1 / 24

การสัมมนา

การสัมมนา. เรื่อง การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ พลเรือน สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖. ๑.ที่มา. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ การจัดระเบียบข้าราชการต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม คุณภาพชีวิตที่ดี”

etta
Download Presentation

การสัมมนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสัมมนา เรื่อง การดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖

  2. ๑.ที่มา • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ • การจัดระเบียบข้าราชการต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม คุณภาพชีวิตที่ดี” • สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่ส่งเสริม และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต • ส่วนราชการสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการฯ มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติราชการ

  3. ๒.สภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของข้าราชการพลเรือนสามัญ๒.สภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของข้าราชการพลเรือนสามัญ • ปัญหาด้านการบริหารจัดการ การขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรอย่างเป็นระบบ • การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ ไม่ครอบคลุมมิติที่สำคัญ ๔ ด้าน คือ ด้านการทำงาน ด้านส่วนตัว ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม • ส่วนราชการหลายแห่งยังไม่มีระบบข้อมูลคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่จะนำมาเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรในองค์กรอย่างแท้จริงและยังขาดการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการฯ และเจ้าหน้าที่กับความเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ ของการบริหารองค์กร

  4. ๒.สภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของข้าราชการพลเรือนสามัญ (ต่อ) • ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า ๑๑๒% ในรอบ ๕ ปี • ผู้บริหารขาดความมุ่งมั่น ในการสนับสนุนและเป็นผู้นำการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างจริงจัง

  5. ๓. การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ. • จัดให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงาน ภายใต้โครงการ เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรภาครัฐ ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน (Work Life Balance) ระบบการหยุดราชการทดแทน (Time Off in Lieu)” • จัดให้มีการศึกษาเรื่อง ระบบการเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน • จัดให้มีการศึกษาเพื่อพัฒนากรอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการพลเรือน ซึ่งประกอบด้วย ๔ มิติ

  6. ๓. การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ. (ต่อ) • ดำเนินการส่งเสริมส่วนราชการในการดำเนินการตามกรอบแนวทางเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานและจัดให้มีการศึกษารูปแบบโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นเครื่องมือให้ส่วนราชการเลือกนำไปใช้ดำเนินการ • จัดให้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต ภายใต้กรอบแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work life Frame work) • จัดการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค • ก.พ. พิจารณาเห็นชอบให้ส่วนราชการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖

  7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต ข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖

  8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการฯ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖ ยุทธศาสตร์ ๑ ยุทธศาสตร์ ๒ ยุทธศาสตร์ ๓ ยุทธศาสตร์ ๔

  9. ยุทธศาสตร์ที่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการด้านการทำงาน เพื่อให้ข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการสร้างสรรค์และส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพแก่ประชาชน และเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ กลยุทธ์ ๑. ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน ๒. พัฒนาระบบวิธีการทำงาน ๓. บริหารทรัพยากรบุคคลตามหลักคุณธรรม

  10. ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม เสริมสร้างบรรยากาศที่ดี อำนวยความสะดวกให้ข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ๑ กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • สถานที่ทำงานถูกสุขลักษณะ ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน ให้มีบรรยากาศที่ดี สะดวกต่อ การทำงาน • สถานที่ทำงานปลอดภัย ถูก สุขลักษณะ ตามเกณฑ์ของ ส่วนราชการ • การปรับปรุง ซ่อมแซมสถานที่ ทำงาน • กิจกรรม ๕ ส หรือการจัด ระเบียบที่ทำงาน • ความพึงพอใจของข้าราชการฯ ต่อสภาพแวดล้อม • อุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยี เพียงพอ ทันสมัย ปลอดภัย • การจัดหา/ซ่อมแซมเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ฯลฯ

  11. การพัฒนาระบบวิธีการทำงาน เพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • จัดระบบวิธีการทำงานที่ เหมาะสม ชัดเจน เพื่อ เสริมสร้างประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการทำงาน • ผลการปฏิบัติงานของ ส่วนราชการและตัวชี้วัดสำคัญ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ สูงขึ้น • ระบบพี่เลี้ยง การสอนงาน การให้คำปรึกษา • คู่มือแนวทางปฏิบัติงาน • การมอบหมายงานที่สอดคล้อง กับความรู้ ทักษะและสมรรถนะ

  12. การดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพตามหลักคุณธรรม เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจและจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ๓ กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • หลักเกณฑ์ วิธีการดำเนินการ บริหารทรัพยากรบุคคล มี ประสิทธิภาพโปร่งใส เป็นธรรม • ความพึงพอใจของข้าราชการ ต่อระบบบริหารทรัพยากรบุคคล • การสร้างความมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม ในกระบวน การบริหารทรัพยากรบุคคล • ความผูกพันต่อองค์กร ภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่ง ขององค์กร • การนำระบบกลไกและวิธีการ บริหารงานใหม่ๆ มาดำเนินการ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ • การพัฒนาข้าราชการทุกระดับ อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง วัดและ ประเมินผลอย่างจริงจัง

  13. ยุทธศาสตร์ที่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการด้านส่วนตัวเพื่อให้ข้าราชการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง มีความสุข มีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว กลยุทธ์ ๑. ส่วนราชการดำเนินการเสริมสร้างสุขภาพ ๒. เสริมสร้างให้ข้าราชการมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น เข้มแข็ง มีความสมดุลชีวิตการทำงาน/ชีวิตส่วนตัว

  14. ส่งเสริมให้ส่วนราชการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพให้ข้าราชการมีสุขภาพดี กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • ข้าราชการมีความรู้ ความสามารถในการดูแล รักษาสุขภาพ • จำนวนข้าราชการที่มีความรู้ และเข้าร่วมกิจกรรมดูแล สุขภาวะฯ • การจัดกิจกรรมเสริมสร้าง สุขภาพเป็นประจำ • การจัดกิจกรรมส่งเสริมการมี พฤติกรรมสุขภาพที่ดี • ข้าราชการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารความเครียด • จำนวนข้าราชการที่มีน้ำหนักเกินหรือมีโรคประจำตัวลดลง • การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และทักษะการดำเนินชีวิต • ข้าราชการและครอบครัว มีสุขภาพดี สามารถลดค่า ใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล • การจัดให้มีการตรวจสุขภาพ/ หน่วยยตรวจรักษาพยาบาลเบื้องต้น • การสร้างระบบให้คำปรึกษาแนะนำ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

  15. เสริมสร้างให้ข้าราชการมีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นและเข้มแข็ง มีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว ๒ กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • ข้าราชการมีความสัมพันธ์ที่ดี ภายในครอบครัวและสังคม • จำนวนกิจกรรมของส่วนราชการ ที่ครอบครัวข้าราชการมีส่วนร่วม • การกำหนดชั่วโมงการทำงานใน ที่ทำงาน การจัดเวลาการทำงาน แบบยืดหยุ่น • ข้าราชการมีความสุขเพิ่มขึ้น ครอบครัวมีความอบอุ่น • ข้าราชการมีความสุขเพิ่มขึ้น ครอบครัวมีความอบอุ่น • การกำหนดให้วันอาทิตย์ เป็นวันครอบครัว • การให้ครอบครัวเข้าร่วม กิจกรรมสันทนาการ ฯลฯ

  16. ยุทธศาสตร์ที่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการด้านสังคมเพื่อให้ข้าราชการทุกระดับมีความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกัน มีความสามัคคี มีความรักและความภูมิใจในองค์กร กลยุทธ์ ๑. ส่วนราชการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ของแต่ละส่วนราชการ ข้าราชการมีความเชื่อถือและไว้วางใจใน การทำงานร่วมกันพัฒนาระบบสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์ที่ดีของ บุคลากรในทุกระดับ ๒. ส่งเสริมให้ข้าราชการมีจิตสาธารณะมีความรักและมีความสามัคคี

  17. ส่วนราชการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมกับลักษณะงานของแต่ละส่วนราชการ ให้ข้าราชการมีความเชื่อถือและไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน ๑ กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • ส่วนราชการมีวัฒนธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม • ส่วนราชการมีนโยบายและ ดำเนินการสร้างวัฒนธรรม องค์กรที่เหมาะสม • กิจกรรมนันทนาการและการ สื่อสารระหว่างฝ่ายบริหารและ ข้าราชการ • ข้าราชการมีความเชื่อถือและ ไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน • จำนวนข้าราชการที่มีส่วนร่วม ในการสร้างและปฏิบัติตาม วัฒนธรรมองค์กร • การพัฒนาระบบการสื่อสาร องค์กร เพื่อให้ข้าราชการทุก ระดับมีความรู้ ความเข้าใจ นโยบายและวัฒนธรรมองค์กร • จำนวนข้าราชการที่เข้าร่วม กิจกรรม ส่งเสริมความสัมพันธ์ และวัฒนธรรมองค์กร • การพัฒนาช่องทางการสื่อสาร ให้มีความหลากหลาย

  18. ส่งเสริมให้ข้าราชการมีจิตสาธารณะ มีความรัก ความสามัคคีภายในองค์กร กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • ข้าราชการมีความรัก ความสามัคคีและร่วมมือกันทำงานมากขึ้น • จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริม ความสัมพันธ์อันดีในองค์กร • กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ ในองค์กร เช่น ศึกษา ดูงาน นอกสถานที่ ทัศนศึกษา สังสรรค์และสันทนาการ • จำนวนกิจกรรมเพื่อสาธารณ ประโยชน์ • ข้าราชการมีจิตสำนึกที่ดีและ มุ่งทำประโยชน์ต่อส่วนรวม • กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์ • จำนวนข้าราชการที่เข้าร่วม กิจกรรมฯ

  19. ยุทธศาสตร์ที่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ข้าราชการมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ ๑. ส่งเสริมให้ส่วนราชการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับ การออมและการบริหารจัดการด้านการเงิน ๒. จัดสวัสดิการเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด

  20. ให้ส่วนราชการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการออมและการบริหารจัดการด้านการเงิน กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • ข้าราชการมีความรู้ด้านการ บริหารจัดการการเงินและ การออม • ข้าราชการมีอัตราการออมเงิน ที่สูงขึ้น • การให้ความรู้ด้านการวางแผน การเงินและการออม • จำนวนข้าราชการที่มีความรู้ ด้านการบริหารเงินและการออม • การรณรงค์การดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง • ข้าราชการมีความรู้ ความเข้าใจ และดำเนินชีวิตตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • จำนวนข้าราชการที่มีปัญหา หนี้สินลดลง • การให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพเสริม • ข้าราชการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้จ่ายเงิน

  21. จัดสวัสดิการเพิ่มเติมจากที่กฎหมายกำหนด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างความสุข กลยุทธที่ เป้าประสงค์ ตัวอย่างตัวชี้วัด ตัวอย่างกิจกรรม • ส่วนราชการจัดสวัสดิการ เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ ภาครัฐจัดให้ • จำนวนกิจกรรม สวัสดิการ เพิ่มเติมจากที่กฎหมายกำหนด • การจัดสวัสดิการเพิ่มเติม เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ ร้านค้า สวัสดิการ การสงเคราะห์ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ฯลฯ • จำนวนข้าราชการในส่วนราชการ ที่ได้รับสวัสดิการเพิ่มเติมฯ • การส่งเสริมการรวมกลุ่มจัด กิจกรรมช่วยเหลือข้าราชการ ที่ได้รับความเดือดร้อน กรณีต่างๆ

  22. ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ๑. ด้านนโยบาย • รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายและสนับสนุนให้เป็นภารกิจสำคัญ ของส่วนราชการและจังหวัด • ส่วนราชการกำหนดนโยบายให้สอดรับ รวมทั้งมีระบบการทำงาน กิจกรรมและการดำเนินการที่ชัดเจนต่อเนื่อง ๒. ด้านองค์ความรู้ • ดำเนินการปรับเปลี่ยนแนวคิดของข้าราชการ “ การพัฒนาคุณภาพชีวิตมิใช่เป็นเพียงการจัดสวัสดิการ” “ การพัฒนาคุณภาพชีวิตคือการสร้างความสุขโดยรวม”

  23. ประเด็นการสัมมนา ๑. กิจกรรมที่ส่วนราชการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต ข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบัน และกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตข้าราชการต่อไป ๒. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของข้าราชการพลเรือนสามัญ และแนวทางการแก้ไข ๓. ข้อเสนอรูปแบบ แนวทาง และวิธีการในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ ส่วนราชการมีองค์ความรู้ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนา คุณภาพชีวิตข้าราชการพลเรือนสามัญ ๔. ข้อเสนอรูปแบบ แนวทาง วิธีการและกิจกรรมที่ส่วนราชการเห็นว่าควรเป็น แบบอย่างสำหรับการดำเนินการของส่วนราชการอื่นๆ ๕. ท่านต้องการให้สำนักงาน ก.พ. ช่วยเหลือและสนับสนุนในเรื่องใดบ้าง เพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ฯ ประสบความสำเร็จ

  24. สนใจข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการดูที่ Website http://brd.ocsc.go.th/publicqwl/

More Related