570 likes | 1.12k Views
การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ. กรณีศึกษา โครงการ ศุภาลัยปาร์ค @ รัชโยธิน. การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง การตรวจเช็คตำแหน่งก่อนการก่อสร้าง ขั้นตอนในการก่อสร้าง ข้อกำหนดต่างๆในการก่อสร้าง. เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง.
E N D
การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะการก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ กรณีศึกษา โครงการ ศุภาลัยปาร์ค@รัชโยธิน
การก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะการก่อสร้างฐานรากโดยเสาเข็มเจาะ • เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • การตรวจเช็คตำแหน่งก่อนการก่อสร้าง • ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ข้อกำหนดต่างๆในการก่อสร้าง
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง กล้อง Total station Tremie pipe Vibrohammer Kelly bar
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง Slurry สารละลาย Bentonite เหล็กเสริม คอนกรีต Bucket, Auger ปลอกเหล็ก Steel casing
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • กล้อง Total station ในการตรวจเช็คตำแหน่งของเสาเข็ม สามารถใช้กล้อง Theodolite หรือใช้กล้อง Total station ได้ แต่ที่เป็นที่นิยม มักจะใช้กล้อง Total station เพราะมีความสะดวก และมี function การใช้งานที่หลากหลายกว่า
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Tremie pipe ท่อ Tremie ใช้สำหรับเทคอนกรีต ลงไปในเสาเข็ม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-12 นิ้ว เชื่อมต่อกันด้วยระบบเกลียว ท่อ Tremie จะหย่อนลงไปถึงก้นหลุม เพื่อส่งคอนกรีตลงไปยังใต้หลุมและดัน สารละลายขึ้นมาทางปากหลุม
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Vibrohammer เครื่องหัวเขย่า ที่มีความถี่ในการสั่นสูงมาก จะทำหน้าที่คีบปลอก Casing และกดลงไปในดินตามตำแหน่งที่กำหนด
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Kelly bar คือก้านเจาะที่เป็นแบบ Telescopic ซึ่งสามรถเจาะลงไปในดินในแนวดิ่งได้ตรงและมีความสม่ำเสมอ ตลอดทั้งความยาวของเสาเข็ม
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Bucket และ Auger เป็นหัวเจาะที่ติดอยู่ที่ปลายก้าน Kelly bar ซึ่งใช้งานแตกต่างกัน โดยที่หัวเจาะแบบ Auger(สว่าน)จะใช้สำหรับการเจาะแบบ Dry process ในชั้นดินที่ไม่มีน้ำซึมเข้ามา และหัวเจาะแบบ Bucket (บุ้งกี๋) จะใช้สำหรับการเจาะแบบ Wet process ในชั้นดินที่มีน้ำซึมเข้ามา
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • Slurryสารละลาย Bentronite คุณสมบัติของสารละลาย Bentronite ที่ใช้ในการก่อสร้าง 1. ค่าความหนาแน่น(Density) อยู่ระหว่าง 1.02-1.1 ton/sq.m 2. ค่าความหนืด(Viscosity) อยู่ระหว่าง 30-50 s 3.ค่า PH อยู่ระหว่าง 7.5-12 4.อัตราส่วนระหว่างทราย(Sand content) ต้องไม่เกิน 6%
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • เหล็กเสริม ประเภทเหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้าง 1.เหล็กเส้นกลม(SR24) RB (6mm.,9mm.) 2.เหล็กข้ออ้อย(SD40,SD50) DB (12mm.,16mm.,20mm.,25mm.,28mm.,32mm.) *ประเภทของเหล็กที่ใช้ในงานเสาเข็ม ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • ปลอกเหล็ก (Casing) ปลอกเหล็กที่ใช้มีลักษณะ หนา 1 นิ้ว ยาว 14-15 เมตร เหล็กปลอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ดินด้านข้างเกิดการพังทลายขณะที่ทำการเจาะ และยังช่วยป้องกันแรงสั่นสะเทือนที่จะส่งผลการะทบอาคารบริเวณข้างเคียง
เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง • คอนกรีต คอนกรีตที่ใช้ในงานเสาเข็ม จะต้องมีกำลังประลัยของคอนกรีตมาตรฐานในรูปทรงลูกบาศ์ก 15*15*15 ไม่น้อยกว่า 280 ksc. ที่ 28 วัน และมีค่าการยุบตัวอยู่ที่ 15-20 ซม. โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอตแลนด์ประเภทที่ 1
ข้อกำหนดต่างๆในการก่อสร้างข้อกำหนดต่างๆในการก่อสร้าง • ค่าผิดพลาดที่ยอมให้ในแนวดิ่งของเสาเข็ม จะต้องไม่เกิน 1 ต่อ 100 ของความยาวเสาเข็ม • ระยะมากที่สุดที่ยอมให้เสาเข็มลงผิดตำแหน่งในแนวราบไม่เกิน5เซนติเมตร โดยวัดจากแกน Coordinate ทั้งสองแกน • ในขณะเทคอนกรีต ท่อTremie จะต้องอยู่ในเนื้อคอนกรีต ประมาณ 2เมตร หรือประมาณ 3-5 เมตร แล้วแต่สถานการณ์และห้ามหยุดเทเด็ดขาด • เมื่อเจาะหลุมเสาเข็มเสร็จแล้วต้องเทคอนกรีตภายในวันนั้นห้ามปล่อยทิ้งไว้ หรือหากมีเหตุสุดวิสัย ก่อนการเทคอนกรีตในหลุมเจาะต้องมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของหลุมเสียก่อน • สำหรับSlurry ที่ล้นออกมาสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้โดยต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดที่ถูกต้องเสียก่อน • ในการเทคอนกรีตต้องทำการคำนวณปริมาณคอนกรีต เพื่อตรวจสอบความลึกจริงของเสาเข็มด้วย
การตรวจเช็คตำแหน่งก่อนการก่อสร้างการตรวจเช็คตำแหน่งก่อนการก่อสร้าง • ติดตั้งกล้อง Total station ที่หมุดมาตรฐาน และทำการส่อง BS ไปที่หมุดอ้างอิง อ่านค่าและจดบันทึก จากนั้นเปิดมุมไปยังตำแหน่งของเสาเข็มต้นนั้นๆเป็นตำแหน่ง FS อ่านค่าและจดบันทึก เมื่อได้ค่า BS,FS ของตำแหน่งเสาเข็มที่จะทำการก่อสร้างจริงแล้วจึงนำมาตรวจสอบกับข้อมูล BS,FS ที่ได้จากการทำ Survey โดยตำแหน่งของเสาเข็มจะคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน5 ซ.มวัดในแนวแกน Coordinate
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • การติดตั้งปลอกเหล็ก(Casing) เมื่อระบุตำแหน่งของเสาเข็มแล้วจึงทำการลงปลอกเหล็ก โดยใช้ Vibrohammer กดปลอกเหล็กลงไปในดินตามตำแหน่งที่กำหนด เช็คระยะในแนวราบโดยคนงานจะวัดระยะจากจุดศูนย์กลางทั้งสองแนวแกน และตรวจสอบระยะในแนวดิ่งโดยจะต้องผิดพลาดได้ไม่เกิน 1ต่อ 100 ของความยาวเสาเข็ม
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • การติดตั้งปลอกเหล็ก(ต่อ) ในการที่จะทำให้ปลอกเหล็กวางได้ตรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ ใช้วิธีการปักหมุดแกนไม้ไว้ทั้งสองแกน โดยวัดออกจากปลอกเหล็ก ในที่นี้ใช้ 1.2 ม. และใช้ไม้หรือเหล็ก ทิ่มไปที่ปลอกเหล็กและดูระยะว่าได้ตามที่กำหนดหรือไม่ ให้ทำการตรวจสอบตลอดการติดตั้งเหล็กปลอก
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • นำดินออกด้วยวิธี Dry Process เมื่อลงปลอกเหล็กเสร็จเรียบร้อย จากนั้นใช้ หัวเจาะแบบสว่านAugerในการเจาะเพราะในช่วงแรก ยังไม่มีน้ำทลายเข้ามาในดินและเมื่อเจาะถึงระดับดินอ่อนหรือระดับที่น้ำสามารถเข้ามาได้ ให้ทำการเติม slurry (สารละลาย) เพื่อช่วยในการพยุงหลุม และเปลี่ยนหัวเจาะให้เป็นแบบ Bucket เพื่อทำการเจาะต่อไป
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • นำดินออกด้วยวิธี wet Process เมื่อเจาะถึงระดับดินอ่อน ให้ทำการเติม slurry (สารละลาย) ลงไปในหลุมเจาะเพื่อช่วยในการพยุงหลุม จากนั้นใช้ Bucket Type ในการเจาะเมื่อเจาะหลุมความลึกเพิ่มขึ้น ให้เติม slurry ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า2เมตรวัดจากปากหลุม และเมื่อเจาะได้ถึงระดับที่กำหนดแล้ว ก่อนที่จะทำการชัก Kelly Bar ขึ้นให้ทำความสะอาดก้นหลุมด้วย Bucket ให้แน่ใจว่าก้นหลุมมีความเรียบได้ระดับ
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ตรวจสอบรูเจาะ หลังจากชัก Kelly Bar ขึ้นทำความสะอาดก้นหลุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบรูเจาะ หาความลึกที่แท้จริงโดยใช้ลูกตุ้มน้ำหนักผูกติดกับเทปวัดที่ทำจากเหล็ก หย่อนลงไปในหลุมแล้วอ่านค่าความลึกของหลุม และตรวจสอบการพังทลายของรูเจาะ หากตรวจพบการพังทลายให้ทำความสะอาดก้นหลุมอีกครั้งจนกว่าจะเรียบร้อย
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ลงเหล็กเสริมและท่อ เพื่อเตรียมเทคอนกรีต จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการลงเหล็กเสริมและตรวจสอบเหล็กเสริมให้ตั้งฉากโดยใช้การวัดลูกดิ่งอย่างน้อยสี่จุดจากนั้น เชื่อมต่อโครงเหล็กแต่ละท่อนเข้าด้วยกันโดยใช้ยูกริ๊ปรัดและมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเสริมตรวจสอบระยะหุ้มของคอนกรีต โดยที่ในเหล็กเสริมจะมีลูกปูนที่ใช้สำหรับหนุนให้เกิดระยะหู้มและประคองเหล็กให้ทรงตัวอยู่ในรูเจาะ
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ติดตั้งท่อ Termie นำท่อ Termie ขนาด 8-10 นิ้ว ลงไปในโครงเหล็กที่เตรียมไว้ ต่อกันลงไปทีละท่อนด้วยเกลียว ส่วนปลายของท่อ จะอยู่สูงจากก้นหลุมประมาณ 50 ซม. พอที่จะให้คอนกรีตไหลออกได้สะดวก จากนั้นติดตั้งกรวยรับคอนกรีตที่ปลายท่อด้านบน
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • เทคอนกรีต เทคอนกรีตผ่าน ท่อTremie โดยก่อนการเทคอนกรีตให้เทโฟมหรือสารเคมีที่กำหนดลงไปในท่อTremie ก่อนเพื่อกั้นระหว่างSlurryกับคอนกรีต เมื่อเริ่มเท slurry จะถูกคอนกรีตดันให้ล้นออกจากปากหลุม และคอนกรีตจะเข้าไปแทนที่ ในขณะที่ทำการเท ท่อTremie จะต้องอยู่ในคอนกรีตตลอดการเทห้ามหยุดเด็ดขาด เมื่อปริมาณคอนกรีตเพิ่มขึ้นจะต้องตัดท่อ Tremie เป็นระยะๆเพื่อให้ท่ออยู่ในคอนกรีตประมาณ 2เมตร หรือ3-5เมตร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บริเวณหน้างาน จนกว่า Slurry จะถูกแทนที่ด้วยคอนกรีตจนหมด
ขั้นตอนในการก่อสร้าง • ถอนปลอกเหล็ก เมื่อเทคอนกรีตจนเต็มแล้ว ให้ถอนปลอกเหล็กขึ้นก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวโดยใช้ Vibrohammer ในการถอน ในขณะที่ทำการถอนต้องควบคุมปลอกเหล็กให้อยู่ในแนวดิ่งเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน หลังจากนั้นหลุมต้นถัดไปจะต้องอยู่ห่างจากต้นที่เสร็จแล้วเป็นระยะ6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็มและเป็นเวลา24ชั่วโมง
ระยะเวลาที่ใช้ในงานเสาเข็มระยะเวลาที่ใช้ในงานเสาเข็ม • เวลาที่ใช้ในงานเสาเข็ม นับตั้งแต่เริ่มเจาะดิน จนถึงการเทคอนกรีตเสร็จเรียบร้อย ใช้เวลา 6 ชั่วโมง/ต้น • จากข้อมูลหน้างานในหนึ่งวัน สามารถก่อสร้างเสาเข็มได้ 2 ต้นเป็นอย่างมาก เมื่อมีเครื่องจักรในการทำงาน 1 ชุด