290 likes | 1.62k Views
โรคเต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบ และไม่มีน้ำนมในช่วงหลังคลอดในแม่สุกร (MMA). ระบาดวิทยา พบในช่วง 36 ชม.หลังคลอด ( esp 12 ชม.) อัตราการป่วย 5-20% ของฝูง อัตราการตายในแม่สุกรน้อยมาก แต่ลูกสุกรจะตายเนื่องจากการขาดน้ำนม
E N D
โรคเต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบและไม่มีน้ำนมในช่วงหลังคลอดในแม่สุกร (MMA) ระบาดวิทยา • พบในช่วง 36 ชม.หลังคลอด (esp 12 ชม.) • อัตราการป่วย 5-20% ของฝูง อัตราการตายในแม่สุกรน้อยมาก แต่ลูกสุกรจะตายเนื่องจากการขาดน้ำนม • พบว่า 17-18% ของการตายของลูกสุกรในช่วงก่อนขึ้นคอกอนุบาลมีสาเหตุมาจาก MMA MMA
สาเหตุโน้มนำ • ความสกปรกในคอกคลอด และความเครียดที่เกิดจากการจัดการ เช่น การขาดอาหาร ท้องผูก สาเหตุที่แท้จริง • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น E.coli (55%), Streptococci, etc. ผ่านทางรูนม ทำให้เกิดเต้านมอักเสบนอกจากนี้เชื้อยังสร้าง endotoxin ประกอบกับความผิดปกติของฮอร์โมน จึงทำให้การสร้างน้ำนมลดลง อาการ • ไข้สูง มีหนองไหลออกมาทางช่องคลอด เต้านมอักเสบ ไม่มีน้ำนม MMA
การรักษา • สุวิชัย (2536) ได้แนะนำการรักษาตามลำดับความสำคัญของยาที่ใช้ดังนี้ • 1. อ๊อกซีโตซิน • 2. ยาปฏิชีวนะหรือยาซัลฟา • 3. ยาลดการอักเสบประเภทสเตียรอยด์ • 4. ฮอร์โมนเอสโตรเจน • 5. ยาลดไข้และยาบำรุงทั่วๆ ไป การเลือกให้ยาขึ้นกับสภาพของแม่สุกร ไม่จำเป็นต้องให้พร้อมกันทุกชนิด MMA
การควบคุมและป้องกันโรคการควบคุมและป้องกันโรค เน้นการสุขาภิบาลและการจัดการที่ดี • อาหารแม่สุกรตั้งท้องควรมีคุณภาพและปริมาณครบถ้วน และมีเยื่อใยสูง • ต้องมีการทำความสะอาดคอกคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและพักคอกอย่างน้อย 1 w ก่อนนำแม่สุกรเข้า • ควรให้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารให้แม่สุกรกิน 3-5 d ก่อนคลอดจนถึง 2 d หลังคลอด • มีการช่วยคลอดอย่างถูกต้องและตามความเหมาะสม MMA
โรคจากสารพิษจากเชื้อรา • เป็นปัญหาที่ทวีความสำคัญขึ้น esp ในฟาร์มขนาดใหญ่และมีการเลี้ยงแบบครบวงจร เนื่องจากมีการใช้ระบบการให้อาหารอัตโนมัติและใช้ไซโลในการเก็บอาหารสัตว์ • สารพิษจากเชื้อรามีหลายชนิดและมีผลให้เกิดความผิดปกติแตกต่างกัน นอกจากนี้บางชนิดยังก่อให้เกิดการกดระบบภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายและยากแก่การวินิจฉัยโรค • ความเป็นพิษมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง แต่ส่วนใหญ่สัตว์ป่วยจะเป็นแบบเรื้อรังผสมกับการติดเชื้อแทรกซ้อน โรคเกิดจากสารพิษจากเชื้อรา
ลักษณะความเป็นพิษ • ผลผลิตลดลง 20-40% และช่วงความเสียหายนาน > 5-6 m esp พ่อพันธุ์ จะมีผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อ ทำให้ผลกระทบยิ่งยาวนาน • อาการหลักของความเป็นพิษ ~ PRRS (เกี่ยวกับระบบหายใจและระบบสืบพันธุ์) ส่วนอาการอื่นๆ ขึ้นกับชนิดของท๊อกซิน เช่น • Aflatoxin (>800 ppb) ตับ ดีซ่าน ท้องมาน แกร็น เลือดออกที่ซี่โครง ลำไส้ • Zearalenone (1-3 ppm) มีผลคล้ายเอสโตรเจน anus vulva บวมแดง ปวดเบ่ง ช่องคลอดทะลัก • Fumonisins (>1 ppm) ปอดบวม ไอ แท้ง • Trichothecenes (>5 ppm) เกิดการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร กิน โรคเกิดจากสารพิษจากเชื้อรา
ลักษณะความเป็นพิษ (ต่อ) • Ochratoxin เป็นพิษต่อไต ท้องร่วง เบื่ออาหาร ขาดน้ำ • โรคแทรกซ้อน เช่น AD ปอดบวม แท้งจากการติดเชื้อราอื่นเพิ่ม • ความผิดปกติที่พบในระบบสืบพันธุ์ เช่น กลับสัดไม่ตรงรอบ ลูกอ่อนแอ ลูกมีขนาดแตกต่างกันมาก ลูกขาถ่าง ลูกตายหลังคลอด ลูกมัมมี่ การแก้ไข • มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ และภาชนะบรรจุอยู่เสมอ • ใช้สารดูดจับท๊อกซินผสมในอาหารสัตว์ โรคเกิดจากสารพิษจากเชื้อรา
โรคบาดทะยัก (Tetanus) ระบาดวิทยา • เป็นโรคที่พบได้ในสัตว์ทุกชนิดและในคน และพบในช่วงอายุน้อยมากกว่าเมื่อโตเต็มที่ • พบอัตราการเกิดโรคมากในประเทศที่กำลังพัฒนา esp ในคนพบมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • ความไวต่อการพบโรคเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ม้า คน แกะ แพะ สุกร โค • มักพบหลังจากมีการทำให้เกิดบาดแผลและใช้เครื่องมือที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ โรคบาดทะยัก
สาเหตุ • เกิดจากเชื้อ Clostridium tetani ซึ่งเป็นชนิด Gram-positive, anaerobic, nonencapsulated, spore-forming และสภาพสปอร์ทนต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีมาก • เชื้อสามารถสร้าง toxin ได้หลายชนิดและชนิดที่สำคัญจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ตาย และการฉีดยากันบาดทะยักนั้นก็เพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษนี้ • เชื้ออาจถูกทำลายได้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน โรคบาดทะยัก
การติดต่อ • การติดต่อในสัตว์จะเกิดหลังจากที่มีบาดแผลและมีการปนเปื้อนกับเชื้อหรือสปอร์ เช่น บาดแผลจากการผ่าตัด การคลอดลูก การตัดสายสะดือ • ระยะฟักตัวของโรค 3 วัน - 3 อาทิตย์ • การติดเชื้อจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ บาดแผลที่ไม่มีรูเปิด ฟกช้ำ จะท่วยให้เชื้อสามารถเจริญได้ดีขึ้น โรคบาดทะยัก
อาการ • จัดเป็นโรคที่เฉียบพลันและทำให้สัตว์ตายเนื่องจาก neurotoxin ทำให้เกิด spastic paralysis esp กล้ามเนื้อในส่วนหัว จะทำให้เกิดอาการขากรรไกรค้าง nictitating member ที่ตาจะยื่นออกมา(ปกติจะไม่เห็น) ระยะท้ายๆสัตว์จะล้มลงนอน กระดูกสันหลังเหยียดโค้ง ขาทั้งสี่เหยียดแข็งตรง หางเหยียดตรง (hyperextend and rigid) และตายในที่สุด การวินิจฉัยโรค • จากอาการและประวัติของการเกิดบาดแผลในระยะเวลาใกล้ๆที่ผ่านมา โรคบาดทะยัก
การรักษา • หลังแสดงอาการทางประสาทแล้วไม่สามารถรักษาได้ การควบคุมและป้องกันโรค • มีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเมื่อทำการผ่าตัด • ในสัตว์ที่มีความไวต่อโรคมาก เช่น ม้า จะต้องมีโปรแกรมการให้ toxoid เป็นประจำและจะต้องให้ อีกเป็นกรณีพิเศษก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัด • ในคนเมื่อเกิดบาดแผลจะต้องล้างและทำแผลโดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ฉีดเข้าไปในแผล ซึ่งได้ผลดีกว่าการให้ยาปฏิชีวนะไปกินเพื่อทำลายเชื้อเพียงอย่างเดียว ในกรณีที่มีความเสี่ยง แพทย์มักจะฉีด antitoxin ให้ด้วย โรคบาดทะยัก
โรคขี้เรื้อน (Mange) • เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิภายนอกที่สำคัญที่สุดในสุกรทั่วโลก • เกิดจากตัวไรชนิดตัวกลม (Sarcoptes scabei) • แหล่งแพร่โรคที่สำคัญคือ วิการเป็นโรคแบบเรื้อรังที่ใบหู ซึ่งจะมีตัวไรอยู่รวมกันมาก esp ในพ่อสุกร • ติดต่อโดยการสัมผัส ทำให้สัตว์มีอาการคัน ซึ่งสัตว์จะพยายามใช้ขาหลังเกา หรือใช้การสีหรือถูตัวกับผนังคอก โรคผิวหนัง
Exudative epidermatitis • เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นแบบปัจจุบันในลูกสุกรดูดนมเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุ • สาเหตุโน้มนำเกิดจากการเกาเนื่องจากเป็นขี้เรื้อน พื้นคอกหยาบ ทำให้เป็นแผล แล้วมีเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus hyicusซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดกรัมบวก รูปร่างกลมเป็นสาเหตุที่แท้จริงของโรค โรคผิวหนัง
อาการ • ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ ทั่วร่างกาย หรือเป็นหย่อม มีของเหลวที่ขับออกมาจากการอักเสบ (exudate) ผสมกับสิ่งคัดหลั่งพวกไขมัน ซึ่งจะจับกับขน ทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายซี่หวี • อัตราการป่วย 40-80% อัตราการตาย 10-80% • รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เช่น ฉีดเพนนิซิลลิน โรคผิวหนัง
Pox • เกิดจากไวรัส โดยมียุงเป็นพาหะ • พบโรคได้ในสุกรทุกอายุ esp >4 w • ทำให้เกิดวิการของฝีดาษ เป็นผื่นนูนแบน หรือคล้ายภูเขาไฟมีสะเก็ดดำตรงกลาง เกิดขึ้นทั่วตัว • อัตราการป่วย ~100% อัตราการตาย 3-5% esp ลูกสุกร • ไม่มียาที่ใช้รักษา การให้ยาฉีดเตตร้าซัยคลินอาจทำให้อาการดีขึ้นบ้าง โรคผิวหนัง