1 / 36

การบัญชีเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี DEFERRED TAX TAS 12

การบัญชีเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี DEFERRED TAX TAS 12. งบกำไรขาดทุน – บริ ษัท EAU จำกัด รายได้จากการขาย 1,000,000 รายได้อื่น 100,000 รวมรายได้ 1,100,000 ต้นทุนขาย (500,000) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (300,000) รวมค่าใช้จ่าย (800,000)

feivel
Download Presentation

การบัญชีเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี DEFERRED TAX TAS 12

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้รอตัดบัญชีDEFERRED TAXTAS12

  2. งบกำไรขาดทุน – บริษัท EAU จำกัด รายได้จากการขาย 1,000,000 รายได้อื่น 100,000 รวมรายได้ 1,100,000 ต้นทุนขาย (500,000) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (300,000) รวมค่าใช้จ่าย (800,000) กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย 300,000 ดอกเบี้ยจ่าย (200,000) กำไรก่อนภาษี 100,000

  3. ข้อมูลเพิ่มเติม • บริษัทมีการเงินโดยไม่มีใบเสร็จรับเงินจำนวน 10,000 บาท • บริษัทมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 20,000 บาท • บริษัทบริจาคค่าการกุศลจำนวน 16,000 บาท แต่สรรพากรอนุญาตให้สามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้ 2 เท่า • อัตราภาษีของบริษัทเท่ากับ 30%

  4. การคำนวณภาษีเงินได้ กำไรก่อนภาษีทางบัญชี บวก รายการที่ประมวลฯไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย หัก รายการที่ประมวลฯให้ถือเป็นรายจ่ายเป็นพิเศษ กำไรทางภาษี อัตราภาษี 30% ภาษีเงินได้นิติบุคคล บันทึกบัญชี เดบิต เครดิต

  5. งบกำไรขาดทุน – บริษัท EAU จำกัด รายได้จากการขาย 1,000,000 รายได้อื่น 100,000 รวมรายได้ 1,100,000 ต้นทุนขาย (500,000) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (300,000) รวมค่าใช้จ่าย (800,000) กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย 300,000 ดอกเบี้ยจ่าย (200,000) ภาษีเงินได้ (34,200) กำไรสุทธิ 65,800

  6. งบกำไรขาดทุน – บริษัท EAU จำกัด รายได้จากการขาย 1,000,0001,000,000 รายได้อื่น 100,000 100,000 รวมรายได้ 1,100,0001,100,000 ต้นทุนขาย (500,000)(500,000) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (300,000)(300,000) รวมค่าใช้จ่าย (800,000)(800,000) กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย 300,000300,000 ดอกเบี้ยจ่าย (200,000)(200,000) ภาษีเงินได้ (34,200)(30,000) กำไรสุทธิ 65,800 70,000

  7. วิธีการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้วิธีการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ วิธีภาษีเงินได้ค้างจ่าย (Tax Payable Method) บันทึกค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายและที่ได้ตั้งค้างจ่ายไว้สำหรับงวด ซึ่งจำนวนตัวเลขจะตรงกับแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) เดบิต ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ค่าใช้จ่าย) --> งบกำไรขาดทุน เครดิต ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย --> งบดุล(หนี้สิน) วิธีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (Deferred Tax Method)

  8. ทำไมต้องมีวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีทำไมต้องมีวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี • เพราะหลักบัญชีที่เขียนขึ้นตามแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ไม่สอดคล้องกันทุกๆเรื่องกับ หลักของภาษีตามประมวลรัษฎากรเลยทำให้ตัวเลขกำไรก่อนหักภาษีหรือแม้แต่มูลค่าตามบัญชี (Book Value) ที่ปรากฏบนงบกำไรขาดทุนหรืองบดุลของสินทรัพย์หรือหนี้สินไม่ตรงกับฐานภาษี • และเมื่อไม่ตรงกันก็ทำให้งบดุลที่แสดงขาดการสะท้อนความเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินทางแม่บทการบัญชีอย่างครบถ้วน เช่น การตีราคาสินทรัพย์ใหม่ ไม่ได้สะท้อนว่ากิจการกำลังจะมีภาระหนี้สินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือขาดทุนทางภาษีที่สามารถนำไปใช้ได้อีก 5 ปี ที่จะทำให้กิจการมีโอกาสที่จะไม่ต้องเสียภาษีในอนาคตได้

  9. ทำไมต้องมีวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีทำไมต้องมีวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี • ดังนั้นกิจการก็น่าจะส่งสัญญาณให้ปรากฏในงบการเงินให้กับผู้ใช้งบการเงินได้ทราบว่ากิจการมีสินทรัพย์ที่จะสามารถนำไปใช้ได้ในการลดภาษีในงวดอนาคต หรือมีภาระภาษี(หนี้สิน)ที่จะต้องชำระในอนาคตเป็นจำนวนเท่าใดเป็นต้น จึงจะทำให้งบดุลได้สะท้อนความเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินได้อย่างถูกต้องตามแม่บทการบัญชี • หลักในการรับรู้รายการที่แตกต่างกัน • หลักบัญชีเป็นไปตามเกณฑ์คงค้างและการดำเนินงานต่อเนื่อง • หลักภาษีเป็นไปตามเกณฑ์สิทธิ

  10. รูปแบบของงบการเงิน งบดุล เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น ลูกหนี้การค้า - สุทธิ เจ้าหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ - สุทธิ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้อื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อย หนี้สินหมุนเวียนอื่น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ทุนที่ออกและชำระแล้ว ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม

  11. คำศัพท์เกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีคำศัพท์เกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี • สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (Deferred Tax Asset : DTA) • หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (Deferred Tax Liability : DTL)

  12. วิธีบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้เงินได้รอตัดบัญชีวิธีบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้เงินได้รอตัดบัญชี วิธีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (Deferred Tax Method) โดยพิจารณาจากรายการในงบกำไรขาดทุน (Income Statement Approach) ซึ่งเป็นไปตาม IAS No.12 (Original) Income Statement Approach– เหตุผลที่นำมาใช้ เพราะกำไรทางบัญชีก่อนหักภาษี ซึ่งคำนวณขึ้นตามแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องไม่สอดคล้องตรงกันกับกำไรทางภาษีซึ่งคำนวณตามประมวลรัษฎากร จึงทำให้เกิดเรื่องของประเด็นภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (Deferred Tax) ขึ้นมา

  13. Income Statement Approach- เหตุผลที่จะเลิกใช้ เพราะ ณ ปัจจุบันรายการบัญชีต่างๆมีการปรับปรุงมูลค่าและรับรู้ไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น นับวันจะมีมากขึ้น เช่น การตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น เดบิต ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เครดิต ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กำไรขาดทุนจากเงินลงทุนเผื่อขาย เดบิต เงินลงทุนเผื่อขาย เครดิต ส่วนเกินทุนจากของเงินลงทุนเพื่อขายฯลฯ จะบันทึกไปยังส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรง ทำให้ Income Statement Approach ที่เน้นวิธีการบันทึก Deferred Tax จากงบกำไรขาดทุนไม่สามารถจะรองรับรายการเหล่านี้ได้ (รวมถึงในอนาคตเราจะต้อง MTM ของอนุพันธ์ทางการเงินเช่น SWAP , Forward ชนิด Cash Flow Hedge ซึ่งจะต้องรับรู้ไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น)

  14. Income Statement Approach ยังสามารถใช้ได้อยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีการบันทึกรายการรับรู้โดยตรงไปที่ส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น มีแต่การตั้งค่าเผื่อต่างๆ (หนี้สงสัยจะสูญ , ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพ) หรือ ประมาณการหนี้สิน (ประมาณการค่าซ่อมแซม) ฯลฯ

  15. วิธีบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้เงินได้รอตัดบัญชีวิธีบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้เงินได้รอตัดบัญชี วิธีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (Deferred Tax Method) โดยพิจารณาจากรายการในงบดุล (Liability Method – Balance Sheet Approach) ซึ่งเป็นไปตาม IAS No.12 (Revised 1996) หรือมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 56

  16. Liability Method – Balance Sheet Approach หลักการ : เพราะมูลค่าทางบัญชี (Book Value:BV)ของสินทรัพย์หรือหนี้สิน บนงบดุลไม่ตรงกับฐานภาษี (Tax Base : TB)ของตัวสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้นๆ จึงทำให้เกิดภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (Deferred Tax) แสดงว่าเวลาทำ Deferred Tax ให้นำงบดุลมาเป็นตัวตั้งในการทำ Deferred Tax (ไม่ต้องนำ งบกำไรขาดทุนมาใช้อีก(ยกเลิก)) Liabilityตาม IAS 12 ไม่ประสงค์จะให้ตั้ง DTA แต่จะเน้นทางด้าน DTL (เน้นหลักความระมัดระวัง) ดังนั้นใน IAS 12 การจะตั้ง DTA จึงเขียนเงื่อนไขเยอะมาก แต่ในประเทศไทยส่วนใหญ่เน้นไปที่ DTA ส่วน DTL จะมีน้อยมาก

  17. ก่อนจะตั้ง Deferred Tax Asset หรือ Deferred Tax Liability จะต้องเข้าใจนิยามของฐานภาษี • ฐานภาษี (Tax Base : TB) ของสินทรัพย์หรือหนี้สิน คือ จำนวนของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ • ฐานภาษีของสินทรัพย์= จำนวนที่กฎหมายภาษีอากรยอมอนุญาตให้นำมาหักจากประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ต้องเสียภาษี เมื่อกิจการได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ตามมูลค่าทางบัญชี (Book Value) ที่แสดงใน งบดุล (กรณีที่ไม่ใช่ลูกหนี้ กับเงินให้กู้ยืม)

  18. เช่น สินค้า 100 บาท ไม่มีการตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพ เพราะฉะนั้น มูลค่าตามบัญชี = ฐานภาษี เพราะถ้าเมื่อขายได้เป็นต้นทุน กรมสรรพากรก็จะยอมอนุญาตให้นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้และเมื่อขายได้ก็ได้รับเงินก็คือการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ • แต่ถ้ามีการตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพลงมาก็จะทำให้ Book Value มีมูลค่าลดลง แต่ในทางภาษีไม่ยอมจนกว่าจะมีการขอทำลายสินค้าตามที่กฏหมายกำหนด เพราะฉะนั้นเมื่อต่อมามีการขายได้ต้นทุนทางบัญชีอาจจะเหลือไม่ถึง 100 บาท แต่ทางภาษียังคงเป็น 100 บาทเพราะการค่าเผื่อฯในทางบัญชีนั้นสรรพากรไม่ยอมรับ จึงทำให้ BV ไม่เท่ากับ TB จึงต้องตั้ง Deferred Tax

  19. ฐานภาษีของสินทรัพย์= มูลค่าตามบัญชี (Book Value) ของสินทรัพย์ (หากประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่จะได้รับไม่ต้องเสียภาษี) เช่น ลูกหนี้การค้า , เงินให้กู้ยืม • ขายสินค้า เดบิต ลูกหนี้การค้า 100 เครดิต ขายสินค้า 100 รับเงินมา เดบิต เงินสด 100 เครดิต ลูกหนี้ 100 • ฐานภาษี = มูลค่าตามบัญชี เพราะฉะนั้นไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Deferred Tax

  20. Liability Method – Balance Sheet Approach มูลค่าทางบัญชี(Book Value) ของสินทรัพย์หรือหนี้สินไม่เท่ากับฐานภาษี(Tax Base) ของตัวเอง จึงเกิดประเด็น Deferred Tax ที่จะต้องมาตั้งเป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (DTA) หรือหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (DTL) สาเหตุที่ไม่เท่ากันเพราะ BV ของสินทรัพย์และหนี้สินรับรู้ตามแม่บทการบัญชีและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ส่วนฐานภาษีที่สรรพากรยอมให้นำไปหักหรือบวกในการคำนวณภาษีเงินได้นั้นรับรู้ตามเกณฑ์สิทธิของประมวลรัษฎากร เช่น ลูกหนี้มีมูลค่า 100 บาท BV = 100 --> TB = 100 ไม่เกิด Deferred Tax สิ้นงวดตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 20 บาท มูลค่าตามบัญชี เท่ากับ 80 บาท แต่ทางภาษี เท่ากับ100 บาท --> BV = 80 แต่ TB = 100 จะเกิด Deferred Tax

  21. Liability Method – Balance Sheet Approach • การใช้ Deferred Tax ยังคงต้องบันทึกค่าใช้จ่ายที่คำนวณขึ้นตามภาษีเมื่อเดิม ดังนั้น การตั้ง Deferred Tax ไม่ทำให้ยุติการลงบัญชีค้างจ่ายตามปกติ (Tax Payable) แสดงว่า วิธีภาษีเงินได้ค้างจ่าย (Tax Payable Method) แฝงอยู่ใน Deferred Tax

  22. ขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ขั้นที่ 1. บันทึกค่าใช้จ่ายตามวิธีที่คำนวณได้ตามหลักการภาษีอากร (จำนวนเท่ากับที่ปรากฏใน ภ.ง.ด. 50) เดบิต ภาษีเงินได้นิติบุคคล (งบกำไรขาดทุน) เครดิต ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (งบดุล - หนี้สิน) ขั้นที่ 2. หากต้องตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (DTA) เพิ่มขึ้น ณ วันปิดบัญชี เดบิต สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (DTA) (งบดุล – สินทรัพย์) เครดิต รายได้ภาษีรอตัดบัญชี (Deferred Tax Income) (งบกำไรขาดทุน) ขั้นที่ 3. หากต้องตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี DTA ลดลง ณ วันปิดบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่ายภาษีรอตัดบัญชี (Deferred Tax Expenses) (งบกำไรขาดทุน) เครดิต สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (DTA) (งบดุล – สินทรัพย์)

  23. ขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ข้อพึงระวัง : อย่าบันทึกรายการ “รายได้ภาษีรอตัดบัญชี” กับ “ค่าใช้จ่ายภาษีรอตัดบัญชี” กับบัญชี “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” โดยตรง เพราะอยากจะให้ในงบทดลอง ยังคงแสดงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องจ่ายตาม ภ.ง.ด. ยังคงมีตัวเลขปรากฏอยู่เท่ากับที่ต้องเสียภาษี ส่วนบัญชีรายได้/ค่าใช้จ่ายภาษีรอตัดบัญชี ขอเป็นบัญชีปรับยอด (Contra)เพื่อนำไปใช้แสดงยอดสุทธิในงบกำไรขาดทุน (เหมือนตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) เหตุที่ต้องชื่อบัญชี • เป็นข้อกำหนดของมาตรฐาน • ในหมายเหตุประกอบงบการเงินจะต้องมีการกระทบยอดให้เห็นด้วยว่า ค่าใช้จ่ายทางภาษีเป็นเท่าไร หัก/บวก บัญชีกระทบยอดเพื่อให้ได้เท่ากับจำนวนภาษีสุทธิที่ปรากฏอยู่บนหน้างบการเงิน (งบกำไรขาดทุน)

  24. ขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ขั้นที่ 4. หากต้องตั้งหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (DTL)เพิ่มขึ้น ณ วันปิดบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่ายภาษีรอตัดบัญชี (Deferred Tax Expenses) (งบกำไรขาดทุน) เครดิต หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (Deferred Tax Liability) (งบดุล-หนี้สิน) ขั้นที่ 5. หากต้องตั้งหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (DTL) ลดลง ณ วันปิดบัญชี เดบิต หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (Deferred Tax Liability) (งบดุล-หนี้สิน) เครดิต รายได้ภาษีรอตัดบัญชี (Deferred Tax Income) (งบกำไรขาดทุน) ขั้นตอนที่ 2-5 เป็นนี้จะนำมาใช้ได้เฉพาะกรณีที่รายการที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างมูลค่าทางบัญชี(BV)ของสินทรัพย์หรือหนี้สินกับฐานภาษี (Tax Base) ถูกรับรู้ไปยังงบกำไรขาดทุนโดยตรง เช่น การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ถ้ามีการรับรู้ไปยังส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงจะใช้ขั้นตอนเหล่านี้ไม่ได้ เช่น การตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น

  25. ขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ตัวอย่าง ลูกหนี้ 100 บาท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (20) บาท ลูกหนี้ – สุทธิ 80 บาท ที่ดิน 200 บาท ส่วนปรับมูลค่าที่ดิน 50 บาท ที่ดิน – สุทธิ 250 บาท ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน 50 บาท

  26. ขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (20) บาท เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ 20 (งบกำไรขาดทุน) เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 20 (งบดุล – สินทรัพย์) Book Value ลูกหนี้การค้า – สุทธิ 80 บาท ฐานภาษี ลูกหนี้การค้า 100 บาท เดบิต สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี 6 บาท เครดิต รายได้ภาษีรอตัดบัญชี 6 บาท ( 100 – 80 = 20 * 30%)

  27. ขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ส่วนปรับมูลค่าที่ดิน 50 บาท ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน 50 บาท เดบิต ที่ดิน 50 บาท (งบดุล – สินทรัพย์) เครดิต ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน 50 บาท (ส่วนของผู้ถือหุ้น) มูลค่าตามบัญชี 250 บาท ฐานภาษี 200 บาท ขาย 250 บาท กำไรทางบัญชี 0 บาท กำไรทางภาษี 50 บาท แสดงว่ามีภาระภาษีที่จะต้องจ่ายในอนาคต 50 * 30% = 15 บาท เดบิต ที่ดิน 50 บาท (งบดุล – สินทรัพย์) เครดิต ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน 35 บาท (ส่วนของผู้ถือหุ้น) เครดิต หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี 15 บาท (งบดุล-หนี้สิน)

  28. ขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชีขั้นตอนการบันทึกรายการตามวิธีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ตัวอย่าง ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ที่คำนวณได้ตามวิธีทางภาษี) 100 บาท รายได้ภาษีรอตัดบัญชี (30) บาท ค่าใช้จ่ายภาษีรอตัดบัญชี 20 บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคล 90 บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคล 90 บาท งบกำไรขาดทุน รายได้ 1,000 กำไรก่อนภาษี 300 ภาษี 90

  29. ฐานภาษีหนี้สินในทางภาษี คือ ราคาตามบัญชีของหนี้สิน – จำนวนของหนี้สินที่กฎหมายภาษีอนุญาตให้นำไปใช้หักภาษีในงวดอนาคต เช่น เจ้าหนี้การค้า 100 บาท ชำระเงิน 100 บาท มูลค่าตามบัญชี = 100 / ฐานภาษี คือ 100 – 0 = 100 ดังนั้น BV = TB ไม่เกิด Deferred Tax เช่น ประมาณการหนี้สิน 200 บาท เกิดค่าใช้จ่ายจริงในอนาคต 200 บาท มูลค่าตามบัญชี = 200 / ฐานภาษี คือ 200 – 200 = 0 ดังนั้น BV (200) ไม่เท่ากับ TB(0) เกิด Deferred Tax

More Related