1 / 52

Chapter 3

ANGKANA. Chapter 3. บัส และอินเทอร์เฟซ ( Bus & Interface ). ANGKANA. หัวข้อการเรียนรู้. โครงสร้างพื้นฐานของบัส การออกแบบบัส สถาปัตยกรรมของบัสแบบ Bridge มาตรฐานของบัส - PCI - SCSI - AGP - USB - FireWire. บทนำ.

fleta
Download Presentation

Chapter 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ANGKANA Chapter 3 บัส และอินเทอร์เฟซ (Bus & Interface)

  2. ANGKANA หัวข้อการเรียนรู้ • โครงสร้างพื้นฐานของบัส • การออกแบบบัส • สถาปัตยกรรมของบัสแบบ Bridge • มาตรฐานของบัส - PCI - SCSI - AGP - USB - FireWire

  3. บทนำ • ข้อมูลที่ถ่ายโอนระหว่างไอโอโมดูล, หน่วยความจำ และซีพียูจะคล้ายกัน การเชื่อมต่อทางกายภาพที่ทำให้ข้อมูลสามารถถ่ายโอนจากแหล่งหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์เรียกว่า “บัส” (bus) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของบัสสามารถพบเห็นได้จากเมนบอร์ด (Mainboard) หรือมาเธอร์บอร์ด (Motherboard) ในพีซีที่มีวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่บนแผ่นอโลหะ และมีเส้นทางเป็นโลหะ (ส่วนมากเป็นทองแดง) ที่เรียกว่า “trace” เชื่อมต่อส่วนต่าง ๆ โดยจะออกจากศูนย์กลางที่เป็นโปรเซสเซอร์ • นอกจากนี้บัสยังรวมถึงไมโครชิฟ (microchip) และสล็อตต่าง ๆ (slot) ที่ให้สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปได้เรียกว่า “อะแด๊ปเตอร์” (adapter) และบัสที่เป็นสล็อตนี้เราเรียกว่า “ไอโอบัส”(I/O bus)

  4. เมนบอร์ดของพีซี

  5. โครงสร้างพื้นฐานของบัสโครงสร้างพื้นฐานของบัส • บัสมีการเชื่อมต่อดีไวซ์ตั้งแต่สองดีไวซ์ สามารถส่งข้อมูลไปให้ดีไวซ์อื่นได้ ถ้าต้องการส่งข้อมูลพร้อมกัน จะมีสัญญาณควบคุมให้ดีไวซ์ใดส่งก่อน ดีไวซ์ใดต้องรอ ทำให้ในช่วงเวลาเดียวกันไม่มีดีไวซ์ที่ส่งข้อมูลพร้อมกัน เนื่องจากในระบบคอมพิวเตอร์มีบัสมากมายที่ทำงานได้หลากหลาย โดยบัสที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อส่วนหลัก ๆ ของคอมพิวเตอร์ (โปรเซสเซอร์, หน่วยความจำ และไอโอ) เรียกว่า “บัสระบบ” (System bus) • การกระทำกับหน่วยความจำผ่านทางบัสระบบเป็นโอเปอเรชันที่เป็น “สลาฟ” (slave) ถ้าเชื่อมต่อโดยตรงกับบัสระบบทำให้เรียกว่า “มาสเตอร์” (master)

  6. โครงสร้างของบัสในพีซีโครงสร้างของบัสในพีซี

  7. โครงสร้างพื้นฐานของบัสโครงสร้างพื้นฐานของบัส • บัสระบบประกอบด้วยบัส 3 กลุ่มคือ • แอ็ดเดรสบัส (address bus) มี 8 – 32 เส้น ทำหน้าที่ส่งแอ็ดเดรสของข้อมูลที่จะเก็บลงในหน่วยความจำ หรือแอ็ดเดรสของไอโอ • ดาต้าบัส (data bus) มี 16 – 128 เส้น ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปตามบัส • คอนโทรลบัส (control bus) มี 10 เส้น ทำหน้าที่ควบคุมรูปแบบการส่งข้อมูลและควบคุมดีไวซ์ที่จะทำการรับส่งข้อมูล

  8. โครงสร้างของบัสระบบของโปรเซสเซอร์ PowerPC 603

  9. โครงสร้างพื้นฐานของบัสโครงสร้างพื้นฐานของบัส • หลักในการใช้บัสระบบ ก็คือความเร็วสูงในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโปรเซสเซอร์และหน่วยความจำ ส่วนไอโอดีไวซ์ที่ส่วนมากจะทำงานได้ช้ากว่าโปรเซสเซอร์ หรือหน่วยความจำ เนื่องจากเป็นอินเทอร์เฟซภายนอกที่แตกต่างจากบัสระบบ

  10. คอมพิวเตอร์ที่มีบัสระบบและไอโอบัสคอมพิวเตอร์ที่มีบัสระบบและไอโอบัส

  11. โครงสร้างพื้นฐานของบัสโครงสร้างพื้นฐานของบัส • บัสแบบ SCSI (Small Computer System Interface) ที่กำหนดโดยองค์กร American National Standards Institute (ANSI) บัสนี้เชื่อมต่อกับไอโอดีไวซ์ เช่น ฮาร์ดดิสก์, เครื่องพิมพ์ กับคอมพิวเตอร์ โครงสร้างบัส SCSI

  12. การออกแบบบัส • มีสิ่งที่ต้องพิจารณา 6 ประการ คือ • ประเภทของบัส • การควบคุมบัส • รูปแบบการเข้าจังหวะ • ขนาดบัส • ประเภทการถ่ายโอนข้อมูล • Split transaction

  13. การออกแบบบัส ประเภทของบัส บัสแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ dedicated ซึ่งเป็นบัสที่มีการกำหนดหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน และถาวร ซึ่งจะเห็นได้ชัดคือบัสย่อยในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น แอ็ดเดรสบัส, ดาต้าบัส หรือคอนโทรลบัสที่จะทำหน้าที่กำหนดแอ็ดเดรส, ส่งข้อมูล และสัญญาณควบคุม ตามลำดับ ส่วนบัสอีกประเภทหนึ่งคือ multiplexed ซึ่งเป็นบัสที่สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง ไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจนและถาวร การทำหน้าที่อะไรนั้นขึ้นอยู่กับสัญญาณควบคุม วิธีการที่ใช้บัสเดียวกันส่งได้ทั้งแอ็ดเดรสและข้อมูล โดยมีสัญญาณควบคุมกำหนดประเภทของข้อมูลที่ส่งไป และกำหนดเป็นช่วงเวลาในการส่งนี้ว่า “time multiplexing”

  14. การออกแบบบัส ประเภทของบัส ข้อดีของการส่งแบบ time multiplexing 1. จำนวนสายสัญญาณที่ต้องการใช้จะน้อยกว่า 2. ประหยัดค่าใช้จ่าย และประหยัดเนื้อที่บนแผงวงจร ข้อเสียของการส่งแบบ time multiplexing 1. วงจรในแต่ละโมดูลจะมีความซับซ้อนมากกว่าเดิม 2. ประสิทธิภาพของระบบอาจจะลดต่ำลง

  15. การออกแบบบัส ประเภทของบัส ข้อดีของการใช้บัสแบบ dedicated 1. ประสิทธิภาพการทำงานดีกว่า 2. แต่ละดีไวซ์มีบัสเป็นของตนเองที่กำหนดแน่นอนถาวรโดยมีคอนโทรลเลอร์แต่ละชุดควบคุมการทำงาน 3. ดีไวซ์ทำงานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องหยุดรอให้ดีไวซ์อื่นทำงานเสร็จไปก่อน ข้อเสียของการใช้บัสแบบ dedicated 1. ขนาดของแผงวงจรจะมีขนาดใหญ่ 2. ใช้บัสหรือสายสัญญาณเป็นจำนวนมาก 3. ค่าใช้จ่ายสูง

  16. การออกแบบบัส การควบคุมบัส การตัดสินพิจารณาได้จากรูปแบบที่เป็นแบบรวมศูนย์ (Centralized) หรือแบบกระจายศูนย์ (Distributed) ในแบบรวมศูนย์จะมีดีไวซ์ที่เรียกว่า “คอนโทรลเลอร์ (Controller) หรือ “อาร์บิเตอร์” (Arbiter) อาจจะเป็นหน่วยแยกหรือรวมอยู่กับโปรเซสเซอร์ก็ได้ โดยดีไวซ์นี้มีหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้บัสให้กับดีไวซ์อื่นที่ร้องขอมา แต่ในแบบกระจายศูนย์จะไม่มีคอนโทรลที่คอยควบคุมการใช้บัส แต่ละมีวงจรพิเศษที่เรียกว่า “แอ็กเซสคอนโทรลลอจิก” (Access Control Logic) อยู่ในตัวเอง และจะทำงานร่วมกันในการแบ่งการใช้บัสร่วมกัน จะเห็นได้ว่าทั้งแบบรวมศูนย์ และกระจายศูนย์มีจุดประสงค์เหมือนกันคือการเลือกว่าดีไวซ์ใด (โปรเซสเซอร์หรือไอโอโมดูล) เป็นมาสเตอร์ (master) ซึ่งจะใช้สิทธิ์ในการส่งข้อมูลไปยังดีไวซ์ที่เป็นสลาฟ (slave)

  17. การออกแบบบัส รูปแบบการเข้าจังหวะ การเข้าจังหวะมี 2 แบบคือ “ซิงโครนัส” (Synchronous) และ”อะซิงโครนัส” (Asynchronous) ในบัสที่เป็นซิงโครนัสจะมีดีไวซ์หนึ่งบนบัสนั้นที่มีเครื่องกำเนิดสัญญาณนาฬิกา และทำหน้าที่ส่งชุดสัญญาณ 0 และ 1 ในช่วงเวลา สัญญาณนาฬิกาของบัสที่มีความถี่ 100 เมกะเฮิร์ตซ์

  18. ไดอะแกรมของการอ่านหน่วยความจำแบบซิงโครนัสไดอะแกรมของการอ่านหน่วยความจำแบบซิงโครนัส

  19. การออกแบบบัส รูปแบบการเข้าจังหวะ บัสแบบอะซิงโครนัสซึ่งจะมีความซับซ้อนกว่าเนื่องจากจะไม่มีสัญญาณนาฬิกาของบัส ดีไวซ์ที่เป็นมาสเตอร์ของบัสแบบอะซิงโครนัสจะวางทุกสิ่งที่ต้องการลงบนบัส (แอ็ดเดรส, ดาต้า และคอนโทรล) และกำหนด MSYN (master synchronization) ดีไวซ์ที่เป็นสลาฟจะทำงานของตนและเมื่อเสร็จสิ้นจะกำหนด SSYN (slave synchronization) หลังจากนั้นดีไวซ์ที่เป็นมาสเตอร์จะปลดปล่อย MSYN แล้วส่งสัญญาณไปปลดปล่อย SSYN

  20. ไดอะแกรมของการอ่านหน่วยความจำแบบอะซิงโครนัสไดอะแกรมของการอ่านหน่วยความจำแบบอะซิงโครนัส

  21. การออกแบบบัส รูปแบบการเข้าจังหวะ

  22. การออกแบบบัส รูปแบบการเข้าจังหวะ การปฏิสัมพันธ์แบบต่อเนื่อง (Synchronous) เป็นการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด (Real Time) มีปฏิกิริยาสนองกลับ(Feedback) ในเวลาเดียวกันและทันทีทันใด ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับการเรียนเป็นกลุ่ม ตัวอย่างเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์ลักษณะนี้ ได้แก่ Audio Conference, Video Conference หรือ Chat

  23. การออกแบบบัส รูปแบบการเข้าจังหวะ

  24. การออกแบบบัส รูปแบบการเข้าจังหวะ การปฏิสัมพันธ์แบบตามอัธยาศัย (Asynchronous) เป็นการปฏิสัมพันธ์ที่ถูกหน่วงเวลาออกไป ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนพร้อมกันดังนั้นผู้เรียนจึงสามารถควบคุมเวลาการเรียนตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับตน ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์ในลักษณะนี้ได้แก่ Webboard หรือ e-mail

  25. การออกแบบบัส ขนาดของบัส แอ็ดเดรสบัสมีผลกระทบกับความจุของระบบ คือถ้าแอ็ดเดรสบัสมีความกว้าง (หรือมีจำนวน) มาก ๆ ก็จะทำให้สามารถอ้างอิงแอ็ดเดรสได้มาก แต่สำหรับดาต้าบัสจะมีผลกระทบกับประสิทธิภาพและความเร็วของระบบ นั่นก็คือยิ่งดาต้าบัสมีความกว้าง (หรือมีจำนวน) มากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้การถ่ายโอนข้อมูลทำได้ดี ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพสูงขึ้นนั่นเอง

  26. การออกแบบบัส การถ่ายโอนข้อมูล บัสสามารถสนับสนุนประเภทการถ่ายโอนข้อมูลได้หลากหลาย ซึ่งในบางระบบมีการใช้งานบัสในลักษณะผสม เช่น แบบ อ่าน-ปรับเปลี่ยน-เขียน (read-modify-write) ที่ทำการอ่านข้อมูลขึ้นมาแล้วทำการปรับเปลี่ยนบนข้อมูลนั้นแล้วเขียนกลับทันที ทำให้การทำงานในลักษณะนี้เป็นการทำงานในจังหวะเดียวกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ ส่วนการอ่านหลังการเขียนข้อมูล (read-after-write) เป็นอีกการทำงานหนึ่งที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ การทำงานในลักษณะนี้เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่เขียนไปแล้วว่าเกิดข้อผิดพลาดอะไรหรือไม่

  27. ประเภทการถ่ายโอนข้อมูลที่บัสสนับสนุนประเภทการถ่ายโอนข้อมูลที่บัสสนับสนุน

  28. การออกแบบบัส Split transaction ส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์กับบัสมาสเตอร์ (bus master) บัสแบบ Split transaction

  29. การออกแบบบัส Split transaction *** ในการออกแบบระบบบัสจะต้องพิจารณาว่าต้องการมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ หรือต้องการแบบค่าใช้จ่ายต่ำ สิ่งที่ต้องพิจารณาในการออกแบบ มีดังนี้

  30. สถาปัตยกรรมของบัสแบบ Bridge

  31. มาตรฐานของบัส PCI PCI (peripheral Component Interconnect) เป็นโลคอลบัสแบบหนึ่งซึ่งเป็นระบบบัสที่มีการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างบัสของโปรเซสเซอร์และโลคอลบัส ทำให้มีอัตราเร็วและขนาดของบิตข้อมูลเท่ากัน ข้อดี คือ ไม่ต้องใช้ไฟโดยตรงจากบัสของไมโครโปรเซสเซอร์ทำให้สามารถมีจำนวนสล็อตของ PCI ได้มากกว่า ส่วนขนาดบิตข้อมูลของ PCI จะมีทั้งแบบ 32 บิต และ 64 บิต ทำให้ลดปัญหาคอขวด PCI จึงเหมาะสำหรับใช้งานที่เกี่ยวข้อกับกราฟิกและมัลติมีเดีย

  32. มาตรฐานของบัส PCI สัญญาณของบัสแบบ PCI มาตรฐาน

  33. มาตรฐานของบัส คุณสมบัติที่สำคัญของ PCI • มีอัตราเร็ว 2 แบบ คือ 33 และ 66 เมกะเฮิร์ต ปัจจุบันบนเมนบอร์ดมีสล็อต สูงสุด 5 สล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ และสามารถรองรับการทำงานของ การ์ด PCI แบบบัสมาสเตอร์ (สนับสนุนการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูง โดย ไม่ผ่าน DMA) เช่น SCSI หรือ LAN card เป็นต้น • ความกว้างของดาต้าบัสมีทั้งแบบ 32 และ 64 บิต โดยมีแบนด์วิธสูงสุดที่ 533 เมกะบิตต่อวินาที และสามารถถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบของ Burst Mode • แรงดันไฟฟ้าที่ใช้กับบัสแบบ PCI นี้มี 2 แบบคือ ใช้แรงดันไฟฟ้าขนาด +3.3 โวลต์ สำหรับเครื่องพีซีทั่วไป และแรงดันขนาด +5 โวลต์ สำหรับ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูแบบ RISC เช่น Alpha ของ DEC เป็นต้น

  34. มาตรฐานของบัส คุณสมบัติที่สำคัญของ PCI • ใช้เทคนิคที่ใช้แอ็ดเดรสบัส/ดาต้าบัสเป็นแบบ multiplexed ทำให้ลดขนาดจำนวนขาของสล็อต PCI • ใช้ระบบ Plug&Play ทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องตั้งค่าคอนฟิกกุเรชัน ทำให้ลดปัญหาการเกิดอินเทอร์รัพท์ • มีระบบ Write Posting และ Read Perfecting ทำให้ประหยัดเวลาในการเตรียมการเขียน และอ่านข้อมูล • เป็นระบบบัสที่ไม่ขึ้นกับโปรเซสเซอร์ ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ เป็นการลดค่าใช้จ่าย และการซ่อมบำรุง สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับบัสแบบ PCI • มีการตรวจสอบ และแก้ไขข้อผิดพลาดในระหว่างการถ่ายโอนข้อมูล

  35. การเชื่อมต่ออุปกรณ์กับบัสแบบ PCI

  36. มาตรฐานของบัส SCSI SCSI (Small Computer System Interface) เป็นบัสแบบขนานที่ออกแบบมาเพื่อทำงานเป็นสากลกับไอโอดีไวซ์ บัสแบบ SCSI มีการกำหนดแอ็ดเดรสให้แต่ละดีไวซ์ ถูกออกแบบให้เป็น “daisy chained” ที่แต่ละดีไวซ์จะเชื่อมต่อกับดีไวซ์ โดยตัวที่สองจะเชื่อมต่อกับตัวที่หนึ่ง ตัวที่สามจะเชื่อมต่อกับตัวที่สอง เป็นเช่นนี้เรื่อยไป

  37. Daisy chained ของ SCSI

  38. มาตรฐานของบัส AGP AGP (Accelerated Graphics Port) เป็นบัสที่ใช้กับการ์ดจอเท่านั้น เพื่อการแสดงผลภาคเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ รวมทั้งภาพยนตร์ หรือวิดีโอแบบจอคอมพิวเตอร์ โหมด x1 สามารถถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นความเร็ว 266 เมกะไบต์ต่อวินาที โหมด x2 สามารถถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นความเร็ว 532 เมกะไบต์ต่อวินาที ปัจจุบัน โหมด x4 สามารถถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นความเร็ว 1,064 เมกะไบต์ต่อวินาที

  39. การเชื่อมต่อของ AGP

  40. มาตรฐานของบัส USB USB (Universal Serial BUS) เป็นมาตรฐานในการอินเตอร์เฟซกับคอมพิวเตอร์ด้วยอัตราการถ่ายโอนข้อมูลสูงกว่า 1 เมกะไบต์ต่อวินาที และสามารถช่วยลดข้อจำกัดจำนวนดีไวซ์ที่ที่เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดจองระบบ เพื่อขยายขีดความสามารถในการทำงานของพอร์ดอนุกรม พอร์ต USB เป็นพอร์ตที่ทันสมัย เนื่องจากสามารถรองรับอุปกรณ์ได้หลากหลาย และเชื่อมต่อได้ง่าย

  41. มาตรฐานของบัส ข้อดีของ USB • สามารถเชื่อมต่อดีไวซ์ได้มากขึ้น โดยสามารถเชื่อมต่อได้ถึง 127 ดีไวซ์ใน คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว • ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดถึง 480 เมกะบิตต่อวินาที หรือ 60 เมกะไบต์ ต่อวินาที (ใน USB 2.0) ทั้งสัญญาณเสียง และสัญญาณภาพ • ลดการใช้รีซอร์ส IRQ และสล็อต (Slot) สำหรับการ์ดต่าง ๆ ที่เป็นอุปกรณ์ต่อ พ่วงในคอมพิวเตอร์ได้อย่างมาก • สนับสนุนการทำงานแบบ Plug&Play โดยเป็นการขยายความสามารถ ฟีเจอร์นี้ ทำให้นำมาใช้งานกับอุปกรณ์ภายนอกที่สนับสนุนฟีเจอร์นี้ได้

  42. มาตรฐานของบัส ส่วนประกอบของ USB ทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ • ฮาร์ดแวร์ - USB Controller/Root Hub เป็นฮาร์ดแวร์ที่ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลบนบัสแบบ USB โดยมี Root Hub เป็นจุดเชื่อมต่อที่อยู่บนเมนบอร์ด เช่นกัน - USB Hubs เป็นฮับแบบหนึ่งทำหน้าที่ขยายการเชื่อมต่อเพื่อติดตั้งดีไวซ์ USB ได้มากขึ้น เช่น คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เป็นต้น โดยมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ Hub Controller และ Hub Repeater - อุปกรณ์ USB เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ USB โดยมีหัวต่อของอุปกรณ์

  43. รูปแบบการเชื่อมต่อของUSBรูปแบบการเชื่อมต่อของUSB

  44. มาตรฐานของบัส ส่วนประกอบของ USB ทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ • ซอฟต์แวร์ - USB Device Driver - USB Driver - Host Controller Driver

  45. มาตรฐานของบัส FireWire FireWire ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูง พัฒนาการล่าสุดของ FireWire จะมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 3.2 กิกะบิตต่อวินาที ทำให้เหมาะสมในการถ่ายโอนข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหวและเสียง การประชุมทางไกลที่เรียกว่า “วิดีโอคอนเฟอร์เรนต์” (Video conference) และใช้กับแอปพลิเคชันที่ต้องการความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูง

  46. การเชื่อมต่อดีไวซ์เข้ากับ FireWire

  47. มาตรฐานของบัส FireWire คุณสมบัติที่เหมือนกันของ FireWire และ USB  บัสที่มีสัญญาณไฟฟ้า  Plug & Play และปรับแต่งคอนฟิกกุเรชันตัวเอง  ใช้ได้กับดีไวซ์ที่หลากหลาย  สนับสนุนการทำงานบนเลเยอร์ 4 เลเยอร์ล่างของโมเดล ISO Layer  วงรอบบัส หรือเวลาต่อเฟรมที่คงที่  การถ่ายโอนข้อมูลทั้งแบบอะซิงโครนัส และไอโซโครนัส

  48. มาตรฐานของบัส FireWire คุณสมบัติที่ต่างกันระหว่าง FireWire และ USB  คุณสมบัติเฉพาะของ USB: USB ถูกออกแบบให้มีราคาต่ำ มีความเร็วต่ำ เพื่อใช้งานกับดีไวซ์ที่อินเทอร์เฟซความเร็วต่ำ การทำงานของ USB ขึ้นอยู่กับ Host controller  คุณสมบัติเฉพาะของ FireWire: FireWire ถูกออกแบบให้เป็นบัสที่ทำงานด้วยความเร็วสูงสำหรับการอินเทอร์เฟซกับดีไวซ์จำพวกกล้องถ่ายวิดีโอและดิสก์ไดร์ฟ ซึ่งถูกออกแบบให้สามารถปรับแต่งคอนฟิกกุเรชันตัวเองได้โดยไม่ต้องให้ Host controller

  49. มาตรฐานของบัส FireWire คุณสมบัติที่ต่างกันระหว่าง FireWire และ USB  การรวมแพ็กเก็ต และการถ่ายโอนข้อมูลของ USB: การทำงานของ USB ขึ้นอยู่กับ Host controller ที่จะจัดการทุกอย่าง  การรวมแพ็กเก็ต และการถ่ายโอนข้อมูลของ FireWire: เริ่มทำงานจะมีดีไวซ์หนึ่งถูกเลือกให้เป็น Host หรือ Bus controller ซึ่ง Controller ที่กำหนดนั้นจะเก็บโครงสร้างข้อมูลที่ประกอบด้วยข่าวสารเกี่ยวกับบัส

  50. มาตรฐานของบัส การเปรียบเทียบ USB กับ FireWire ในคุณสมบัติหลัก

More Related