190 likes | 374 Views
โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการ “ เปลี่ยนเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ ”. โดย. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สรุปผลของมาตรการเปลี่ยนเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ ที่ มจธ. ตรวจสอบ. ปัญหาที่พบ.
E N D
โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานมาตรการ“เปลี่ยนเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ”โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานมาตรการ“เปลี่ยนเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ” โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สรุปผลของมาตรการเปลี่ยนเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำที่ มจธ. ตรวจสอบ
ปัญหาที่พบ • โรงงานขาดเครื่องมือในการตรวจวัดค่าต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลประหยัด เช่น มิเตอร์วัดน้ำป้อน มิเตอร์เชื้อเพลิง มิเตอร์ไฟฟ้า หรือบางแห่งมีมิเตอร์ติดตั้ง แต่ติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ผลประหยัดได้ • การจดบันทึกข้อมูลยังขาดความละเอียด ถูกต้อง และไม่ต่อเนื่อง • โรงงานไม่เข้าใจวิธีการประเมินผลประหยัด มีความรู้สึกว่าซับซ้อนยุ่งยาก • การขอข้อมูลประกอบ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลประหยัด บางอย่างทางโรงงานไม่มีการเก็บไว้ หรือไม่สามารถเปิดเผยได้ ทำให้การวิเคราะห์ผลประหยัดเกิดความคลาดเคลื่อน และขาดความน่าเชื่อถือ • การผลิตและการใช้ไอน้ำค่อนข้างแปรปรวนไม่คงที่ จะทำให้มีผลต่อการวิเคราะห์ผลประหยัด • มีความผิดปกติของระบบ ทำให้ต้องหยุดเดินบ่อย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการตรวจวัดดังนั้นควรมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
รูปภาพแสดงระบบการผลิตไอน้ำรูปภาพแสดงระบบการผลิตไอน้ำ
หลักการในการวิเคราะห์ผลประหยัดหลักการในการวิเคราะห์ผลประหยัด หลักการ เปรียบเทียบต้นทุนในการผลิตไอน้ำก่อนและหลังเปลี่ยนเชื้อเพลิง จากนั้นนำผลต่างคูณด้วยปริมาณไอน้ำที่ผลิตทั้งปีของปีฐาน เงื่อนไข ช่วงที่ทำการตรวจวัดก่อนและหลังเปลี่ยนเชื้อเพลิง ควรมีลักษณะการผลิตและการใช้ไอน้ำที่ไม่แตกต่างกัน และเป็นตัวแทนของลักษณะการผลิตไอน้ำทั้งปีได้
หลักการในการวิเคราะห์ผลประหยัด (ต่อ) สมการที่ใช้ในการคำนวณผลประหยัด ผลประหยัด (บาท/ปี) = (ต้นทุนในการผลิตไอน้ำก่อนปรับปรุง (บาท/ตันไอน้ำ) - ต้นทุนในการผลิตไอน้ำหลังปรับปรุง (บาท/ตันไอน้ำ) ) x ปริมาณไอน้ำที่ผลิตทั้งปีของปีฐาน (ตันไอน้ำ/ปี)
หลักการในการวิเคราะห์ผลประหยัด (ต่อ) สมการที่ใช้ในการคำนวณผลประหยัด (ต่อ) ต้นทุนในการผลิตไอน้ำ = ต้นทุนด้านเชื้อเพลิง + ต้นทุนด้านไฟฟ้า ต้นทุนด้านเชื้อเพลิง (บาท/ตันไอน้ำ) = ต้นทุนด้านไฟฟ้า (บาท/ตันไอน้ำ) =
หลักการในการวิเคราะห์ผลประหยัด (ต่อ) สมการที่ใช้ในการคำนวณผลประหยัด (ต่อ) ปริมาณไอน้ำที่ผลิตได้ทั้งปี (ตันไอน้ำ/ปี) = ปริมาณไอน้ำที่ผลิตได้ต่อวัน x วันทำงานต่อปี (หรืออาจดูจาก Log Sheet ของหม้อไอน้ำลูกที่ทำการปรับปรุง)
การตรวจวัดข้อมูล • ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ (ตรวจวัดต่อเนื่องประมาณ 7 วันทุกๆชั่วโมง) • ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ (ตรวจวัดต่อเนื่องประมาณ 7 วันทุกๆชั่วโมง) • ปริมาณไอน้ำที่ผลิตได้ และความดันไอน้ำที่ผลิต หรือปริมาณน้ำป้อนเข้าหม้อไอน้ำและปริมาณน้ำ Blow Down และอุณหภูมิน้ำป้อน (ตรวจวัดต่อเนื่องประมาณ 7 วันทุกๆชั่วโมง) • เวลาการ เปิด-ปิด หม้อไอน้ำในแต่ละวัน ที่ทำการตรวจวัด • ปริมาณผลผลิตในแต่ละวันที่ทำการตรวจวัด • ค่า TDS ของ Make Up และน้ำ Blow Down • ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อ Blow Down
การตรวจสอบข้อมูลประกอบการตรวจสอบข้อมูลประกอบ • ข้อมูลปริมาณการใช้เชื้อเพลิงก่อนปรับปรุงของหม้อไอน้ำที่การปรับปรุงย้อนหลัง 1 ปีและหลังปรับปรุงเท่าที่มีข้อมูล ===> จาก Log Sheet • ข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงก่อนปรับปรุงย้อนหลัง 1 ปี และหลังปรับปรุงเท่าที่มีข้อมูล ===> ใบเสร็จค่าเชื้อเพลิง • แผนผังแสดงกระบวนการผลิต และการใช้ไอน้ำในแต่ละขั้นตอนการผลิต • ลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำ อุณหภูมิที่ต้องการ ความดันไอน้ำที่ต้องการ ลักษณะการใช้ไอน้ำ • อายุการใช้งานของหม้อไอน้ำ และลักษณะการจัดการการเดินหม้อไอน้ำ
มิเตอร์น้ำมันเตา/น้ำมันดีเซลมิเตอร์น้ำมันเตา/น้ำมันดีเซล จดให้ละเอียดทุกหลักทศนิยมและดูหน่วยให้ถูกต้อง หลักหน่วยอ่านค่าได้นำไปแทนตรงเลข 0 ค่าที่อ่านได้6047633.60 l ทศนิยมตำแหน่งที่ 1
มิเตอร์ก๊าซธรรมชาติ (NG) ของ ปตท. จดให้ละเอียดทุกหลักทศนิยม ให้จดบันทึกค่า Vn หรือ Vb ค่าที่อ่านได้25835.50078 m3 ทศนิยมตำแหน่งที่ 1
มิเตอร์ก๊าซธรรมชาติ (NG) หรือ LPG ที่ติดต่างหาก ปกติจะไม่มีค่า Vn หรือ Vb ต้องจดความดันก๊าซและอุณหภูมิเพิ่มเติม เพื่อนำไปคำนวณหา Vn ตามสมการ PnVn/Tn = PV/T Pn = 1 atm Tn = 60oF
ตรวจวัด LPG แต่ไม่มีมิเตอร์ตรวจวัด ใช้การชั่งน้ำหนักถังแก๊สที่ใช้ก่อนเริ่มเปิดหม้อไอน้ำและหลังปิดหม้อไอน้ำเพื่อให้ทราบน้ำหนัก LPG ที่ใช้ในแต่ละวัน หรือใช้วิธีอื่นที่เหมาะสม สะดวก และมีความน่าเชื่อถือ
ตรวจวัดเชื้อเพลิงแข็งตรวจวัดเชื้อเพลิงแข็ง เชื้อเพลิงแข็ง ได้แก่ กะลาปาล์ม แกลบ ไม้ฟืน ถ่านหิน กากอ้อย ซังข้าวโพด เป็นต้น ให้ใช้วิธีการชั่งน้ำหนักก่อนที่จะป้อนเข้าห้องเผาไหม้ หรือวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสมในการหาปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในแต่ละวัน
มิเตอร์น้ำป้อน 54484.2466x m3 414.431m3 จดให้ละเอียดทุกหลักทศนิยม และดูหน่วยให้ถูกต้อง 26300.737x m3 1211204.9 l
มิเตอร์ไอน้ำ ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 จดให้ละเอียดทุกหลักทศนิยม และดูหน่วยให้ถูกต้อง
ตรวจวัดไฟฟ้า ตรวจวัดในตำแหน่งที่วัดอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทั้งระบบ ถ้าหากมีมิเตอร์จานหมุนติดอยู่แล้วให้จดค่าต่อเนื่อง 7 วันทุกๆชั่วโมง ให้สอดคล้องกับการจดปริมาณน้ำป้อนและเชื้อเพลิงที่ใช้ (จดค่า CT Ratio ด้วย) หรือใช้เครื่องมือบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้าบันทึกต่อเนื่อง 7 วันทุกๆ 15 นาที