290 likes | 498 Views
บทที่ 7 การเฝ้าระวังทางโภชนาการ. รายวิชา : 4072801 โภชน ศาสตร์สาธารณสุข ( Public Health Nutrition) ผู้สอน: อาจารย์ธนัช พร มุลิกะบุตร. เนื้อหาประจำบท. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการ เฝ้าระวังทาง โภชนาการ การ พัฒนาระบบและกระบวนการเฝ้าระวังทางโภชนาการ
E N D
บทที่ 7 การเฝ้าระวังทางโภชนาการ รายวิชา : 4072801 โภชนศาสตร์สาธารณสุข (Public Health Nutrition) ผู้สอน: อาจารย์ธนัชพร มุลิกะบุตร
เนื้อหาประจำบท • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • การพัฒนาระบบและกระบวนการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • การดำเนินงาน เฝ้าระวังทางโภชนาการในประเทศไทย
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ
1.1 ความหมายและความสำคัญการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • การเฝ้าระวังทางโภชนาการ (National surveillance)เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้เครื่องบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการทั้งในปัจจุบันและอนาคต และนำข้อมูลไปประกอบการวางแผนการดำเนินงานควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหา ทุพโภชนาการที่มีอยู่ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ • เป็นกระบวนการที่สำคัญในการป้องกันปัญหาโภชนาการ และส่งเสริมภาวะโภชนาการของประชาชนให้ดีขึ้น ในการค้นหาปัญหาและรายงานข้อมูล • ทั้งนี้ยังมีกระบวนการอื่นๆ คือ การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา เลือกแนวทางแก้ไขปัญหา ดำเนินการแก้ไขปัญหา ติดตามการดำเนินงานแก้ไขว่าได้ผลหรือไม่ • และนำไปสู่การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การควบคุมป้องกัน แก้ไขปัญหาโภชนาการและส่งเสริมภาวะโภชนาการของประเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
1.2 วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • เพื่อการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการของบุคคลทุกคน ครอบครัว และชุมชน เพื่อป้องกันปัญหาทางทุพโภชนาการ • เพื่อระบุภาวะโภชนาการของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะและระดับความรุนแรงของปัญหาโภชนาการ • เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถใช้วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และช่วยในการตัดสินใจ รวมทั้งการคัดเลือกวิธีในการควบคุมป้องกันปัญหาโภชนาการที่มีประสิทธิภาพ • เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ ลำดับความสำคัญของปัญหา และจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
1.2 วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • เพื่อใช้ในการทำนายแนวโน้มปัญหาทุพโภชนาการ โดยใช้สถานการณ์ในปัจจุบันวิวัฒนาการของปัญหาทุพโภชนาการที่เป็นไปได้ในอนาคต • เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนงานระยะยาวด้านโภชนาการและสุขภาพ โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีศักยภาพ รวมทั้งกำหนดกลวิธีที่จะป้องกันภาวะวิกฤตด้านอาหารและโภชนาการ • เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ควบคุมกำกับ และประเมินประสิทธิผลของโครงการ ซึ่งส่งผลต่อภาวะโภชนาการของประชากร • เตือนภัยล่วงหน้า ( Timely warning information System) ที่อาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการของประชากร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ ธรรมชาติของการเกิดโรค : ระยะก่อนการเกิดโรค หากไม่สมดุลกัน จะเกิดผลกระทบต่อการเกิด ปัญหาโภชนาการ หากไม่สมดุลกัน จะเกิดผลกระทบต่อการเกิด ปัญหาโภชนาการ หากไม่สมดุลกัน จะเกิดผลกระทบต่อการเกิด ปัญหาโภชนาการ
1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ ธรรมชาติของการเกิดโรค : ระยะเกิดโรค เมื่อ 3 ปัจจัย ขาดความสมดุลต่อกัน จะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการ และโรคที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนโรคจากพิษจากอาหาร เช่น มะเร็ง ภูมิแพ้ เป็นต้น ธรรมชาติของการเกิดโรค : ระยะหลังเกิดโรค • เมื่อกลุ่มเป้าหมายเกิดปัญหาทุพโภชนาการ และได้รับการบำบัดรักษาแล้ว ผู้ป่วยอาจหายจากการเป็นโรค หรืออาจป่วยเรื้อรัง • จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังเป็นรายบุคคล หรือในภาพรวมชุมชน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการขึ้นอีก • หรือถ้าเกิดขึ้นอีก จะได้ทำการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขได้ทัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางโภชนาการ การดำเนินการควบคุมป้องกันปัญหาทุพโภชนาการ ป้องกันก่อนการเกิดโรค กิจกรรมสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและยกระดับภาวะโภชนาการ คือ การคุ้มครองผู้บริโภค การให้ภูมิคุ้มกันโรคและสร้างความสมดุลของสภาวะแวดล้อม การป้องกันปฐมภูมิ การค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก เพื่อควบคุมป้องกันปัญหาทุพโภชนาการ การเกิดโรค และบำบัดรักษา การป้องกันทุติยภูมิ การป้องกันระยะสุดท้ายของการเกิดโรค โดยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น และควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดกับบุคคลอื่น การป้องกันตติยภูมิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
1.4 การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ • เฝ้าระวังติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาวะของร่างกายเป็นรายบุคคล เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เป็นต้น แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน หรือการตรวจสุขภาพ สามารถบ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆทางโภชนาการของบุคคลได้ • ควรสร้างความตระหนักและทำให้เกิดการดูแลเบื้องต้นด้วยตนเอง ต้องมีความรู้ ทัศนคติ และการเฝ้าระวังที่ถูกต้องในการติดตามเฝ้าระวังทางโภชนาการและการบริโภคอาหาร ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
1.4 การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ • จะต้องทราบปัญหาโภชนาการในกลุ่มประชาชนแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และนำไปกำหนดแนวทางแก้ไข • ชุมชนต้องเห็นความสำคัญของกระบวนการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการและสุขภาพของประชาชน ควรมีการประสานงานกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับหน่วยงานอื่นๆทำงานร่วมกัน การค้นหาปัญหา ระดับชุมชน การรวบรวมข้อมูล การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
1.4 การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ • จะต้องทราบปัญหาโภชนาการในกลุ่มประชาชนแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และนำไปกำหนดแนวทางแก้ไข • ชุมชนต้องเห็นความสำคัญของกระบวนการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการและสุขภาพของประชาชน ควรมีการประสานงานกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับหน่วยงานอื่นๆทำงานร่วมกัน ระดับประเทศ กลยุทธ์หลักในการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูล ( Data Collection) ใช้กระบวนการ Triple-A approach (ขนาดความรุนแรงของปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุ การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมภาวะโภชนาการ) การไหลของข้อมูล ( Data Flow) มีการส่งต่อข้อมูลจากระดับล่างเข้ามายังส่วนกลาง การวิเคราะห์ข้อมูล ( Data analysis) ควรดำเนินการทั้งระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบันและข้อมูลในอดีตรวมทั้งคาดคะเนแนวโน้มของปัญหาในอนาคต การนำข้อมูลเฝ้าระวังมากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและส่งเสริมภาวะโภชนาการ ( input to Decision-Making)ระบบเฝ้าระวังที่ดีนั้นต้องนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขปัญหาระดับชุมชน และเสนอข้อมูลแก่ผู้รับผิดชอบในระดับบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
2. การพัฒนาระบบและกระบวนการเฝ้าระวังทางโภชนาการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552 2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.1.1 ข้อมูลสถานการณ์ทางโภชนาการ พื้นที่เขตเมือง/ชนบท ภูมิศาสตร์ แหล่งอาหาร สภาพแวดล้อม อายุ เพศ ภาวะสรีรวิทยา (ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร) กลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรม รายได้ การเข้าถึงบริการสาธารณสุข
2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.1.1 ข้อมูลสถานการณ์ทางโภชนาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.1.2 ข้อมูลที่เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาทุพโภชนาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.1.3 ข้อมูลสภาวะแวดล้อม จะเป็นข้อมูลสำหรับการคาดคะเน/เตือนให้ทราบก่อนที่จะเกิดปัญหาทุพโภชนาการ เช่น แหล่งน้ำ ผลผลิตทางการเกษตร ปริมาณน้ำฝน 2.2 แหล่งข้อมูล 2.2.1 ระบบรายงาน เก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา ทำให้ทราบสถานการณ์แนวโน้มของปัญหาทุพโภชนาการ แต่ไม่สามารถแยกรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น การศึกษา อาชีพ รายได้ เป็นต้น 2.2.2 การสำรวจ/การศึกษาวิจัย จะมีความถูกต้องมากกว่า ซึ่งข้อมูลที่ได้มาต้องเป็นตัวแทนของประชากร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
2.3 การเลือกตัวชี้วัด มาตรฐาน และเกณฑ์ตัดสินภาวะโภชนาการ • 2.3.1 ตัวชี้วัด/วิธีการประเมินภาวะโภชนาการ จะต้อง • มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการ/บอกลักษณะของปัญหาได้ถูกต้อง • ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก • เหมาะสมต่อสถานการณ์ • เสียค่าใช้จ่ายน้อย • 2.3.2 มาตรฐานและเกณฑ์การตัดสินการประเมินภาวะโภชนาการ เป็นระบบสากลหรือกำหนดขึ้นใช้ภายในประเทศ 2.4 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังทางโภชนาการ • ควรคำนึงถึงความครอบคลุมของกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จริงในชุมชน • เมื่อดำเนินงานไประยะหนึ่ง ควรปรับปรุงหรือพัฒนาระบบให้ดีขึ้น โดยพิจารณาว่ามีจุดอ่อนหรือข้อผิดพลาดที่ขั้นตอนใดบ้าง • ปรับปรุงระบบทำได้โดยการปรับเปลี่ยนตัวชี้วัดใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
2.5 การกำหนดระบบรายงาน 2.5.1 การสร้างแบบฟอร์มรายงาน 2.5.2 การกำหนดความถี่ในการเก็บข้อมูลและการรายงาน 2.5.3 การกำหนดการเก็บรวบรวมข้อมูลและการไหลของข้อมูล 2.6 การนำไปใช้ 2.6.1 ประชุมชี้แจงผู้ปฏิบัติในทุกระดับ 2.6.2 ฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในชุมชน 2.6.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเฝ้าระวัง ควรเป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ราคาไม่แพง 2.6.4 การนิเทศติดตาม ควรทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
2.7 การประเมินผลและปรับปรุงระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการ 2.7.1 การเข้าไปสังเกตการณ์การดำเนินงานเฝ้าระวังและติดตามผล 2.7.2 การสนทนากลุ่ม กับกลุ่มคนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมาย เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.7.3 การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 2.7.4 การใช้แบบสัมภาษณ์หรือแบบสอบถาม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
3. การดำเนินงาน เฝ้าระวังทางโภชนาการในประเทศไทย
3.1 การดำเนินงาน เฝ้าระวังทางโภชนาการในประเทศไทย • โรคขาดโปรตีนและพลังงานในหญิงตั้งครรภ์ทารกและเด็กก่อนวัยเรียน และวัยเรียน • โรคขาดสารไอโอดีน • โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์และเด็กวัยเรียน 3.2 แนวคิดการดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการในอนาคตของประเทศไทย • ควรมีการปรับปรุงการดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการแบบบูรณาการ • การประสานงานและการสร้างภาคีเครือข่ายการเฝ้าระวังทางโภชนาการระดับชุมชน ครัวเรือน และบุคคล • ดำเนินงานควบคุมป้องกันปัญหาทุพโภชนาการในบางกลุ่มเป้าหมาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2552
คำถามท้ายบท • การเฝ้าระวังทางโภชนาการ มีความหมายอย่างไร • ระบุปัจจัยของการเกิดปัญหาทุพโภชนาการ • การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ มีกี่ระดับ อะไรบ้าง • จงอธิบายองค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโภชนาการ
เอกสารอ้างอิง • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2552. โภชนศาสตร์สาธารณสุข (Nutrition in health) หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. • สำนักโภชนาการ.ระบบเฝ้าระวังด้านโภชนาการ. ค้นหาเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560, จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/main.php?filename=surveillance.