1.02k likes | 2.77k Views
วิชา เพศ วิถีศึกษา เรื่อง สัมผัสดี สัมผัสไม่ดี. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรี สำโรงชนูป ถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต๓๘. นาย บุญเกิด เผือกใต้ ครูชำนาญการพิเศษ. วัตถุประสงค์การเรียนรู้.
E N D
วิชา เพศวิถีศึกษา เรื่อง สัมผัสดีสัมผัสไม่ดี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต๓๘ นายบุญเกิด เผือกใต้ ครูชำนาญการพิเศษ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถแยกได้ว่าสัมผัสใดเป็นการจงใจล่วงละเมิดทางเพศ และ สัมผัสแบบใดคือสัมผัสปกติธรรมดา 2. นักเรียนสามารถบอกวิธีจัดการกับการกระทำที่ส่อเจตนาล่วงละเมิดทางเพศ 3. บอกวิธีการป้องกันสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ 4. นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ
ลากคำต่อไปนี้วางไว้ในตารางการเรียนรู้เพื่อแยกแยะสัมผัสที่แสดงถึงความห่วงใยและสัมผัสที่มีเจตนาล่วงเกินทางเพศลากคำต่อไปนี้วางไว้ในตารางการเรียนรู้เพื่อแยกแยะสัมผัสที่แสดงถึงความห่วงใยและสัมผัสที่มีเจตนาล่วงเกินทางเพศ ทดสอบก่อนเรียน ไม่แน่ใจ ทั่วไป ผิดปกติ จับมือไปลูบคลำ ซบไหล่ ลูบไล้หัวเข่า ใช้อวัยวะเพศถูไถ ลูบคลำอวัยวะเพศ โอบไหล่ ดึงตัวเราเข้าไปกอด เอามือไปวางบนตัก จับมือไปแตะริมฝีปาก ตบไหล่เบาๆ ดึงตัวให้นั่งลงบนตัก เดินคล้องแขนคลอเคลีย ลูบหลัง ลูบไหล่ หอมแก้ม จับหน้าอก เล่นผม ลูบผม นั่งเบียด เดินเบียดเสียดสีสะโพก จุ๊บที่หน้าผาก กระซิบข้างหู จูบปาก ลูบไล้แก้ม จับมือ ใช้มือแตะหลังระหว่างเดินคู่กัน ยืนเบียดด้านหลังจนชิดตัว ดึงมือไปวางบริเวณอวัยวะเพศ เอามือพาดหลังระหว่างนั่งคู่กัน
การล่วงละเมิดทางเพศ ความหมาย การล่วงละเมิดทางเพศ หมายถึง พฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นในเรื่องเพศ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด สายตา และการใช้ท่าที รวมไปถึงการบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ การข่มขืน โดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้ถูกกระทำเป็นหลัก การกระทำใดๆ ก็ตามที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกอับอายเป็นการล่วงเกินความเป็นส่วนตัว และผู้ถูกกระทำไม่ยินยอมพร้อมใจให้ทำ ถือเป็นการล่วงละเมิดทางเพศทั้งสิ้น
ประเภทของการล่วงละเมิดทางเพศประเภทของการล่วงละเมิดทางเพศ • ๑. การล่วงละเมิดทางเพศทางคำพูด • การวิพากย์ วิจารณ์เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย ที่ส่อในทางลามก • การเล่าเรื่องตลกลามก เรื่องสองแง่สองง่าม • การตามจีบ ตามตื๊อ เกี้ยวพาราสี ทั้งๆ ที่รู้ว่าอีกฝ่ายไม่ชอบ • การพูดจาแทะโลม • การกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
ประเภทของการล่วงละเมิดทางเพศประเภทของการล่วงละเมิดทางเพศ • 2. การล่วงละเมิดทางเพศทางการกระทำที่ไม่ถูกเนื้อต้องตัว • การจ้องมองของสงวน • การโชว์ภาพโป๊ หรือภาพที่ส่อไปในทางเพศ • การแอบดูตามห้องน้ำ (ถ้ำมอง) • การแอบถ่ายภาพ (ตามห้องลองเสื้อผ้า ห้องน้ำ) • การโชว์อวัยวะเพศ • การเผยแพร่ภาพถ่ายทางอินเทอร์เน็ต • สื่อลามก • คลิปวิดีโอโป๊
ประเภทของการล่วงละเมิดทางเพศประเภทของการล่วงละเมิดทางเพศ • 3. การล่วงละเมิดทางเพศที่เป็นการกระทำที่ชัดแจ้ง • การแตะต้องเนื้อตัวที่ไม่พึงประสงค์ • การกระทำอนาจาร (การกระทำต่อเนื้อตัว หรือ • ต่อร่างกายบุคคลอื่น เช่น การกอด จูบ ลูบ คลำ • ร่างกาย เป็นการแสดงความใคร่ทางเพศ) • การขอมีเพศสัมพันธ์ • การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ • การข่มขืน
แบบฝึกหัด • นักเรียนคิดว่าเหตุการณ์ต่อไปนี้ เป็นการล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่? โตโน่ชอบดูวีซีดีหนังโป๊เป็นประจำและชวนให้เกรซเข้าไปดูในห้องด้วยกัน ไม่ใช่ ใช่
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เป็นการใช้อำนาจในเรื่องเพศ ของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่ากระทำกับผู้มีอำนาจน้อยกว่า เช่น ผู้ชายทำกับผู้หญิง ผู้ใหญ่ทำกับเด็ก หัวหน้าทำกับลูกน้อง เป็นต้น สาเหตุการล่วงละเมิดทางเพศมีความซับซ้อน แต่โดยรวมเป็นผลจากปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ของผู้กระทำ เช่น ติดสารเสพติด จนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ และจากการศึกษาพบว่า ผู้กระทำมักเป็นผู้ที่เคยถูกล่วงเกินทางเพศ หรือถูกทารุณกรรมในวัยเด็กมาก่อน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ 3. สถานที่ที่มีการล่วงเกินทางเพศ อาจเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไรก็ได้ เช่น บ้าน โรงเรียน วัด สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ห้องน้ำสาธารณะ โรงภาพยนตร์ 4. ผู้ล่วงเกินทางเพศมีแนวโน้มที่จะทำอีกจนเป็นนิสัย 5. กรณีที่เป็นคนคุ้นเคย มักจะล่วงเกินกับเด็กคนเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งมักจะเป็นผู้มีปัญหาทางอารมณ์จากความกดดัน เครียดมากผิดปกติ ชีวิตสมรสมีปัญหา ไม่สามารถสร้างสัมพันธ์กับคนวัยใกล้เคียง หรือเป็นผู้ที่มีปัญหาทางจิตโดยตรงที่ชอบมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็ก (pedophile)
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ 6. กรณีที่เป็นคนแปลกหน้ามักกระทำกับเด็กแต่ละคนเพียงครั้งเดียว มีความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติอย่างรุนแรง เกรงว่าคนวัยเดียวกันจะปฏิเสธ 7. ข้อมูลจากเด็กที่ถูกกระทำที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาล พบว่า ส่วนใหญ่ถูกกระทำจากคนใกล้ชิด คนรู้จักกัน และส่วนหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ • 8. ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศยังคงเกิดอยู่ได้เพราะ • คนในสังคมยังคิดว่าการล่วงละเมิดทางเพศมีเพียงรูปแบบเดียวคือการล่วงเกินทางการกระทำเท่านั้น • การอับอาย ไม่กล้าบอก ไม่กล้าแจ้งความ กลัวไม่ปลอดภัย กลัวอิทธิพล กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม • กฏหมาย การใช้กฏหมายยังไม่ครอบคลุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศทั้งหมด
แบบฝึกหัด นักเรียนเลือกข้อที่ไม่ถูกต้อง A. ผู้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศมักจะมีความผิดปกติทางอารมณ์ หรือติดสารเสพติด B. ผู้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศมักจะเป็นคนใกล้ชิดหรือคนที่รู้จัก C. สถานที่ที่ปลอดภัยและมีโอกาสเกิดการล่วงละเมิดทางเพศได้น้อยที่สุดคือที่บ้าน D. ผู้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศที่เป็นคนคุ้นเคยมักจะล่วงเกินทางเพศกับเด็กคนเดิม
ผลกระทบจากการล่วงละเมิดทางเพศผลกระทบจากการล่วงละเมิดทางเพศ • ผลกระทบทางกาย • ถูกฆาตกรรม อาจเริ่มจากการทะเลาะวิวาท บังคับขู่เข็ญ คุกคาม และจบลงด้วยการถูกฆาตกรรม หรือ เสียชีวิตเพราะการบาดเจ็บอย่างสาหัส • บาดเจ็บหรือพิการ เป็นผลกระทบที่มีการกระทำรุนแรงที่อาจไม่มากนัก ไปจนถึงพิการ • ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จากการท้องไม่พร้อม หรือถูกบังคับข่มขืน ที่นำไปสู่การยุติการตั้งครรภ์ • ติดโรคทางเพศสัมพันธ์รวมทั้งโรคเอดส์ ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงสูงที่มีปัญหาแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ การแท้งตามธรรมชาติ การคลอดก่อนกำหนด • ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นๆ
ผลกระทบจากการล่วงละเมิดทางเพศผลกระทบจากการล่วงละเมิดทางเพศ • ผลกระทบทางจิตใจ • ฆ่าตัวตาย ผู้หญิงที่ถูกล่วงเกินทางเพศ จากคนใกล้ชิดและไว้วางใจมากที่สุด จะมีความกดดันทางร่างกายและอารมณ์จนอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย • ปัญหาสุขภาพจิต แม้จะไม่มีร่องรอยบาดแผล แต่บาดแผลในใจมีผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ที่ต้องการการเยียวยา บางรายอาจมีผลต่อการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ
วิธีป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศวิธีป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศ 1. ก่อนจะไปที่ใดควรให้ผู้ใหญ่รับรู้ว่าจะไปไหน ไปกับใคร จะกลับเมื่อไรและอย่าเปลี่ยนจุดหมาย 2. ควรมีเพื่อนไปด้วย เพื่อความปลอดภัย 3. อย่าใจอ่อน ไว้ใจ เชื่อหรือรับของจากคนแปลกหน้า หรือคนที่ไม่น่าไว้วางใจ แม้จะมีท่าทางเป็นมิตร 4. เมื่อมีคนมาแตะต้องตัวเด็ก ไม่ควรยินยอม และออกปากห้ามเมื่อไม่ชอบสัมผัสนั้น ควรเล่าให้ผู้ใหญ่ที่ไว้ใจไดรับทราบ 5. เมื่อเกิดปัญหาให้รีบบอกผู้ใหญ่ที่ไว้ใจ แม้ในครั้งแรกจะไม่เชื่อ ต้องพยายามจนกว่าผู้ใหญ่จะรับฟัง และช่วยเหลือ 6. อย่ามองข้ามคนใกล้ตัว ภัยจากคนใกล้ตัวนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่ควรอยู่ในที่ที่มีความเป็นส่วนตัวกับเพศตรงข้าม ตามลำพังสองต่อสอง แม้เขาจะเป็นคนรัก หรือแม้แต่คนรู้จักที่ไว้ใจได้ จงอย่าไว้ใจคนง่าย ๆ แม้จะเป็นคนที่รู้จักหรือเพื่อนของแฟน
วิธีป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศวิธีป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศ 7. แต่งตัวให้เหมาะสม การแต่งกายล่อแหลม แต่งตัวโป๊ ประเภทสายเดี่ยว กระโปรงสั้น ๆ ก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมข่มขืนได้เช่นกัน ควรดูสถานที่ที่จะไปด้วยว่าเหมาะสมที่จะแต่งตัวแบบนี้หรือไม่ บางสถานที่อาจจะไม่เหมาะที่จะแต่งกายแบบนี้ เพราะจะเป็นการนำอันตรายมาถึงเราได้ 8. มีสติอยู่เสมอ เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันขึ้นมา สิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องคุมสติให้ดี อย่าตื่นกลัวซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ถ้าตั้งสติได้และวางท่าทีเฉยเมยทำเป็นไม่สนใจ หรือตีสีหน้าเฉยเมยบึ้งตึง แสดงให้เห็นว่าเราเอาจริงแน่ พร้อมทำท่าว่ามีอาวุธอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในมือ ก็ช่วยได้มาก จะทำให้อีกฝ่ายชะงักหรือเกิดความลังเล จะเป็นโอกาสให้เรามีเวลาคิดหาทางออกว่าจะเรียกร้องให้คนอื่นช่วยเหลืออย่าง ไร เพราะถ้าตั้งสติไม่ได้ คุณจะลนลานและคิดไม่ออกว่า จะช่วยตัวเองให้หลุดพ้นจากสถานการณ์คับขันตรงนั้นได้อย่างไรดี
วิธีป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศวิธีป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศ • 9. ระวังหรือหลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยงภัย • ห้องน้ำสาธารณะ • บนรถสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่ รถตู้ รถเมล์ • ในลิฟท์ • บนสะพานลอย • สวนสาธารณะ
แบบฝึกหัด • ให้นักเรียนกดปุ่มใช่หรือไม่ใช่หน้าข้อความที่ตนเห็นด้วยต่อไปนี้ ใช่ ไม่ใช่ ใช่ ไม่ใช่ ใช่ ไม่ใช่ ใช่ ไม่ใช่ ใช่ ไม่ใช่
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ • ในกรณีที่ต้องการ ดำเนินการทางกฎหมาย ได้แก่ • กลุ่มประสานงานทางศาสนาเพื่อ สังคม โทร. 433-7169,424-9173 • สภาทนายความ โทร. 281-8308,281-6463 • สมาคมส่งเสริมสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน กทม. โทร. 246-2029,245-9561,245-9701 • สำนักงานอัยการสูงสุด โทร. 222-8121-9 • มูลนิธิเพื่อนหญิง โทร. 271-1207 • ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเด็ก โทร. 412-1196,412-9833 • หน่วยงานส่วนราชการที่ให้ ความช่วยเหลือในกรณีทั่วไป • สถานีตำรวจทุกแห่ง • กองคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและ เยาวชนกรมตำรวจ โทร. 252-3892-3 • ศูนย์บริการสาธารณสุขเขตต่างๆ ในสังกัดกรุงเทพมหานครทุกแห่ง • โรงพยาบาลของรัฐ • หน่วยงานเอกชนที่ให้ความ ช่วยเหลือในกรณีทั่วไป • ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเด็ก โทร.412-1196,412-9833 • มูลนิธิเพื่อนหญิง โทร. 271-1207 • มูลนิธิผู้หญิง โทร. 433-5149 • สหทัยมูลนิธิ โทร. 252-5209 • สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี (บ้านพักฉุกเฉิน) โทร. 566-2288,241-5116 • มูลนิธิมิตรมวลเด็ก โทร. 252-6560