1.07k likes | 1.65k Views
วิชา ศ. 442 นโยบายการคลัง บทที่ 1. ทำไมต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง. โดย รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มุมมองเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาล.
E N D
วิชา ศ. 442 นโยบายการคลังบทที่ 1.ทำไมต้องศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง โดย รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มุมมองเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาล • “The role of government is to create an environmentin which the entrepreneur is willing to take risk and be able to get a return on the risk taken.” • George W. Bush • “… the right public policies canfoster an environment that makes strong growth and job creation easier.” • From Kerry and Edwards “Our Plan For America”
อะไรคือบทบาทที่เหมาะสมของรัฐบาลอะไรคือบทบาทที่เหมาะสมของรัฐบาล • ทางด้านรายจ่าย: รัฐบาลควรผลิตสินค้าหรือให้บริการสาธารณะประเภทใดบ้าง • ทางด้านรายรับ: รัฐบาลจะหารายรับได้อย่างไร
4 คำถามสำคัญของเศรษฐศาสตร์การคลัง • When should the government intervene in the economy? รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไร • Howmight the government intervene? รัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไร • Whatis the effect of those interventions on economic outcomes? อะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาล • Whydo governments choose to intervene in the way that they do? ทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้น
รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรรัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไร • โดยปกติแล้ว ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์จะทำให้เกิด “ประสิทธิภาพ” ในระบบเศรษฐกิจ • เป็นการยากที่จะบอกว่าการแทรกแซงของรัฐบาลเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ โดยปกติมักจะพิจารณาจาก • ความมีประสิทธิภาพ • ความเท่าเทียม
รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรด้านความมีประสิทธิภาพรัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรด้านความมีประสิทธิภาพ • ในระบบตลาดตามปกติ ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้น ณ จุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน • ในแง่ของสินค้าสาธารณะ – การป้องกันประเทศ การทำความสะอาดถนน
รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรความล้มเหลวของตลาดรัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรความล้มเหลวของตลาด การประยุกต์ • ในปี 2544 มีประชากรมากกว่า 45 ล้านคนหรือ 75 % ของประชากรทั้งหมดที่ไม่สามารถได้รับบริการสาธารณสุขที่เพียงพอ ในปี 2545 รัฐบาลใช้งบประมาณ 32,000 ล้านบาทในการจัดทำโครงการสาธารณสุขให้กับประชาชน • การที่ประชาชนไม่ได้รับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม จะทำให้เกิดผลกระทบภายนอกทางด้านลบขึ้น (negative externalities)จากการเจ็บป่วย แต่ประชาชนอาจจะไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่น
รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรการกระจายรายได้ใหม่รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรการกระจายรายได้ใหม่ • รัฐบาลสนใจทั้งขนาดของก้อนเค้กและขนาดของเค้กที่แต่ละคนในสังคมจะได้ • สังคมมักจะให้ค่าสำหรับการที่คนจนบริโภคเพิ่มขึ้น 1 บาทมากกว่าการที่คนรวยบริโภคเพิ่มขึ้น 1 บาท • การกระจายรายได้ใหม่เป็นการโอนทรัพยากรจากคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง
รัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรด้านความเท่าเทียมรัฐบาลควรจะเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเมื่อไรด้านความเท่าเทียม • จากข้อมูลการกระจายรายได้ในประเทศไทย คน 20% รวยสุดของประเทศมีรายได้มากกว่า 50% ของรายได้ทั้งหมดในประเทศ • การกระจายรายได้ใหม่มักจะทำให้เกิดการสูญเสียประสิทธิภาพ • กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระจายรายได้ใหม่สามารถทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีจากคนรวยมากระจายให้คนจนอาจจะทำให้คนทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานน้อยลง
ดุลยภาพเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคมดุลยภาพเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม รูปที่ 1.1 ดุลยภาพตลาด P a S c P1 E P* P2 d D b Q* Q Q*
ดุลยภาพเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคมดุลยภาพเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม รูปที่ 1.1 ดุลยภาพตลาด PM Providing the first unit gives a great deal of surplus to “society.” The surplus from the next unit is the difference between the demand and supply curves. S Social efficiency is maximized at Q*, and is the sum of the consumer and producer surplus. The area between the supply and demand curves from zero to Q* represents the surplus. P* This area represents the social surplus from producing the first unit. D 0 1 Q* QM
PM S สามเหลี่ยมนี้แสดง lost surplus ต่อสังคม หรือที่เรียกว่า “deadweight loss.” social surplus จาก Q’ คือ พื้นที่นี้larger consumer and smaller producer surplus. P* การคุมราคาทำให้ปริมาณลดเหลือ Q´, และมี Excess Demand P2 D Q´ Q* QM
First Fundamental Theorem of Welfare Economics ต้องตั้งคำถามว่าปัจจัยอะไรทำให้เกิดการไม่ได้ดุลยภาพขึ้นได้ ซึ่งได้แก่ “การล้มเหลวของตลาด” • ภายใต้ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ เมื่ออุปสงค์มวลรวมเท่ากับอุปทานมวลรวม สวัสดิการสังคมจะสูงที่สุด จากรูปที่ 1.1 คือที่จุด E • ตำแหน่งใดๆ ที่นอกเหนือจากจุดการบริโภคที่ Q* จะทำให้สวัสดิการสังคมทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานต่ำกว่า E • นอกจากนี้การไม่อยู่ในดุลยภาพทำให้เกิดปัญหา deadweight loss กับสังคมขึ้นด้วย อันเป็นผลจากการที่มีการจัดสรรทรัพยากรใหม่เกิดขึ้น • การดำเนินนโยบายของรัฐบาลจึงต้องพิจารณาผลที่เกิดกับการสูญเสียของ consumer surplus และ supplier surplus ว่าเป็นอย่างไร โดยการกระจายผลที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลในสังคม ตัวอย่างการมีการควบคุมราคา (price Control) ที่ P2เกิด deadweight loss เท่ากับ P2 dEP* ซึ่งเกิดจากการควบคุมราคาทำให้เกิดการปริมาณที่สามารถนำไปใช้บริโภคได้
Second Fundamental Theorem of Welfare Economics • สังคมยอมรับการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพ หากมีการกระจายทรัพยากรที่เหมาะสมและมีการแลกเปลี่ยนที่เสรี • (Society can attain any efficient outcome by a suitable redistribution of resources and free trade) • ดังนั้นจากการพิจารณารูปที่ 1.1 ต้องดูด้วยว่าการกระจายการบริโภคระหว่างประชาชนเป็นอย่างไร • เป็นผลให้ในความเป็นจริงต้องเผชิญปัญหาการเลือกระหว่าง Equity-Efficiency Tradeoff เสมอ ซึ่งพิจารณาได้จาก Social Welfare Function ที่รวม welfare ของทุกๆ คนเข้าไว้ด้วยกัน
รัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไรรัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไร • รัฐบาลสามารถแทรกแซงตลาดได้หลายทาง • การใช้ภาษีและการให้เงินอุดหนุน โดยผ่านกลไกราคา ตัวอย่าง การประกันราคาสินค้าเกษตรของรัฐบาล • กำหนดให้เอกชนต้องผลิตสินค้าหรือบริการบางอย่าง ต.ย. นายจ้างต้องมีการประกันสุขภาพให้ลูกจ้าง
รัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไรรัฐบาลจะแทรกแซงระบบเศรษฐกิจได้อย่างไร • การให้บริการสาธารณะ ตัวอย่าง โครงการประกันสุขภาพทั่วหน้า • การให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการผลิตของภาคเอกชน ตัวอย่าง การให้สิทธิพิเศษทางภาษี (BOI) แก่ผู้ผลิตอุตสาหกรรม หรือ การให้ คูปองสำหรับการซื้อน้ำมันในราคาที่ต่ำแก่ชาวประมงรายย่อย
อะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาลอะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาล การศึกษาผลกระทบทางการคลังจะมีทั้ง “ผลทางตรง” และ “ผลทางอ้อม” • ผลทางตรงมีสมมติฐานว่า “ไม่มีการตอบสนองทางพฤติกรรม” (“no behavioral responses”) และทำการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการแทรกแซงของรัฐบาล (intended consequences) • ผลทางอ้อมเกิดจากการที่คนบางคนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการแทรกแซงของรัฐบาล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เกิด (“law of unintended consequences”)
อะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาลการขยายการประกันสุขภาพอะไรคือผลของการแทรกแซงของรัฐบาลการขยายการประกันสุขภาพ การประยุกต์ • ผลทางตรงในการมีโครงการประกันสุขภาพทั่วหน้าสำหรับประชาชน: มีคนที่ได้เข้าอยู่ในโครงการนี้ 45 ล้านคนโดยประมาณ มีต้นทุน 32,000 ล้านบาทณ เริ่มต้นโรงการ • ผลทางอ้อม: มีการเบียดออก “crowd-out” จากการประกันสุขภาพจากแหล่งอื่น เพื่อรับบริการฟรีของรัฐบาล • คำถามสำคัญ:มีประชาชนกี่คนที่มีการตอบสนองต่อโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาลในลักษณะนี้ ทฤษฎีเองไม่ได้บอกแนวทางหรือขนาดของผลกระทบที่เกิดขึ้น
ทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้นๆทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้นๆ • รัฐบาลไม่ได้เข้ามาแทรกแซงเฉพาะเมื่อมีความล้มเหลวของตลาดเกิดขึ้นหรือเพื่อการกระจายรายได้ใหม่เท่านั้น • เครื่องมือในการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy)ทำให้เราเข้าใจถึงการตัดสินใจในการเลือกนโยบายสาธารณะของรัฐบาล • ความล้มเหลวของตลาดทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด การเข้าแทรกแซงของรัฐบาลก็ก่อให้เกิดความล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน จึงอาจเกิดการแทรกแซงที่ไม่เหมาะสมขึ้นได้
ทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้นทำไมรัฐบาลถึงเลือกที่จะแทรกแซงในรูปแบบนั้น • แต่ละประเทศจะมีนโยบายสาธารณะที่แตกต่างกัน • U.S.: Private health insurance (ขณะนี้กำลังแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนมากขึ้น) • Canada: National public health insurance • Germany: Mandates private health coverage • U.K.: Free national health care
ความจริงเกี่ยวกับขนาดและการแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจความจริงเกี่ยวกับขนาดและการแทรกแซงของรัฐในระบบเศรษฐกิจ • ขนาดของรัฐบาลมักนิยมวัดในรูปของการเปรียบเทียบกับ GDP และอาจจะปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ หรือจำนวนการเพิ่มของประชากรในประเทศ
การขยายตัวขนาดภาครัฐตามปรากฎการณ์ข้ามเวลาการขยายตัวขนาดภาครัฐตามปรากฎการณ์ข้ามเวลา
กฎวิธีการใช้นโยบายการคลังกฎวิธีการใช้นโยบายการคลัง • การใช้นโยบายการคลังแม้เป็นการตัดสินใจโดยฝ่ายการเมือง แต่มีแนวทางในการบริหารการใช้นโยบายการคลังที่กำหนดเป็นกรอบกว้างให้พิจารณา • การสมดุลของงบประมาณ (Budget balance) ในแต่ละปีงบประมาณ ซึ่งอาจขยายไปสู่การกำหนดความสมดุลของประเภทรายการ อาทิ รายจ่ายประจำหรือรายจ่ายลงทุนของงบประมาณ • การกู้ยืม (Borrowing) กรอบการควบคุมคือการกู้ยืมจากธนาคารกลางของประเทศ • ภาระหนี้สาธารณะ (Public Debt) พิจารณาจากสัดส่วนของขนาดหนี้สาธารณะต่อ GDP ต้องอยู่ในขนาดที่เหมาะสม สามารถบริหารภาระหนี้สาธารณะได้ (ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในขนาดที่บริหารจัดการได้ โดยใช้ความยั่งยืนทางการคลังเป็นเครื่องมือในการกำกับ)
กฎวิธีการใช้นโยบายการคลังกฎวิธีการใช้นโยบายการคลัง • ทุนสำรองทางการคลัง (Fiscal Reserves) เป็นการกำหนดทุนสำรองเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน • กฎที่ไม่ชัดเจน (Implicit Rules) • เป็นหลักเกณฑ์อื่น ที่มีผลต่อการบริหารนโนบายการคลัง อาทิ เช่นนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น • กฎอื่นๆ เช่นการใช้จ่ายในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ การศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น หรือสัดส่วนรายจ่ายประจำ-ลงทุน
บทบาทของภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจบทบาทของภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการดำเนินนโยบายการคลังวัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการดำเนินนโยบายการคลัง • เพื่อให้เกิดผลต่อการทำงานของระบบเศรษฐกิจ • ปรับเปลี่ยนอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวม • แก้ปัญหาความล้มเหลวของตลาด • เพื่อทำให้เกิดสวัสดิการของสังคมที่สูงที่สุด (เป้าหมายสูงสุดของการดำเนินการทางเศรษฐกิจของรัฐบาล) • สินค้าสาธารณะ (Public Goods) • การผูกขาด (Monopoly) • ผลภายนอก (Externalities) • ตลาดไม่สมบูรณ์ (Imperfect market) • ข้อมูลไม่สมบูรณ์ (Imperfect market) • การไม่มีดุลยภาพ (Disequilibrium)
เป็นความคิดตั้งแต่สมัย Adam Smith ที่สังคมต้องการสินค้าและบริการบางชนิดเช่นสินค้าสาธารณะเพื่อสังคม โดยอาจใช้ทั้งมาตรการทางรายได้หรือรายจ่าย วัตถุประสงค์ของการดำเนินนโยบายการคลัง (แนวคิดเดิม) • การจัดสรรทรัพยากร (Allocation of Resources) • สินค้าสาธารณะ (Public goods) • การทำให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค (Macroeconomic Stabilization) • การจ้างงานเต็มที่ • การมีเสถียรภาพของราคา • บัญชีดุลการชำระเงินที่สมดุล • การกระจายรายได้ใหม่ (Income Redistribution) • การขยายตัวเศรษฐกิจ Economic Growth Promotion มีความหมายที่แตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยในประเทศพัฒนาแล้วจะทำให้ได้ใกล้ full employment แต่ประเทศกำลังพัฒนากำหนดได้ลำบากว่าคืออะไร ความหมายที่แตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา ในประเทศพัฒนาแล้วการกระจายรายได้ทำไห้มีการบริโภคมากขึ้นและการจ้างงานมากขึ้น แต่ประเทสกำลังพัฒนามุ่งเพื่อสร้างความเท่าเทียมและโอกาส Musgrave, Public Finance, 1959
วิธีการนำนโยบายการคลังมาใช้วิธีการนำนโยบายการคลังมาใช้ • การจัดสรรทรัพยากรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • โดยจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างภาษี ราคาของบริการสาธารณะ วิธีการก่อหนี้ สถาบันของรัฐ ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ การออม การสะสมทุน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • ความมีเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ (ระยะสั้น-ระยะยาว) • โดยจัดการเกี่ยวกับอุปสงค์มวลรวม การออม ฯลฯ • ความเท่าเทียมและความยากจน • โดยจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างภาษี นโยบายรายจ่าย การสร้างระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (social safety net)
วัตถุประสงค์ทั่วไปในการนำนโยบายการคลังมาใช้วัตถุประสงค์ทั่วไปในการนำนโยบายการคลังมาใช้ • เพื่อกำหนดการทำงานของระบบเศรษฐกิจ; • การปรับตัวของอุปสงค์มวลรวมและอุปทานมวลรวม • แก้ไขความล้มเหลวของตลาด ตัวอย่าง โครงการประกันสุขภาพทั่วหน้า การลงทุนด้านการศึกษา • เพื่อให้ได้สวัสดิการสังคมสูงสุด (เป็นเป้าประสงค์ประสงค์สำคัญที่สุดของการทำหน้าที่ของรัฐบาล) รัฐบาลไม่อาจจะจำกัดในหน้าที่ด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป
ความมีประสิทธิผลของนโยบายการคลังความมีประสิทธิผลของนโยบายการคลัง การเป็นเครื่องมือในการจัดการทางด้านอุปสงค์ (ระยะสั้น) ซึ่งผลก็ขึ้นอยู่กับ: • การตอบสนองของภาคเอกชน (ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่างๆ: การบริโภค การลงทุน การออม การนำเข้า และการส่งออก) • นโยบายในระดับมหภาค: นโยบายการเงินการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน การเคลื่อนไหวของทุน • ปัจจัยภายนอก • ความคาดหวังของสังคมและความน่าเชื่อถือของภาครัฐ
วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง (แนวคิดใหม่) • รักษาไว้ซึ่งภาวการณ์ของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (Maintain of competitive economic environment) • รักษาไว้ซึ่งการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Maintain of economic stability) • การกระจายรายได้ใหม่ (Income redistribution) • การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Environmental protection and preservation) The World Bank, The State in the Changing World:1997
แนวคิด 2 กระแส • การปล่อยให้กลไกตลาดทำงาน (Market Based Strategy) • รัฐบาลเป็นผู้ให้แนวทาง • สร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้กลไกตลาดทำงานได้ (Create market environment) • การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล (Total government control) • การรวมศูนย์การตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralized in decision making) • การมีแผนที่ไม่ยืดหยุ่น (Rigid planning)
ข้อวิจารณ์บทบาทของภาครัฐข้อวิจารณ์บทบาทของภาครัฐ • ไม่มีความจำเป็น • ไม่มีประสิทธิภาพ • ไม่เกิดผลิตภาพ (Productivity) เท่าที่ควร • ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้ดีกว่า • เกิดผลของการเบียดออก ‘Crowding out’ จากภาคเอกชน • เกิดการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Rent seeking)
ภาครัฐควรจะทำอะไร วางรากฐานทางปัจจัยพื้นฐาน • ส่งเสริมทางด้านการศึกษา • พัฒนาเทคโนโลยี • สนับสนุนให้เกิดระบบการเงินที่เหมาะสม • ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ • ป้องกันไม่ให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง • สร้างและดูแลระบบโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม “รัฐบาลในประเทศที่เกิดใหม่ (emerging countries) ต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดของตนเอง เพื่อหาระดับและคุณภาพของการลงทุนที่เหมาะสม)
การออกแบบนโยบายการคลังที่เหมาะสมการออกแบบนโยบายการคลังที่เหมาะสม ดู Heller, Peter, “Considering the IMF’s Perspective on a “Sound Fiscal Policy,” IMF Policy Discussion Paper, July 2002
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การคลังทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การคลัง • หน้าที่ของรัฐบาล: จัดสรรทรัพยากร กระจายรายได้ใหม่ และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Musgrave) • รายรับของรัฐบาล - เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าสาธารณะและให้บริการสาธารณะ - กระจายรายได้ใหม่ - ทำให้เกิดความสมดุลของเศรษฐกิจมหภาค • การหารายรับเพิ่มขึ้นของรัฐบาลมีต้นทุนเกิดขึ้น - ผลกระทบของการเก็บภาษีที่มีต่อแรงจูงใจในการทำงาน - ต้นทุนการบริหารจัดการในการจัดเก็บภาษี - การสูญเสียสวัสดิการ (welfare loss) - เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นจากภาระภาษีที่ตกอยู่กับชั้น รายได้ต่าง ๆ
รายจ่ายของรัฐบาล • หลักการทั่วไปทางทฤษฎีของนโยบายรายจ่ายสาธารณะ • รายจ่ายสาธารณะจะไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าทำให้เกิดการเบียดออกของรายจ่ายเอกชน • สินค้าและบริการสาธารณะบางประเภท (ที่ภาคเอกชนไม่ผลิต)สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้สวัสดิการของประชาชนดีขึ้น • รัฐบาลสามารถทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมได้ โดยการให้เงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนกับคนกลุ่มที่ยากจนหรือกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
รายรับของรัฐบาล • ความมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ต้องมีลักษณะการจัดเก็บภาษีดังนี้ - เป็นการเก็บภาษีสินค้าที่มีความยืดหยุ่นต่ำ - เก็บภาษีการบริโภค มากกว่าการเก็บภาษีจากแรงงานหรือทุน - มีฐานภาษีที่กว้าง • การก่อหนี้สาธารณะเป็นการชะลอการหารายรับเพิ่มขึ้นของรัฐบาลไปในอนาคต (Ricardian equivalence)
บทบาทของรัฐบาลสมัยใหม่บทบาทของรัฐบาลสมัยใหม่ • มีบทบาทในการออกกฎข้อบังคับ (regulation) ใช้นโยบายภาษี และนโยบายรายจ่ายสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของตลาด (market failure) เพิ่มความมีประสิทธิภาพ (efficiency) และการเจริญเติบโต (growth) ในระบบเศรษฐกิจ • มีบทบาทในการใช้นโยบายสาธารณะ เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมและคุ้มครองคนที่ด้อยโอกาสในสังคม • ต้องคำนึงถึงความล้มเหลวของรัฐบาลด้วย จึงต้องมีการกำหนดขนาดและบทบาทของรัฐบาลให้เหมาะสม
ตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้อง • ความแตกต่างของนโยบายและปัจจัยเชิงสถาบัน(การเมือง วัฒนธรรมกฎหมาย ฯลฯ)จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ของการใช้จ่ายของรัฐบาลที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ • World Development Report (WDR) 2004 ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ: • นโยบายจัดสรรงบประมาณและการบริหารจัดการ เช่นการใช้จ่ายป้องกันประเทศ vs. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน • ความสำคัญและการจัดลำดับชั้นของรัฐบาล • คุณภาพของการบริหารภาคสาธารณะ • ปัจจัยอื่น ๆ – บทบาทของภาคเอกชน
ข้อจำกัดของนโยบายการคลังในประเทศกำลังพัฒนาข้อจำกัดของนโยบายการคลังในประเทศกำลังพัฒนา 1. ภาคเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนามักจะอยู่นอกระบบตลาดค่อนข้างมาก(non-monetized) ทำให้การใช้มาตรการทางการคลังของรัฐบาลอาจจะไม่มีประสิทธิภาพหรือล้มเหลวได้2. ข้อมูลทางสถิติไม่ครบถ้วน เช่นรายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน การจ้างงาน เป็นต้น ทำให้ยากในการกำหนดนโยบายการคลังให้สมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพ
3. การดำเนินนโยบายทางการคลังจะไม่ประสบผลสำเร็จ ถ้าประชาชนไม่เข้าใจผลที่จะเกิดขึ้นของนโยบาย และให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ทั้งนี้เนื่องจากในประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจนโยบายที่ใช้4. มีการหลบเลี่ยงภาษีหรือการยกเว้นภาษีของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทในการพัฒนาประเทศของตนเอง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการคลัง5. การดำเนินนโยบายการคลังต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะมีการบริหารจัดการที่ไม่ดีและไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อผลของการดำเนินนโยบายการคลัง
นโยบายการคลังที่เหมาะสมนโยบายการคลังที่เหมาะสม • ดำเนินนโยบายการคลังที่เหมาะสมในระยะสั้น • การให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลาง และมีการคำนึงถึงผลในระยะยาว • ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางการคลัง (fiscal sustainability) • รัฐบาลต้องมีศักยภาพในการดำเนินนโยบายการคลังให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย • ให้ความสำคัญกับเนื้อหาโครงสร้าง (Structural Content) ของนโยบายการคลัง (ความมีประสิทธิภาพของระบบภาษี และคุณภาพของการใช้จ่ายสาธารณะ) • ให้ความสำคัญกับคุณภาพที่ดี (ธรรมาภิบาล) ในการบริหารจัดการรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล
ดำเนินนโยบายการคลังที่เหมาะสมในระยะสั้นดำเนินนโยบายการคลังที่เหมาะสมในระยะสั้น • ต้องมีความครอบคลุมครบถ้วน (Comprehensive) • สามารถวัดผลกระทบของนโยบายการคลังในการทำให้เกิดความสมดุลทางการคลังและเศรษฐกิจมหภาค • ผลของการเบียดออก (Crowding-out effects) • ผลของ Ricardian equivalence ต้องครอบคลุมทุกๆ ระดับของรัฐบาล เงินในและนอกงบประมาณ รัฐวิสาหกิจต่างๆ และแม้แต่เครื่องมือกึ่งการคลังทั้งหลาย รวมทั้งเครื่องมือที่เป็น automatic stabilizer ทั้งหลาย