700 likes | 922 Views
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ). ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ). หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้. ลักษณะการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์.
E N D
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network )
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้
ลักษณะการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ลักษณะการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ เราสามารถแบ่งลักษณะของการเชื่อมโยงออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) 2. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) 3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์หลักที่เป็นโฮสต์ (Host) ต่อสายสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ย่อยที่เป็นไคลเอนต์ (Client)คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคลเอนต์ แต่ละเครื่องไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง การติดต่อจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นศูนย์กลาง
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวนโดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง จะส่งสัญญาณในทิศทางเดียว ส่งทอดไปเรื่อยๆ
เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิลซึ่งเรียกว่า บัสคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆ สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระ โดยข้อมูลจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆ บนสายเคเบิลจนกว่าจะถึงจุดที่ระบุไว้ (Address)
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)
เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กันเช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียน เป็นต้น ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกันเช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมโยงกันระหว่างประเทศ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
ความหมายของระบบเครือข่ายความหมายของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ 1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) 2. ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) 3. สถานีงาน (Workstation or Terminal) 4. อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่านในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น ช่องทางการสื่อสาร(Communication Channel) รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม
หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host สถานีงาน (Workstation or Terminal)
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ อุปกรณ์ในเครือข่าย(Network Operation System)
รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายรูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
อุปกรณ์ในเครือข่าย ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง แสดงฮับที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแยกของสาย
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่ายซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux, Windows XP ,Windows 2000, Unix เป็นต้น
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1. การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) 2. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) 3. สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) 4. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability)
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต เริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหารโดยใช้ชื่อว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advances Research Project Agency net จากนั้นมีการขยายเครือข่ายนี้ออกไปอีกจนมีชื่อเรียกว่าINTERNET ซึ่งมาจากคำว่า Interconnection Network
ความหมายของอินเทอร์เน็ตความหมายของอินเทอร์เน็ต คือระบบที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในที่ต่างๆทั่วโลกเข้าด้วยกันผ่านทางระบบการสื่อสาร เช่นสายเคเบิล สายโทรศัพท์ โมเด็ม และดาวเทียม ซึ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อสาธารณะ ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือนใยแมงมุม
อินทราเน็ต (Intranet) หมายถึงเครือข่ายภายในองค์กร ที่นำซอฟแวร์บนอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของม.สงขลานครินทร์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังม.เมลเบิร์นประเทศออสเตรียผ่านทางสายโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อมูลได้ล่าช้าและไม่ถาวร
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (ต่อ) กระทั่งปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันและมหาลัย6แห่งได้แก่ม.จุฬาฯ ,ม.สงขลานครินทร์,ม.ธรรมศาสตร์,ม.เกษตรศาสตร์,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และ NECTEC เข้าด้วยกันเรียกเครือข่ายนี้ว่า“ไทยสาร”
องค์ประกอบของอินเทอร์เน็ตองค์ประกอบของอินเทอร์เน็ต ในการเชื่อมต่ออินเตอร์ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการในการเชื่อมต่อ ดังนี้ 1. คอมพิวเตอร์ 2. โมเด็ม (Modem) 3. คู่สายโทรศัพท์ 4. โปรแกรมสื่อสาร 5. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP :Internet Service Provider)
การเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ตการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต อาจใช้ดาวเทียมช่วยรับ-ส่งข้อมูลก็ได้ ติดตั้งโปรแกรมสื่อสาร คู่สายโทรศัพท์ ISP คอมพิวเตอร์ MODEM MODEM
เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร?เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร?
บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต 1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
ISP = Internet Service Provider เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต” ISP
ผู้ให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet Service Providers) คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากที่ต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อออกภายนอก ผู้ให้บริการ (ISP) ในประเทศไทย เช่น KSC , Loxinfo , Samart , เอเน็ต เป็นต้น
TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จะต้องมีสื่อกลางที่คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งมีชื่อทางเทคนิคว่า “โปรโตคอล” (Protocol) สำหรับโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TCP/IP
เรียกดูข้อมูลจากเว็บผ่านบราวเซอร์โดยระบุ http:// นำหน้าโดเมน HTTP โปรโตคอลของเว็บ • HyperText Transfer Protocol หรือ HTTP • โปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งที่ใช้เรียกดูข้อมูลจากเว็บ
IP Address เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งจะไม่ซ้ำกับเครื่องอื่น จะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดต่อกัน โดยมีจุด (.) เป็นตัวแบ่งชุดตัวเลข ตัวเลขแต่ละชุดจะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 เช่น 208.49.20.16
หลักสูตรการใช้อินเตอร์เน็ตหลักสูตรการใช้อินเตอร์เน็ต IP Address / Internet Address • หมายเลข IP สามารถแบ่งได้ 5 แบบ หรือ 5 Class ดังนี้ • Class Range • A 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 • B 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 • C 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 • D 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 • E 240.0.0.0 ถึง 247.255.255.255
องค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรหมายเลข IP โดยเฉพาะ เรียกว่า Internet Network Information Center
Domain Name คือ การนำเอาตัวอักษรที่จำได้ง่ายมาใช้แทน IP Address เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อโดเมน นิยมตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัทหรือองค์กร เช่น 203.107.175.2 www.kbu.ac.th
DNS - Domain Name System • โดเมนที่มีตัวอักษร 3 ตัว เรียกว่า Generic domain ส่วนมากใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา • .com องค์กรธุรกิจ -- commercial • .edu สถาบันการศึกษา -- education • .gov หน่วยงานราชการ -- government • .int องค์กรระหว่างประเทศไทย -- international • .mil หน่วยงาน ทหาร -- military • .net ผู้ให้บริการเครือข่าย -- network • .org องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร -- organization
DNS - Domain Name System .com = commercial องค์กรธุรกิจ .co.th = บริษัทที่จดทะเบียนการค้าของไทย .org = Organization องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร .ac.th = สถานศึกษาในประเทศไทย
DNS - Domain Name System • โดเมนที่มีตัวอักษร 2 ตัว เรียกว่า Country domain • เป็นตัวอักษรที่ใช้แทนประเทศต่างๆ • th Thailand • jp Japan • sg Singapore • au Australia
บริการบนอินเตอร์เน็ต ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronics Mail : E-mail)ใช้รับ – ส่ง ข้อความผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล(File Transfer Protocol : FTP) การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง กลุ่มอภิปรายกลุ่มข่าว(Newsgroup) เป็นการรวมกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่สนใจในเรื่องเดียวกัน การสนทนาในเครือข่าย(Internet Relay Chat : IRC) สนทนากันแบบโต้ตอบทันทีโดย การพิมพ์ หรือใช้เสียง เวิลด์ไวด์เว็บ(World Wide Web : WWW) เป็นการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต
URL (Uniform Resource Location) คือ ที่อยู่หรือตำแหน่งของเว็บไซต์ Hyperlinks คือ เส้นทางเชื่อมต่อไปยังหน้าเพจอื่นๆ หรือตำแหน่ง URL อื่นๆ บนอินเตอร์เน็ต จะแสดงเป็นตัวอักษรที่มีสีต่างกันออกไป หรือมีการขีดเส้นใต้ล่างตัวอักษรกลุ่มนั้น อาจเป็นรูปภาพ
HTML = HyperText Markup Language ภาษาที่ใช้ในการจัดหน้าเว็บเพจ มีส่วนขยายคือ .htm หรือ .html ใช้โปรแกรมช่วยเขียนได้ เช่น Dreamweaver, Frontpage HTML : ภาษาของเว็บ
คือ โปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจในอินเตอร์เน็ต เช่นโปรแกรม Internet Explorer , Netscape , Monster เป็นต้น Browser Internet Explorer
Web Site Home Page + Web Page = Web Site