940 likes | 1.2k Views
แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัย ของอาหาร. โดย ถาวินี จารุพิสิฐธร วันที่ 15 สิงหาคม 2551. หัวข้อที่นำเสนอ. บทสรุปผู้บริหาร บทที่ 1 คำนำ บทที่ 2 เป้าหมายของวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องดำเนินการ บทที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งในกฎหมายความปลอดภัยของอาหารของส่วนกลาง
E N D
แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยของอาหารแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยของอาหาร โดย ถาวินี จารุพิสิฐธร วันที่ 15 สิงหาคม 2551
หัวข้อที่นำเสนอ • บทสรุปผู้บริหาร • บทที่ 1 คำนำ • บทที่ 2 เป้าหมายของวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องดำเนินการ • บทที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งในกฎหมายความปลอดภัยของอาหารของส่วนกลาง • บทที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างระบบให้เข้มแข็ง • บทที่ 5 บทสรุป และข้อเสนอแนะ
บทสรุปผู้บริหาร บทที่ 1 ความเป็นมาในการจัดทำแผน ซึ่งมีแนวทางจากการวิเคราะห์ระบบความปลอดภัยในอาหาร เช่น รายงานของ National Academy of Sciences (NAS) เรื่อง Ensuring Safe Food from Production to Consumption และจากข้อคิดเห็นจากสาธารณะ บทที่ 2 ได้รายงานวิสัยทัศน์ของแผนความปลอดภัยของอาหารและสุขภาพของประชาชน สรุปเป้าหมายและวัตถุประสงค์ และกล่าวถึงการดำเนินการที่จำเป็นสำหรับระยะเวลา 5 ปีต่อไป
บทสรุปผู้บริหาร • บทที่ 3 และบทที่ 4ได้อภิปรายถึงกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรในระบบการดูแลความปลอดภัยในอาหารของสหรัฐที่ดำเนินอยู่ กรรมการได้สรุปหลักการความปลอดภัยในอาหารของประเทศไว้ 7 ประเด็นหลัก • บทที่ 5 ข้อเสนอแนะ
บทที่ 1 คำนำ • ความปลอดภัยในอาหาร : ความท้าทายของประเทศ • หน่วยงานหลักของความปลอดภัยของอาหาร FDA FSIS EPA • หน่วยงานสนับสนุน CDC ARS CSREES ERS APHIS NMFS • หน่วยงานสนับสนุนอื่นๆ NIH AMS
บทที่ 1 คำนำ • การประสานงานขององค์การ/กลไก President's Council on Food Safety Joint Institute for Food Safety Research Risk Assessment Consortium
บทที่ 1 คำนำ การประสานงานขององค์การ/กลไก • Foodborne Outbreak Response Coordinating Group • Joint Institute for Food Safety and Applied Nutrition • National Food Safety System
การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยในอาหารของส่วนกลางการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยในอาหารของส่วนกลาง ประเด็นหลักในการกำหนดทิศทาง การคุ้มครองสุขภาพของประชาชน • ระบบที่อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ • การจัดลำดับความสำคัญโดยใช้ความเสี่ยง • เน้นการป้องกัน • หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ • ทุกคนมีหน้าที่
บทที่ 2 วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และการดำเนินการ คำแถลงวิสัยทัศน์ • ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าอาหารนั้นปลอดภัย - ยุทธศาสตร์เชิงป้องกันตลอดห่วงโซ่อาหาร - การบังคับใช้กฎหมายอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และความเสี่ยง - ร่วมงานกับหุ้นส่วนทั้งในภาคสาธารณะและเอกชน - ทุกคนเข้าใจหน้าที่และรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
จุดมุ่งหมายของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องจุดมุ่งหมายของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง • เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนต้องลดสิ่งที่เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นในอาหาร • ความเจ็บป่วยที่เฉียบพลันและเรื้อรังลดลง • ใช้กฎระเบียบ การตรวจ การบังคับใช้กฎหมาย การวิจัย และการให้ความรู้ • บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และที่ได้มีการร่วมมือกัน
การประเมินความสำเร็จ • จุดมุ่งหมายสุดท้ายคือการพัฒนาสุขภาพของประชาชนโดยการควบคุมความเสี่ยงของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ยาฆ่าแมลง สารปนเปื้อนทางเคมี และสิ่งที่เป็นอันตรายทางกายภาพที่มีในสินค้าอาหาร • การสร้างมาตรการที่ถูกต้องเพื่อใช้ประเมินความสำเร็จ ตัวชี้วัดด้านสุขภาพของประชาชนโดยตรง ความเจ็บป่วย ตัวชี้วัดด้านสุขภาพของประชาชนโดยอ้อม พฤติกรรมคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
การประเมินความสำเร็จ • ปี 2005 อุบัติการณ์จากความเจ็บป่วยที่มาจากเชื้อแบคทีเรียทั่วไปที่ก่อโรคในอาหารลดลงร้อยละ 25 • ป้องกันการเพิ่มขึ้นของเชื้อดื้อยา • Healthy People 2010 • เรื่องสืบเนื่องจากการริเริ่มด้านความปลอดภัยในอาหารของประธานาธิบดี • แผนตาม พรบ.ผลลัพธ์และสมรรถนะของแต่ละหน่วยงาน
จุดมุ่งหมายที่ 1 • ระบบความปลอดภัยของอาหารของสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและการประเมินความเสี่ยง -ปัญหาความปลอดภัยของอาหารใดที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนมากที่สุด และที่ต้องการความสนใจที่มากขึ้น -เครื่องมือใหม่ชนิดใดที่จะลดและกำจัดสิ่งที่เป็นอันตรายในอาหารลงได้ -จะสามารถตรวจพบและหาสาเหตุของปัญหาความปลอดภัยของอาหารอย่างรวดเร็วได้อย่างไร - เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและสารเคมีอะไรที่สร้างความเสียหายอย่าง ยิ่งให้กับสังคม
จุดมุ่งหมายที่ 1 • ระยะสองปีสนใจ 4 ด้านต่อไปนี้ • การพัฒนาพื้นฐานของวิทยาศาสตร์โดยรวมให้มีคุณภาพเพื่อโครงการด้านความปลอดภัยของอาหาร และการสร้างขีดความสามารถในการประเมินความเสี่ยง • การพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างโครงการที่บังคับให้เป็นไปตามกฎหมายและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ • ทำการประเมินสุขภาพของประชาชนที่เป็นวิกฤติ และความเสี่ยงของความปลอดภัยของอาหาร และ • การทำความเข้าใจให้ดีขึ้นเพื่อการเปรียบเทียบความเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอันตรายจากอาหารที่แตกต่างกัน
จุดมุ่งหมายที่ 1 • Joint Institute for Food Safety Research (JIFSR) จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ 1 โดยการจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้
วัตถุประสงค์ของจุดมุ่งหมายที่ 1 วัตถุประสงค์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งด้านพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อการกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยในอาหารและการตัดสินใจในการกำกับดูแลโดยใช้งานวิจัยและการประเมินความเสี่ยงที่เข้มแข็ง • สิ่งที่ต้องดำเนินการ 1.1.1 ระบุและประสานงานในกิจกรรมการวิจัยที่มีความสำคัญซึ่ง จำเป็นในการสนับสนุนการประเมินความเสี่ยง 1.1.2 พัฒนาวิธีการประเมินความเสี่ยงแบบใหม่ 1.1.3 แน่ใจว่าใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดในการพัฒนาการ ประเมินความเสี่ยง 1.1.4 ทำการประเมินความเสี่ยงและให้มีความทันสมัยอย่าง สม่ำเสมอ
วัตถุประสงค์ของจุดมุ่งหมายที่ 2 วัตถุประสงค์ที่ 2 พิสูจน์ถึงอันตรายที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในอาหารที่เพิ่งเกิดขึ้นและมีโอกาสทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของประชาชน สิ่งที่ต้องดำเนินการ 1.2.1 พัฒนาระบบการติดตามเฝ้าระวังและการพิสูจน์โรค 1.2.2 พัฒนาวิธีการประเมินผลทางเคมีและจุลินทรีย์ 1.2.3 ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาการทดสอบที่รวดเร็ว
วัตถุประสงค์ของจุดมุ่งหมายที่ 3 วัตถุประสงค์ที่ 3 พัฒนาและปฏิบัติตามวาระการวิจัยในเรื่องการแก้ปัญหาที่อยู่บนพื้นฐานความเสี่ยงที่มีความเป็นหนึ่งเดียว โดยมีเป้าหมายในการกำจัดช่องว่างในการวิจัยที่พบ สิ่งที่ต้องดำเนินการ 1.3.1 ดำเนินการวิเคราะห์เปรียบเทียบความเสี่ยงจาก อาหารแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน 1.3.2 พัฒนาฐานข้อมูลการวิจัยที่ครอบคลุม 1.3.3 ระบุความรู้หรือวิทยาศาสตร์ที่ยังขาด
วัตถุประสงค์ของจุดมุ่งหมายที่ 4 • วัตถุประสงค์ที่ 4 ขยายขอบข่ายทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสื่อสารและการประสานงานในระดับท้องถิ่น รัฐและส่วนกลาง สิ่งที่ต้องดำเนินการ 1.4.1 ขยายขอบเขตการสื่อสารและการประสานงาน 1.4.2 เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ 1.4.3 กำหนดและระบุแผนงานที่เป็นโครงการพิเศษเพื่อ ดำเนินการ 1.4.4 พัฒนาและขยายขอบข่ายทักษะและความเชียวชาญทางวิทยาศาสตร์เพื่อทำการประเมินความเสี่ยง
วัตถุประสงค์ของจุดมุ่งหมายที่ 5 • วัตถุประสงค์ที่ 5 ประเมินประสิทธิผลของการวิจัยและการประเมินความเสี่ยงในการจัดหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและการปฏิบัติตามโครงการที่ได้วางไว้และให้ความมั่นใจสูงสุดต่อการสาธารณสุขและความปลอดภัยของอาหาร สิ่งที่ต้องดำเนินการ 1.5.1 ประเมินสถานการณ์ของระบบขณะนี้ เพื่อจัดลำดับ ความสำคัญและการจัดสรรทรัพยากร 1.5.2 ดำเนินการทบทวนทางวิทยาศาสตร์เป็นระยะๆ
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • ระบบของสหรัฐอเมริกาเพื่อการจัดการอาหารให้ปลอดภัยต้องมีประสิทธิผลตั้งแต่ฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร • งานที่สำคัญในระยะสั้น มี 6 เรื่อง - การขยายขอบข่ายการรับมือกรณีฉุกเฉิน - กำหนดลำดับความสำคัญในการตรวจตามความเสี่ยง - ปรับปรุงกิจกรรมการตรวจการนำเข้า - พัฒนาและสร้างเข้มแข็งของมาตรฐาน - ขยายขอบข่ายการติดตามและเฝ้าระวัง และ - เร่งการพัฒนาเทคโนโลยีและการนำไปใช้
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • วัตถุประสงค์ที่ 1 ระบุสิ่งที่ยังขาดในการจัดการความเสี่ยงของระบบความปลอดภัยในอาหารขณะนี้ สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.1.1 พิจารณาจากความเสี่ยงว่ามาตรฐานใดจำเป็นต้อง ดำเนินการให้เกิดความสอดคล้องกัน 2.1.2 วิเคราะห์สิ่งที่ยังขาดในระบบการจัดการความเสี่ยงด้าน
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • วัตถุประสงค์ที่ 2 พัฒนาหลักการปฏิบัติ เทคนิค และการควบคุมเชิงป้องกันและนำไปปฏิบัติ โดยใช้หลักการที่อยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง และกำหนดมาตรฐานของประเทศ รวมถึงมาตรฐานการปฏิบัติงาน เมื่อสมควร
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.2.1 สนับสนุนให้อุตสาหกรรมใช้การควบคุมเชิงป้องกัน 2.2.2 คงไว้ซึ่งมาตรฐานผลสำเร็จที่มาจากการใช้ HACCP 2.2.3 ขึ้นทะเบียนยาฆ่าแมลงตัวใหม่ และขึ้นทะเบียนอีก ครั้งสำหรับยาฆ่าแมลงที่ได้รับอนุญาตก่อนปี 1984 2.2.4 ค้นหากลยุทธ์การแสดงฉลากที่เป็นเป้าหมาย 2.2.5 เพิ่มการมีส่วนร่วมทำงานในองค์การความปลอดภัย ด้านอาหารสากล
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • วัตถุประสงค์ที่ 3 ขยายขอบเขตการติดตามสุขภาพของประชาชนและความสามารถในการรวบรวมข้อมูลอันตรายจากสินค้าอาหารที่มีต่อสุขภาพของประชาชน สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.3.1 ยกระดับความสามารถของภาครัฐในทุกระดับเพื่อ ติดตามความเจ็บป่วย 2.3.2 ขยายขีดความสามารถและทักษะความรู้ของ ห้องปฏิบัติการ 2.3.3 เพิ่มความพยายามการเฝ้าระวังติดตามที่พิเศษ
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • วัตถุประสงค์ที่ 4 ขยายและปรับปรุงการเฝ้าระวังและการสำรวจสินค้าอาหารที่มีโอกาสเกิดอันตรายในผลิตภัณฑ์ และการผลิตหรือแปรรูปให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.4.1 ขยายการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรค ยาฆ่าแมลง สารเคมีอื่น และสิ่งที่เป็นอันตรายทางกายภาพ และหลักปฏิบัติเชิงป้องกันที่มีในขณะนี้
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ต่อ) 2.4.2 ขยายการใช้ข้อมูลข่าวสาร 2.4.3 ยกระดับความสามารถในทุกระดับ 2.4.4 ปรับปรุงและสร้างความเข้มแข็งของความสามารถ ในการจัดการสำรวจ 2.4.5 สนับสนุนการพัฒนากระบวนการการรับรองระบบงานของห้องปฏิบัติการ 2.4.6 พัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการการวินิจฉัยโรคในสัตว์
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง วัตถุประสงค์ที่ 5 • ระบุความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของอาหารและการละเมิดมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารจากการตรวจและการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยของอาหารและข้อกำหนดของกฎหมายที่มีการกำหนดไว้ สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.5.1 รักษาการปฏิบัติที่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยในอาหารของสหรัฐอเมริกาสำหรับสินค้าในประเทศและสินค้านำเข้าในระดับสูงไว้
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ(ต่อ) 2.5.2 พัฒนาอย่างเต็มที่และปฏิบัติตามขอบข่ายงานการวิเคราะห์สำหรับการตรวจที่อยู่บนพื้นฐานความเสี่ยง 2.5.3 จัดลำดับการตรวจและการจัดสรรทรัพยากรในการบังคับใช้กฎหมายไปที่อาหารที่ถูกระบุจากการประเมินความเสี่ยงว่ามีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของประชาชน 2.5.4 ขยายขอบเขตความสวามารถของระบบความปลอดภัยในอาหารทั้งหมดเพื่อเฝ้าระวังและตรวจสารเคมีตกค้างที่มีความเสี่ยงสูงในอาหารที่มาจากต่างประเทศและอาหารในประเทศ ณจุดวิกฤติของห่วงโซ่อาหาร
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง วัตถุประสงค์ที่ 6 • สนับสนุนการนำแนวคิดในการปฏิบัติตามหลักการความเสี่ยง การป้องกันทีเป็นไปโดยสมัครใจเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของอาหารให้ดีขึ้น เมื่อเห็นว่าเหมาะสมโดยเป็นส่วนเสริมที่บังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.6.1 ใช้การทำงานเฉพาะกิจระหว่างหน่วยงานของส่วนกลาง ความตกลงระหว่างรัฐและส่วนกลาง และความเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างภาคสาธารณะและเอกชน เพื่อระบุ พัฒนาและนำโครงการที่ทำโดยสมัครใจ หรือเป็นการจูงใจเพื่อลดหรือป้องกันความเสี่ยง เมื่อไม่มีมาตรฐานที่บังคับตามกฎหมาย
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ต่อ) 2.6.2 ส่งเสริมการปฏิบัติที่ดีที่สุดโดยสมัครใจและโครงการการประกันคุณภาพที่พัฒนาขึ้นโดยอุตสาหกรรมและ/หรือโดยภาครัฐเพื่อป้องกันหรือลดสิ่งที่เป็นอันตราย 2.6.3 ส่งเสริมการจัดการสัตว์รบกวนแบบผสมผสาน ระบบการเกษตรแบบผสมผสานทางชีววิทยา และการปฏิบัติทางเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้ยาฆ่าแมลง 2.6.4 ค้นหาสิ่งจูงใจสำหรับอุตสาหกรรมเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของอาหารให้ดีขึ้น เช่น การให้สิทธิพิเศษในการเข้าโครงการของหน่วยงานภาครัฐในส่วนกลาง การใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือแรงจูงใจด้านการเงิน
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง วัตถุประสงค์ที่ 7 • ส่งเสริมการพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และแนวทางการป้องกันความเสี่ยงแบบใหม่ๆ และการปรับปรุงความปลอดภัยของอาหารให้ดีขึ้น สิ่งที่ต้องดำเนินการ • 2.7.1 ระบุและลดอุปสรรคต่างๆที่ขัดขวางการริเริ่มและการนำเทคโนโลยีนั้นไปใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหาร และกระตุ้นภาครัฐให้พิจารณาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาใหม่
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ต่อ) 2.7.2 ส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคนิคการวินิจฉัยและแนวทางเพื่อใช้ป้องกันในทุกระดับ เพื่อให้แน่ใจว่าปัจจัยการผลิตอาหาร เช่น น้ำและปุ๋ยไม่ส่งผลเสียต่ออาหารที่ผลิตขึ้น
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง วัตถุประสงค์ที่ 8 • บ่งชี้และรับมือต่อความปลอดภัยของอาหารที่ฉุกเฉินอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.8.1 ยกระดับความสามารถในทุกระดับ เพื่อดำเนินการสืบสวนการระบาดอันเนื่องจากอาหารและรับมือต่อเหตุการณ์นั้นอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2.8.2 สร้างความเข้มแข็งด้านการประสานงานของหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลาง รัฐ และท้องถิ่น และเพิ่มการตอบสนองต่อการระบาดที่เกิดในหลายรัฐ โดยการใช้ทีมประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านการระบาด และขยายระบบข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ต่อ) 2.8.3 พัฒนาระบบการรับมือของส่วนกลาง รัฐและท้องถิ่นที่ประสานกันอย่างกลมกลืน โดยทำตามวิธีการของประเทศที่กำหนดไว้สำหรับการเริ่มต้นและดำเนินการสืบสวนแหล่งผลิตภัณฑ์และการรียกคืนสินค้า และให้ความมั่นใจในการสื่อสารกับอุตสาหกรรมและสาธารณะอย่างพอเพียงระหว่างการเรียกคืนสินค้า 2.8.4 พัฒนาระบบการสืบย้อนกลับให้ดีขึ้นเพื่อการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่เหมาะสม โดยการขยายขอบข่ายการบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ ระบบการสืบหาร่องรอย และการเข้าถึงบันทึกต่างๆ
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • วัตถุประสงค์ที่ 9 การพัฒนาระบบเพื่อการประกันว่าอาหารที่ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศนั้นถูกผลิตขึ้นตามมาตรการความปลอดภัยของอาหารที่สหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ หรือไม่เช่นนั้นสามารถทำตามระดับการคุ้มครองสุขภาพที่กำหนดขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาเป็นผลสำเร็จ
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.9.1 สร้างความเข้มแข็งในการประเมินระบบความปลอดภัยของต่างประเทศและจัดการประเมินระบบการควบคุมของต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาว่าต่างประเทศจะสามารถปฏิบัติตามระดับการคุ้มครองสุขภาพที่สหรัฐอเมริกากำหนดขึ้นสำหรับอาหารที่ผลิตในประเทศหรือไม่ 2.9.2 ประสานงานและให้ความสนใจกับการพัฒนานโยบายด้านความปลอดภัยของอาหารในระดับสากลและในระหว่างหน่วยงาน โดยการเข้าร่วมทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจากสหรัฐอเมริกากับ Codex และหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง • สิ่งที่ต้องดำเนินการ(ต่อ) 2.9.3 เมื่อเป็นการสมควร ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อพัฒนาระบบของประเทศเหล่านั้นให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา 2.9.4 เมื่อมีความจำเป็น ปรับปรุงและขยายการตรววจ ณ ด่านนำเข้าให้ดีขึ้นโดยอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง ที่เน้นถึงสิ่งที่เป็นอันตรายทางกายภาพ จุลินทรีย์ เคมี และยาฆ่าแมลง 2.9.5 พัฒนาการตรวจสถานประกอบการในต่างประเทศที่ส่งผลิตภัณฑ์มายังสหรัฐอเมริกาให้ดีขึ้น
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง วัตถุประสงค์ที่ 10 • ประเมินผลการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหาร สิ่งที่ต้องดำเนินการ 2.10.1 ประเมินผลและยกระดับระบบความปลอดภัยของอาหารอย่างต่อเนื่อง 2.10.2 ใช้ข้อมูลจากการติดตามและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารและสุขภาพของประชาชน เพื่อตรวจสอบแนวโน้มความเจ็บป่วยที่เกิดจากอาหาร เชื้อก่อโรค และสารเคมี
จุดมุ่งหมายที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ (ต่อ) • 2.10.3 กำหนดแผนการประเมินผล เมื่อมีการพัฒนาโครงการด้านกฎระเบียบและมาตรฐานที่สำคัญสำหรับความปลอดภัยของอาหารและใช้ข้อมูลการติดตามการสืบสวนการระบาดของประเทศ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากการบริหารเรื่องความปลอดภัยของอาหารโดยอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่ดีกว่า
จุดมุ่งหมายที่ 3 การสื่อสารความเสี่ยง ระบบความปลอดภัยของอาหารของสหรัฐอเมริกาจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างเปิดเผยและมีประสิทธิผล และการให้ความรู้ว่าทุกๆ คนจะควบคุมความเสี่ยงตลอดห่วงโซ่อาหารได้อย่างไร
จุดมุ่งหมายที่ 3 การสื่อสารความเสี่ยง วัตถุประสงค์ที่ 1 • ให้ความเชื่อมั่นของสาธารณะเป็นไปอย่างยั่งยืนโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของอหาร กลยุทธ์เชิงป้องกัน และการตัดสินใจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เปิดเผย โปร่งใสและรวดเร็ว สิ่งที่ต้องดำเนินการ • 3.1.1 สร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารของประเทศให้ทันสมัย
จุดมุ่งหมายที่ 3 การสื่อสารความเสี่ยง • สิ่งที่ต้องดำเนินการ(ต่อ) 3.1.2 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผู้ทำหน้าที่สื่อสารให้มีความรู้ด้านความปลอดภัยของอาหาร เช่น นักหนังสือพิมพ์ ผู้มีอาชีพด้านสุขภาพ และนักการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถช่วยหน่วยงานในการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่สาธารณชน 3.1.3 สร้างโอกาสในการเป็นพันธมิตรระหว่างภาคสาธารณะและเอกชนเพื่อส่งเสริมการสื่อสารความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของอาหาร กลยุทธ์เชิงป้องกัน และการกระทำเพื่อการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิผล
จุดมุ่งหมายที่ 3 การสื่อสารความเสี่ยง • สิ่งที่ต้องดำเนินการ(ต่อ) 3.1.4 สื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารบ่อยๆ เพื่อสร้างโอกาสในการพูดจาเกี่ยวกับการถึงเป้าหมาย นโยบาย การดำเนินการ และการให้การศึกษาที่จำเป็นต่อความปลอดภัยของอาหาร
จุดมุ่งหมายที่ 3 การสื่อสารความเสี่ยง วัตถุประสงค์ที่ 2 • จัดให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในการติดตามความปลอดภัยของอาหาร สิ่งที่เป็นอันตราย การดำเนินการเมื่อมีการระบาด การบังคับใช้กฎหมาย และกิจกรรมอื่นๆ ที่เร่งด่วนในความปลอดภัยของอาหารโดยให้เป็นการทำงานเชิงรุกที่เข้าถึงทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง
จุดมุ่งหมายที่ 3 การสื่อสารความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ • 3.2.1จัดตั้งการเข้าถึงเชิงรุกและการใช้เครือข่ายที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในการใช้ข้อมูลร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าภาคสาธารณะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และสารเคมีและเหตุฉุกเฉินของสุขภาพของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและสม่ำเสมอ
จุดมุ่งหมายที่ 3 การสื่อสารความเสี่ยง วัตถุประสงค์ที่ 3 • พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โครงการฝึกอบรมและการให้ความรู้ให้มีความทันสมัยสำหรับทุกคนที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร ผู้ปลูก ผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้จับต้องอาหาร ผู้มีอาชีพที่เกี่ยวกับอาหาร ผู้บริโภค ผู้กำกับดูแลกฎหมาย คนงานด้านสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ในโรงเรียน และผู้ให้การดูแลทางการแพทย์ โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันความเจ็บป่วยและสิ่งที่เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นจากอาหาร
จุดมุ่งหมายที่ 3 การสื่อสารความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการ • 3.3.1 จัดทำบัญชีโครงการการให้ความรู้และการฝึกอบรมความปลอดภัยของอาหารและที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชนที่มีอยู่ในขณะนี้ บอกถึงส่วนที่ยังต้องพัฒนาและรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนี้ • 3.3.2 ประสานงานและผสมผสานกิจกรรมด้านการให้ความรู้และการอบรมที่กำลังดำเนินการอยู่และที่จะมีขึ้นใหม่ในทุกระดับ