1.53k likes | 4.84k Views
บทที่ 7 สถาบันทางการเมือง (Political Institution). สถาบันทางการเมือง. หมายถึง แบบอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ในทางการเมืองที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นที่ยอมรับของสังคม องค์ประกอบของสถาบันทางการเมือง 1. ความสัมพันธ์ของสมาชิก (Members) 2. หน้าที่ / เป้าหมาย (Objective)
E N D
บทที่ 7 สถาบันทางการเมือง (Political Institution)
สถาบันทางการเมือง หมายถึง แบบอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ในทางการเมืองที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นที่ยอมรับของสังคม องค์ประกอบของสถาบันทางการเมือง 1. ความสัมพันธ์ของสมาชิก (Members) 2. หน้าที่ / เป้าหมาย (Objective) 3. การกระทำ / กิจกรรม (Activities) 4. สัญลักษณ์ (Symbol)
ความสำคัญของสถาบันทางการเมืองความสำคัญของสถาบันทางการเมือง 1. เป็นกลไกในการกำหนดความสัมพันธ์ในการบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม เช่น รัฐธรรมนูญ ศาล รัฐบาล นิติบัญญัติ 2. การดำเนินการจัดสรร แบ่งปัน สิ่งที่มีคุณค่าให้กับสังคม เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ สื่อมวลชน รัฐสภา
ลักษณะของสถาบันทางการเมืองลักษณะของสถาบันทางการเมือง 1. มีแบบแผน (วัตถุประสงค์ และการยอมรับของสังคม) 2. มีโครงสร้าง (ระเบียบและวิธีการปฏิบัติ) 3. มีการกระทำ (กิจกรรมทางการเมือง)
สถาบันนิติบัญญัติ (Parliament) ความหมาย : เป็นองค์กรหรือสถาบันที่เป็นผู้ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติ และมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการปกครองบริหารของ ฝ่ายรัฐบาล ตลอดจนการทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทน ของประชาชน
องค์ประกอบของสถาบันนิติบัญญัติองค์ประกอบของสถาบันนิติบัญญัติ 1. สภาเดียว (Unicameral) ข้อดี 1. รวดเร็ว 2. ประหยัด 3. ไม่มีความขัดแย้ง 4. มีความชัดเจนในความรับผิดชอบ ข้อเสีย 1. อาจเกิดความบกพร่อง (ไม่รอบคอบ) 2. อาจนำไปสู่ภาวะเผด็จการรัฐสภา
2. สองสภา (Bicameral) เป็นสภาที่ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา 2.1 สภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่พิจารณา / อนุมัติกฎหมายและ งบประมาณ 2.2 วุฒิสภา มีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง ข้อดี 1. มีความรอบคอบ 2. เกิดการถ่วงดุลอำนาจ ระหว่างสภาทั้งสอง
บทบาทของรัฐสภาในระบบรัฐสภาบทบาทของรัฐสภาในระบบรัฐสภา • วุฒิสภาทำหน้าที่เป็นสภาทำหน้าที่เป็นสภาพี่เลี้ยงของรัฐสภา • สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจมากกว่าวุฒิสภา • รัฐสภามีอำนาจในการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงด้วย โดยการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการด้านต่างๆ เพื่อทำการสืบสวนข้อเท็จจริงเรื่องที่รับผิดชอบ แล้วนำเสนอต่อสภาและคณะรับมนตรีเพื่อเข้าสู่กระบวนการขั้นต่อๆ ไป
ผู้มีอำนาจในการเสนอกฎหมายผู้มีอำนาจในการเสนอกฎหมาย • คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติเป็นส่วนใหญ่ • รัฐสภาสามารถร่างพระราชบัญญัติได้เช่นเดียวกัน
การพิจารณาวาระกฎหมายต่างๆ มีดังนี้ วาระที่หนึ่ง อ่านชื่อพระราชบัญญัติให้สภารับทราบ วาระที่สอง เปิดโอกาสให้มีการอภิปราย แสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นรากฐานของการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หากผ่านวาระนี้จะนำเข้าสู่คณะกรรมาธิการ เพื่อแก้ไขข้อความต่างๆ ให้รัดกุม โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการได้ ต่อจากนั้นคณะกรรมาธิการจะ รายงานสู่รัฐสภาซึ่งในขั้นตอนนี้สมาชิกสภามีสิทธิในการแก้ไขข้อความในร่างพระราชบัญญัติอีกครั้ง หากไม่มีการทักท้วงก็จะเข้าสู่วาระที่สาม
วาระที่สาม เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในรัฐสภาเช่นเดียวกัน แต่ไม่สามารถแก้ไขร่างฉบับนั้น หากสภาลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นก็จะนำเข้าสู่การลงนามโดยประมุขของประเทศ อ่านชื่อพระราชบัญญัติ วาระที่ 1 อภิปราย แก้ไขข้อความ วาระที่ 2 คณะกรรมาธิการ ไม่ผ่าน ก็ให้ตกไป หรือ กลับสู่วงจรวาระที่ 1ใหม่ วาระที่ 3 ลงนาม ผ่านร่าง
บทบาทของรัฐสภาในระบบประธานาธิบดีบทบาทของรัฐสภาในระบบประธานาธิบดี • วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่าเทียมกันเพราะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนเหมือนกัน • การดำรงตำแหน่งของวุฒิสภา วุฒิสภาในสหรัฐอเมริกามี 100 คนประกอบด้วยตัวแทนจากรัฐต่างๆ รัฐละ 2 คน โดยไม่คำนึงถึงฐานะหรือจำนวนประชากรในแต่ละรัฐ
หน้าที่ของรัฐสภา • ทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการออกกฎหมายและแก้ไขรัฐธรรมนูญ • วุฒิสภามีอำนาจในการให้การรับรองการแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี • วุฒิสภาให้ความยินยอมในการให้สัตยาบันในสนธิสัญญาต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาที่ทำกับประเทศอื่นๆ • สภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจกล่าวโทษ (impeach) ข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือตุลาการให้พ้นจากตำแหน่ง
ขั้นตอนในการ impeach • ใช้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกสภาในการกล่าวโทษประธานาธิบดี • วุฒิสภาเป็นผู้สืบสวนข้อเท็จจริงหรือเป็นลูกขุนในการพิจารณาคดี การปลด (removal) ต้องใช้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกวุฒิสภา ในกรณีของประธานาธิบดีจะต้องให้ประธานศาลสูง (supreme court) เป็นประธานของคณะลูกขุนพิจารณา
สถาบันบริหาร (Executive) • คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในการบริหาร หรือปกครองประเทศ ตลอดจนถึงการนำเอากฎหมายไปบังคับใช้ • มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและรับผิดชอบในการปกครองทั่วไปทั้งหมด ซึ่งหมายถึงเป็นผู้ที่ทำหน้าที่นำกฎหมายไปใช้นั้นเอง ในระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี ฝ่ายบริหารมีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน
อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร 1. กำหนดและแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน 2. ออกกฎหมายในยามเร่งด่วนฉุกเฉิน เช่น พ.ร.ก. 3. มีอำนาจในการยุบสภา 4. แต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการทั่วประเทศ 5. บริหารการใช้งบประมาณแผ่นดิน
จำแนกความแตกต่างของฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี • อำนาจของประธานาธิบดีได้มีกำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญว่า ฝ่ายบริหารมีอำนาจประการใดบ้างและฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจประการใดบ้าง
ในระบบรัฐสภา คณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งตราบเท่าที่ยังได้รับความไว้วางใจจากสภาล่าง หากฝ่ายค้านในรัฐสภาสามารถลงมติไม่ไว้วางใจในนโยบายหรือกฎหมายสำคัญได้เป็นผลสำเร็จ(มีคะแนนเสียงมากกว่าฝ่ายรัฐบาล) คณะรัฐมนตรีต้องลาออกหรือมิฉะนั้นนายกรัฐมนตรีต้องแนะนำประมุขของรัฐให้ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ส่วนประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งในระยะเวลาที่แน่นอนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
คณะรัฐมนตรีในรูปแบบการปกครองของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นเพียงบุคคลแรกในบรรดาบุคคลที่เท่ากันเท่านั้น (the first among equals) ฉะนั้นการบริหารงานของคณะรัฐมนตรีจึงมีลักษณะเป็นการรับผิดชอบร่วมกัน (collective responsibility) ของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ แต่ประธานาธิบดีในรูปแบบการปกครองระบอบประธานาธิบดีฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบ ในการบริหารคือประธานาธิบดีแต่ผู้เดียวอย่างแท้จริง
ในระบอบการปกครองแบบรัฐสภา ประมุขของรัฐจะเป็นแค่เพียงแต่ประมุขและสัญลักษณ์ของรัฐเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจในการบริหาร เพราะอำนาจดังกล่าวอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ส่วนประธานาธิบดีในระบอบการปกครองแบบประธานาธิบดีนั้น ประธานาธิบดีมีสองสถานภาพกล่าวคือสถานภาพแรกเป็นประมุขของรัฐและสถานภาพที่สองเป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารพร้อมไปด้วย
สถาบันตุลาการ (Court) • เป็นสถาบันที่มีความสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามหลักกฎหมายของประชาชน คือเป็นองค์กรทางการเมืองที่ใช้อำนาจของรัฐในการชี้ขาด ตัดสิน กรณีพิพาท ตลอดจนคดีความทั้งหลายทั้งปวงให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อสังคมโดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายใดๆ เป็นการปกป้องและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมตามที่กฎหมายกำหนดไว้
สถาบันตุลาการ หมายถึง ศาลและผู้พิพากษาทั้งหลายที่ปฏิบัติหน้าที่ในศาลต่างๆ ตามเขตอำนาจศาลในแต่ละระดับและแต่ละประเภท • ฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจโดยตรงในการวางนโยบายของรัฐ แต่ด้วยอำนาจหน้าที่ของสถาบันตุลาการแล้ว ฝ่ายตุลาการมีส่วนเป็นอย่างมากในการวางนโยบายของประเทศ เพราะการตีความกฎหมายเป็นหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ
การแต่งตั้งและการเลือกตั้งผู้พิพากษาการแต่งตั้งและการเลือกตั้งผู้พิพากษา • การแต่งตั้ง : บางระบบการเมืองมีระบบการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้พิพากษา เป็นแบบการแต่งตั้ง ในประเทศไทยมีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษา ในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธ์คือ ประธานาธิบดี ทั้งนี้โดยผ่านการรับรองจากวุฒิสภา ทั้งนี้ทั้งคณะกรรมการตุลาการและวุฒิสภาคือผู้ที่มีความสำคัญในการกลั่นกรองผู้พิพากษา
การเลือกตั้ง : สำหรับบางประเทศให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาเองในบางระดับ เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาให้ประชาชนในมลรัฐเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลบางประเภทในมลรัฐ ซึ่งทำให้ผู้พิพากษาได้รับความภาคภูมิใจว่าเป็นตัวแทนของประชาชน
โครงสร้างของตุลาการไทย โครงสร้างของตุลาการไทยในปัจจุบัน มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ • ศาล • ผู้พิพากษาหรือตุลาการ
ประเภทของศาล • ศาลธรรมดา หมายถึง ศาลทั่วไปที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีตามกฎหมาย โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร • ศาลพิเศษ คือศาลที่มิได้มีอำนาจวินิจฉัยคดีความทั่วไป แต่มีอำนาจวินิจฉัยคดีเป็นลักษณะทางการเมือง ซึ่งได้แก่ศาลรัฐธรรมนูญ
โครงสร้างสถาบันตุลาการ (ศาล) ศาล รัฐธรรมนูญ ปกครอง ทหาร ยุติธรรม ชั้นต้น สูงสุด ชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา แขวง จังหวัด เยาวชนและ แพ่ง อาญา แรงงาน ภาษีอากร ล้มละลาย ครอบครัว
พรรคการเมือง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ • กำหนดนโยบายของพรรค • การคัดสรรผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อไปเป็นตัวแทนของประชาชน • การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง • การจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเข้ามาบริหารประเทศ • การเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร • เผยแพร่อุดมการณ์และนโยบายของพรรค • สร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองให้แก่ประชาชน
ลักษณะของพรรคการเมืองลักษณะของพรรคการเมือง • เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์กร • เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิดเห็นหรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน • มีการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย
กำเนิดพรรคการเมือง • โจเซฟ ลาพาลอมบารา (Joseph Lapalombara) และ ไมรอน ไวเนอร์ (Myron Weiner) ได้อธิบายกำเนิดของพรรคการเมืองโดยเสนอทฤษฎีไว้ดังนี้
1. ทฤษฎีสถาบัน (Institutional Theories) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า กำเนิดของพรรคการเมืองนั้นเกิดขึ้นจากการรวมตัวในรูปของสโมสรและกลุ่ม ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง เช่น สโมสรจาโคแบง (Jacobin Club) ในประเทศฝรั่งเศส
2. ทฤษฎีประวัติศาสตร์และสถานการณ์ (Historical-Situational Theories) ทฤษฎีนี้ได้อธิบายกำเนิดพรรคการเมืองว่า เกิดจากวิกฤติทางประวัติศาสตร์และสถานการณ์บางประการ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 3 รูปแบบ
วิกฤตการณ์ความชอบธรรม (legitimacy crisis) • วิกฤตการณ์ความชอบธรรม (legitimacy crisis) เป็นวิกฤตการณ์อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ประชาชนเกิดความสำนึกว่าโครงสร้างอำนาจการปกครองของรัฐที่เป็นอยู่มีลักษณะไม่ชอบธรรม ประชาชนจึงสำนึกที่จะรวมกลุ่มกันขึ้นเป็นพรรคการเมือง ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาวิธีการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอันไม่ชอบธรรมนั้น
2. วิกฤตการณ์ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (integration crisis) • กล่าวได้ว่าความสำนึกในวิกฤตการณ์ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเกิดขึ้นมาเพราะความสืบเนื่องอันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ความชอบธรรม กล่าวคือ เมื่อประชาชนเกิดความสำนึกว่ารัฐบาลปฏิบัติหน้าที่อันแสดงให้เห็นซึ่งความไม่ชอบธรรม ประชาชนเหล่านั้นก็จะรวมตัวเข้าเป็นพรรคการเมืองโดยแสวงหาโอกาสที่จะจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะนำนโยบายของพรรคตนทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เข้าไปอำนวยประโยชน์ในการบริหารประเทศ
3.วิกฤตการณ์มีส่วนร่วม(participation crisis) • วิกฤตการณ์ประเภทนี้มีสาเหตุมาจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมขึ้นในหลายประเทศของยุโรปตะวันตก วิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มกรรมกร จึงได้ทีการจัดตั้งพรรคกรรมกรเสนอตัวเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของพวกตนไว้
3. ทฤษฎีพัฒนาการ (Development Theories) กำเนิดของพรรคการเมืองเป็นผลของการพัฒนาการ 2 ประการ 3.1 ผลของพัฒนาการทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชน กล่าวคือประชาชนรู้สึกตัวว่าตนนั้นมีสิทธิในการใช้อำนาจทางการเมือง จึงได้เกิดความคิดที่จะจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา
3.2 ชนชั้นนำทางการเมือง (political elite) มีความประสงค์ที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน โดยชนชั้นนำทางการเมืองเหล่านั้นมีความต้องการที่จะรักษาสถานภาพและอำนาจของตนไว้ ทำให้เกิดการจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน เช่น พวกพ่อค้าและนายธนาคาร เป็นต้น
รูปแบบพรรคการเมือง • ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว(One-party system) : เป็นรูปแบบที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคเข้าแข่งขันทางการเมือง แต่จะมีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ได้รับเสียงข้างมากในสภาส่วนพรรคการเมืองอื่นนั้นจะมีสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งไม่มากนัก การจัดตั้งรัฐบาลจึงเป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ดังนั้นการบริหารประเทศจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเพียงพรรคเดียว
ระบบสองพรรค(Two-party system) : คือการที่มีพรรคการเมืองใหญ่เพียงสองพรรคเท่านั้นที่มีโอกาสผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดตั้งรัฐบาล โดยเสียงสนับสนุนของสองพรรคนี้จะไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนพรรคอื่นๆ จะเป็นเพียงพรรคเล็กๆ เท่านั้น
ระบบหลายพรรค(Multi-party system) : มีลักษณะสำคัญคือ มีพรรคการเมืองเกินกว่า 3 พรรคขึ้นไป โดยแต่ละพรรคจะมีคะแนนเสียงสนับสนุนใกล้เคียงกัน ไม่มีพรรคใดได้คะแนนเสียงมากเด็ดขาดพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลเพียงพรรคเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ รวมกันจัดตั้งรัฐบาลผสม การมีพรรคการเมืองหลายพรรคนี้ แต่ละพรรคย่อมมีอุดมการณ์และแนวคิดที่แตกต่างกัน จึงทำให้รัฐบาลผสมมักจะล้มลุกคลุกคลาน หรือมีการเปลี่ยนรัฐบาลอยู่บ่อยๆ
องค์ประกอบของพรรคการเมือง 1. คน ซึ่งก็คือสมาชิกพรรค กรรมการบริหารพรรค รวมถึงหัวหน้าพรรคและบุคลากรอันเป็นเจ้าหน้าที่ประจำพรรค 2. สถานที่และอุปกรณ์ หมายถึง ที่ทำงานทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น เครื่องมือเครื่องใช้สำนักงาน
3. การกำหนดและจัดแบ่งโครงสร้างที่สำคัญ เช่น ที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สำนักงานเลขาธิการ ฝ่ายและแผนกต่างๆ เช่น ฝ่ายการเงิน การคลังและการบัญชี ฝ่ายวิชาการและวิจัย ฝ่ายข้อมูลและสาระสนเทศ ฯลฯ มีหน่วยปฏิบัติการ มีสำนักงานและกรรมการสาขาต่างๆ เป็นต้น
4. ความคิดความเชื่อหรืออุดมการณ์ร่วมกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค ซึ่งโดยหลักการจะเป็นสิ่งเชื่อมประสานบุคลากรในพรรคเข้าด้วยกัน
หน้าที่และบทบาทของพรรคการเมือง 1. การให้การศึกษาทางด้านการเมืองแก่ประชาชน พรรคการเมืองจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจและสนใจในปัญหาของบ้านเมืองมากขึ้น รวมทั้งตระหนักถึงบทบาทของตนเองเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง การให้การศึกษาด้านการเมืองแก่ประชาชน สามารถดำเนินการได้หลายลักษณะ เช่น จัดอบรม จัดสัมมนา อภิปราย แจกจ่ายเอกสารหรือให้ความรู้ผ่านทางสื่อต่างๆ
2. การสร้างผู้นำทางการเมือง โดยการคัดเลือกหรือสรรหาบุคลากรทางการเมืองมาเป็นผู้นำในด้านต่างๆ เช่น การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อเข้าไปบริหารประเทศทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบทอดภารกิจ อุดมการณ์ หน้าที่และบทบาทของพรรคการเมืองในอนาคต พรรคการเมืองจึงควรให้ความสำคัญต่อการสร้างผู้นำทางการเมืองที่มีความเพียบพร้อมทั้งคุณธรรมและความรู้ความสามารถเพื่อรับใช้สังคมโดยส่วนรวม
3. กระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศด้วยการเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีชื่อเสียง และจัดตั้งสโมสรหรือชมรมต่างๆ เพื่อสร้างความสนใจทางการเมือง
4. การเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานระหว่างประชาชน กลุ่มประชาชน หรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจและประสานการทำงานในสังคมร่วมกัน ตลอดจนการปลุกเร้าประชาชนให้เกิดความตื่นตัวทางการเมือง และเป็นช่องทางให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองต่อไป
5. เป็นช่องทางของประชาชนในการแสดงออก อันจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนได้ 6. การกำหนดนโยบายหลักที่สำคัญเพื่อนำไปใช้ในการบริหารและปกครองประเทศ
7. ถ้ายังไม่มีโอกาสบริหารประเทศ พรรคการเมืองก็จะทำหน้าที่แทนประชาชนในการเรียกร้องหรือกดดันให้รัฐบาลสนองตอบในแนวทางที่เห็นว่าเหมาะสม 8. ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลเมื่อได้รับเสียงข้างมาก และทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านหรือผู้ควบคุมรัฐบาลเมื่อได้รับเสียงข้างน้อย