600 likes | 954 Views
การคัดกรองผู้ป่วยเสพยาและสารเสพติด ASSIST. โดย พญ.ญา นิศา โพธิ์ฐิติรัตน์ โรงพยาบาล ธัญญา รักษ์เชียงใหม่. หัวข้อในวันนี้. ASSIST คืออะไร เคล็ดลับการถามให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ใกล้เคียงความจริง ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ ?. Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test.
E N D
การคัดกรองผู้ป่วยเสพยาและสารเสพติดการคัดกรองผู้ป่วยเสพยาและสารเสพติด ASSIST โดย พญ.ญานิศา โพธิ์ฐิติรัตน์โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่
หัวข้อในวันนี้ • ASSIST คืออะไร • เคล็ดลับการถามให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ใกล้เคียงความจริง • ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ?
Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test ASSIST คืออะไร?? เนื้อหาจาก หลักสูตรการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน สำหรับบุคลากรสุขภาพปฐมภูมิโดย ผรส.
ASSIST คืออะไร • เป็นเครื่องมือขององค์การอนามัยโลกที่พัฒนาโดยทีมนักวิชาการจากนานาประเทศ • เป็นแบบสอบถามที่ใช้คัดกรองการใช้สารเสพติดแบบเสี่ยงอันตราย ได้แก่ ยาสูบ สุรา กัญชา โคเคน ยาบ้า ยากล่อมประสาท/ยานอนหลับ ยาหลอนประสาท สารระเหย สารกลุ่มฝิ่น และสารอื่นๆ • ข้อคำถาม 8 ข้อถามโดยบุคลากรสุขภาพ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที • เพื่อใช้ในสถานบริการระดับปฐมภูมิ • สามารถใช้ได้หลากหลายวัฒนธรรม
วิธีการใช้แบบคัดกรอง ASSIST ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบถามประวัติสุขภาพทั่วไป การประเมินความเสี่ยง หรือเป็นส่วนหนึ่งในประวัติความเจ็บป่วย เชื่อมโยงการคัดกรองเข้ากับอาการนำของผู้รับบริการที่มีความเกี่ยวข้องกัน จะช่วยให้ผู้รับบริการเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการใช้สารเสพติดของตนและสุขภาพของตน ป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการและรับรองว่าคำตอบที่ให้จะเป็นความลับ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เลือกสภาพการณ์ที่เหมาะสมที่สุดในการทำแบบคัดกรอง ASSIST และควรยืดหยุ่นและไวต่อการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
เนื้อหาโดยย่อของ ASSIST ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดทุกชนิด • ประวัติการเคยใช้สารแต่ละชนิดในชีวิต (Q1) • การใช้สารเสพติดนั้นใน 3 เดือนที่ผ่านมา Q2: ความถี่ของการใช้ Q3: ความต้องการที่จะใช้สาร Q4: ปัญหาสุขภาพ สังคม กฎหมาย และการเงิน Q5: การไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ • การใช้สารเสพติดนั้นในชีวิต Q6: ความเป็นห่วงของคนอื่นต่อการใช้สารเสพติด Q7: ความล้มเหลวในการควบคุมการใช้สาร Q8: การฉีดสารเสพติด
ปรับเลือกเฉพาะสารเสพติดปรับเลือกเฉพาะสารเสพติด กลุ่มแอมเฟตามีนเท่านั้น
แนวปฏิบัติในการอธิบายให้ผู้รับบริการแนวปฏิบัติในการอธิบายให้ผู้รับบริการ • ก่อนถาม ให้ฉีกบัตรคำตอบ ASSIST-ATS ตามรอยปรุส่งให้ผู้รับบริการ • ถือแบบสอบถามเอาไว้ เพื่อไม่ให้ผู้รับบริการเห็นสิ่งที่ท่านกำลังเขียน • ทุกคำตอบจากทุกคำถาม ต้องวงกลมไว้ แม้ว่าจะเป็นคำตอบที่ได้ค่าคะแนนเป็นศูนย์ หรือคำตอบเป็นลบทั้งหมด • ท่านอาจจำเป็นต้องปรับคำพูดในบางคำถามกับผู้รับบริการบางคน หรือท่านอาจจำเป็นต้องยกตัวอย่างในบางคำถาม • คำตอบของผู้รับบริการที่ดูไม่สอดคล้อง ควรถามเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าท่านได้อธิบายข้อคำถามเพียงพอและผู้รับบริการเข้าใจคำถามอย่างชัดเจน • เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่บุคลากรสุขภาพจะต้องเข้าใจวิธีการให้คะแนนของ ASSIST ก่อนที่จะนำไปใช้
เคล็ดลับการถาม เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ใกล้เคียงความจริง
ผู้สัมภาษณ์ที่มีลักษณะต่อไปนี้จะทำให้ได้คำตอบที่เป็นจริงผู้สัมภาษณ์ที่มีลักษณะต่อไปนี้จะทำให้ได้คำตอบที่เป็นจริง แสดงให้เห็นว่ากำลังตั้งใจฟัง มีท่าทีเป็นมิตรและไม่ตัดสินถูกผิด ไวต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ถูกสัมภาษณ์และเข้าใจเห็นใจ บอกให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบถึงการรักษาความลับ
....ทำความรู้จักคุ้นเคย........ทำความรู้จักคุ้นเคย.... • การจัดสิ่งแวดล้อม มีความมิดชิด เป็นสัดส่วน ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีคนเดินผ่านไปมา บรรยากาศสงบและเป็นกันเอง • ท่านั่งควรเป็นลักษณะตั้งฉากกัน ไม่ควรเผชิญหน้ากันตรงๆ เยื้องกันเล็กน้อย ใกล้กันพอที่จะแตะไหล่ได้ • เปิดการสนทนานำให้เกิดความผ่อนคลายเป็นกันเอง (small talk) • แนะนำตัวเองสถานที่ วัตถุประสงค์ของการคุยกันเวลาที่จะคุยกัน • การใช้ภาษาพูดน้ำเสียงการเน้นคำการใช้สรรพนามควรใช้ภาษาที่เข้าใจกันง่ายเป็นกันเอง • การใช้ภาษากาย การสัมผัส สีหน้า แววตาท่าทาง ให้เกิดความเป็นกันเอง อยากเข้าใจ อยากช่วยเหลือ ไม่ตัดสินความผิด หรือแสดงการไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษาเปิดเผย
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี • เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย อบอุ่นไว้วางใจกัน • เพื่อให้เปิดเผยความไม่สบายใจ • เชื่อมั่นว่าผู้ให้บริการไม่นำเอาเรื่องราวไปเปิดเผยที่ไหน
การรักษาความลับ ก่อนการใช้แบบคัดกรอง ควรสังเกตท่าทีความร่วมมือการเปิดเผยข้อมูล ว่าผู้ตอบคำถามมีความไว้วางใจผู้ถามมากน้อยเพียงไรมีเรื่องใดที่ยังกังวล เช่น เรื่องการเก็บรักษาข้อมูลของผู้รับคำปรึกษา ควรให้ความมั่นใจเรื่องนี้ เช่น “เรื่องที่คุยกันนี้(พี่/ลุง/ผม) คงไม่นำไปบอกพ่อแม่หรือคนอื่นๆฟัง ถ้ามีเรื่องที่ (พี่/ลุง/ผม) จำเป็นต้องบอกพ่อแม่ (พี่/ลุง/ผม) จะขอ คุณ/น้อง/ชื่อ... ก่อน และเรื่องที่จะบอกคงเป็นเรื่องที่คุณยินยอมแล้ว”
ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ?ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ?
ASSIST-linked Brief intervention เป็นการพูดคุยกับผู้ป่วยแบบง่ายๆ และสั้นๆ เกี่ยวกับคะแนนของ ASSIST และความหมายของคะแนนที่บ่งบอกถึงความเสี่ยง ใช้เวลาน้อยมาก เพียง 3 นาทีเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้มีความเสี่ยงและเสี่ยงสูงจากการใช้สารเสพติด ใช้ชักจูงและกระตุ้นให้ผู้เสพแบบเสี่ยงสูงมากหรือเสพแบบติดเข้าสู่การบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป อาจจะใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการรักษาต่อเนื่องหรือการรักษาอื่นๆ ที่ทำร่วมกัน
ขั้นตอนการบำบัดแบบสั้นตามผล ASSIST 1. ASKING -ถาม 2. FEEDBACK – ให้ข้อมูลโดยใช้บัตรข้อมูล 3. ADVICE- ให้คำแนะนำ 4. RESPONSIBILITY- ย้ำความรับผิดชอบของผู้ป่วย 5. CONCERN ABOUT ASSIST SCORE- ถามความเป็นห่วงคะแนน 6. GOOD THINGS ABOUT USING- ข้อดีของการใช้สาร 7. LESS GOOD THINGS ABOUT USING- ข้อไม่ดีของการใช้สาร 8. SUMMARISE - สรุปความ 9. CONCERN ABOUT LESS GOOD THINGS– ความเป็นห่วง ต่อข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร 10. TAKE HOME INFORMATION&BOOKLET- ให้ข้อมูลและคู่มือ
ขั้นตอนที่ 1 : ถาม ถามผู้รับบริการว่าอยากทราบคะแนนแบบสอบถามของตนหรือไม่ คำถามนี้จะเป็นประตูเปิดให้ผู้บำบัดสามารถให้การบำบัดแบบย่อได้ • ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสนใจคะแนนของตนเอง • การให้ผู้ป่วยเลือกว่าจะทำอะไรต่อไปจะช่วยลดแรงต่อต้านในการรักษาได้ • เป็นการอนุญาตให้ผู้บำบัดสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนและความเสี่ยง และวิธีการลดความเสี่ยงแก่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโดยตรงและเฉพาะตัว
“คุณอยากรู้ผล/คะแนน แบบสอบถามที่ทำเสร็จแล้วหรือไม่?” • “คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับฤทธิ์ของยาบ้าที่มีผลต่อสมอง/ต่ออารมณ์ของคุณ ?”
ขั้นที่ 2: การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ การบอกคะแนนเฉพาะตัวแก่ผู้รับบริการ โดยใช้บัตรรายงานผล ASSIST • เป็นองค์ประกอบสำคัญ ใช้บัตรรายงานข้อมูลสะท้อนกลับของ ASSIST เพื่อทั้งผู้ป่วยและผู้บำบัดจะได้มีจุดสนใจที่เป็นชิ้นเป็นอัน • บันทึกคะแนน ASSIST ของผู้ป่วย และกาที่ช่องความเสี่ยง • อธิบายความหมายของระดับความเสี่ยง ตามผลการประเมิน • อธิบายความหมายของการใช้สารแบบเสี่ยงสูงหรือสูงมากด้วย ถ้าจำเป็น • ถือบัตรรายงานในลักษณะที่ผู้ป่วยสามารถอ่านได้ง่าย
ตัวอย่าง • “คะแนนการใช้ยาบ้าของคุณเท่ากับ 18 ซึ่งหมายถึง คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาสุขภาพและปัญหาอื่นๆ จากการใช้ยาบ้าในระดับที่คุณใช้ในขณะนี้” • “ยาบ้าจะมีผลต่อสารเคมีในสมองที่ควบคุมการทำงานด้วยอารมณ์ และการใช้เป็นประจำจะทำให้คุณรู้สึกซึมเศร้า กังวล และในบางคนอาจรู้สึกโกรธ หงุดหงิด ก้าวร้าวได้”
วิธีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่ได้ผลวิธีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่ได้ผล ควรคำนึงถึงสิ่งที่ผู้รับบริการทราบแล้ว และสิ่งที่สนใจอยากทราบ และยอมรับทางเลือกของผู้รับบริการว่าจะทำอะไรกับข้อมูลที่ได้รับ ประกอบด้วยสามขั้นตอน คือ 1. ค้นหาความพร้อมและความสนใจที่จะรับความรู้/ข้อมูลของผู้รับบริการ 2. ให้ข้อมูลสะท้อนกลับด้วยท่าทีที่เป็นกลางและไม่ตัดสินถูกผิด 3. ค้นหาความหมายเฉพาะตัว
ขั้นที่ 3. การให้คำแนะนำ เป็นการสร้างตัวเชื่อมระหว่างการลดการใช้สารกับการลดอันตราย การแนะนำเป็นการบอกผู้ป่วยว่าการลดหรือการหยุดใช้สารจะลดปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผู้ป่วยมักจะไม่ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารของเขากับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น ไม่ควรแนะนำว่า “คุณจำเป็นต้องทำอะไรอย่างจริงจังเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดของคุณหรือ ผม/ดิฉันเป็นห่วงการใช้ยาบ้าของคุณ ควรให้คำแนะนำง่ายๆ““วิธีที่ดีที่สุดที่คุณจะลดความเสี่ยง (หรืออันตราย) ที่จะเกิดขึ้นกับคุณก็คือการลดหรือการเลิกใช้สารเสพติด”
ขั้นที่ 4.ย้ำความรับผิดชอบของผู้ป่วย • การรักษาความสามารถในการควบคุมตนเองได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง • ผู้ป่วยเป็นคนรับผิดชอบการตัดสินใจของตนเอง –ผู้บำบัดต้องยอมรับและเคารพ • คุณจะทำอะไรกับข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาบ้าที่ดิฉัน/ผมเพิ่งบอกให้ ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองเป็นหลัก... ดิฉัน/ผมเพียงแต่บอกให้คุณทราบว่าอาจจะเกิดอันตรายหรือความเสี่ยงอะไรได้บ้างหากคุณยังใช้ยาบ้าในลักษณะนี้ต่อไป”
ขั้นที่ 5:ถามความเป็นห่วงคะแนน • การถามคำถามปลายเปิด จะช่วยให้ผู้ป่วยคิด และพูดความรู้สึกกังวลของตนเองออกมา • ครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งแรกที่ผู้ป่วยเคยพูดความกังวลเกี่ยวกับการใช้สารของตนเอง • การพูดความรู้สึกกังวลของตนเองออกมาจะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมได้ • เราจะเชื่อสิ่งที่เราเป็นคนพูดออกมาเอง “คุณรู้สึกกังวลกับคะแนนของคุณมากไหม”
ตัวอย่าง • “คุณรู้สึกกังวลกับคะแนนของคุณมากไหม” • “คุณกังวลกับคะแนนการใช้ยาบ้าของคุณเพียงไร” • “คุณกังวลกับผลของยาบ้าที่มีผลต่ออารมณ์และต่อสุขภาพจิตของคุณเพียงไร” • “คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับสิ่ง/เรื่องนี้” • “เราจะทำอย่างไรต่อไปจากจุดนี้” • “คุณต้องการจะทำอะไรเกี่ยวกับสิ่ง/เรื่องนี้” • “อะไรที่ทำให้คุณกังวลที่สุด”
ขั้นที่ 6 และ 7 ข้อดี / ข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร ถามเกี่ยวกับข้อดีของการใช้สาร “คุณชอบอะไรบ้างในการใช้ยาบ้าของคุณ” หลังจากที่ผู้ป่วยพูดข้อดีของการใช้สารหมดแล้ว ก็ถามด้านลบบ้าง “แล้วมีอะไรที่ไม่ค่อยดีบ้างไหมในการใช้ยาบ้าของคุณ” • เป็นการทำให้ผู้ป่วยเกิดความขัดแย้งทางความคิดของตนเอง ระหว่างสิ่งที่เขากำลังทำอยู่กับสิ่งที่เขาต้องการจะเป็น • ให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีกับข้อไม่ค่อยดีเกี่ยวกับการใช้สารของเขา - เป็นขั้นตอนแรกของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม • ครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งแรกที่ผู้ป่วยได้พิจารณาและพูดเกี่ยวกับข้อดี และข้อไม่ดีของการใช้สารของตนเอง
ผลทางลบของการใช้สารเสพติดผลทางลบของการใช้สารเสพติด ถ้าผู้ป่วยนึกข้อไม่ค่อยดีไม่ออก ผู้บำบัดอาจจะช่วยแนะให้ • ด้านสุขภาพ – ร่างกาย หรือ จิตใจ • ด้านสังคม – สัมพันธภาพกับคู่ครอง ครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน • ด้านกฎหมาย – ขับรถหลังใช้สาร อุบัติเหตุ ถูกจับ • ด้านการเงิน – ปัญหาค่าใช้จ่าย • ด้านอาชีพการงาน – ปัญหาการทำงาน การเรียน • ด้านจิตวิญญาณ – คุณค่าของตนเอง ความรู้สึกผิด ความรู้สึกเต็ม
ข้อที่ 8 สรุปความ การฟังแบบสะท้อนความคิด “ด้านหนึ่งก็คือ คุณชอบที่จะใช้ยาบ้ากับเพื่อนๆ ของคุณในงานปาร์ตี้ เพราะมันทำให้คุณมั่นใจและมีความสุข แต่ในทางกลับกัน คุณก็ใช้เงินไปมากกว่าที่คุณจะหามันมาได้ซึ่งมันก็ทำให้คุณกังวล นอกจากนี้คุณก็สังเกตว่าคุณโกรธง่ายหงุดหงิดหลังใช้ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ เดี๋ยวนี้มันเกิดรุนแรงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับตอนที่คุณเริ่มใช้ยาบ้าใหม่” • แสดงให้ผู้ป่วยเห็นว่า เราฟังและเข้าใจสิ่งที่เขาพูด (และเห็นใจ) • ควรใช้การสรุปความบ่อยๆ เพื่อชี้ให้ผู้ป่วยเห็นความขัดแย้งทางความคิดของเขาเอง • พยายามดึงการสนทนาให้เข้าหาข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร • การสรุปความจะเป็นช่องทางให้ผู้บำบัดสามารถถามคำถามปลายเปิดต่อไปได้
ขั้นที่ 9: ความกังวลเกี่ยวกับการใช้สารความเป็นห่วงต่อข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร • จากไม้บรรทัดตั้งแต่ 1 ถึง 10 คุณจะให้คะแนน ความกังวลต่อการใช้สาร ของคุณประมาณสักเท่าไร • จากไม้บรรทัดตั้งแต่ 1 ถึง 10 คุณคิดว่า คุณ ตั้งใจว่าจะลดหรือเลิกใช้ สารเสพติดมากน้อยเพียงไร • จากไม้บรรทัดตั้งแต่ 1 ถึง 10 คุณมี ความมั่นใจว่าคุณจะทำได้สำเร็จ มากน้อยเพียงใจ
ขั้นที่ 10. ให้ข้อมูลกลับบ้าน • เป็นการเสริมคำแนะนำและผลการบำบัดแบบย่อที่ทำไปให้เข้มข้นมากขึ้น • สิ่งที่อาจจะให้กลับบ้าน • บัตรรายงานข้อมูลสะท้อนกลับของผู้ป่วย • แผ่นพับความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดตัวที่ผู้ป่วยใช้ • คู่มือดูแลตนเพื่อลดละเลิกสารเสพติด • เวลาให้เอกสารควรพูดแบบกลางๆ และให้เกียรติผู้ป่วยใช้การกล่าวถึงบุคคลที่สาม
องค์ประกอบของการบำบัดแบบสั้นที่ได้ผลองค์ประกอบของการบำบัดแบบสั้นที่ได้ผล ความเข้าใจเห็นใจ ชี้ความขัดแย้งและความลังเลใจด้วยคำถามปลายเปิด การหมุนไปกับแรงต้าน การฟังอย่างตั้งใจ เพื่อสะท้อนความหรือสรุปความ
การแสดงการต่อต้าน วิธีลดการต่อต้าน สังเกตการณ์ต่อต้านของผู้ป่วย : RESISTANCE • โต้เถียง • ขัดคอ • ไม่ยอมเชื่อมโยงว่าปัญหาที่มีอยู่เกิดจากการใช้สาร • ปฏิเสธ ไม่สนใจปัญหา • ไม่ยอมรับการดูแลรักษา • หมุนแรงต่อต้าน • เปลี่ยนจุดสนใจ • เปลี่ยนคำพูด • ย้ำว่าการใช้สารเป็นทางเลือกของผู้ป่วยและอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ป่วยเอง • ยุติการบำบัด
ถ้าผู้ป่วยไม่มีความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงถ้าผู้ป่วยไม่มีความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลง • ยอมรับ • พยายามเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยาก • ถามผู้ป่วยว่าเขาจะจัดการได้ไหมถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น • ถามผู้ป่วยว่ามีอะไรอย่างอื่นอีกไหมที่จะช่วยเขาในการตัดสินใจ เช่น ใช้เวลาพูดคุยมากขึ้น ฯลฯ