750 likes | 1.7k Views
บทที่ 2 (ต่อ) การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statements Analysis). อ.วิชดา ลิวนานนท์ชัย. การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis).
E N D
บทที่ 2 (ต่อ)การวิเคราะห์งบการเงิน(Financial Statements Analysis) อ.วิชดา ลิวนานนท์ชัย
การวิเคราะห์งบการเงิน(Financial Statement Analysis) หมายถึง การประเมินฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยอาศัยเครื่องมือทางการเงินต่างๆ เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน ได้แก่ 1. อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) 2. การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis)หรือการวิเคราะห์โดยใช้ขนาดร่วม (Common-Size Analysis) 3. การวิเคราะห์ตามแนวนอน (Horizontal Analysis)
การวิเคราะห์เปรียบเทียบการวิเคราะห์เปรียบเทียบ อัตราส่วนทางการเงินที่คำนวณได้ สามารถเปรียบเทียบ เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาของธุรกิจได้ 4 วิธี ดังนี้ • การเปรียบเทียบกับตัวธุรกิจเองในอดีต เพื่อดูการเจริญเติบโตว่า ธุรกิจมีแนวโน้ม หรือทิศทางที่ ดีขึ้น หรือ แย่ลง • การเปรียบเทียบกับเป้าหมายว่า ดีกว่า หรือ แย่กว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ • การเปรียบเทียบกับคู่แข่ง โดยพิจารณาธุรกิจมีฐานะทางการเงิน ดีกว่า หรือ แย่กว่า คู่แข่ง • การเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกันว่า ดีกว่า หรือ แย่กว่า ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
1.การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis)หรือการวิเคราะห์โดยใช้ขนาดร่วม (Common Size Analysis) เป็นการวิเคราะห์งบการเงินโดยเปรียบเทียบรายการต่างๆ ในงบการเงินของงวดเดียวกัน หรือปีเดียวกัน เพื่อพิจารณาสัดส่วนของรายการต่างๆ ในงบดุล และงบกำไรขาดทุน • งบดุลฐานร่วม (Common-size Balance Sheet)ส/ท รวมเป็นฐานในการเปรียบเทียบรายการต่างๆ ในงบดุล • งบกำไรขาดทุนฐานร่วม (Common-size Income Statement) ยอดขาย หรือรายได้รวม เป็นฐานในการเปรียบเทียบรายการต่างในงบกำไรขาดทุน
2. การวิเคราะห์ตามแนวนอน (Horizontal Analysis) เป็นการเปรียบเทียบตัวเลขในงบการเงินตั้งแต่ 2 งวด ขึ้นไป เพื่อดูว่ารายการต่างๆ ในงบการเงินแต่ละงวดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ โดยการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีนั้นนิยมให้อยู่ในรูปอัตราร้อยละของการเปลี่ยนแปลง (Percentage Change)ดังนั้นวิธีนี้ จึงเรียกได้อีกย่างหนึ่งว่า “การวิเคราะห์อัตราร้อยละของการเปลี่ยนแปลง (Percentage Change Analysis)”ถ้าทำการคำนวณอัตราร้อยละของการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ปี จะสามารถดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรายการต่างๆ ในงบการเงินได้ เรียกว่า “ การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)” ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่1การวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบกับงวดก่อน % การเปลี่ยนแปลงของยอดขาย = ยอดขายปีใหม่ – ยอดขายปีก่อน * 100 ยอดขายปีก่อน = 1,479,000 – 1,436,000 * 100= 3% 1,436,000 แสดงว่ายอดขายปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (ปี 2542)เท่ากับ 3% % การเปลี่ยนแปลงของเงินสด = เงินสดปีใหม่ – เงินสดปีก่อน * 100 เงินสดปีก่อน = 19,000 – 25,000 * 100= - 24% 25,000 แสดงว่าเงินสดปี 2543 ลดลงจากปีที่แล้ว (ปี 2542)เท่ากับ 24%
วิธีที่2การวิเคราะห์โดยการกำหนดงวดใดงวดหนึ่งเป็นปีฐานในการเปรียบเทียบวิธีที่2การวิเคราะห์โดยการกำหนดงวดใดงวดหนึ่งเป็นปีฐานในการเปรียบเทียบ ตัวอย่าง 2538 2539 2540 2541 2542 2543 หน่วย : พันบาท ยอดขายสุทธิ 737 719 744 781 803 858 ต้นทุนขาย 471 450 464 490 509 513 กำไรขั้นต้น 266 269 280 291 294 345
กำหนดให้ปี 2538 เป็นปีฐาน %การเปลี่ยนแปลงของยอดขายปี 2543 = ยอดขายปี 2543 – ยอดขายปีฐาน * 100 ยอดขายปีฐาน (2538) = 858,000 – 737,000 * 100 = 16% 737,000 %ยอดขายสุทธิปี 2543 เปรียบเทียบกับปีฐาน = ยอดขายสุทธิปี 2543 *100 ยอดขายสุทธิปีฐาน =858,000 * 100 = 116% 737,000
3. การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายการต่างๆในงบการเงินหลัก 2 งบ คือ งบดุลและงบกำไรขาดทุน เพื่อประเมินฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 5ประการ ดังนี้
อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) • เป็นการพยายามแปลงข้อมูลในงบการเงินให้เป็นมาตรฐาน เพื่อสามารถนำค่าที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับปีอื่น และเปรียบเทียบกับกิจการอื่นได้อย่างมีความหมาย • ธุรกิจเป็นแหล่งรวมของทรัพยากร (ส/ท ต่างๆ ในงบดุล) กิจการใช้ ส/ท ในการผลิตและขายสินค้า เพื่อทำกำไรให้กับกิจการ(แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุน)
การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินการวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน 1. อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์(Activity Ratios or Asset Utilization Ratios) 1.1 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] 1.2 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ระยะยาว [ Long-term (Investment) Activity Ratios ] 2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) 3. อัตราส่วนที่แสดงถึงความเสี่ยงจากการกู้ยืม หรือ ความสามารถในการก่อหนี้ และการชำระหนี้(Leverage Ratios or Long-term Solvency Ratios) 4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) 5. อัตราส่วนที่แสดงถึงราคาตลาด (Marketable-Value Ratios)
1.1 อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] • อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์(Activity Ratios or Asset Utilization Ratios) • อัตราการหมุนของสินค้า (Inventory Turnover) คือจำนวนครั้งในการขายสินค้าคงเหลือของธุรกิจในรอบ 1 ปียิ่งสูงยิ่งดี • อัตราการหมุนของสินค้า (ครั้ง)= ซื้อสุทธิหรือต้นทุนขาย สินค้าคงเหลือเฉลี่ย • บริษัทนนทรี = 9,072,000 = 6.15 ครั้ง1,474,800 • Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 6.65 ครั้ง • ระดับส/ค คงเหลือเหมาะสมกับยอดขายของกิจการหรือไม่ ?
1.1 อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] ระยะเวลาการการถือสินค้า (Average Age of Inventory or Days Inventory Outstanding)คือ จำนวนวันเฉลี่ยที่บริษัทใช้ต่อการขายสินค้า 1 ครั้งนับจากวันที่ซื้อหรือผลิตสินค้าออกมา ยิ่งสั้นยิ่งดี ระยะเวลาการถือสินค้า (วัน)= 365อัตราการหมุนของสินค้า บริษัทนนทรี = 365 = 59.34 วัน 6.15 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 365 = 54.9 วัน 6.65
อัตราการหมุนของลูกหนี้(Accounts Receivable Turnover)คือ จำนวนครั้งที่บริษัทสามารถเก็บหนี้จากการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อได้ในรอบ1 ปีอัตราการหมุนของลูกหนี้ (ครั้ง)= ขายเชื่อหรือยอดขาย ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย • บริษัทนนทรี = 12,600,000 = 12.73 ครั้ง • 990,000 • Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 11.77 ครั้ง • ยิ่งมากยิ่งดี 1.1 อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] ได้แก่
ระยะเวลาการเก็บหนี้(Average Collection Period or Days Receivable Outstanding) ครั้ง นับจากวันที่ขายเชื่อสินค้าออกไป ระยะเวลาการเก็บหนี้ (วัน)= 365อัตราการหมุนของลูกหนี้ บริษัทนนทรี = 365 = 28.67 วัน 12.73 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 365 = 31.0 วัน 11.77 1.1 อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์หมุนเวียน[ Short-term (Operation) Activity Ratios ] ได้แก่
วงจรการดำเนินงาน (Operation Cycle) วงจรการดำเนินงาน= ระยะเวลาการถือสินค้า + ระยะเวลาการเก็บหนี้ บริษัทนนทรี= 59.34 + 28.67 = 88.01 วัน Industry Average = 54.90 + 31.00 = 85.90 วัน ผลิตหรือซื้อสินค้า เงินสด ขายสินค้าเงินสด เก็บเงินได้ สินค้า ลูกหนี้การค้า ขายสินค้าเงินเชื่อ
1. อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์(Activity or Asset Utilization Ratios) 1.2 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ระยะยาว[ Long-term (Investment) Activity Ratios ] • อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร(Fixed Assets Turnover) คือ การวิเคราะห์ว่าสินทรัพย์ถาวรที่บริษัทลงทุนไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างรายได้ (ยอดขาย) ได้เป็นกี่เท่าของสินทรัพย์ถาวรที่ได้ลงทุนไป • อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร (เท่า)= ยอดขาย สินทรัพย์ถาวรสุทธิเฉลี่ย • บริษัทนนทรี = 12,600,000 = 4.13 เท่า • 3,048,000 • Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 4.20 เท่า • ถ้าขายสุทธิ > สินทรัพย์ถาวรเฉลี่ย อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร > 1 • ถ้าขายสุทธิ < สินทรัพย์ถาวรเฉลี่ย อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร < 1
1.2 การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ระยะยาว [ Long-term (Investment) Activity Ratios ] อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม(Total Assets Turnover) คือ การวิเคราะห์ว่าสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุนไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างรายได้ (ยอดขาย) ได้เป็นกี่เท่าของสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไป อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม (เท่า)= ยอดขาย สินทรัพย์รวมเฉลี่ย บริษัทนนทรี = 12,600,000 = 2.16 เท่า 5,820,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 2.09 เท่า • ถ้าขายสุทธิ > สินทรัพย์รวม อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม > 1 • ถ้าขายสุทธิ < สินทรัพย์รวม อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม < 1 • แสดงว่าส/ททั้งหมดของธุรกิจสามารถสร้างรายได้ (ยอดขาย) ได้ …… เท่าของมูลค่าส/ทรวม
สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมสรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม วัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ อัตราส่วน อุตสาหกรรม นนทรี • ระยะเวลาการถือสินค้า 54.9 วัน 59.34 วัน • ระยะเวลาการเก็บหนี้ 31.0 วัน 28.67 วัน • อัตราการหมุนของ ส/ท ถาวร 4.20 เท่า 4.13 เท่า • อัตราการหมุนของ ส/ท รวม 2.09 เท่า 2.16 เท่า บริษัทนนทรีขายสินค้าได้ช้ากว่าอุตสาหกรรม ชี้ให้เห็นถึงระดับสินค้าคงเหลือที่สูงหรือคุณภาพของสินค้าต่ำ แต่บริษัทมีระยะเวลาการเก็บหนี้เร็วกว่าอุตสาหกรรมแสดงถึงประสิทธิภาพและนโยบายการเก็บหนี้ที่ดี บริษัทมีประสิทธิภาพในการใช้ ส/ท ถาวร ต่ำ สืบเนื่องจากการมีสินทรัพย์ถาวรอยู่มาก ทำให้โอกาสในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ถาวรนั้นน้อย อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ทั้งหมดกลับมีประสิทธิภาพเหนือกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) สภาพคล่องของธุรกิจ หมายถึงความสามารถในการจ่ายชำระภาระผูกพันทางการเงินระยะสั้น ที่ครบกำหนดภายใน 1 ปี หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินระยะสั้นที่มีภาระต้องชำระคืนภายในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งปกติคือ 1 ปี ได้แก่ • เจ้าหนี้การค้า • เงินกู้ระยะสั้น • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย กิจการมีสภาพคล่องสูงเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินที่ใกล้ครบกำหนดหรือไม่ ?
2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) เงินทุนที่จะนำมาจ่ายหนี้สินหมุนเวียนได้มาจากเงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนต่างๆ โดยธุรกิจจะต้องดำเนินงานให้สินทรัพย์หมุนเวียนเหล่านี้ เปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งปกติเป็นเวลา 1 ปี เพื่อให้สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ครบถ้วนและทันเวลา สินทรัพย์หมุนเวียน คือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว ซึ่งปกติจะใช้เวลา 1 ปี ได้แก่ • เงินสดและเงินฝากธนาคาร • หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด • ลูกหนี้การค้า • ตั๋วเงินรับ • สินค้าคงเหลือ • ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Working capital) (บาท) = สินทรัพย์หมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current ratio) (เท่า) = สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน แสดงถึงสภาพคล่องของธุรกิจ แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนหรือไม่ ? ดังนั้นเงินทุนหมุนเวียนสุทธิและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะเป็นการแสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องสูง
2,844,000 = 3.73เท่า 762,000 อัตราเงินทุนหมุนเวียน = ส/ทหมุนเวียน น/สหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = ส/ทหมุนเวียน - น/สหมุนเวียน 2,844,000 - 762,000 =2,082,000บ.
2. อัตราส่วนที่แสดงถึงสภาพคล่อง(Liquidity Ratios) • การสังเกตว่าบริษัทมีสภาพคล่องหรือไม่ ? • ให้พิจารณาจากมูลค่าของสินทรัพย์หมุนเวียนว่า > มูลค่าหนี้สินหมุนเวียนหรือไม่ • ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียน > หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ > 0 • และอัตราเงินทุนหมุนเวียน > 1 แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพราะมีสินทรัพย์ หมุนเวียนเพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทมีภาระต้องชำระ • ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียน < หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ < 0 • และอัตราเงินทุนหมุนเวียน < 1 แสดงว่าบริษัทไม่มีสภาพคล่องเพราะมีสินทรัพย์หมุนเวียนไม่เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทมีภาระต้องชำระ • ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียน = หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = 0 • และอัตราเงินทุนหมุนเวียน = 1 แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนเท่ากับหนี้สินหมุนเวียนที่บริษัทมีภาระต้องชำระพอดี
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว • (Quick ratio or Acid test ratio) • = ส/ท หมุนเวียน – ส/ค คงเหลือ – ค/จ จ่ายล่วงหน้า • น/ส หมุนเวียน แสดงถึงสภาพคล่องของธุรกิจ ว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนได้เร็วแค่ไหนและเพียงพอที่จะจ่ายหรือไม่ อัตราส่วนนี้จะคล้ายกับอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่างกันที่อัตราส่วนนี้จะใช้เฉพาะสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว และตัดรายการสินค้าคงเหลือออกไป เพราะสินค้าคงเหลือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า รวมทั้งตัดสินทรัพย์หมุนเวียนบางรายการที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เช่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ถ้าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว > 1 แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง(สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว)เพียงพอที่จะจ่ายหนี้สินหมุนเวียน ดังนั้นอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วนี้ ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงถึงสภาพคล่องสูง
2,844,000- 1,509,600 762,000 =1.75เท่า อัตราเงินทุนหมุนเวียนเร็ว = ส/ท หมุนเวียน – ส/ค คงเหลือ น/ส หมุนเวียน
วงจรเงินสด (Cash Cycle) วงจรเงินสด =ระยะเวลาการถือสินค้า + ระยะเวลาการเก็บหนี้ - ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ = วงจรการดำเนินงาน - ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ บริษัทนนทรี= 59.34 + 28.67 – 18.95 = 69.06 วัน Industry Average = 54.90 + 31.00 – 19.11 = 66.79 วัน ชำระค่าสินค้าหรือวัตถุดิบ เงินสด เจ้าหนี้การค้า ผลิตหรือ ซื้อสินค้า เก็บเงินได้ ซื้อวัตถุดิบหรือส/คเงินเชื่อ ขายสินค้าเงินสด สินค้า ลูกหนี้การค้า ขายสินค้าเงินเชื่อ
วงจรเงินสด (ต่อ) อัตราการหมุนของเจ้าหนี้ (ครั้ง)= ซื้อเชื่อหรือต้นทุนขาย (Account Payable Turnover) เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย บริษัทนนทรี = 9,072,000 = 19.26 ครั้ง 471,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 19.10 ครั้ง ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ (วัน) = 365 อัตราหมุนของเจ้าหนี้ บริษัทนนทรี = 365 = 18.95 วัน 19.26 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 365 = 19.11 วัน 19.10
วงจรเงินสด (ต่อ) • วงจรเงินสด ยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะแสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสดได้เร็ว จากวงจรเงินสด ธุรกิจสามารถบริหารสภาพคล่องให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้โดย • ลดระยะเวลาการถือสินค้าให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ลดระยะเวลาการเก็บหนี้ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ขยายระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม (ต่อ) วัดสภาพคล่อง อัตราส่วน อุตสาหกรรม นนทรี • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน 2.11 เท่า 3.73 เท่า • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว 1.12 เท่า 1.75 เท่า • วงจรเงินสด 66.79 วัน 69.06วัน เมื่อพิจารณาอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว พบว่า บริษัทนนทรีมีสภาพคล่องสูงกว่าอุตสาหกรรม แต่วงจรเงินสดยาวกว่าอุตสาหกรรมแสดงว่ามีสภาพคล่องในการหมุนเงินช้ากว่า
3. อัตราส่วนที่แสดงถึงความเสี่ยงจากการกู้ยืม หรือความสามารถในการก่อหนี้และการชำระหนี้(Leverage Ratios or Long-term Solvency Ratios) • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (%) = หนี้สินรวม สินทรัพย์รวม บริษัทนนทรี = 1,122,000 = 19.89 % 5,640,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 58.3 % อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมนี้แสดงถึงสัดส่วนของการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้เพื่อมาซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ อัตราส่วนหนี้ยิ่งมากยิ่งไม่ดี เพราะแสดงว่าบริษัทจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สูง และอัตราส่วนหนี้มีค่าไม่เกิน 1 เพราะจากสมการบัญชี สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน ดังนั้นไม่มีทางที่หนี้สินจะมากกว่าสินทรัพย์ได้ เมื่อเศษมีค่าน้อยกว่าส่วน ดังนั้นอัตราส่วนนี้จึงมีค่า < 1
สินทรัพย์ = หนี้สิน (D) : ทุน (E) 100 % 40 % : 60 % 45 % : 55 %เหมาะสมมาก 50 %: 50 % 55 % : 45 % 60 % : 40 % 65 %: 35 % 70 % : 30 % 75 % : 25 % 80 % : 20 % 90 % : 10 % เป็นไปได้ ควรเป็นช่วงขยายตัว องค์ประกอบต้องเอื้ออำนวย ยากที่จะหาผู้ให้กู้
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ (Debt to equity ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ(เท่า) =หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ = ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม - หุ้นบุริมสิทธิ บริษัทนนทรี = 1,122,000 = 0.286 เท่า 4,518,000 – 600,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 1.4 เท่า อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ แสดงว่ากิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้เป็นกี่เท่าของการจัดหาเงินทุนด้วยทุน • ถ้าอัตราส่วนนี้ > 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ > ทุน (Debt ratio > 50%) • ถ้าอัตราส่วนนี้ < 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ < ทุน (Debt ratio < 50%) • ถ้าอัตราส่วนนี้ = 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้ = ทุน (Debt ratio = 50%)
อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ (Long-term debt to equity ratio : D/E Ratio) อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ(เท่า) =หนี้สินระยะยาว ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ บริษัทนนทรี = 360,000 = 0.09 เท่า 3,918,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 0.9 เท่า • อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ คล้ายกับอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญต่างกันแต่ใช้เฉพาะหนี้สินระยะยาวเท่านั้น เนื่องจากส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญคือทุนจัดเป็นการลงทุนระยะยาว หนี้สินที่นำมาเปรียบเทียบจึงควรเป็นหนี้สินระยะยาว ส่วนการตีความคล้ายกับ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ คือ • ถ้าอัตราส่วนนี้ > 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สินระยะยาว > ทุน • ถ้าอัตราส่วนนี้ < 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สินระยะยาว < ทุน • ถ้าอัตราส่วนนี้ = 1 แสดงกิจการจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สินระยะยาว = ทุน
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Time-interest earned) อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย =กำไรจากการดำเนินงาน (เท่า) ดอกเบี้ยจ่าย บริษัทนนทรี = 1,764,000 = 7 เท่า 252,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 4.2เท่า • อัตราส่วนนี้ ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงถึงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยของกิจการ • ถ้าอัตราส่วนนี้ > 1 แสดงว่ามีกำไรจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ย • ถ้าอัตราส่วนนี้ < 1 แสดงว่ามีกำไรจากการดำเนินงานไม่เพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ย
สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม (ต่อ) วัดการก่อหนี้ อัตราส่วน อุตสาหกรรม นนทรี • อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ 58.3 % 19.9 % • อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ 1.4 เท่า 0.286 เท่า • อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ 0.9 เท่า 0.09 เท่า • ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 4.2 เท่า 7 เท่า เมื่อพิจารณาอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ และอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ พบว่า บริษัทนนทรีมีหนี้สินน้อยกว่าอุตสาหกรรมมาก ส่งผลให้มีภาระดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายน้อย ทำให้บริษัทมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยได้อย่างสบาย
4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • ความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับยอดขาย เป็นการวิเคราะห์จากงบกำไรขาดทุนเท่านั้น • อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) อัตรากำไรขั้นต้น(%) = กำไรขั้นต้น * 100 ยอดขาย บริษัทนนทรี = 3,528,000 * 100 = 28.0 % 12,600,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 27.3 % อัตรากำไรขั้นต้น ……. % หมายถึง กิจการมีกำไรขั้นต้น (ยอดขาย - ต้นทุนขาย) คิดเป็น ……. บาท จากยอดขาย 100 บาท
4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit margin) อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (%) = กำไรจากการดำเนินงาน * 100 ยอดขาย บริษัทนนทรี = 1,764,000 * 100 = 14 % 12,600,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 12 % อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ……. % หมายถึง กิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายต่างๆ) คิดเป็น ……. บาท จากยอดขาย 100 บาท
4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • อัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) อัตรากำไรสุทธิ (%) = กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ * 100 ยอดขาย บริษัทนนทรี = 1,058,400 – 60,000 * 100 12,600,000 = 998,000 = 7.92 % 12,600,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 7% อัตรากำไรสุทธิ……. % หมายถึง กิจการมีกำไรสุทธิ (กำไรหลังหักค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ย และภาษี) คิดเป็น ……. บาท จากยอดขาย 100 บาท
4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • ความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับเงินลงทุน เป็นการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานจากงบกำไรขาดทุน โดยเทียบกับเงินลงทุนในงบดุล • อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม(Return on Assets : ROA) หรืออัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน(Return on Investment : ROI) ROA (%) or ROI (%) =กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ * 100 สินทรัพย์รวมเฉลี่ย บริษัทนนทรี = 998,400 * 100 = 17.15 % 5,820,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 10.3 %
4. อัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไร(Profitability Ratios) • อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) ROE(%)=กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ * 100 ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญเฉลี่ย บริษัทนนทรี = 998,400 * 100 = 27.18 % 3,673,800 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 27.2 %
สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทนนทรีเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม (ต่อ) วัดความสามารถในการทำกำไร อัตราส่วน อุตสาหกรรม นนทรี • อัตรากำไรขั้นต้น 27.3 % 28.0 % • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน 12.0 % 14.0 % • อัตรากำไรสุทธิ 7.00 % 7.92 % • ROA10.3 % 17.2 % • ROE 27.2 % 27.2% บริษัทนนทรีมีความสามารถในการทำกำไรสูงกว่าอุตสาหกรรม ทั้งในแง่อัตรากำไรต่อยอดขายและในแง่ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน
5. อัตราส่วนที่แสดงถึงราคาตลาด(Marketable-Value Ratios) Other Data • จำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียน 50,000 หุ้น • ราคาตามมูลค่า (Par) 12 บาท / หุ้น • ราคาตลาด ณ 31 ธ.ค. 45 303.5 บาท / หุ้น • กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น (Earning Per Share : EPS) =กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ บาท/หุ้น จำนวนหุ้นสามัญ บริษัทนนทรี = 998,400 = 19.97 บาท / หุ้น 50,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 20.8 บาท / หุ้น
5. อัตราส่วนที่แสดงถึงราคาตลาด (Marketable-Value Ratios) • มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) = ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ บาท/หุ้น จำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้ว บริษัทนนทรี = 3,918,000 = 78.36 บาท / หุ้น 50,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 40.1 บาท / หุ้น
ใช้เป็นเครื่องชี้ทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อการคาดหวังแนวโน้มของกิจการในอนาคตใช้เป็นเครื่องชี้ทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อการคาดหวังแนวโน้มของกิจการในอนาคต • อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไร (Price - Earning Ratio : P/E Ratio) = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ เท่า กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น บริษัทนนทรี = 303.5 = 15.2 เท่า 19.97 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 11.6 เท่า • นักลงทุนเต็มใจที่จะจ่ายซื้อหุ้นของกิจการ ในอัตรากี่เท่าของกำไร • มูลค่าตลาดต่อมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น(Market Value / Book Value Ratio) = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ เท่า มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น บริษัทนนทรี = 303.5 = 3.87 เท่า 78.36 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 1.9 เท่า • นักลงทุนเต็มใจที่จะจ่ายซื้อหุ้นของกิจการ ในอัตรากี่เท่าของมูลค่าตามบัญชี
เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น Dividend Per Share (DPS) =เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นสามัญ บาท/หุ้น จำนวนหุ้นสามัญ บริษัทนนทรี = 510,000 = 10.2 บาท / หุ้น 50,000 Industry Average (ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 9.99 บาท / หุ้น • อัตราส่วนเงินปันผลจ่ายต่อกำไรสุทธิ (Dividend Payout Ratio) =เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น (%) = เงินปันผลจ่ายผู้ถือหุ้นสามัญ (%) กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญต่อหุ้น กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ บริษัทนนทรี = 10.2 บาท / หุ้น หรือ =510,000= 51.08 %19.97บาท / หุ้น 998,400 Industry Average(ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม) = 9.99 บาท / หุ้น = 48.02 % 20.8บาท / หุ้น
ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน 1.การได้มาซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการเปรียบเทียบ • บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งผลิตและขายสินค้าหลายประเภทในหลายอุตสาหกรรม • อัตราส่วนที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับอัตราส่วนเฉลี่ยของอุตสาหกรรม 2.การบิดเบือนข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการเปรียบเทียบ • ภาวะเงินเฟ้อ • ฤดูกาล 3.หมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่น การเช่าซื้อทรัพย์สินระยะยาว (leasing)มีผลต่ออัตราหมุนของสินทรัพย์รวมROAและ Debt- Equity Ratio
ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน 4.การตีความผลลัพธ์ที่ได้ ผลตอบแทนสภาพคล่อง สินทรัพย์หมุนเวียน ต่ำ สูง สินทรัพย์ถาวร สูง ต่ำ ความเสี่ยงต้นทุน หนี้สินหมุนเวียน สูง ต่ำ หนี้สินระยะยาวและ เงินทุนจากส่วนของเจ้าของ ต่ำ สูง