1 / 34

ความสัมพันธ์ระหว่าง กฎหมายระหว่างประเทศ กับ กฎหมายภายใน (Municipal Law ) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชีย

ความสัมพันธ์ระหว่าง กฎหมายระหว่างประเทศ กับ กฎหมายภายใน (Municipal Law ) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้อง. ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) ทฤษฎีเอกนิยม (Monism) ทฤษฎีประสาน (Co-ordination theory). ทฤษฎีทวินิยม (Dualism).

everley
Download Presentation

ความสัมพันธ์ระหว่าง กฎหมายระหว่างประเทศ กับ กฎหมายภายใน (Municipal Law ) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชีย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศ กับ กฎหมายภายใน (Municipal Law) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. ทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้องทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้อง • ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) • ทฤษฎีเอกนิยม (Monism) • ทฤษฎีประสาน (Co-ordination theory)

  3. ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในเป็นสองระบบกฎหมายที่แยกจากกัน โดยไม่มีผลต่อกันและกัน และไม่อาจกล่าวได้ว่าระบบหนึ่งมีสถานะอยู่เหนืออีกระบบหนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่รัฐยอมรับ IL เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายใน การกระทำดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นจากความยินยอมของรัฐในฐานะผู้ทรงอำนาจสูงสุดในระบบกฎหมายภายใน

  4. ทฤษฎีเอกนิยม (Monism) • กฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายในอยู่ร่วมกันเป็นระบบเดียวกันโดยมิได้แยกจากกัน โดยกฎหมายระหว่างประเทศมีสถานะสูงกว่ากฎหมายภายใน • ทฤษฎีของ Lauterpacht (กฎหมายธรรมชาติ) และ Kelsen (สำนักปฎิฐานนิยม)

  5. ทฤษฎีเอกนิยมของ Lauterpacht • ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ • หน้าที่ของกฎหมายคือการสร้างความผาสุกแก่มวลมนุษย์ เช่น กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายมนุษยธรรม ฯลฯ • กฎหมายระหว่างประเทศคือหนทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นได้มากกว่ากฎหมายภายในที่ขึ้นอยู่กับอำนาจของรัฐาธิปัตย์

  6. ทฤษฎีเอกนิยมของ Kelsen • ใช้ทฤษฎี Grundnorm หรือ Basic Norm ในการอธิบาย • กฎทั้งหลายมีสภาพบังคับโดยอาศัยอำนาจจากกฎ หรือ norm ที่อยู่สูงกว่า • กฎหมายระหว่างประเทศ คือ Basic Norm ที่อยู่สูงสุดใน Hierarchy of norms เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งรับรองความเท่าเทียมกันของรัฐ และอำนาจอธิปไตยของรัฐ ทำให้ norm ทั้งหลายในระบบกฎหมายภายในคงอยู่ได้

  7. ทฤษฎีประสานของ Fitzmaurice • IL กับ กฎหมายภายในเป็นสองระบบที่แยกจากกัน ต่างใช้บังคับได้เต็มที่ในขอบเขตพื้นที่ของระบบกฎหมายนั้น • ต่างไม่มีสถานะสูงกว่ากันและกัน • แต่เมื่อรัฐละเมิดพันธกรณีในกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐจะต้องรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมิอาจยกกฎหมายภายในขึ้นมาอ้างให้ไม่ต้องรับผิด

  8. บทบาทของกฎหมายภายในที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศบทบาทของกฎหมายภายในที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ • รัฐไม่อาจอ้างกฎหมายภายในมาเป็นเหตุให้ตนเองไม่สามารถปฎิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศได้ • อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 • มาตรา 27 รัฐไม่อาจอ้างกฎหมายภายในมาเป็นเหตุให้ตนไม่สามารถปฎิบัติตามสนธิสัญญาที่ตนเองได้ให้ความเห็นชอบแล้วได้ • มาตรา 46 (1) รัฐไม่อาจยกข้อเท็จจริงว่า การให้ความเห็นชอบแก่สนธิสัญญาขัดกับกฎหมายภายในอันจะทำให้สนธิสัญญานั้นเป็นโมฆะได้

  9. คดีตัวอย่าง • Alabama Claims Arbitrationค.ศ. 1872 ระหว่าง U.S. กับ U.K. อังกฤษปล่อยให้เอกชนต่อเรือให้แก่ฝ่ายใต้ในสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการทำผิด IL ในเรื่อง “ความเป็นกลาง” (Law of Neutrality) อังกฤษไม่อาจอ้างว่าไม่มีกฎหมายภายในห้ามเอกชนเพื่อทำให้ตนไม่ต้องรับผิด • Cameroon v. Nigeriaค.ศ. 2002 ICJ ไนจีเรียไม่อาจอ้างได้ว่าเนื่องจากไนจีเรียยังไม่ได้ให้สัตยาบันแก่ ความตกลงที่กระทำไว้กับ Cameroon เมื่อ ค.ศ. 1975 ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับกับไนจีเรีย

  10. คดีตัวอย่าง Lockerbie Case (Libya v. U.K.) (1992) ICJ ข้ออ้างว่าไม่มีกฎหมายภายในให้อำนาจแก่ลิเบียในการส่งบุคคลที่เป็นคนชาติเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอของสหรัฐฯและอังกฤษ ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ (หลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงมีมติให้ลิเบียต้องส่งผู้ต้องหาในคดี Lockerbie ไปให้อังกฤษ และ ให้ใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อลิเบียหากไม่ปฏิบัติตาม)

  11. สถานะของกฎหมายระหว่างประเทศในกฎหมายภายในสถานะของกฎหมายระหว่างประเทศในกฎหมายภายใน • ทฤษฎีการแปลง (doctrine of transformation) IL และกฎหมายภายในเป็นสองระบบที่แยกจากกัน ก่อนที่ IL จะมีผลใช้บังคับภายในรัฐได้ จะต้องแปลง IL ให้เป็นกฎหมายภายในก่อนโดยการตรา ก.ม. รองรับ 2. ทฤษฎีผนวก (doctrine of incorporation) IL เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายในโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องรอให้ตรากฎหมายภายในออกมารองรับ

  12. การปฎิบัติของรัฐ • การปฎิบัติค่อนข้างหลากหลาย แต่ค่อนมาทาง transformation doctrine • มีการปฎิบัติต่อ customary international law กับ สนธิสัญญาแตกต่างกัน • หาก IL ขัดกับกฎหมายภายใน มีแนวโน้มที่จะยึดตามกฎหมายภายใน

  13. การปฎิบัติของ U.K. • ศาลมีธรรมเนียมปฎิบัติว่า กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายใน • Chung Chi Cheung v. R (1939)House of Lords IL เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายใน แต่ต้องไม่ขัดกับกฎหมายภายในทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และคำพิพากษาของศาล

  14. การปฎิบัติของ U.K (2) Trendtex Trading Corporation v. Central Bank of Nigeriaค.ศ. 1977 • ศาลอุทธรณ์ยึดหลัก incorporation doctrine • กฎหมายระหว่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายใน โดยไม่ต้องรอให้ House of Lords วางบรรทัดฐานเป็นคำพิพากษาก่อน หลักการเดินตามคำพิพากษา (precedent หรือ stare decisis) ไม่อาจนำมาใช้กับ IL ได้

  15. การปฎิบัติของ U.K ต่อสนธิสัญญา • ไม่มีผลเป็นกฎหมายภายในโดยอัตโนมัติ • เหตุผลคือ ไม่ต้องการให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออกกฎหมายแทนฝ่ายนิติบัญญัติ • ต้องตรากฎหมายภายในรองรับเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีสนธิสัญญาที่มีผลเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายใน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของเอกชน ก่อให้เกิดพันธกรณีด้านการเงิน ยกดินแดนให้แก่รัฐอื่น ฯลฯ

  16. คดี Parlement Belge(1879) ข้อตกลงระหว่าง U.K. และ กษัตริย์ Belgium ว่าเรือของกษัตริย์เบลเยี่ยมจัดอยู่ในประเภทที่จะได้รับความคุ้มกัน (immunity) เหมือนเรือรบ ศาลอังกฤษ ตัดสินว่า ข้อตกลงที่ยังมิได้มีการตรากฎหมายภายในรองรับจะนำมาใช้บังคับไม่ได้

  17. การปฎิบัติของสหรัฐอเมริกาการปฎิบัติของสหรัฐอเมริกา • จารีตประเพณีระหว่างประเทศถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของรัฐบาลกลาง (federal law) • คำวินิจฉัยของศาลรัฐบาลกลาง (federal courts) เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศมีผลผูกพันศาลมลรัฐ

  18. การปฎิบัติของสหรัฐอเมริกา (2) • หาก IL ขัดกับกฎหมายภายใน ให้ยึดกฎหมายภายในเป็นหลัก • ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีละเมิดเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กฎหมายมนุษยธรรม การทรมาน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ตาม Alien Tort Claims Act ค.ศ. 1789)

  19. การปฎิบัติของสหรัฐอเมริกา (3) Art.6 ของ US Constitution “บรรดาสนธิสัญญาที่รัฐบาลสหรัฐฯได้กระทำ ถือเป็นกฎหมายสูงสุด ที่ศาลทุกมลรัฐต้องนำไปบังคับใช้ ไม่ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของมลรัฐจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ตาม”

  20. การปฎิบัติของ U.S. ต่อสนธิสัญญาในทางปฎิบัติ แยกสนธิสัญญาออกเป็น 2 ประเภท • สนธิสัญญาที่มีผลใช้บังคับได้เอง โดยไม่ต้องรอให้ตรากฎหมายภายใน (self-executing treaties) • สนธิสัญญาที่ไม่มีผลใช้บังคับได้เอง ต้องตรากฎหมายภายในรองรับก่อน (non-self-executing treaties)

  21. การแยกระหว่าง self-executing และ non-self-executing treaties • หลักในการจำแนกไม่ชัดเจนเสมอไป • สนธิสัญญาที่มีประเด็นที่ต้องตัดสินใจทางการเมือง การได้หรือเสียดินแดน หรือก่อพันธกรณีทางการเงิน มักเป็น non-self-executing treaties คดี Sei Fujii v. Californiaค.ศ. 1952 Supreme Court of California • บทบัญญัติในกฎบัตรสหประชาชาติที่กำหนดให้รัฐสมาชิกมีหน้าที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฎิบัติไม่ใช่ self-executing treaties

  22. การปฎิบัติของประเทศอื่นๆการปฎิบัติของประเทศอื่นๆ • ประเทศในกลุ่มคอมมอนลอว์ เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย ปฎิบัติคล้ายอังกฤษ • ประเทศกลุ่ม civil law เช่น เยอรมันี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ฯลฯมีการปฎิบัติหลากหลาย ยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้นหากมีรัฐธรรมนูญฯบัญญัติเรื่องนี้ และมีลักษณะเป็นสหพันธ์

  23. การปฎิบัติของเยอรมันีการปฎิบัติของเยอรมันี • สนธิสัญญามีสถานะอยู่เหนือกฎหมายภายใน และมีผลโดยตรงในการก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อผู้อยู่อาศัยในดินแดนของสหพันธ์ แต่จะบังคับใช้สนธิสัญญาในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อรัฐธรรมนูญมิได้ • สนธิสัญญาที่กำหนดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในสหพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายของรัฐบาลกลาง จะต้องตราเป็นกฎหมายโดยความเห็นชอบจากองค์กรที่มีอำนาจ

  24. การปฎิบัติของเนเธอร์แลนด์การปฎิบัติของเนเธอร์แลนด์ • สนธิสัญญาจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนที่จะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ • สนธิสัญญาที่ขัดกับรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงสองในสามของสมาชิกรัฐสภา • กฎหมายภายในจะใช้บังคับไม่ได้ หากว่าการบังคับใช้ก่อให้เกิดผลที่ขัดกับสนธิสัญญา หรือมติที่ออกโดยองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันเนเธอร์แลนด์ • จารีตประเพณีระหว่างประเทศมีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับกฎหมายภายใน แต่กรณีที่ขัดแย้งกัน ให้ยึดกฎหมายภายในเป็นหลัก

  25. การปฎิบัติของฝรั่งเศสการปฎิบัติของฝรั่งเศส • สนธิสัญญาที่ให้สัตยาบันแล้ว มีผลเมือนเป็นกฎหมายภายใน • หากเป็นสนธิสัญญาที่มีความสำคัญ เช่น ก่อให้เกิดพันธกรณีทางการเงิน หรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายใน ต้องตรากฎหมายโดยรัฐสภาออกมารองรับก่อนการให้สัตยาบัน • สนธิสัญญาที่ได้รับความเห็นชอบแล้วมีผลลบล้างกฎหมายภายใน แต่รัฐสมาชิกอื่นต้องปฎิบัติตามพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาเช่นกัน

  26. บทสรุปการปฎิบัติของรัฐบทสรุปการปฎิบัติของรัฐ • ไม่อาจยึดทฤษฎีทวิยม หรือเอกนิยมอย่างใดอย่างหนึ่ง • บางประเทศยอมรับให้สนธิสัญญามีผลบังคับใช้เสมือนกฎหมายภายใน แต่บางประเทศกำหนดให้ต้องตรา ก.ม. รองรับเสียก่อน • บางประเทศยอมให้สนธิสัญญามีสถานะอยูเหนือกฎหมายภายใน • ไม่อาจสรุปได้ว่า IL อยู่เหนือ ก.ม. ภายใน

  27. ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายประชาคมยุโรปกับกฎหมายภายในของรัฐสมาชิกความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายประชาคมยุโรปกับกฎหมายภายในของรัฐสมาชิก • Regulations • มีผลบังคับใช้โดยตรงในรัฐสมาชิก โดยไม่ต้องตรากฎหมายภายในออกมารองรับ • Directives • กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาให้รัฐสมาชิกดำเนินการ โดยออกเป็นกฎหมาย หรือระเบียบภายในเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

  28. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 224 “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออก พ.ร.บ. เพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา”

  29. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550มาตรา 190 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

  30. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550มาตรา 190 (ต่อ) หนังสือสัญญาใดมีบทบัญญัติเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว

  31. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550มาตรา 190 (ต่อ) ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

  32. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550มาตรา 190 (ต่อ) เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฎิบัติตามหนังสือสัญญาก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม

  33. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550มาตรา 190 (ต่อ) ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้าหรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฎิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฎิบัติตามหนังสือสัญญานั้น และประชาชนทั่วไป ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด

  34. คำถามและข้อสังเกตบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 190 • มีผลบังคับย้อนหลังหรือไม่ เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับจีน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น • กำหนดเงื่อนไขให้ฝ่ายบริหารมากไปจนขาดความคล่องตัวและความยืดหยุ่นหรือไม่ • จะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับภาคประชาสังคมเพิ่มขึ้นหรือไม่

More Related