160 likes | 285 Views
เร่งรัดดำเนินการ สำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูล. เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ประจำปี ๒๕๕๗ งานสารสนเทศ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม. งานสารสนเทศ. งานสารสนเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557.
E N D
เร่งรัดดำเนินการสำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูลเร่งรัดดำเนินการสำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูล เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ประจำปี ๒๕๕๗งานสารสนเทศ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม งานสารสนเทศ
งานสารสนเทศ ปีงบประมาณพ.ศ. 2557 ขอให้ทุกอำเภอบันทึกข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และปรับปรุงข้อมูลสถานที่ดำเนินกิจกรรมด้านอาหารสัตว์ (ฐปศ.๔/๗) และข้อมูลสถานที่ดำเนินกิจกรรมด้านปศุสัตว์ (ฐปศ.๔/๘) ในโปรแกรมฯ ให้เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานฯ ของหน่วยงาน ให้เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่กำหนดพร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน และถูกต้อง แม่นยำ
งานสารสนเทศ ปีงบประมาณพ.ศ. 2557 ดำเนินการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมระบบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (TH-LIFDS)ได้ที่เว็บไซต์ http://survey-c.dld.go.thตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๗หน่วยงานสังกัดปศุสัตว์เขต ๔ บันทึกข้อมูลทุกช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ส่วนช่วงเวลา Free Time สามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ บันทึกข้อมูลระหว่างวันที่ ๑ - ๗ มกราคม ๒๕๕๗ และ ๘ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๗ โดยเปิดให้ทุกหน่วยงานปรับปรุงและแก้ไขข้อมูลทุกช่วงเวลา ๒๐.๐๐-๐๘.๓๐ น. ของวันถัดไป
รายงานข้อมูลตลาดปศุสัตว์ ปี ๒๕๕๗ ขอให้ปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ รายงานข้อมูลตลาดปศุสัตว์ส่งทุกวันที่ ๕ ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ( ตัวชี้วัด ) ประจำปี ๒๕๕๗ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง สังกัดสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนมรอบที่ ๑ ( ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗ ) จะดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
สรุปการจำหน่ายสัตว์โครงการ ธคก.เพื่อแก้ไขปัญหา กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม
ผลการคัดเลือกสำนักงานปศุสัตว์อำเภอที่มีผลการปฏิบัติงานธคก.ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๗ ระดับเขต ประเภท S (ขนาดเล็ก) ชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู รองชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น สำนักงานปศุสัตว์อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ประเภท M(ขนาดกลาง) ชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร รองชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานปศุสัตว์อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
ประเภท L (ขนาดใหญ่) ชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร รองชนะเลิศ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม สำนักงานปศุสัตว์อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รายชนิดสัตว์การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รายชนิดสัตว์ จากการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ราชนิดสัตว์ ซึ่งมีผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (น.สพ.อภัย สุทธิสังข์) เป็นที่ปรึกษา และ ผอ.สสส.เป็นประธาน ตัวแทนสำนักงานปศุสัตว์เขต ๑ – ๙ ร่วมประชุมในวันที่ ๗ ก.พ. ๕๗ มติที่ประชุมดังกล่าวให้ดำเนินงานดังนี้ ๑.โครงการลดต้นทุนการผลิตสุกร มีแนวทางดังนี้ ๑.๑ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดคัดเลือกเป้าหมายเป็นฟาร์มสุกรขนาดกลาง (๑๐๐ – ๑,๐๐๐ ตัว/ฟาร์ม) จำนวน ๒ ฟาร์ม/จังหวัด ๑.๒ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดที่ดำเนินโครงการปรับระบบการเลี้ยงสุกรเพื่อการป้องกันโรค PRRS ของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยประจำจังหวัดในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ (ซึ่ง สคบ. รับผิดชอบ) ที่มีเป้าหมายในพื้นที่ ๖๙ จังหวัด จำนวน ๑๐ ฟาร์ม/จังหวัด ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการคัดเลือกฟาร์มที่สมัครใจและมีความเหมาะสมจะเข้าร่วมดำเนินการลดต้นทุนการเลี้ยงสุกรด้วยหญ้าเนเปียร์ปากช่อง ๑ ในสูตรอาหารสุกร
๒. โครงการเลี้ยงไก่ไข่ที่ไม่ใช้วัคซีนและเวชภัณฑ์ โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการคัดเลือก และสำรวจฟาร์มเกษตรกรตามแบบสำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกรที่กำหนด ๓. โครงการลดต้นทุนการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบรี ๔. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โคเนื้อและกระบือ โดยขอให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์โคเนื้อและกระบือ เน้นการเพิ่มปริมาณโคกระบือในพื้นที่ให้มากขึ้น โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากยุทธศาสตร์จังหวัด
การเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านปศุสัตว์(ภัยแล้ง)การเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านปศุสัตว์(ภัยแล้ง) เพื่อเป็นการเตรียมการสนับสนุนและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้าน ปศุสัตว์ (ภัยแล้ง) เป็นไปอย่างรวดเร็วและลดผลกระทบด้านการเลี้ยงสัตว์ที่ ประสบภัยแล้ง กรมปศุสัตว์ขอให้ดำเนินการตามนี้ ๑. จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ (ภัยแล้ง) โดยใช้แนวทาง ๒P๒R (Prevention, Preparation, Response, และ Recovery) ๒. สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ด้านเสบียงสัตว์ ด้านการดูแลสุขภาพสัตว์ และด้านอื่น ตามความเหมาะสมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ๓. รายงานผลการดำเนินการให้กรมปศุสัตว์ทราบทันที่ (โดยใช้แบบรายงาน ศปพ.๑ – ๓ )