพื่อทวงถามประชาธิปไตยที่แท้จริงและเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ขวาพิฆาตซ้าย รวมทั้ง การรัฐประหารจากสายทหารอยู่ไม่ขาดสาย สรุปอำนาจเปลี่ยนมือจากราชาข้าราชการ (ทหาร)ชนชั้นกลางใหม่ (นักธุรกิจ)
3. ธนาธิปไตย กลุ่มนักธุรกิจผู้มีเงินวิ่งเข้าหาทหารเพื่อขอความอุปถัมภ์คุ้มครองแล้วจ่ายเงินสนับสนุนทหาร ทหารก็เอื้อเฟื้อทำให้ได้อภิสิทธิ์ในธุรกิจเป็นการรวมตัวระหว่างอำนาจ + เงินนำไปสู่การแต่งงานทางสังคมของลูกหลาน ต่อมานักธุรกิจเหล่านี้ได้เริ่มเข้าไปเป็นนายทุนพรรคและเผยโฉมเล่นการเมืองเองรวมทั้งมีสัมพันธ์กับทหารไปด้วย ระบบเริ่มกลับหัวกลับหางนักธุรกิจเริ่มจ้างทหารไปเป็นที่ปรึกษาในบริษัทใหญ่ๆ
4. ประชาธิปไตยกับการทำลายตนเอง จะต้องพยายามให้ประชาชนเข้าถึงประชาธิปไตยให้ได้เพื่อบีบ ธนาธิปไตยอย่าให้เงินซื้อศักดิ์ศรีคนได้ประชาชนต้องสำนึกตัวอย่าทำตัวเป็นโสเภณีราคาถูก พฤษภาทมิฬเป็นการสู้ระหว่างประชาธิปไตยกับทหาร แยกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มทหารและนักธุรกิจการเมืองรุ่นเก่า 2)พลังประชาธิปไตยกับนักธุรกิจรุ่นใหม่ กลุ่มที่ 2 นี้ เป็นพวกต้องการประชาธิปไตย และไม่ชอบการผูกขาดทางอำนาจทางการเมือง และการผูกขาดทางเศรษฐกิจ รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทหารอ้างความจำเป็นเพื่อความสามัคคีของชาติเข้ามาจัดระเบียบให้การเมืองไทย
แนวคิดการเมืองไทยในปัจจุบันแนวคิดการเมืองไทยในปัจจุบัน ในขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในภาวะแปลกแยก สับสนเหมือนเรือไร้หางเสือ อันสืบเนื่องมาจากการเมืองที่สับสนโดยมีรัฐบาลที่เข้ามารักษาการ รวมทั้งการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อาจนำมาซึ่งความสับสนรวมทั้งการไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระบบเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนขาดความมั่นใจทางการเมือง เกิดความแตกสามัคคีของคนในชาติ ...?
แนวคิดทางการเมืองไทยในอนาคตแนวคิดทางการเมืองไทยในอนาคต ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังหาทางที่จะสถาปนาแนวคิดแบบธรรมรัฐเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ แต่แนวทางอุดมคตินั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ถ้าหากประชาชนยังขาดจิตสำนึกทางการเมือง และมีราคาค่าตัวในการเลือกตั้งเท่ากับไก่หรือเป็ดตัวหนึ่ง แนวทางการแก้ไขคือ การให้ประชาชนสามารถกำหนดทิศทางทางการเมืองของตนได้ดังคำพูดที่ว่า “เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์”
สรุปปรัชญาทางการเมืองไทยสรุปปรัชญาทางการเมืองไทย จากราชาธิปไตยแบบธรรมราชาไปสู่เทวราชาและเกิดการผสมผสานกันโดยเน้นที่ธรรมราชาเป็นหลัก แนวคิดทั้ง 2 ทำให้เกิดระบบความคิดทางการเมืองแบบ อำมาตยาธิปไตย คือ การแย่งอำนาจจากกษัตริย์มาอยู่ในวังวนแห่งการหมุนเวียนเปลี่ยนอำนาจระหว่างพลเรือนและขุนศึก จากนั้น ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นธนาธิปไตย เมื่อนักธุรกิจ ผู้อยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนการเมืองได้ออกมาเล่นการเมืองอย่างเปิดเผยนำไปสู่ระบบประชาธิปไตยแบบการทำลายตัวเอง จึงเกิดคำถามว่า ประเทศไทยจะพัฒนาด้วยระบบปรัชญาทางการเมืองแบบใด ?
สรุปภัย 4 ประการ 1. เสียอยุธยา = ภัยจากภายนอก 2. ลัทธิล่าอาณานิคม = ภัยจากภายนอก 3. ลัทธิคอมมิวนิสต์ = ภัยจากภายนอกและภายใน 4. ลัทธิประชาธิปไตยแบบทำลายตัวเอง คือการพัฒนาหรือการทำลายตนเองพัฒนาวัตถุมากไปชีวิตขาดคุณภาพ