710 likes | 2.42k Views
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักร อยุธยา. วิชาประวัติศาสตร์ ม. 2. เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา. อาณาจักรอยุธยา. ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง. ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย.
E N D
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา
วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา อาณาจักรอยุธยา ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก แบบทดสอบ ออก อาณาจักรอยุธยา
วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาณาจักรอยุธยามีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเนื่องด้วยปัจจัยสำคัญต่อไปนี้ 1.สภาพทางภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำ 3 สาย ไม่ห่างไกลจากปากแม่น้ำและตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางการค้าระหว่างชาติต่าง ๆ เป็นที่รวมของสินค้าต่าง ๆ เช่น หนังกวาง ไม้ฝาง ครั่ง กำยาน งาช้าง ดีบุก และสินค้าจากภายนอกเช่น พริกไทย กานพลู ดอกจันทน์เทศจากมะละกา ผ้าเนื้อดี ไหมยกดอกเงินหรือทองจากอินเดีย ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 2.การเสริมสร้างความมั่นคงให้อาณาจักร พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาได้สร้างความมั่นคงให้อาณาจักรโดยการแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองไปครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ ทั้งรัฐไทยด้วยกันเอง เช่น สุโขทัย ล้านนา และ รัฐของชาวต่างชาติ เช่น เขมร มลายู หัวเมืองมอญ เพื่อให้ตกเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ เพราะทำให้อยุธยาได้ครอบครองแหล่งทรัพยากรและควบคุมเมืองท่าสำคัญทางการค้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3. นโยบายทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาต้องการเป็นชาติมหาอำนาจ หรือการแสดงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ตามคติของ “จักรพรรติราช” 4. การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและวิทยาการความเจริญทางด้านต่าง ๆ มีการส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับนานาประเทศ รวมทั้งอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้า มาทำการค้า ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง อาณาจักรล้านนา เมื่อ พ.ศ. 1839 เจ้าเมืองเงินยางเชียงแสน คือพ่อขุนมังราย ได้รวบรวมแคว้นและเมิองต่าง ๆ ที่อยู่ทางเหนือ เช่น เชียงแสน ลำพูน ลำปางและดินแดนทางใต้ของจีน เช่น เชียงรุ่ง สิบสองปันนา เข้ามาเป็นอาณาจักรล้านนา โดยสร้างเมือง นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นราชธานี พ่อขุนมังรายกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัยเป็นพระสหายกัน มีความเจริญรุ่งเรื่องมาก มีการประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยเรียกว่า อักษรธรรมและตรากฏหมายมังรายศาสตร์ใช้ปกครองบ้านเมือง สมัยสมเด็จพระบรมราชาที่ 1 หรือขุนหลวงพงั่ว ยกทัพตีเมืองกำแพงเพชรและได้สุโขทัยเป็นประเทศราช สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงผนวกสุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาทำให้ขยายเขตแดนมาติดประชิดอาณาจักรล้านนา ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 พระเจ้าติโลกราชของอาณาจักรล้านนา แผ่ขยายอำนาจทางการเมือง ยกทัพตีเมืองชากังราว หรือกำแพงเพชร และสุโขทัย สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อาณาจักรอยุธยามีความเข้มแข็ง ทางล้านนาขอเป็นไมตรีด้วย แต่ต่อมาพม่าก็ยกทัพมาตีได้อีก ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ ต่อมาพม่าก็ยึดเมืองเชียงใหม่ได้อีก อาณาจักรล้านนาอยู่ใต้อิทธิพลของพม่าจนถึงสมัยธนบุรี นอกจากความสัมพันธ์ด้านสงครามและการเมืองแล้ว อาณาจักรล้านนากับอาณาจักรอยุธยามีความสัมพันธ์ทางด้านการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนา ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 อาณาจักรล้านช้าง (ลาว) อาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรล้านช้างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง แห่งอาณาจักรอยุธยากับพระเจ้าฟ้างุ้มแห่งอาณาจักรล้านช้างมีไมตรีต่อกันฉันเครือญาติ สมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชได้ทำไมตรีกับอยุธยา ได้สร้างพระเจดีย์ศรีสองรักเพื่อเป็นอนุสรณ์ อยู่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในที่สุดล้านช้างได้ตกเป็นประเทศราชของพม่า อาณาจักรล้านช้างได้แบ่งแยกเป็น 2 ส่วน คือ เวียงจันทน์และหลวงพระบาง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่า ใน พ.ศ. 2127 แล้วเวียงจันทน์ได้ขอเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 หัวเมืองมอญ ความสัมพันธ์ส่วนมากจะเป็นการขยายอิทธิพลเพื่อให้ได้เมืองมอญเป็นประเทศราชและช่วยเหลือเมืองมอญจากการคุกคามของพม่า ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2081 พม่าตีเมืองมอญ ชาวมอญหนีมาอยู่เมืองเชียงกรานของไทย พม่าก็ยกทัพมาตีเมืองเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราชให้ตีเมืองเชียงกรานคืน ไทยกับพม่าผลัดกันยึดครองหัวเมืองมอญจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไทยต้องทำสงครามกับพม่าหลายครั้งเป็นเวลานานกว่า 200 ปี อาณาจักรอยุธยา ออก
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 อาณาจักรเขมรหรือกัมพูชา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยาทรงยกทัพไปตีเมืองพระนครหลวงราชธานีของเขมรและกวาดต้อนผู้คนมายังอาณาจักรอยุธยาและโปรดให้พระนครอินทร์พระราชโอรสไปครองเขมรแต่ไม่นานก็ถูกลอบปลงพระชนม์ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพใหญ่ตีเขมรและได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดในพ.ศ. 2136 และต่อมาเมื่อเขมรเข้มแข็งและได้ญวณคอยช่วยเหลือก็ยกทัพมากวาดต้อนผู้คนตามชายแดนอีก อยุธยาจะยกทัพไปตีเขมรอีก เขมรกับไทยมีความสัมพันธ์กันในลักษณะนี้ตลอดสมัยอยุธยา แม้จะมีความสัมพันธ์ทางด้านการสงครามและการขยายอิทธิพล แต่ไทยก็ได้รับวัฒนธรรมหลายอย่างจากเขมร เช่น รูปแบบการปกครอง ประเพณี ภาษา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แนวคิดกษัตริย์เป็นสมมุติเทพ และรูปแบบศิลปกรรม ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 หัวเมืองมลายู หัวเมืองมลายูตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักอยุธยาปลายคาบสมุทรมลายู เมืองสำคัญประกอบด้วย มะละกา ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปัตตานี เป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญในคาบสมุทรมลายู อยุธยาต้องการหัวเมืองมลายูเหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า อาณาจักรอยุธยาจึงส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งและได้เมืองมะละกาและเมืองอื่น ๆ เป็นประเทศราช การปกครองหัวเมืองมลายูมิได้ปกครองโดยตรง แต่ให้ปกครองกันตามประเพณีและส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด ต่อมาโปรตุเกสเข้ายึดครองเมิองมะละกา และได้ส่งทูตเจริญไมตรีกับไทยในพ.ศ. 2054 ส่วนเมืองอื่น ๆ ในคาบสมุทรมลายูยังเป็นเมืองขึ้นตลอดสมัยอยุธยา กรุงศรีอยุธยาขายสินค้าประเภท ข้าว เกลือ ปลาเค็ม และสินค้าของป่า ให้กับหัวเมืองเหล่านี่ และซื้อสินค้าประเภท เครื่องเทศ ไม้จันทน์ขาว พริกไทย ผ้ามัสลิน พรม จากเมืองมะละกา ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่อาณาจักรอยุธยา ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 อาณาจักรพม่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเกือบจะตลอดสมัยอยุธยามีลักษณะเป็นการทำสงครามเพื่อต้องการมีอำนาจเหนืออาณาจักรล้านนา มอญ ไทยใหญ่ อาณาจักรอยุธยาต้องการมีอิทธิพลเหนือเมืองท่าชายทะเลทางด้านตะวันตกเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า สงครามที่สำคัญได้แก่ สงครามครั้งพระศรีสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2091 พระสุริโยทัยปลอมเป็นชาย เข้าร่วมสงครามยุทธหัตถี พระองค์สิ้นพระชนม์บนหลังช้าง สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 ไทยพ่ายแพ้ต่อกษัตริย์พม่าคือบุเรงนอง ตกเป็นเมืองขึ้นนาน 15 ปี สงครามประกาศอิสรภาพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีชัยชนะต่อพม่าทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าที่เมืองแครง เมื่อ พ.ศ. 2127 อาณาจักรอยุธยา ออก
วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา อาณาจักรพม่า สงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำสงครามชนะพระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อ พ.ศ. 2135 สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่างราชวงศ์ตองบองของพม่ากับอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงในการทัพคราวนี้ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310]อันเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแห่งอาณาจักรอยุธยาและพระเจ้ามังระของอาณาจักรพม่าอันเป็นจุดสิ้นสุดของราชอาณาจักรอยุธยาที่เป็นราชธานีของคนไทยมานาน 417 ปี ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 ศาสนาพุทธนิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ ส่งเครื่องบรรณาการให้จีนเรียกว่า จิ้มก้อง จีน ชาวจีนขายผ้าไหม ชา เครื่องถ้วยชาม เครื่องเคลือบ ชาวจีนบางคนรับราชการตามกรมกองต่าง ๆ ลังกา ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น คือดาบ เสื้อเกราะ และม้า ญี่ปุ่น สินค้าที่ขายญี่ปุ่นคือ หนังกวาง หนังวัว ไม้สัก ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยา ออก
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 โปรตุเกส ชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามากรุงศรีอยุธยา ตั้งสถานีการค้าที่มะละกา ใน พ.ศ. 2052 ผู้สำเร็จราชการชาวโปรตุเกสชื่ออัลฟองโซ เดอ อัลบูเคิร์ก ส่งฑุตพร้อมบรรณาการเข้าเฝ้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้โดยเสรี ส่วนไทยได้ซื้ออาวุธปืนและว่าจ้างทหารอาสาโปรตุเกสให้ฝึกหัดทหารไทย รูป หมู่บ้านโปรตุเกส ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม จังหวัดอยุธยา อาณาจักรอยุธยา ออก ที่มา :http://ruanrubrong.net/travel_07.html
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 สเปน สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้สำเร็จราชการสเปนที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิบปินส์ ได้ส่งทูตมาทำสนธิสัญญาทางการค้ากับอาณาจักรอยุธยา สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ใน พ.ศ. 2260 สเปนได้ส่งคณะฑูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีและขอตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาและได้มีการทำสนธิสัญญาระหว่างกัน แต่การค้าของสเปนก็ไม่รุ่งเรืองในที่สุดจึงได้ล้มเลิกไป อาณาจักรอยุธยา ออก
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 ฮอลันดา ฮอลันดาเข้ามาทำการค้าเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททอง บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาหรือวีโอซี ได้มาตั้งสถานีการค้าในกรุงศรีอยุธยา คณะทูตไทยได้เดินทางไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ฮอลันดาในปี พ.ศ. 2150 ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมและพระเจ้าปราสาททองฮอลันดาได้รับสิทธพิเศษผูกขาดการค้าหนังสัตว์ สินค้าส่งออกของอยุธยาที่ฮอลันดาต้องการคือ ไม้ฝาง หนังกวาง ออก อาณาจักรอยุธยา
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 อังกฤษ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้เม้าขายที่เมืองปัตตานี นายโธมัส เอสซิงตัน ผู้แทนจากอินเดียตะวันออกได้นำพระราชสาส์นจากอังกฤษมาเจริญสัมพันธไมตรี สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงอนุญาตให้ต้งสถานีการค้าได้ที่กรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระนารายณ์มหาราช เรือสินค้าอังกฤษถูกปล้นสะดมในน่านน้ำเมืองมะริด ซึ่งอังกฤษหาว่าไทยรู้เห็นด้วย ขอให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายเกิดการสู้รบระหว่างบริษัทอังกฤษกับเมืองมะริด สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงยกเลิกการค้ากับอังกฤษ อาณาจักรอยุธยา ออก
วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อการค้าและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ทรงโปรดให้คอนสแตนติน ฟอลคอน รับบรรดาศักดิ์เป็นออกญาวิไชเยนทร์ มีหน้าที่ควบคุมการค้าและมีอำนาจทางการเมือง ในพ.ศ. 2228 เชอวา เลียร์ เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับพระนารายณ์มหาราช และคณะฑุตไทยนำโดยพระวิสูตรสุนทร หรือ โกษาปาน ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยที่ 14 ที่พระราชวังแวร?ซาย ศิลปะของฝรั่งเศสได้เข้ามาเผยแพร่ในอยุธยา เช่น การก่อสร้างพระราชวังที่จังหวัดลพบุรี การสร้างป้อมปราการที่บางกอก รวมทั้งได้รับความรู้ด้านดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ อาณาจักรอยุธยา ออก
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 ขบวนแห่พระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่14 อาณาจักรอยุธยา ออก ที่มา :http://ms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/.../__110.html -
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา วิชาประวัติศาสตร์ ม.2 ที่มา :http://ms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/.../__110.html - อาณาจักรอยุธยา ออก
แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมัยอยุธยา วิธีทำแบบทดสอบ • คลิกเพื่อแสดงโจทย์ตัวเลือก • คลิกเลือกข้อที่ถูกที่สุด • ถ้าถูกคุณจะได้ยินเสียงปรบมือถ้าผิดคุณจะได้ยินเสียงระเบิด บทเรียน ออก
1. อาณาจักรล้านช้างสมัยสมเด็จพระนเรศวร แบ่งออกเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง ก. 2 ส่วน คือ หลวงพระบางและเวียงจันทร์ ข. 1 ส่วน คือ ล้านช้าง ค. 3 ส่วน คือ เวียงจันทร์ หลวงพระบางและหัวเมืองมอญ ง. ไม่มีข้อถูก บทเรียน ออก
2. หัวเมืองมอญมีความสำคัญอะไรกับอยุธยา ก. ทำการค้าขาย ข. เป็นเมืองหน้าด่านของล้านช้าง ค. สะดวกแก่การค้าขายทางตะวันตก ง. เป็นประตูสูอันดามัน บทเรียน ออก
3. พระนเรศวรมหาราช ได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อเขมรปีอะไร ก. 2136 ข. 2134 ค. 2135 ง. 2137 บทเรียน ออก
4. อยุธยาต้องการหัวเมืองมลายูเพื่ออะไร ก. เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ข. เพื่อทำสงคราม ค. เพื่อประโยชน์ทางการค้า ง. เพื่อเป็นประตูสู่อันดามัน บทเรียน ออก
5. ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่พม่าตีเมืองมอญอยู่ในพ.ศ.ที่ ก. 2083 ข. 2081 ค. 2082 ง. 2084 บทเรียน ออก
6. สินค้าที่จีนนำมาขายกับอยุธยาคือ ก.สร้อยไข่มุก ข. ข้าว ค. ผ้าแพร ง. งาช้าง บทเรียน ออก
7. จีนต้องการสินค้าอะไรจากไทย ก. ข้าว ข. ชา ค.งาช้าง ง. เครื่องถ้วยชาม บทเรียน ออก
8. ลังกามีความสัมพันธ์กับอยุธยา ก. ด้านการค้าขาย ข. ด้านการเมือง ค. ด้านการเผยแผ่ศาสนา ง. ข้อ ก และ ข ถูก บทเรียน ออก
9. ชาติแรกที่เข้ามาติดต่อการค้ากับอยุธยา ก. โปรตุเกส ข. จีน ค. ลังกา ง. ฝรั่งเศส บทเรียน ออก
10. ฮอลันดาสั่งกองเรือรบมาปิดอ่าวไทยใน พ.ศ.ใด ก. 2207 ข. 2206 ค. 2205 ง. 2204 บทเรียน ออก
11.เหตุผลที่พระนารายณ์ ทรงเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศสเพราะ ก. ด่วงดุลอำนาจกับจีน ข. ด่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา ค. ด่วงดุลอำนาจกับลังกา ง. ด่วงดุลอำนาจกับญี่ปุ่น บทเรียน ออก
12.คอนสแตนติน ฟอลดอน เป็นชาวอะไร ก. จีน ข. กรีก ค. ลังกา ง. ฝรั่งเศส บทเรียน ออก
13.การก่อสร้างป้อมบางกอกชาวอะไรเป็นผู้ก่สร้าง13.การก่อสร้างป้อมบางกอกชาวอะไรเป็นผู้ก่สร้าง ก. จีน ข. ฝรั่งเศส ค. ลังกา ง. โปรตุเกส บทเรียน ออก
14.ฝรั่งเศสมีนโยบายแสวงหาอะไร14.ฝรั่งเศสมีนโยบายแสวงหาอะไร ก. อำนาจทางการค้า ข. อำนาจทางการเมือง ค. เผยแผ่ศาสนา ง. ไม่มีข้อถูก บทเรียน ออก
15.ใครเป็นผู้โน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเปลี่ยนไปนับถือศริสต์ศาสนา ก. โธมัส เอสซิงตัน ข. เชอวา เวียร์เดอ โชมองต์ ค. อันฟอนโซ อัลบูเคิร์ก ง. ยามากะ นางามะซะ บทเรียน ออก
อาณาจักรอยุธยา ออก
รายชื่อสมาชิก 1.ด.ช.วรมัน นิมมานสมัย เลขที่ 9 2.ด.ชปกรณ์ ทองประสพ เลขที่12 3.ด.ญ.พัชธิรา จิรนาท เลขที่13 4.ด.ญ.ชิดชนก ลี้หิรัญญพงศ์ เลขที่14 5.ด.ญ.ณัฏฐณิชา เรือนทอง เลขที่18 6.ด.ญ.กานต์ธีรา เฟื่องอิ่ม เลขที่20 7.ด.ญ.ปภาอร บุญวงษ์ เลขที่23 8.ด.ญ.รตวรรณ ยุติธรรม เลขที่26 9.ด.ญ.ปวีณ์นุช โสประทุม เลขที่31