1.47k likes | 1.67k Views
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย. ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉ.ที่ 9 พ.ศ.25 53 ). โดย... อ. สมยศ สรรพัชญา หัวหน้างานระเบียบพัสดุท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. การบริหารงานพัสดุ. หมายถึง การนำเอาวิทยาการหรือศิลปะในการบริหาร
E N D
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉ.ที่ 9 พ.ศ.2553) โดย... อ. สมยศ สรรพัชญา หัวหน้างานระเบียบพัสดุท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
การบริหารงานพัสดุ หมายถึง การนำเอาวิทยาการหรือศิลปะในการบริหาร มาใช้ในการจัดการพัสดุ เพื่อสนับสนุนและสนอง ความต้องการในการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือ โครงการ
ชื่อระเบียบ ระเบียบ มท. ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535(แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉ.ที่ 8 พ.ศ.2547) ระเบียบ มท. ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538(แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉ.ที่ 4 พ.ศ.2547)
โครงสร้างระเบียบ หมวด 1 ข้อความทั่วไป ส่วนที่ 1 คำนิยาม ส่วนที่ 2 การใช้บังคับ / การมอบอำนาจ ส่วนที่ 3 บทกำหนดโทษ หมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 การจัดซื้อ การจ้าง ส่วนที่ 3 การจ้างที่ปรึกษา
โครงสร้างระเบียบ ต่อ ส่วนที่ 4 การจ้างออกแบบ และควบคุมงาน ก่อสร้างอาคาร ส่วนที่ 5 การแลกเปลี่ยน ส่วนที่ 6 การเช่า ส่วนที่ 7 สัญญา / หลักประกัน ส่วนที่ 8 การลงโทษผู้ทิ้งงาน
โครงสร้างระเบียบ ต่อ หมวด 3 การควบคุม และการจำหน่ายพัสดุ ส่วนที่ 1 การยืม ส่วนที่ 2 การควบคุม ส่วนที่ 3 การจำหน่าย หมวดที่ 4 บทเฉพาะกาล
สาระสำคัญของระเบียบพัสดุสาระสำคัญของระเบียบพัสดุ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ - การจัดหา - การควบคุม - การจำหน่าย
จัดหา จำหน่าย ควบคุม วงจรพัสดุ
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุท้องถิ่นกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุท้องถิ่น 1. กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน 2. ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยงบประมาณ และการคลัง 2544 3. กฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ม.23 4. กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 5. กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 6. กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 7. กฎหมายอาญา ม.157 8. กฎหมาย ป.ป.ช. 9. กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
มาตรา 4 ผู้ใดตกลงร่วมกันเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงสามปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดนั้นหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
วรรคสอง ผู้ใดเป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลงกันในการกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 5 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการเสนอราคา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจูงใจให้ผู้นั้นร่วมดำเนินการให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นทำการเสนอราคาสูงหรือต่ำจนเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้า บริการ หรือสิทธิที่จะได้รับหรือเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นไม่เข้าร่วมในการเสนอราคาหรือถอนเสนอราคา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
วรรคสอง ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อกระทำการตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดด้วย
มาตรา 6 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมร่วมดำเนินการใดๆในการเสนอราคาหรือไม่เข้าร่วมในการเสนอราคา หรือถอนการเสนอราคาหรือต้องทำการเสนอราคาตามที่กำหนด โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญด้วยประการใดๆให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
มาตรา 7 ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวงหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่มีโอกาสเข้าทำการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมหรือให้มีการเสนอราคาโดยหลงผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
มาตรา 8 ผู้ใดโดยทุจริตทำการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐโดยรู้ว่าราคาที่เสนอนั้นต่ำมากเกินกว่าปกติจนเห็นได้ชัดว่าไม่เป็นไปตามลักษณะสินค้าหรือบริการ หรือเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐสูงกว่าความเป็นจริงตามสิทธิที่ได้รับ โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและการกระทำเช่นว่านั้น เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
วรรคสอง ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาได้ตามวรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของสัญญาดังกล่าว ผู้กระทำผิดต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้นด้วย วรรคสาม ในการพิจารณาคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ถ้ามีการร้องขอให้ศาลพิจารณากำหนดค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องรับภาระเพิ่มขึ้นให้แก่หน่วยงานของรัฐตามวรรคสองด้วย
มาตรา 9 ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลใด ให้ถือว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้นเป็นตัวการร่วมในการกระทำผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดนั้น
มาตรา 10 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดซึ่งมีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติการพิจารณา หรือการดำเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาครั้งใด รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่าควรรู้การเสนอราคาในครั้งนั้นมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาในครั้งนั้น มีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งและหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
มาตรา 11 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐผู้ใด โดยทุจริตทำการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หรือกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใดได้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐโดยไม่เป็นธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
มาตรา 12 เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกระทำการใดๆโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ มีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
มาตรา 13 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือกรรมการหรืออนุกรรมการในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทำการใดๆต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ การพิจารณาหรือการดำเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคาเพื่อจูงใจหรือทำให้จำยอมต้องยอมรับการเสนอราคาที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท
มติ ครม. ( 17 มิ.ย. 51 ) การช่วยเหลือผู้ประกอบการอาชีพงานก่อสร้าง
มาตรการที่ 1 : การชะลอการยกเลิกสัญญา • การชะลอการยกเลิกสัญญา 30 วัน นับแต่วันที่ 17 มิ.ย. 51 • บอกเลิกสัญญาระหว่าง 2 ต.ค. 50 - 17 มิ.ย. 51 ไม่ถือว่า เป็นผู้ทิ้งงาน หากยังไม่จ้างใหม่ให้จ้างรายเดิมโดยวิธีพิเศษ (เงื่อนไขเดิม - วงเงินเดิม) • ถ้าผู้รับจ้างรายเดิมปฏิเสธ จึงไปจัดหาใหม่
มาตรการที่ 2 : การขยายเวลา (1) • สัญญาที่ลงนามก่อน 1 ต.ค. 50 ซึ่งยังมีนิติสัมพันธ์ และยังไม่ส่งมอบงานงวดสุดท้าย หรือได้มีการส่งมอบงาน งวดสุดท้ายแล้ว ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ 1 ต.ค. 50 ให้ขยายได้ 180 วัน หรือเท่ากับอายุสัญญาเดิม • สัญญาที่ลงนามหลัง 1 ต.ค. 50 ขยาย 180 วัน หรือเท่าอายุสัญญาเดิม
มาตรการที่ 2 : การขยายเวลา(2) • สัญญาที่เสนอราคาตั้งแต่ 2 ต.ค. 50 ถึง 17 มิ.ย. 51 และยังไม่มีการลงนามให้เจรจารายเดิมว่าจะยกเลิกหรือไม่ • หากไม่ยกเลิก ให้เพิ่มเวลาเท่าสัญญาเดิม แต่ไม่เกิน 120 วัน • การขยายเวลาตามระเบียบไม่ถือว่าทับซ้อน • หากขยายแล้วทำให้ผู้รับจ้างไม่ถูกปรับ ก็ให้งด ลด หรือคืนค่าปรับ
มาตรการที่ 3 : ปฏิเสธการลงนามหรือขอยกเลิกสัญญา • เสนอราคาก่อน 17 มิ.ย. 51 และอยู่ระหว่างรอ การลงนาม ผู้เสนอราคาขอถอนได้ • ลงนามในสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำงาน หรือยังไม่ได้ส่งงวดแรก ผู้รับจ้างขอยกเลิกสัญญาได้ • ทั้ง 2 กรณีข้างต้นไม่ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงาน และให้คืนหลักประกัน
มาตรการที่ 4 : การเพิ่มคู่สัญญา • ขาดสภาพคล่อง ขอเพิ่มคู่สัญญาได้ • อปท. เป็นผู้พิจารณาคู่สัญญาที่เพิ่มขึ้นใหม่ • คู่สัญญาทั้งสองรับประกันสัญญาร่วมกัน • หลักประกันสัญญาใช้ของรายเดิม หรือรายใหม่ก็ได้ • ต้องทำเป็นสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม
มาตรการที่ 5 : การจ่ายเงินล่วงหน้า 15% (1) • สัญญาที่ยังมีนิติสัมพันธ์ หากยังไม่ส่งงานหรือส่งงวดใด งวดหนึ่ง และไม่มีเงินล่วงหน้าในสัญญา ก็ให้แก้สัญญา เพิ่มเงินล่วงหน้า 15% ของค่าจ้างส่วนที่เหลือ • สัญญาที่มีเงินล่วงหน้าแต่จ่ายไม่ถึง 15% ก็ให้แก้ไขสัญญา ให้จ่าย15% • ผู้รับจ้างต้องนำหลักประกันการรับเงินล่วงหน้า มาค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกแต่ละครั้ง
มาตรการที่ 5 : การจ่ายเงินล่วงหน้า 15% (2) • ผู้รับจ้างจัดทำบัญชีแสดงวัตถุประสงค์และแผนการใช้เงิน • หากใช้เงินผิดแผนหรือผิดวัตถุประสงค์ ให้ยึดหลักประกัน การรับเงินล่วงหน้าทันที • การหักเงินที่เบิกล่วงหน้าไปแล้ว ให้หักเมื่อผู้รับจ้างส่งมอบงานและรับค่างานไปแล้วประมาณ 20%
มาตรการที่ 6 : การหักเงินประกันผลงาน • สัญญาที่ยังไม่แล้วเสร็จนับแต่ 17 มิ.ย. 51 ถ้ามีเงื่อนไข การหักเงินประกันผลงาน ผู้รับจ้างขอรับคืนได้ โดยนำ BG มาวางแทน • งานที่เสนอราคาไว้ก่อน 17 มิ.ย. 51 และยังไม่ได้ลงนาม ถ้าเอกสารประกวดราคากำหนดการหักเงินประกัน ผลงานไว้ ผู้รับจ้างมีสิทธินำ BG มาวางแทน
มาตรการที่ 7 : การแบ่งงวดงาน/งวดเงินใหม่ สัญญาที่ลงนามแล้ว หากการแบ่งงวดงาน ไม่สอดคล้องระหว่างงานที่ทำกับเงินค่าจ้าง ก็ให้แก้ไขสัญญาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้องาน ให้สอดคล้องกับค่าจ้าง
มาตรการที่ 8 : กำหนดเวลายื่นซอง กำหนดวันยื่นซองให้คำนึงถึงวงเงิน ความซับซ้อนของงาน ระยะเวลาส่งมอบ เพื่อให้ผู้สนใจมีเวลาเตรียมตัว
มาตรการที่ 9 : กำหนดราคากลางให้เป็นปัจจุบัน • ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นชอบราคากลางแล้ว และยังไม่ประกาศ ให้คกก.กำหนดราคากลาง คำนวณราคากลางใหม่ • เมื่อคำนวณราคากลางใหม่แล้ว ราคาสูงกว่าเงินงบประมาณ ให้พิจารณา ดังนี้ 1. โอนงบประมาณมาเพิ่ม/หรือขอทำความตกลงไปยัง สงป. กรณีเป็นเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 2. หากไม่มีงบประมาณเพิ่มเติม ให้ปรับลดรายการตามความจำเป็น
มาตรการที่ 10 : ระยะเวลาการขอใช้สิทธิ • ผู้ประกอบการต้องแจ้งความประสงค์ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ ครม. มีมติ ( ภายใน 15 สิงหาคม 2551 )
มาตรการที่ 11 : ผู้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหา กวพ. กรมบัญชีกลาง 0-2273-9024 ต่อ 4553
มติ ครม. 8 ก.ค. 51 1. ค่า Kต้องระบุในสัญญา 2. จ้างก่อสร้าง หมายถึง จ้างก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ และปรับปรุง ซ่อม บำรุง และขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำ 3. ส่งมอบงานระหว่าง 1 ต.ค. 50 - 30 ก.ย. 51 เท่านั้น 3.1 ส่งมอบงาน 1 ต.ค. 50 - 8 ก.ค. 51 ต้องขอใน 90 วันทำการ นับจาก 8 ก.ค. 51 (17 พ.ย. 51) 3.2 ส่งมอบงาน 9 ก.ค. 51 - 30 ก.ย. 51 ต้องขอความช่วยเหลือ+ขอชดเชยใน 90 วัน นับแต่วันส่งมอบงานงวดสุดท้าย
มติ ครม. 2 ธ.ค. 51 2.1 สัญญาก่อน 1 ต.ค. 50 - 1 ต.ค. 50 ยังไม่ส่งงานงวดสุดท้ายหรือส่งแล้วตั้งแต่ 1 ต.ค. 50 ผรจ.ขอใน 18 ส.ค. 51 มีสิทธิ ไม่มากกว่า 180 วัน - ไม่มีการเลิกสัญญา 1 ต.ค. 50 - 17 มิ.ย. 51 2.2 สัญญา 1 ต.ค. 50 - 17 มิ.ย. 51 มีสิทธิ 2.3 สัญญาก่อน 17 มิ.ย. - 30 ก.ย. 51 - จ่ายเงินล่วงหน้า ไม่มากกว่า 15 % ของค่าจ้างที่เหลือ - แบ่งงวดงานให้สอดคล้องค่างาน 2.4 สัญญาต่อเรือ ไม่รวมค่า K 2.5 สัญญาซื้อขายงานก่อสร้าง ค่าจ้าง มากกว่า ค่าพัสดุที่ติดตั้ง 2.6 ต้องขอใน 5 ม.ค. 52
การจัดหา มีหลายวิธี ได้แก่ การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การยืม
การริบหลักประกันซอง(ต้องระบุในประกาศ/เอกสารและสัญญา 3 ฝ่าย ให้ชัดเจน) 1. ผู้ค้าต้อง Login เข้าในระบบตลาดกลาง 2. ผู้ค้าต้องเสนอราคาอย่างน้อย 1 ครั้ง และราคาที่เสนอต้องต่ำกว่าราคาเริ่มต้น ; ราคาเริ่มต้น 100 บาท ต้องเสนอราคาต่ำกว่า 100 บาท เช่น 99.99 บาท 3. เมื่อสิ้นสุดเวลาประมูล ผู้ค้าต้องยืนยันราคาสุดท้าย และราคา ที่ยืนยันต้องตรงกับราคาที่เสนอในเวลาประมูลครั้งสุดท้าย 4. ผู้ค้าที่ได้รับการคัดเลือกให้มาทำสัญญา แต่ไม่มาทำสัญญา
ข้อเสนอการริบหลักประกันซอง (เพิ่มเติม)(ต้องระบุในประกาศ/เอกสารและสัญญา 3 ฝ่าย ให้ชัดเจน) 1. ผู้ค้าที่ยื่นเอกสารปลอม 2. ผู้ค้าที่มีพฤติการณ์สมยอมราคากัน หรือหลีกเลี่ยง หรือขัดขวาง หรือกีดกันการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม 3. ผู้ค้าที่เสนอราคาผิด เช่น ต้องการเสนอราคา 3,000,000 บาท แต่เสนอราคาเป็น 300,000 บาท หรือเสนอราคาหนึ่งราคาใดแล้วอ้างว่าเสนอราคาผิด ความจริงไม่มีเจตนาจะเสนอราคานั้น เป็นต้น
ข้อสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหาย (ต้องระบุในประกาศ/เอกสารและสัญญา 3 ฝ่าย ให้ชัดเจน) 1 . ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกให้มาทำสัญญา แต่ไม่มา ทำสัญญา จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย เช่น ค่าเสียหายจากการที่ต้องเรียกผู้เสนอราคารายต่ำถัดไปมาทำสัญญา ทำให้ต้องเสียค่าซื้อ/จ้าง สูงขึ้น หรือมีการเสนอราคาใหม่แล้วราคาต่ำสุดมีราคาสูงกว่าเดิม เป็นต้น 2. จุดอ่อนหรือปัญหาที่ อปท. พบบ่อยๆ
การซื้อ – การจ้าง ( 5 วิธี ) 1. กรณีใช้วงเงินกำหนดวิธีการ วิธีตกลงราคาครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 100,000 บาท วิธีสอบราคา ครั้งหนึ่ง เกินกว่า 100,000 บาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท วิธีประกวดราคา ครั้งหนึ่ง เกินกว่า 2,000,000 บาท
การซื้อ – การจ้าง ( 5 วิธี ) (ต่อ) • 2. กรณีใช้วงเงินและเงื่อนไขกำหนดวิธีการซื้อ 2.1 โดยวิธีพิเศษ • - เกินกว่า 100,000 บาท • - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ 17 • 2.2 จ้างโดยวิธีพิเศษ • - เกินกว่า 100,000 บาท • - เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามข้อ 18 • 3. กรณีใช้เงื่อนไขกำหนดวิธีการ • - วิธีกรณีพิเศษ
รายงาน (20) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง ให้ความเห็นชอบ (20) เสนอสั่งซื้อ/จ้าง ผู้ขาย / ผู้รับจ้าง หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ สั่งซื้อ / จ้าง (32) ขั้นตอนการซื้อและการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ข้อยกเว้น : กรณีจำเป็นเร่งด่วน - ไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน - ดำเนินการตามปกติไม่ทัน วิธีการ : - เจ้าหน้าที่พัสดุ / ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการไปก่อน - รายงานขอความเห็นชอบผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง - ใช้รายงานเป็นหลักฐานการตรวจรับ - รายงานการซื้อ / จ้างเฉพาะรายการ เท่าที่จำเป็น
รายงาน (20) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง ให้ความเห็นชอบ (22) - ก่อนวันเปิดซอง 10 วัน- นานาชาติ 45 วัน- ปิด ณ ที่ทำการโดยเปิดเผย- ส่งให้ผู้มีอาชีพขาย/รับจ้าง โดยตรงทางไปรษณีย์ จัดทำประกาศ (33)ออกประกาศ (34)รับซอง คณะกรรมการเปิดซอง (35) - ตรวจสอบคุณสมบัติผู้เสนอราคา - เปิดซอง - ตรวจสอบคุณภาพ / คุณสมบัติของพัสดุ - คัดเลือก - เกณฑ์ปกติต่ำสุด - เท่ากันหลายราย - ยื่นซองใหม่ - รายเดียว - ดำเนินการ ขั้นตอนการซื้อและการจ้างโดยวิธีสอบราคา กรณีเกินวงเงิน (36) 1. เรียกรายต่ำสุดมาต่อรองให้อยู่ในวงเงิน หรือสูงกว่าไม่เกิน 10% 2. ถ้า 1 ไม่ได้ผล ให้ทุกรายยื่นซองใหม่ พิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อ 1 3. ถ้า 2 ไม่ได้ผล - ลดรายการ - ลดงาน - ยกเลิก - ลดจำนวน - ขอเงินเพิ่ม
รายงาน (20) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง ให้ความเห็นชอบ (22) หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ คณะกรรมการรับและเปิดซอง (42) - รับซอง - ตรวจหลักประกันซอง - รับเอกสารหลักฐาน - เปิดซอง,อ่านราคา,ลงชื่อในเอกสาร - จัดทำเอกสารตามตัวอย่าง (37)- ประกาศเผยแพร่ (37)- วิธีประกาศ (38)- ให้หรือขายแบบ (39)- ประกาศเพิ่มเติม (40)- ข้อห้าม,ร่น เลื่อน ,เปลี่ยนแปลง (41) คณะกรรมการพิจารณาผลฯ (43) - ตรวจสอบคุณสมบัติ / เงื่อนไข - คัดเลือกสิ่งของ / งานจ้าง - พิจารณาราคา * เกณฑ์ปกติ * ราคาต่ำสุด * เท่ากันหลายราย * ยื่นซองใหม่ * ถูกต้องรายเดียว (44) * ยกเลิก * ไม่มีผู้เสนอราคา (45) * ดำเนินการต่อไป * มีแต่ไม่ถูกต้อง * ยกเลิก เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญก่อนทำสัญญา - ยกเลิก (46)ยื่น 2 ซอง (47-48) - คำนึงถึงเทคโนโลยีข้อกำหนดพิเศษ - ข้อเสนอไม่อยู่ในฐานเดียวกัน - การพิจารณาเทคนิคและการเงิน ให้มีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ด้านละ 1 คน ร่วมเป็นกรรมการ ขั้นตอนการซื้อและการจ้างโดยวิธีประกวดราคา
รายงาน (20) ให้ความเห็นชอบ (22) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งซื้อ คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ เงื่อนไข (ข้อ 17) วิธีการ (ข้อ50) 1. จะขายทอดตลาด เจรจาตกลงราคา2. เร่งด่วน เชิญผู้มีอาชีพขายมาเสนอราคาและต่อรอง 3. ซื้อจากต่างประเทศ สั่งซื้อโดยตรงโดยให้หน่วยงานอื่นในต่างประเทศสืบราคาให้ 4. จำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เชิญผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายมาเสนอราคาและต่อรอง 5. ใช้วิธีอื่นไม่ได้ผล สืบราคาผู้มีอาชีพรายอื่นเปรียบเทียบกับผู้เสนอราคาเดิม และต่อรอง6. ซื้อที่ดิน/สิ่งก่อสร้างเฉพาะแห่ง เชิญเจ้าของมาเสนอราคาและต่อรอง ขั้นตอนการซื้อโดยวิธีพิเศษ
รายงาน (20) ให้ความเห็นชอบ (22) เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้สั่งจ้าง คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ เงื่อนไข (ข้อ 18) วิธีการ (ข้อ51) 1. ช่างฝีมือ/ชำนาญพิเศษ 2. ซ่อมพัสดุที่ต้องถอดตรวจ - เชิญผู้มีอาชีพโดยตรงมาเสนอราคา 3. เร่งด่วน-ช้าเสียหาย และต่อรอง 4. ใช้วิธีอื่นไม่ได้ผล - สืบราคาผู้มีอาชีพรับจ้างรายอื่น เปรียบเทียบกับผู้เสนอราคาเดิมและต่อรอง ขั้นตอนการจ้างโดยวิธีพิเศษ