500 likes | 778 Views
คู่มือการช่วยชีวิตเด็กสำหรับประชาชน. งานการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. คำนำ
E N D
คู่มือการช่วยชีวิตเด็กสำหรับประชาชน งานการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
คำนำ • การพัฒนาคุณภาพบริการเชิงวิชาการสู่ประชาชน เป็นหนึ่งพันธกิจหลักที่สำคัญของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเฉพาะการให้บริการตามหลักวิชาการแก่ประชาชนในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กที่ประสบอุบัติเหตุ ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างทันท่วงที ถูกต้อง และปลอดภัย จะทำให้เด็กที่ประสบอุบัติเหตุมีโอกาสรอดชีวิต ปราศจากความพิการ หรือมีความพิการเกิดขึ้นน้อยที่สุด สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ให้การช่วยเหลือจะต้องมีความรู้ มีหลักการปฏิบัติการช่วยเหลือที่ถูกต้อง อีกทั้งการมีทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือนั้นประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ • คู่มือการช่วยชีวิตเด็กสำหรับประชาชน เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนใช้เป็นแนวทางในการศึกษา การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานแก่เด็กที่ประสบอุบัติเหตุ ซึ่ง ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำมาทบทวนขั้นตอนต่าง ๆ ในการช่วยชีวิตให้เกิดทักษะพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงทีและถูกต้อง • ผู้จัดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าอบรม และผู้สนใจทุกท่านได้เป็นอย่างดี • คณะผู้จัดทำ • 6 กรกฎาคม 2546
การช่วยชีวิตพื้นฐานในเด็กการช่วยชีวิตพื้นฐานในเด็ก เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น หรือไม่ทำงาน สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ จมน้ำ ไฟฟ้าช็อต และสูดสำลัก เช่น การสำลักนม สำลักควัน เป็นต้น ซึ่งในภาวะเหล่านี้ ถ้าได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องทันที โดยทำให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอด และมีเลือดไหลเวียนเอาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองเพียงพอ โดยไม่เกิดการตายของเนื้อสมอง จะทำให้เด็กมีโอกาสกลับฟื้นขึ้นมามีชีวิตเป็นปกติได้
ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าช็อต เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อย ทั้งในบ้าน โรงเรียน โรงงาน และสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้า สาเหตุอาจเกิดจากการประมาท ไม่รอบคอบหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น มักพบในเด็กอายุ 1-5 ปี ซึ่งผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตอาจมีอาการรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1. ลักษณะของผิวหนังที่สัมผัสกับไฟฟ้า - ผิวหนังแห้งจะมีสื่อไฟฟ้าต่ำ เกิดอันตรายน้อย อาการรุนแรงไม่มาก - ผิวหนังเปียกชื้น (มีเหงื่อหรือเปียกน้ำ) จะเป็นสื่อนำไฟฟ้าสูง ทำให้เกิดอันตราย และมีอาการรุนแรงมาก
2. ชนิดของกระแสไฟฟ้า - ไฟฟ้ากระแสตรง เช่น แบตเตอรี่ หรือถ่านไฟฉาย ทำให้เกิดอันตรายน้อย - ไฟฟ้ากระแสสลับ ทำให้เกิดอันตรายมาก และกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเป็น ไฟฟ้าชนิดที่ทำให้เกิดอันตรายมาก 3. ตำแหน่ง และทางเดินของกระแสไฟฟ้าในร่างกาย - กระแสไฟฟ้าที่วิ่งจากแขนหนึ่งไปยังอีกแขนหนึ่ง หรือจากแขนลงไปที่เท้า จะมี อันตรายมากกว่ากระแสไฟฟ้าที่วิ่งจากเท้าลงดิน เนื่องจากกระแสไฟฟ้าสามารถ วิ่งผ่านหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเกิดอันตราย - กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านสมอง จะทำให้หยุดหายใจ - กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านกล้ามเนื้อ ทำให้ชัก กระดูกหัก หรือเป็นอัมพาต
อาการ 1.หมดสติ หยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้นทันที ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าเข้าตัวเป็น เวลานาน 2.อาจมีบาดแผลไหม้บริเวณผิวหนังที่ถูกไฟฟ้าช็อต การช่วยเหลือ 1.ปิดสวิตซ์ไฟ หรือถอดปลั๊กไฟทันที 2. ใช้อุปกรณ์ที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้ ผ้า หรือเชือก คล้องเอาตัวผู้ป่วยให้หลุดออก จากสาย (ห้ามใช้โลหะหรือวัตถุเปียกน้ำโดยเด็ดขาด และมิให้ถูกตัวผู้ป่วยจนกว่า จะหลุดออกจากสายไฟแล้ว) 3. ตรวจดูการหายใจ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้เป่าปากช่วยหายใจทันที และถ้า หัวใจหยุดเต้นให้นวดหัวใจไปพร้อมกัน จนกว่าจะหายใจได้เอง 4. รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน และตรวจดูการหายใจอย่างใกล้ชิด
จมน้ำ จมน้ำเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มีความรุนแรงและมักจะเสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจจากการสำลักน้ำ หรือมีการเกร็งของกล่องเสียง ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 5-10 นาที
อาการ 1.หมดสติ และหยุดหายใจ บางรายอาจมีหัวใจหยุดเต้น 2.ในรายที่ไม่หมดสติ อาจมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน กระวนกระวาย หรือไอ มีฟองเป็นสีเลือดจาง ๆ การช่วยเหลือ 1. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ทำการผายปอดโดยให้เป่าปากและช่วยหายใจทันที โดย เร็วที่สุด อย่าเสียเวลาเอาน้ำออกจากปอด 2. เมื่อเป่าปากไปสักพัก แล้วผู้เป่ารู้สึกว่าลมที่เป่าเข้าปอดเด็กเข้าได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจัดท่าให้เด็กนอนคว่ำ ใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ ท้องเด็ก ยกท้องเด็กขึ้นจะช่วยไล่น้ำจากท้องออกมาทางปากได้ และจัดให้เด็ก นอนหงายทำการเป่าปากช่วยหายใจต่อไป 3. ถ้าพบว่ามีหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที 4. ในกรณีที่เด็กยังพอหายใจได้เอง หรือ ช่วยเหลือให้เด็กสามารถหายใจได้เอง จัดท่าให้เด็กนอนตะแคง และศีรษะหงายไปข้างหลังเพื่อให้น้ำไหลออกมาทางปาก
5. ใช้ผ้าคลุมตัวเด็กให้อบอุ่น ห้ามให้อาหารและน้ำดื่มทางปาก 6. ส่งเด็กจมน้ำทุกรายไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง เพื่อ เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การป้องกัน 1.ระวังอย่าให้เด็กเล่นน้ำ หรือเล่นใกล้บริเวณที่มีน้ำตามลำพัง 2.ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น 3.เด็กที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก ห้ามลงเล่นน้ำ 4.ควรเตรียมเสื้อชูชีพให้พร้อม เมื่อต้องลงเรือหรือไปเที่ยวทะเล
การสูดสำลัก • การสูดสำลักเป็นการเอาสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นออกจากทางเดินหายใจ • อาการ • ไอ สำลัก เขียวอย่างกระทันหัน ส่วนใหญ่พบบ่อยในเด็กอายุไม่เกิน 4 ปี เพราะเป็นวัยที่ชอบเรียนรู้ด้วยตนเอง หยิบของใส่ปาก สิ่งแปลกปลอมที่พบบ่อย ได้แก่ เมล็ดถั่ว ลูกอม หรือของเล่นชิ้นเล็ก ๆ • การช่วยเหลือเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ • สำหรับเด็กอายุแรกเกิด -1ปี • กรณีผู้สำลักยังรู้ตัว • 1. ตรวจดูอาการทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ได้แก่ หายใจลำบาก ไอไม่ออก ร้องได้ไม่มีเสียง
2.ใช้วิธีตบหลังสลับกับการกระแทกหน้าอก2.ใช้วิธีตบหลังสลับกับการกระแทกหน้าอก ก. วิธีตบหลัง จับให้เด็กนอนคว่ำหัวต่ำบนแขนของผู้ช่วยเหลือ แล้วใช้ฝ่ามือ ตบกลางหลังบริเวณระหว่างกระดูกสะบักอย่างแรงติดต่อกัน 5 ครั้ง แล้ว ดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมออกมาจากปากเด็กหรือไม่ ข. วิธีการกระแทกหน้าอก จับให้เด็กนอนหงายอยู่บนตักของผู้ช่วยเหลือในท่า ศีรษะต่ำแล้วใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว กระแทกแรง ๆ ลงบนกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ 5 ครั้ง แล้วดูว่าเห็นสิ่งแปลกปลอมออกมาจากปอดเด็กหรือไม่ ค. ถ้ายังไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมออกมาให้ทำวิธีตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับกระแทก หน้าอก 5 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะมีสิ่งแปลกปลอมหลุดกระเด็นออกมา กรณีผู้สำลักหมดสติ 1. ใช้วิธีตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง 2. ช่วยหายใจโดยเปิดทางเดินหายใจเป่าลมเข้าทางปาก/จมูก สังเกตว่าทรวงอก ขยายขึ้นหรือไม่
3. จัดท่าศีรษะแหงนเชยคางเปิดทางเดินหายใจ เป่าลมเข้าปาก/จมูก อีกครั้ง • 4. ถ้ายังไม่สำเร็จให้ทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 3 อีกครั้งจนได้ผล • 5. ถ้าช่วยเกิน 1 นาที แล้วยังไม่ได้ผลให้เรียกหน่วยพยาบาลฉุกเฉินทันที • สำหรับเด็กโตอายุ 1-8 ปี • กรณีผู้สำลักยังรู้ตัว • 1. ถามว่า “สำลักหรือเปล่า พูดได้ไหม?” • 2. ลงมือช่วยทันทีเมื่อผู้สำลักพยายามพูดออกมาแต่ไม่มีเสียง • 3. ใช้วิธีกระแทกท้องใต้ลิ้นปี่ (เฮมลิช) • กรณีผู้สำลักหมดสติ • 1. ใช้วิธีกระแทกท้องใต้ลิ้นปี่ในท่านอนหงายโดยนั่งคร่อมบนขาทั้ง 2 ข้างของเด็กใช้ 2 มือประสานซ้อนกัน เอาสันมือวางตรงกลางระหว่างสะดือและลิ้นปี่แล้วออก • แรงกดกระแทกแรง ๆ เร็ว ๆ ติดต่อกัน 6-10 ครั้งจนได้ผลเห็นสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาจากปาก
2. ช่วยหายใจโดยเปิดทางเดินหายใจให้โล่งโดยใช้นิ้วมือดันลิ้น และยกขากรรไกรล่างขึ้นไม่ให้ลิ้นตกไปด้านหลังคอ ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมอุดอยู่ก็สามารถใช้นิ้วล้วงออกมาจากปากได้ ถ้าไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมอยู่ในช่องปาก ห้ามใช้มือล้วงในปากโดยเด็ดขาด การชัก อาการชักเกิดจากการทำงานผิดปกติของ เซลล์ประสาทของสมองจำนวนมากพร้อมกันอย่างกระทันหัน ความผิดปกตินี้มักเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจจะทิ้งช่วงห่างของอาการนานเป็นวัน เป็นเดือน หรือบางคนอาจจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ หลาย ๆ ครั้งภายในวันเดียวกันได้ ผลของการทำงานอย่างผิดปกติของเซลล์สมอง ทำให้เกิดอาการที่
เห็นได้หรือผู้ป่วยรู้สึกได้แตกต่างกันอย่างที่พบได้บ่อยก็มักจะเป็นอาการเกร็งกระตุก แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจจะเป็นอาการเหม่อ นิ่ง หรือ ดูเขียว ซีด เป็นต้น ทั้งหมดนี้ จัดรวมเป็นกลุ่มอาการชัก (Seizures)ทั้งสิ้น สาเหตุของการชัก เกิดจากความผิดปกติของเนื้อสมอง ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวมักเกิดจาก 1. ภาวะติดเชื้อของสมอง 2. อันตรายของศีรษะจากการคลอดหรือต่อมาภายหลัง 3. ความผิดปกติของสมองแต่กำเนิด 4. ภาวะความผิดปกติของเมตาบอลิซึม (ระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกาย) และการได้รับสารพิษต่าง ๆ 5. มีภาวะขาดออกซิเจน 6. เนื้องอกในสมอง 7. หลอดเลือดผิดปกติในสมอง 8. พันธุกรรม
ชนิดของอาการชัก 1. อาการชักทั้งตัว คือ อาการที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียภาวะการรู้สติ ตั้งแต่เริ่มชัก ซึ่งแบ่งเป็น 1.1 ผู้ป่วยจะไม่รู้สติทันที สูญเสียการทรงตัว แขนขาเกร็ง ตาเหลือก ต่อจากนั้นจะมีอาการกระตุก แขนขา ทั้งสองข้างพร้อมกันเป็นจังหวะแล้ว จึงช้าลงจนหยุดในที่สุด ระหว่างชักผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกัดลิ้น ปัสสาวะ อุจจาระราด บางครั้งอาจหยุดหายใจไปในชั่วครู่ หลังจากชัก ผู้ป่วยจะเพลียและหลับได้ 1.2 ผู้ป่วยจะมีอาการนิ่งเฉยเหมือนปกติ ตามองเหม่อไม่รู้สติ ระหว่างนี้หน้า จะซีดเล็กน้อย อาจจะขยับริมฝีปาก แขน หรือศีรษะกระตุก กระพริบตา เล็กน้อย เป็นครั้งละสั้น ๆ ประมาณ 5-10 วินาที อาการมักเป็นตอนเช้า มักเป็นในผู้ป่วยอายุ 4-8 ปี และมีอาการนำโดยหายใจหอบ ลึกติดต่อกัน ประมาณ 2-3 ครั้ง
1.3 อาการชักที่มีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้ออย่างทันทีทันใดคล้ายสะดุ้ง จะมีแขน ยกขึ้นชัดเจน การชักแต่ละครั้งจะสั้นมาก มักพบในผู้ป่วยอายุ 2-3 ปี 1.4 อาการเสียวการตึงตัวของกล้ามเนื้ออย่างทันทีทันใดในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจ ล้มลงหรือมีอาการตกของแขน ขา หรือคอ 1.5 ผู้ป่วยมีอาการหัวผงก ลำตัวงอ แขนขางอเข้าหากัน บางครั้งมีเสียงร้อง การกระตุกแต่ละครั้งจะสั้นมาก เมื่อใดอาการชักแบบนี้จะลดลง และมีอาการ ชักอย่างอื่นแทน 2. อาการชักที่เริ่มที่จุดใดจุดหนึ่งของร่างกายก่อน อาจจะจำกัดเฉพาะที่ หรือกระจาย ออกไปเป็นซักทั้งตัว ซึ่งแบ่งเป็น 2.1 มีอาการกระตุกของแขน ขา ด้านใดด้านหนึ่งหน้าซีด บางรายเริ่มมีอาการ กระตุกจากจุดเริ่มต้น เช่น ปลายขา แล้วกระจายออกไป มีกระตุกต้นขาไป แขนและหน้า จากนั้นกระตุกทั้งตัว การซักแบบนี้ระยะแรกผู้ป่วย จะรู้สติ แต่ถ้ามีอาการชักทั้งตัวก็จะไม่รู้สติ
2.2 มีอาการชาที่ใดที่หนึ่ง แล้วกระจายออกไปที่อื่น หรือมีการเห็นภาพ และ • แสงสีที่ผิดปกติ • 2.3 ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และจำเหตุการณ์ขณะนั้นไม่ได้ • เช่น เดินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือวิ่งพล่านเหมือนคนเสียสติ จะมี • อาการ 4-5 นาที อาจจะมีอาการนำโดย เห็นภาพหลอน เสียงแว่ว และ • อาจมีอาการหน้าซีด • หลักทั่วไปในการรักษาภาวะชัก • 1. แพทย์จะพยายามรักษาสาเหตุถ้าสามารถกระทำได้ เช่น ชักจากเนื้องอกใน • สมอง • 2. ในกรณีที่หาสาเหตุเฉพาะไม่พบ หรือสาเหตุที่พบไม่สามารถทำการรักษาได้ • เช่น มีความผิดปกติของสมองตั้งแต่แรกเกิด ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการ • ชักซ้ำโดยใช้ยา • 3. ถ้าอาการมากจนไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้ และแพทย์สามารถค้นหาตำแหน่ง • ที่ผิดปกติในสมองได้ชัดเจน อาจทำการผ่าตัดส่วนที่ผิดปกติของสมองนั้นออก • ไปได้ 7
ข้อปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยชักข้อปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยชัก 1. บันทึก ลักษณะเฉพาะของอาการชัก เวลาที่เริ่มชัก ระยะเวลาของการชัก รวมทั้งภาวะหลังจากหยุดชัก เนื่องจากข้อมูลดังกล่าว จะช่วยให้แพทย์ สามารถเลือกชนิด และขนาดของยาได้ เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนได้ 2. ต้องรับประทานยาสม่ำเสมอทุกวัน และรับประทานให้ตรงเวลา เพื่อให้ระดับ ยากันชักมีความคงที่ในกระแสเลือด ซึ่งจะควบคุมอาการชักได้ผลดี 3. หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจะเป็นอันตรายของผู้ป่วย เช่น การปีนป่ายที่สูง การขับขี่จักรยานสองล้อ ขับขี่รถยนต์เอง ว่ายน้ำโดยไม่มีผู้ดูแล
4. การหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการชัก เช่น การอดนอน ออกกำลังกาย • มากจนเหนื่อย อดอาหาร วิตกกังวล • 5. ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ ให้เช็ดตัว และให้ยาลดไข้โดยไม่ต้องรอให้ไข้สูง และพาไป • พบแพทย์เพื่อรักษาสาเหตุของไข้ต่อไป • 6. ต้องพาผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะแพทย์จะต้องให้ยารักษา • ติดต่อกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี และจะกระทำการปรับลดขยาดยาลงอย่าง • ช้า ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน หลังจากการชักครั้งสุดท้าย • เมื่อผู้ป่วยมีอาการชักจะทำอย่างไร • 1. จัดให้อยู่ในท่าที่สบายและปลอดภัย • 2. พ่อแม่ ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องมีสติ ไม่ตกใจ • 3. จัดเสื้อผ้าให้หลวม หรือให้หายใจได้สะดวก • 4. จัดให้นอนหงาย ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งทันที เพื่อให้เสมหะ หรือ • สิ่งของที่อาจอยู่ในปากไม่สำลักเข้าปอด
5. ถ้ามีเสมหะก็ให้ดูดเสมหะออก 6. ช่วยเหลือผู้ป่วยตามอาการอื่น ๆ ต่อไป สรุป ภาวะชักเกิดจากหลายสาเหตุ มีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน และถ้าผู้ป่วย และญาติมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของอาการชัก ตลอดจนการดูแลที่ถูกต้อง เหมาะสมควบคู่กันไปกับการรักษาของแพทย์ จะช่วยให้ผู้ป่วยชักมีการพัฒนาการ ใกล้เคียง หรือเหมาะสมกับวัย ช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดำเนินชีวิตตาม ปกติเป็นทรัพยากรของชาติที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
หลักการช่วยชีวิตเด็ก • การช่วยชีวิตเป็นทักษะสำคัญที่พ่อแม่ ครู และผู้เลี้ยงดูเด็กควร เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนพื้นฐานการปฏิบัติการช่วยชีวิต ในกรณีเด็กที่หัวใจหยุดทำงานหรือหยุดหายใจอย่างทันทีทันใด หากได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีมีโอกาสที่จะรอดชีวิตได้ วิธีการช่วยชีวิตเป็นเทคนิคพื้นฐานในการช่วยชีวิตยามฉุกเฉินก่อนถึงมือแพทย์เพื่อให้การรักษาเฉพาะต่อไป
หลักการช่วยชีวิตที่สำคัญมี 3 ข้อ 1. เปิดทางเดินหายใจ จะต้องเปิดให้ทางเดินหายใจโล่ง โดยการจัดท่าเพื่อไม่ให้ลิ้นตกมาอุดกั้นทางเดินหายใจ = เปิดทางเดินหายใจ นอนหงายราบ เชยคาง ดันหน้าผาก
หลักการช่วยชีวิตที่สำคัญมี 3 ข้อ 2. การช่วยหายใจ เมื่อเด็กหยุดหายใจต้องรีบช่วยการหายใจ โดยการเป่าลมเข้าไปในปอดทันที = การช่วยหายใจ
3. การไหลเวียนของเลือด เมื่อหัวใจหยุดทำงาน การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วน ต่าง ๆ ก็หยุดไปด้วย ดังนั้นจึงต้องช่วยนวดหัวใจ เพื่อช่วยปั๊มเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย • ท่าเชยคางขึ้นคอยสังเกตและฟังเสียงลมหายใจ
ขั้นตอนการช่วยชีวิตในเด็กขั้นตอนการช่วยชีวิตในเด็ก 1. เขย่าตัวเด็กเพื่อให้ทราบว่าเด็กรู้สึกตัวหรือไม่ ถ้าไม่รู้ตัวรีบเรียกหรือตะโกนขอความช่วยเหลือทันที ขณะเดียวกันต้องรีบจัดท่าให้เด็กนอนหงายบนพื้นราบ 2. เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยเชยคางขึ้น และจัดให้ศีรษะแหงนไปด้านหลัง สังเกตและฟังเสียงว่าเด็กมีลมหายใจอยู่หรือไม่ เมื่อเห็นมีสิ่งแปลกปลอมหรือเศษอาหารในปากให้ตะแคงหน้า และล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ออกให้หมดแล้วจัดท่าเชยคางขึ้นเหมือนเดิม ท่าเชยคางขึ้นคอยสังเกตและฟังเสียงลมหายใจ
ถ้าเด็กไม่หายใจผู้ช่วยเหลือใช้ปากของตนเอง ครอบปากและ/หรือจมูกของเด็ก • ให้สนิท แล้วเป่าลมเข้าทางปากและ/หรือจมูกของเด็ก 2-5 ครั้ง • ในเด็กเล็ก ผู้ช่วยเหลือใช้ปากของตนครอบปากและจมูกของเด็ก
ในเด็กโต ผู้ช่วยเหลือใช้มือบีบจมูกของเด็ก แล้วใช้ปากของตนครอบเฉพาะปาก • เด็กให้สนิท • (อย่าลืมจัดท่าเหมือนกับข้อ 2 ไว้ตลอดเวลาที่เป่าลม)
การเป่าลมเข้าปอดให้เป่าเข้าช้า ๆ (ครั้งละ 1 – 1.5 วินาที) ติดต่อกัน 2 ครั้ง โดย ผู้ช่วยเหลือเองต้องสูดลมหายใจเข้าให้เต็มที่ก่อน เพื่อให้มีลมมากและแรงพอที่จะช่วยให้ทรวงอกของเด็กขยายได้มากขึ้นหรือได้ลมพอถ้าในขณะเป่าลมเข้าปอดเด็กและทรวงอกของเด็กไม่ขยายขึ้นแสดงว่าอาจมีการอุดตันในทางเดินหายใจของเด็กอยู่ หรืออาจเป็นเพราะเชยคางและหน้าแหงนไม่ดีพอ ให้ผู้ช่วยเหลือพยายามจัดท่าใหม่ และเป่าลมเข้าปอดเด็กเต็มที่ติดต่อกัน 2 ครั้งอีก ถ้าลมยังไม่เข้าปอดเด็กอีก แสดงว่าอาจมีสิ่งแปลกปลอมอุดอยู่ ให้ช่วยเหลือเอาสิ่งแปลกปลอมออก
ในกรณีที่ให้การช่วยหายใจอย่างเดียว ผู้ช่วยเหลือจะช่วยเป่าลมเข้าปอดด้วยอัตราเฉลี่ย 20 ครั้งต่อนาที (เป่าลมเข้าปอดทุก 3 วินาที) ทั้งในเด็กเล็กหรือเด็กโต จนกว่าจะสามารถหายใจเองหรือเจ้าหน้าที่พยาบาลเข้ามาช่วยเหลือต่อ • 4. ตรวจการเต้นของหัวใจโดย คลำชีพจร • ในเด็กเล็ก ให้ใช้นิ้วมือคลำชีพจรบริเวณด้านในของต้นแขน • เด็กเล็ก
ในเด็กโต ใช้นิ้วมือ 2 – 3 นิ้วคลำชีพจรบริเวณคอด้านข้าง โดยเลื่อนนิ้วมือจากลูกกระเดือกลงมาที่บริเวณร่องระหว่างลูกกระเดือกกับกล้ามเนื้อคอ โดยที่อีกมือหนึ่งของผู้ช่วยเหลือแหงนศีรษะของเด็กขึ้น ถ้าชีพจรอ่อน, ช้า (ต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที) หรือไม่มีชีพจร ผู้ช่วยเหลือต้องรีบดำเนินการขั้นต่อไป • เด็กโต
5. นวดหัวใจ • ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี นวดหัวใจโดยใช้ปลายนิ้วมือ 2 นิ้วของผู้ช่วยเหลือกดบริเวณกึ่งกลางกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ ซึ่งอยู่ต่ำจากระดับราวนม 1 นิ้วมือ โดยต้องกดลงไปลึกประมาณ 1/3 – 1/2 ของความหนาของทรวงอกเด็ก ในอัตราความเร็ว 100 ครั้ง ต่อนาที (โดยนับ 1 และ 2 และ 3 และ 4 และ 5, เป่าลม, 1 และ 2 และ 3 และ 4 และ 5, เป่าลม .....) เมื่อให้การช่วยเหลือประมาณ 1 นาที (20 รอบ) ให้ประเมินดูว่าเด็กหายใจ และหัวใจทำงานเอง ถ้าไม่ฟื้นให้ทำต่อไปตามเดิม ถ้าเด็กฟื้นดีให้นอนตะแคง สังเกตอาการ และส่งพบแพทย์ต่อไป • เด็กเล็ก
ในเด็กโต (อายุ 1 - 8 ปี) นวดหัวใจโดยใช้ส้นมือของผู้ช่วยเหลือกดลงบนกระดูกหน้า อกเหนือลิ้นปี่ 2 นิ้วมือ โดยกดลงไปลึกประมาณ 1/3 – 1/2 ของความหนาของทรวงอก เด็กในอัตราความเร็ว 100 ครั้งต่อนาที • เด็กโต
6. ถ้าเด็กฟื้นดีแล้วจึงจัดท่าให้เด็กนอนตะแคง เอามือรองแก้มไม่ให้หน้าคว่ำมาข้างหน้ามากเกินไป เพราะถ้าตะแคงคว่ำมากเกินไปกะบังลมจะขยับได้น้อย การจัดท่าพักฟื้นนี้ทำได้หลายแบบ แต่มีหลักว่า ควรเป็นท่าตะแคงตั้งฉากกับพื้นให้มากที่สุด โดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัวเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง และของเหลวสามารถไหลออกมาจากปากได้ • ในกรณีที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ ไม่ควรจัดท่าใดให้ผู้หมดสติ ยกเว้น ถ้าไม่ขยับทางเดินหายใจจะไม่เปิดโล่ง
การช่วยเหลือในกรณีที่สำลักสิ่งแปลกปลอมการช่วยเหลือในกรณีที่สำลักสิ่งแปลกปลอม • เด็กเล็กวัยต่ำกว่า 5 ปี มีโอกาสสำลักสิ่งแปลกปลอมได้มากที่สุด สิ่งแปลกปลอมที่พบบ่อยได้แก่ พวกเมล็ดถั่ว, เมล็ดผลไม้, ลูกอมเม็ดเล็ก ๆ หรือ พวกของเล่นชิ้น เล็ก ๆ • เมื่อใดที่พบว่าเด็กหายใจลำบาก มีอาการไอ สำลัก หรือเขียวอย่างทันทีทันใด ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเด็กอาจสำลักสิ่งแปลกปลอม • วิธีการช่วยเหลือขึ้นกับว่า “เด็กรู้สึกตัวหรือไม่” และ “เด็กมีอายุเท่าใด”
ในกรณีที่เด็กรู้ตัว สงสัยว่าสำลักแน่ ๆ ต้องกระตุ้นให้เด็กไอแรง ๆ ออกมา ถ้าเด็กไอไม่ออกและหายใจลำบากมากขึ้นและ/หรือหายใจเสียงดัง ควรรีบช่วยเหลือดังนี้ (1)ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี จะใช้วิธีตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับการกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง ดังนี้ ก. วิธีตบหลัง จับให้เด็กนอนคว่ำหัวต่ำบนแขนของผู้ช่วยเหลือ แล้วใช้ฝ่ามือ ตบกลางหลังบริเวณระหว่างกระดูกสะบักอย่างแรง ติดต่อกัน 5 ครั้ง แล้วดูว่าเห็นสิ่ง แปลกปลอมในปากเด็กหรือไม่ ถ้าเห็นให้เอาออก ถ้าไม่เห็นดำเนินการขั้นต่อไป
วิธีการกระแทกหน้าอก จับเด็กพลิกกลับหงายบนตักของผู้ช่วยเหลือในท่าศีรษะต่ำ • แล้วใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว กระแทกแรง ๆ ลงบนกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ 5 ครั้ง แล้วดูว่า • เห็นสิ่งแปลกปลอมในปากเด็กหรือไม่ • ถ้ายังไม่เห็นให้ตบหลัง 5 ครั้ง และกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะเห็นสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งแปลกปลอมจะหลุดกระเด็นออกมา หรือไอออกมาให้เห็น ถ้าเด็กเริ่มไม่รู้สึกตัวให้ช่วยเหลือแบบเด็กหมดสติไม่รู้สึกตัว
(2) ในเด็กโต ที่ยังรู้สึกตัว จะใช้ วิธีกระแทกท้องใต้ลิ้นปี่ (เฮมลิช) 1. ผู้ช่วยเหลือยืนด้านหลังของผู้ป่วย แล้วโอบแขนทั้ง 2 ข้าง รัดรอบเอวเด็ก 2. วางกำปั้นมือหนึ่งให้ด้านหัวแม่มือของผู้ช่วยเหลืออยู่ติดหน้าท้องบริเวณกึ่งกลางระหว่างลิ้นปี่และสะดือของเด็ก 3. อีกมือหนึ่งกุมบนกำปั้นที่วางไว้ แล้วออกแรงกดอย่างแรงและเร็วตรงหน้าท้องในทิศทางย้อนดันขึ้นไปทางทรวงอกติดต่อกัน 5 ครั้ง 4. ทำต่อแบบเดิมจนกระทั่งเห็นสิ่งแปลกปลอมหลุดกระเด็นออกมา หรือ เด็กมีอาการหายใจดีขึ้น หรือถ้าเด็กเริ่มไม่ รู้สึกตัวให้ช่วยเหลือแบบเด็กหมดสติไม่รู้สึกตัวต่อไป
ในกรณีที่เด็กหมดสติไม่รู้สึกตัว • ถ้าเป็นเด็กเล็ก จะใช้วิธีการตบหลังและกระแทกหน้าอกตามที่กล่าวมาแล้ว ช่วยหายใจโดยเป่าลมเข้าทางปาก/จมูก ถ้าในขณะเป่าลมเข้าไม่เห็นว่าทรวงอก • ของเด็กขยายขึ้น ก็ให้จัดท่าศีรษะแหงนเชยคางขึ้นใหม่ เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจแล้ว • ผู้ช่วยเหลือก็เป่าลมเข้าปากอีกครั้ง ถ้าหากว่ายังทำไม่สำเร็จอีก แสดงว่าสิ่งแปลกปลอม • ยังคงอุดอยู่ในหลอดลม ก็ต้องกลับไปช่วยเอาสิ่งแปลกปลอมออกก่อนโดยการตบหลัง • และกระแทกหน้าอกแบบเดิมอีก จนกว่าจะสามารถเป่าลมได้
ถ้าเป็นเด็กโต ใช้วิธีกระแทกท้องใต้ลิ้นปี่ (เฮมลิช) ในท่านอนหงาย โดยนั่งคร่อมบน • ขาทั้ง 2 ข้างของเด็ก ใช้ 2 มือประสานซ้อนกันเอาส้นมือวางตรงกลางระหว่างสะดือและ • ลิ้นปี่ แล้วออกแรงกด ลักษณะแรงที่กดจะต้องแรงเร็วคล้ายกระแทก ทิศทางที่กดต้อง • ไม่เอียงซ้ายหรือขวา แต่ต้องดันขึ้นมาตรงกลาง โดยจะกดกระแทกติดต่อกัน 6-10 ครั้ง • สังเกตว่ามีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา • ในปากหรือสามารถเป่าลมจนเห็นว่า • ทรวงอกของเด็กยกขึ้นได้หรือไม่ ถ้าไม่ • เห็นสิ่งแปลกปลอมและไม่สามารถเป่า • ลมจนทำให้ทรวงอกยกขึ้นได้ ให้ทำซ้ำ • จนกว่าจะเป่าลมได้สำเร็จ
ข้อควรระวังคือการเอานิ้วมือล้วงสิ่งแปลกปลอมออกมาจากลำคอของเด็กนั้น ผู้ช่วยเหลือต้องเห็นสิ่งแปลกปลอมนั้นเสียก่อน เพราะถ้าเห็นไม่ชัดแล้วเอานิ้วมือเข้าไปล้วงอาจทำให้ • สิ่งแปลกปลอมนั้นพลัดลงไปในหลอดลมอีก ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันอีกครั้ง • ในเด็กที่หมดสติและไม่หายใจ ผู้ช่วยเหลือจะต้องใช้นิ้วมือดันลิ้นและขากรรไกรล่าง • ให้ยกขึ้น เพื่อไม่ให้ลิ้นตกไปด้านหลังคอและทำให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างและช่วยลด • อาการอุดตันไปได้บ้างและถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมอุดอยู่ ก็สามารถจะล้วงออกมาได้
ความผิดพลาดที่พบบ่อยในการช่วยหายใจ • 1. ดันหน้าผากให้แหงนไม่มากพอ • 2. บีบจมูกไม่แน่น • 3. ผู้ช่วยเป่าลมหายใจเข้าไม่เต็มที่ • 4. ไม่ดูและฟังผู้ป่วยหายใจออก • 5. ประกบปากผู้ป่วยไม่แน่น ทำให้ลมรั่วออกได้ ในกรณีผู้ป่วยเด็กเล็กหรือทารก • ควรประกบทั้งปากและจมูกให้แน่น
ความผิดพลาดที่พบบ่อยในการนวดหัวใจความผิดพลาดที่พบบ่อยในการนวดหัวใจ • 1.ลงน้ำหนักที่หัวเข่าไม่มั่นคง • 2. งอข้อศอก ทำให้แขนไม่เหยียดตึง • 3. แขนของผู้ช่วยเหลือไม่ตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย • 4. นิ้วมือจิกหน้าอกผู้ป่วย • 5. ฝ่ามือไม่ประทับแนบกับหน้าอกผู้ป่วยตลอดเวลา • 6. กดไม่เป็นจังหวะที่แน่นอนและกระตุก
ผลแทรกซ้อนจากการช่วยชีวิต ผลแทรกซ้อนจากการช่วยชีวิต • ผลแทรกซ้อนจากการช่วยหายใจ • 1. ปอดอักเสบจากการสำลักเศษอาหาร อาเจียน ป้องกันได้โดย จับผู้ป่วยนอนตะแคง ล้วงเอาสิ่งที่อยู่ในช่องปากของผู้ป่วยออกให้หมดก่อนแล้วจึงจับผู้ป่วยนอนหงายเพื่อทำการช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป • 2. ท้องอืด เกิดจากมีลมในกระเพาะอาหารมากเกินไป สาเหตุเกิดจากเป่าลมหายใจเข้าผู้ป่วยเร็วหรือแรงเกินไป และทางเดินหายใจบางส่วนอุดตัน • การป้องกัน • 1. เปิดทางเดินหายใจให้เพียงพอ • 2. เป่าลมหายใจเข้าผู้ป่วยแรงเท่าที่จะทำให้ปอดขยายตัว • 3. เว้นช่วงจังหวะการหายใจให้พอดี อย่าเร็วเกินไป • 4. ในเด็ก ให้ใช้วิธีประกบปาก ครอบทั้งปากและจมูกของเด็ก
ผลแทรกซ้อนจากการกดหน้าอกผู้ป่วยไม่ถูกวิธี ผลแทรกซ้อนจากการกดหน้าอกผู้ป่วยไม่ถูกวิธี • 1.ทำให้การช่วยชีวิตไม่ได้ผลเต็มที่ • 2.อาจทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดซี่โครงหัก ปอดฉีก หรือตับ ม้าม แตก • การป้องกัน • 1. วางมือให้ถูกต้องตรงตำแหน่ง • 2. อย่าใช้นิ้วจิกบนหน้าอกผู้ป่วย • 3. อย่าวางนิ้วบนซี่โครงผู้ป่วย • 4. กดมือลงบนหน้าอกตรง ๆ และให้แขนตั้งฉากกับหน้าอกผู้ป่วย • 5. อย่ากดหน้าอกลึกเกินไป • 6. ควรกดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง ทำด้วยความนุ่มนวล และเป็นจังหวะ
ระบบบริการส่งต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉินระบบบริการส่งต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน • 1.การแจ้งขอความช่วยเหลือ แจ้งโดยใช้โทรศัพท์หมายเลขฉุกเฉิน ดังนี้ • 1.1หน่วยแพทย์กู้ชีวิต กทม. 1554 • 1.2ศูนย์อุบัติภัย กทม. 1555 • 1.3ศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลกรมตำรวจ 1691 • 1.4ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข 1669 • 1.5หน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจ 191 • 1.6หมายเลขโทรศัพท์ของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่เกิดเหตุ
รายละเอียดข้อมูลที่จำเป็นต้องแจ้ง ในขณะที่ขอความช่วยเหลือ ให้ตั้งสติให้ดี • พูดให้ชัดเจน อย่าตื่นเต้น • 2.1 เกิดเหตุอะไร มีผู้บาดเจ็บกี่คน แต่ละคนมีอาการอย่างไร • 2.2 สถานที่เกิดเหตุ บอกที่ตั้งหรือจุดที่สังเกตได้ง่าย • 2.3 ได้ให้การช่วยเหลือขั้นต้นไปแล้วอย่างไร • 2.4 ชื่อผู้แจ้งที่ขอความช่วยเหลือ และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับไปได้ • 2.5 หลังจากแจ้งขอความช่วยเหลือแล้วกลับไปให้การช่วยเหลือตามอาการที่ • บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย จนกว่าบุคลากรทางการแพทย์จะเดินทางมาถึงที่ • เกิดเหตุ
เอกสารอ้างอิง • Hazinski MF, Chameides L. Instructor’s manual. Pediatric • Basic Life Support. In : Hazinski MF, Chameides L. American Heart Association, Dallas, Texas, 1997-99. • 2. คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น, สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย • กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 3, 2545. • 3. หลักสูตรและคู่มือวิทยากรการปฐมพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ กลุ่มควบคุมป้องกัน • การบาดเจ็บและปัญหาจากสุรา, สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. บริษัทซินเนียครีเอท จำกัด กรุงเทพ 2545.
คณะผู้จัดทำ • 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรณู พุกบุญมี ที่ปรึกษา • 2. นางสุภารัตน์ ไวยชีตา ประธาน • 3. นางธิติดา ชัยศุภมงคลลาภ กรรมการ • 4. นางสาววรรณา คงวิเวกขจรกิจ กรรมการ • 5. นางอภิญญา สุมนะไพศาล กรรมการ • 6. อาจารย์อัญชลี ประเสริฐ กรรมการ • 7. นางศรีวรรณา ทาสันเทียะ กรรมการ • 8. นางสาวดวงฤทัย บัวด้วง กรรมการ • 9. นางสาวภาวิณี ชาญวิชัย กรรมการ • 10. นางสาวจิราภรณ์ ปั้นอยู่ กรรมการ • 11. นางสาวศศิธร ไพศาลเจริญพงศ์ กรรมการ