240 likes | 738 Views
นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เอง. การอันใด ๆ หากเป็นเพียงเพื่อที่ผู้เยาว์จะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง (ม. 22) การใด ๆ ซึ่งเป็นการต้องทำ เองเฉพาะตัว (ม. 23) การใด ๆ ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพ (ม. 24) การทำพินัยกรรม (ม. 25)
E N D
นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เอง • การอันใด ๆ หากเป็นเพียงเพื่อที่ผู้เยาว์จะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง (ม. 22) • การใด ๆ ซึ่งเป็นการต้องทำ เองเฉพาะตัว (ม.23) • การใด ๆ ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพ (ม.24) • การทำพินัยกรรม (ม.25) • ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สิน (ม.26) • การใดๆ อันมีความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงาน ซึ่งผู้เยาว์ได้รับอนุญาต (ม.27)
1. การอันใด ๆ หากเป็นเพียงเพื่อที่ผู้เยาว์จะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือพ้นซึ่งหน้าที่อันใด (ม. 22) • 1. การอันใดที่ผู้เยาว์มีแต่ได้มาซึ่งสิทธิ เช่น การรับการให้โดยเสน่หา การรับมรดก การรับโอนสิทธิอันหนึ่งอันใด • 2. การอันใดเพื่อให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น เจ้าของบ้านเช่าปลดหนี้ค่าเช่าที่ผู้เยาว์ค้างชำระ • การหลุดพ้นหน้าที่อันใดอันหนึ่งต้องเป็นการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด ผู้เยาว์จะต้องไม่มีหน้าที่หรือเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ ถ้ามีหน้าที่หรือเงื่อนไขก็ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
ตัวอย่างปัญหา มีผู้ให้รถจักรยายนต์แก่ผู้เยาว์ แต่ผู้เยาว์จะต้องชำระราคาที่ยังชำระไม่ครบกับผู้ขายเอง เช่นนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือไม่ ?
2. การใดๆซึ่งผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว ม.23 • เช่น การรับรองบุตร การหมั้น การสมรส
3. การใด ๆ ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร (ม.24) • ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ กล่าวคือ • เป็นกิจการที่สมควรแก่ฐานานุรูปแห่งตน และ • เป็นเรื่องที่เหมาะสมแก่ฐานะ • เป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร • เช่น อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค (ปัจจุบันอาจจะมีปัจจัย 5 เช่น การศึกษา การสมาคม)
4. การทำพินัยกรรม (ม.25) • ผู้เยาว์สามารถทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 25 โดยไม่ต้องรอให้บรรลุนิติภาวะ พินัยกรรมที่ผู้เยาว์ทำในขณะที่อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์มีผลเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1703
5.ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สิน (ม.26) • มาตรา 26 “ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบเขตของการที่ระบุไว้นั้นก็ได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร”
การอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์แบ่งเป็นสองกรณี คือ • การอนุญาตโดยระบุเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ กล่าวคือ ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่ง เช่นนี้ ผู้เยาว์ต้องทำการจำหน่ายทรัพย์สินหรือทำนิติกรรมในเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์นั้น ฝ่าฝืน ก็เป็นโมฆียะ • การอนุญาตที่มีลักษณะทั่วไป กล่าวคือ ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตโดยมิไดระบุเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ไว้ เช่นนี้ ผู้เยาว์ย่อมมีอำนาจทำได้ตามใจชอบ
6. การใดๆ อันมีความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงาน (ม.27) • มาตรา 27 “ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้…” • “การประกอบธุรกิจทางการค้า” หมายถึง การประกอบธุรกิจเป็นปกติ เพื่อหากำไร เช่น ประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม • “การประกอบธุรกิจอื่น” หมายถึง การประกอบธุรกิจทางด้านบริการ และรวมทั้งการประกอบวิชาชีพเฉพาะ เช่น ทนาย แพทย์ วิศวกรรม บัญชี เป็นต้น
การอนุญาต มีผลทำให้ผู้เยาว์นั้นมีฐานะเสมือนหนึ่งผู้บรรลุนิติภาวะในเรื่องที่เกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานนั้น
กิจการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เยาว์ก่อนกิจการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เยาว์ก่อน • มาตรา 1572 “ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยมิได้รับความยินยอมของบุตรไม่ได้” • ผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาคือ บุตรผู้เยาว์ • เฉพาะสัญญาที่ผู้เยาว์จะต้องทำเอง เช่น การร้องเพลง การเล่นละคร การแสดงภาพยนตร์ วาดภาพ การแสดงดนตรีเป็นต้น
กิจการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เยาว์ก่อนกิจการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เยาว์ก่อน • มาตรา 1572 “ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยมิได้รับความยินยอมของบุตรไม่ได้” • ถ้าผู้เยาว์ จะทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอกด้วยตนเอง ก็ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน • ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมจะทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอกแทนบุตร ต้องได้รับความยินยอมจากบุตร เช่นเดียวกัน เพราะผู้ต้องปฏิบัติตามสัญญาคือ บุตร
นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • นิติกรรมตามมาตรา 1574 ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาล ก่อนที่จะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้(รวมทั้งให้ความยินยอมด้วย) ได้แก่ • ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์ได้รับมรดกจากปู่
นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • นิติกรรมตามมาตรา 1574 ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาล ก่อนที่จะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้(รวมทั้งให้ความยินยอมด้วย) ได้แก่ • กระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมสละสิทธิอาศัยที่ผู้เยาว์มีสิทธิในที่ดินของลุง
นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • นิติกรรมตามมาตรา 1574 ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาล ก่อนที่จะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้(รวมทั้งให้ความยินยอมด้วย) ได้แก่ • ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์ เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะอนุญาตให้เพื่อนบ้านเดินผ่านที่ดินของผู้เยาว์
นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • จำหน่ายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะยกส่วนแบ่งในกองมรดกของผู้เยาว์ที่จะได้รับจากปู่ ให้แก่ญาติคนอื่น
นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมจะนำที่ดินของผู้เยาว์ให้บุคคลอื่นเช่า • ก่อข้อผูกพันใดๆที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) ) หรือ(3) • ให้กู้ยืม • ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคมหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา • ประกันด้วยประการใดๆอันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้ชำระหนี้ของบุคคลอื่น หรือแทนบุคคลอื่น เช่น การค้ำประกัน
นิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลนิติกรรมบางประเภทที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาล • นำทรัพย์สินไปแสวงหาประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ(3) • ประนีประนอมยอมความ คือ การทำสัญญาระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้น หรือมีขึ้นต่อกัน เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญายอมความแบ่งมรดกของผู้เยาว์กับ ลุง ป้า น้า อา ของผู้เยาว์ • มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
ข้อสังเกตเกี่ยวกับมาตรา 1574 • ผลของการฝ่าฝืนมาตรา 1574 (การไม่ขออนุญาตศาล) นิติกรรมนั้นๆไม่ผูกพันผู้เยาว์ แต่ผูกพันผู้แทนโดยชอบธรรม