190 likes | 369 Views
การรวมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร: กรณีศึกษาเรื่องยางพาราและข้าวของไทย (Export Cooperation in Agriculture: A case Study of Rubber and Rice in Thailand ). วิโรจน์ ณ ระนอง ศรชัย เตรียมวรกุล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. หัวข้อนำเสนอ. ความเป็นมา ทฤษฎีเบื้องหลัง กรณีศึกษาเรื่องยางพารา
E N D
การรวมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร: กรณีศึกษาเรื่องยางพาราและข้าวของไทย(Export Cooperation in Agriculture: A case Study of Rubber and Rice in Thailand ) วิโรจน์ ณ ระนอง ศรชัย เตรียมวรกุล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
หัวข้อนำเสนอ • ความเป็นมา • ทฤษฎีเบื้องหลัง • กรณีศึกษาเรื่องยางพารา • บทบาทของ INRO และ TRC • ความร่วมมือเรื่องข้าว • ข้อพิจารณา
ความเป็นมา • คิดกันมานาน • ทำกันมาบ้าง • แทบทุกรัฐบาลเห็นด้วย • แต่รัฐบาลนี้ดูเอาจริง และระบุว่าจะใช้เป็นมาตรการหลัก • ความคาดหวังสูง (ราคายางไม่ต่ำกว่า 30 บาท ราคาข้าวสูงขึ้น 30%)
ทฤษฎีเบื้องหลัง • deterioration of terms of trade ที่เกิดจากอำนาจต่อรองที่ต่างกันของ ปท. พัฒนาแล้ว กับ ปท. กำลังพัฒนา • ปลาใหญ่กินปลาเล็ก (ตปท. กดราคาซื้อ ผู้ส่งออก/พ่อค้ากดราคาเกษตรกร) • นัยของทฤษฎีปลาใหญ่กินปลาเล็ก • เวลาส่งออก ผู้ส่งออกไทยมีการแข่งขันกันมาก (“แย่ง order”) จึงตกเป็นเบี้ยล่างให้ผู้ซื้อกดราคาลงมาเรื่อยๆ • แต่ในการซื้อสินค้าภายในประเทศ ผู้ส่งออกกลับสามารถ “ฮั้ว” กันกำหนดราคาได้ (คำถาม: แล้วทำไมไม่ทำตอนส่งออกด้วย?)
ภาคปฏิบัติของทฤษฎีปลาใหญ่กินปลาเล็กภาคปฏิบัติของทฤษฎีปลาใหญ่กินปลาเล็ก • หลายรัฐบาลที่เชื่อว่าผู้ส่งออก/พ่อค้าร่วมกัน “กดราคา” กับเกษตรกร นอกจากจะไม่ได้ใช้มาตรการ “ลดอำนาจการผูกขาด” ของพ่อค้าแล้ว กลับส่งเสริมให้พ่อค้ารวมตัวกันแทน • บางรัฐบาลเคยบังคับให้ผู้ส่งออกมาร่วมประชุมกันเพื่อกำหนดราคาข้าวส่งออก และประกาศว่าจะไม่ออกใบอนุญาตส่งออกให้ผู้ที่ขายต่ำกว่าราคานี้
รัฐบาลเชื่อว่า เมื่อพ่อค้าสามารถรวมตัวกันขายข้าวไป ตปท. ได้ราคาดีขึ้น พ่อค้าที่แต่เดิมเคยมีอำนาจเหนือเกษตรกรก็จะมีมุทิตาจิตเลิกกดราคากับเกษตรกร • การรวมตัวในระดับประเทศก็ดีอยู่ แต่ถ้าจะให้ดีขึ้นก็ควรรวมตัวกับผู้ผลิตรายอื่นๆ (ซึ่งเป็นประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย)
การรวมตัวระหว่างประเทศการรวมตัวระหว่างประเทศ • Cartel เช่น OPEC (กำหนดราคา และ จำกัดการผลิต) • ได้ผลพอสมควร ถึงแม้ว่าปัจจุบันสัดส่วนการผลิตเพียง 40% (สัดส่วนน้ำมันสำรองมากกว่า 3 ใน 4 ) • UNCTAD ปลาย 1970’s เสนอให้ประเทศผู้ส่งออกและนำเข้ารวมตัวกันเป็นองค์กรรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร 18 ชนิด • ISO (S=Sugar) เคยพยายามกำหนดโควตาการผลิต/ส่งออกน้ำตาลของประเทศต่างๆ แต่ ปัจจุบันเหลือแต่บทบาทด้านวิชาการ/ข้อมูล • INRO (NR=Natural Rubber) ล้มหลังจากไทยถอนตัวในปี 2542
กรณีศึกษาที่ 1 ยางพารา • ยางพาราต่างกับสินค้าเกษตรอื่นตรงที่ไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก (ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีผลผลิตรวมกันสองในสามของโลก) • การใช้ยางมักผสมยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ให้ได้คุณสมบัติต่างๆ ที่ต้องการ (สัดส่วนการผสมเปลี่ยนแปลงได้ประมาณ 10%) • สัดส่วนการใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปขึ้นกับเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงราคาของยางทั้งสองประเภท • ปัจจุบันสัดส่วนของยางธรรมชาติที่ใช้อยู่ตกประมาณร้อยละ 40 ถ้าสัดส่วนนี้ลดกลับไปเป็นเหลือร้อยละ 30 (เหมือนเมื่อยี่สิบปีก่อน) ปริมาณการใช้ยางธรรมชาติก็อาจลดลงถึงหนึ่งในสี่
การดำเนินการของ INRO • เน้นการรักษาเสถียรภาพราคา (ลดความผันผวนของราคา) • ระดมเงินจากประเทศผู้ส่งออกและผู้นำเข้าฝ่ายละครึ่ง (ตามสัดส่วนการส่งออกหรือนำเข้า) • กองทุนกำหนดราคาอ้างอิง (อิงแนวโน้มราคาในอดีต) เพื่อนำมากำหนดราคาที่จะซื้อหรือขาย • ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่าที่กำหนด และขายเมื่อราคาสูงกว่ากำหนด (รูปที่ 1)
รูปที่ 1 การกำหนดระดับราคาต่างๆ ของ INRO เพื่อใช้แทรกแซงตลาด • ราคาประกันสูงสุด (Upper Indicative Price) • ราคาที่ต้องขาย (Upper Trigger Action Price) บวกจากราคาเสถียรภาพร้อยละ 20 • ราคาที่อาจขาย (Upper Intervention Price) บวกจากราคาเสถียรภาพร้อยละ 15 • ราคาเสถียรภาพกลาง (Reference Price) อิงสถานการณ์แนวโน้มของราคายางในตลาดโลก • ราคาที่อาจซื้อ (Lower Intervention Price) ลบจากราคาเสถียรภาพร้อยละ 15 • ราคาที่ต้องซื้อ (Lower Trigger Action Price) ลบจากราคาเสถียรภาพร้อยละ 20 • ราคาประกันต่ำสุด (Lower Indicative Price)
ผลการดำเนินการของ INRO • ช่วง INRA I (ตค.2523-30) มีกำไรเบื้องต้น เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วขาดทุน แต่เมื่อรวมรายได้จากการลงทุนและค่าปรับแล้ว INRO มีเงินเหลือมาแบ่งคืนให้สมาชิก (ไทยได้กำไร 71 ล้านบาท) • ในช่วง INRA II (ธค. 2531-38) มีกำไร (ไทยได้กำไร 90 ล้านบาท) • INRA III (กพ. 2540 – ตค. 2542) ขาดทุนเนื่องจากต้องขายยางเพื่อชำระบัญชีในช่วงยางราคาต่ำ (ไทยขาดทุน 94 ล้านบาท) • ตลอดช่วง 20 ปี ไทยจ่ายค่าบริหารรวม 75 ล้านบาท • รวมค่าใช้จ่ายหยาบๆ 8 ล้านบาทในช่วง 20 ปี (ยังไม่รวมดอกเบี้ย)
ผลการดำเนินงานของ INRO • ดึงยางออกจากตลาดในช่วงราคาต่ำและปล่อยกลับเข้ามาช่วงราคาสูง ---ราคาน่ามีเสถียรภาพมากขึ้น • มีกำไรจากกระบวนการซื้อถูกขายแพง (ยกเว้นช่วงล้มโครงการเนื่องจากการถอนตัวของไทย) • การดำเนินงานมีกติกาชัดเจนและค่อนข้างโปร่งใส
ปํญหาของ INRO • ผลประโยชน์เฉพาะหน้าที่ขัดกันระหว่างประเทศผู้ส่งออกกับผู้นำเข้า • เห็นผลไม่ชัดเจน (เพราะการซื้อทำในช่วงที่ราคาตกต่ำอยู่แล้ว ยิ่งในกรณีที่ INRO ไปซื้อยางในประเทศอื่น) • ราคายางหลังแทรกแซงอาจจะยังต่ำกว่าความคาดหวังในยุคฟองสบู่ • ไทยเริ่มแทรกแซงตลาดเองในปี 36 และมีปัญหา “ซื้อแพง ขายถูก” และไม่โปร่งใส ปี 36-42 ขาดทุนรวมกว่า 8,192 ล้านบาท
ความร่วมมือระหว่างประเทศผู้ผลิตหลัง INRO • ตั้งแต่ปี 42 รัฐบาลเริ่มเจรจากับมาเลเซีย • รมช. เกษตร (อาคม) ลงนาม MOU กับ ก. Primary Ind ของมาเลย์ • พยายามดึงอินโดมาร่วมด้วย • ได้ข้อสรุปเรื่อง TRC สมัยรัฐบาลทักษิณ • ลงนามที่อินโด สค. 45
ข้อเสนอมาตรการของ TRC (ITRCO) • ลดปริมาณการส่งออก 10% • ลด พท. เพาะปลูกปีละ 4% • ลงทุน US$ 225 ล้าน (สัดส่วนไทย:อินโดนีเซีย:มาเลเซีย 4:3:2) (สามารถสร้าง buffer stock ขนาด 300,000 ตัน) • ปัจจุบันไทยลงทุนจริง 2 ล้านเหรียญ (จะตั้งสำนักงานที่ไทย) และให้อินโดนีเซียและมาเลเซียนำสต๊อกยางมาเป็นทุนจดทะเบียนได้ • ยังไม่ชัดเจนว่าแต่ละประเทศจะ commit จริงๆ แค่ไหน และดูเหมือนว่ามีมาเลเซียประเทศเดียวที่ทำตามแนวทางของข้อตกลงนี้
ความร่วมมือในเรื่องข้าวความร่วมมือในเรื่องข้าว • พูดกันมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน โดยพยายามดึงเวียดนาม มาเป็นพันธมิตร • ต่อมาพยายามดึงประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ ในเอเชีย (หกประเทศ รวมประเทศไทย) เข้ามาร่วม • 9 ตุลาคม 45 กระทรวงพาณิชย์ของไทยจัดประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือค้าข้าวรวม 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน อินเดีย และจีน • ที่ประชุมเตรียมจัดตั้งคณะมนตรีว่าด้วยความร่วมมือค้าข้าว (CRTC) ซึ่งประกอบด้วย 3 ระดับ คือ การประชุมระดับรัฐมนตรีปีละครั้ง การประชุมหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และฝ่ายเลขานุการร่วม
ลักษณะความร่วมมือ • หารือในการกำหนดราคาข้าวร่วมกัน หลีกเลี่ยงการตัดราคา • ราคาแต่ละประเทศต่างกันตามคุณภาพและต้นทุน ตามที่แต่ละประเทศเห็นว่าเหมาะสมและคุ้มทุนของตน • ไม่ลดการผลิต (ปชก. โลกยังเพิ่ม ยังมีความต้องการ) • ไม่ลดพื้นที่เพาะปลูก • รมต. พาณิชย์ไทยเชื่อว่าความร่วมมือนี้จะทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น 30%
ข้อพิจารณา ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของ cartel • ลักษณะของสินค้า ต้องมีคุณลักษณะเฉพาะ ไม่มีสินค้าที่ทดแทนกันได้ดีที่มีราคาไม่ต่างกันมากนัก • ควบคุมผลผลิตและการส่งออกในตลาดโลกได้ดีพอสมควร • สินค้าเก็บได้นาน+ต้นทุนการกักเก็บต่ำ • ใครเป็นเจ้าของสินค้า (รัฐบาล หรือพ่อค้าและเกษตรกร) • สัดส่วนของสินค้าที่ขายในตลาดโลกต่อผลผลิตรวม ตย. ตลาดข้าวบางมากจนแทบจะทำนายไม่ได้เลยว่าการลดปริมาณการผลิตของไทย (ถ้าทำได้) จะทำให้ราคาข้าวปีนั้นสูงขึ้นหรือไม่
ถ้าเพิ่มราคาในระยะยาวได้จริงถ้าเพิ่มราคาในระยะยาวได้จริง • มีแนวโน้มว่าจะส่งออกต้องลดลง (จึงจะรักษาราคาไว้ได้) • แต่ราคาที่ดีขึ้นจะจูงใจให้ผลิตมากขึ้น ดึงราคาในประเทศให้ต่ำลง ทำให้ผู้ส่งออกมีแรงจูงใจที่จะหากำไรเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกมากขึ้น (โดยใช้วิธี “ตัดราคา”) • ถ้าจำกัดโควตาการส่งออก ราคาในประเทศก็จะตกลง (ถึงแม้ว่าจะส่งออกได้ราคาดีขึ้นก็ตาม) • ประเทศ “พันธมิตร” ก็ประสบปัญหาทำนองเดียวกัน เมื่อราคาดีขึ้นทุกฝ่ายก็มีแรงจูงใจที่จะเพิ่มผลผลิตและพยายามส่งออกเพิ่มขึ้น