220 likes | 353 Views
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การ จัดทำรายงานตามแบบ มคอ.5 และ มคอ. 7. จัดโดย งานการศึกษาคณะ ศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2556 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. มคอ. คืออะไร?. มคอ. ≠ ไม่มีใครเอา มัดคออาจารย์ ฯลฯ
E N D
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อง การจัดทำรายงานตามแบบ มคอ.5 และ มคอ. 7 จัดโดย งานการศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2556 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มคอ. คืออะไร? • มคอ. ≠ ไม่มีใครเอา มัดคออาจารย์ ฯลฯ • มคอ. = มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา • กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF:HEd) • กรอบแนวคิดในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามความคาดหวังของสังคมและตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตในสาขานั้นๆ กำหนดร่วมกัน
ระบบและกลไกของ TQF มคอ.3
ต.ย. มาตรฐานของคนจบ “เอกไทย” คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ • มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม • มีความรอบรู้ทางวิชาการและทักษะในการสื่อสารในศาสตร์วิชาภาษาไทยและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง • มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและมีเจตคติที่ดีต่อประเทศและวัฒนธรรมไทย • มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถประยุกต์ใช้ภาษาไทยได้ • มีบุคลิกภาพและโลกทัศน์ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในทุกระดับได้อย่างเหมาะสม • มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ + เอกลักษณ์สถาบัน
ต.ย. มาตรฐานของคนจบ “เอกไทย” + เอกลักษณ์สถาบัน ต้องผ่านวิชาบังคับ • กลุ่มเนื้อหาวิชาหลักภาษาไทย และ ภาษาศาสตร์ (วิชาลักษณะภาษาไทยภาษาศาสตร์เบื้องต้น) • กลุ่มเนื้อหาวิชาการใช้ภาษา (วิชาทักษะการใช้ภาษาไทยด้านต่างๆการคิดและการใช้เหตุผล) • กลุ่มเนื้อหาวิชาวรรณคดี (วิชาวรรณคดีศึกษา วรรณคดีวิจารณ์วรรณคดีวิจักษ์ วรรณคดีเอกวรรณกรรมร่วมสมัย • กลุ่มเนื้อหาวิชาภาษาและวรรณกรรมที่สัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม (ภาษากับสังคมภาษากับวัฒนธรรมวรรณกรรมกับสังคมและวัฒนธรรม)
ประโยชน์(?)ของ TQF • ผู้เรียน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ • สถาบันอุดมศึกษา มีแนวทางในการจัดการศึกษาได้อย่างมี คุณภาพ • ผู้ใช้กำลังคน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และได้ บัณฑิตที่มีคุณภาพไปปฏิบัติงาน • ประเทศ มีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในการพัฒนา ประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
ประโยชน์(?)ของ TQF • ผู้สอนต้องทำประมวลรายวิชา (มคอ.3) • ต้องทำตามที่สัญญา (?) จะสอนอะไร สอนอย่างไร วัดผลอย่างไร • จะปรับปรุง/พัฒนาอย่างไร • ต้องทำสรุปผลการเรียนการสอน (มคอ.5) • หลักสูตรต้องสรุปผลการดำเนินงาน (มคอ.7) • ต้องทำตามตัวชี้วัดตามมาตรฐาน • ต้องทำตามที่สัญญา (?) • จะรับประกัน “คุณภาพหลักสูตร” อย่างไร
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน > มาตรฐาน • มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี) • มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบมคอ.3 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 ภายใน 30วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา • มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 อย่างน้อย ร้อยละ 25ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา • มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือ การประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7ปีที่แล้ว
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน > มาตรฐาน • อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย ร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร • อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน • อาจารย์ประจำ ทุกคน ได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง • จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50ต่อปี • ระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 • ระดับความพึงพอใจ ของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0
การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ • เป็นกระบวนการเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลว่า ผู้จบการศึกษาทุกคนมีผลการเรียนรู้อย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา (มคอ.2) และรายละเอียดรายวิชา (มคอ.3) • กลวิธีการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ระดับหลักสูตร อาจทำได้ดังนี้ ๑. นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชาโดยใช้แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้านต่างๆที่ต้องการทวนสอบ ๒. คณะกรรมการสอบไล่ประเมินข้อสอบเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหารายวิชา และการให้คะแนนในแต่ละรายวิชา ๓. บัณฑิตใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ประเมินหลักสูตร ๔. ผู้ประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติงาน และผู้ใช้บัณฑิตประเมินทักษะการปฏิบัติงาน • เมื่อดำเนินการทวนสอบแล้ว ให้สาขาวิชาจัดทำรายงานผลการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้เพื่อเป็นหลักฐานการบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้
การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ • ระดับรายวิชา (การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้) หลักสูตรตั้งกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตกลงหรือสุ่มเลือกรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของจำนวนรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษานั้นๆ สัมภาษณ์ สังเกต จัดสอบ ส่งเข้าประกวดหรือรับการคัดเลือก ฯลฯ โดยอิงจากมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ระบุไว้ใน มคอ.3 สรุปและจัดทำรายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF:HEd)
กรอบมาตรฐาน • ลักษณะของสาขา / สาขาวิชา • คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ • โครงสร้างหลักสูตร • เนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา • มาตรฐานผลการเรียนรู้
มาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน • คุณธรรม จริยธรรม • ความรู้ • ทักษะทางปัญญา • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จากหลักสูตร...สู่รายวิชาจากหลักสูตร...สู่รายวิชา เน้น ไม่เน้น ไม่มี
ระบบและกลไกของ TQF • วิธีประเมิน* • หลักฐาน **
แนะนำแบบมคอ. • มคอ.1 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิของสาขาวิชา • มคอ.2 หลักสูตร • มคอ.3 ประมวลรายวิชา • มคอ.4 ประมวลรายวิชา (ภาคสนาม) • มคอ.5 สรุปผลการเรียนการสอน > ทุกเทอม • มคอ.6 สรุปผลการเรียนการสอน (ภาคสนาม) • มคอ.7 สรุปผลการดำเนินงานของหลักสูตร > ทุกปี
ศิลปศาสตร์กับการทำมคอ.ศิลปศาสตร์กับการทำมคอ.
เทคนิค: กระดาษ เอ 4 แผ่นเดียว การประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อม ก่อนเริ่มใช้หลักสูตรฯตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2556)
การกรอกมคอ.5 และมคอ.7 http://www.student.mahidol.ac.th