490 likes | 971 Views
รายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงาน. บทที่ 6. การมีงานทำและการว่างงาน (Employment and Unemployment). โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ 6.1 ความหมายของการมีงานทำ 6.2 ประเภทของการมีงานทำ 6.3 ความสำคัญของการมีงานทำ
E N D
รายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานรายวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงาน บทที่ 6 การมีงานทำและการว่างงาน(Employment and Unemployment) โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวข้อ • 6.1 ความหมายของการมีงานทำ • 6.2 ประเภทของการมีงานทำ • 6.3 ความสำคัญของการมีงานทำ • 6.4 การมีงานทำในประเทศไทย • 6.5 ความหมายของการว่างงาน • 6.6 ความสำคัญของปัญหาการว่างงาน • 6.7 การว่างงาน (Unemployment) กับตำแหน่งงานว่าง (Job vacancy) • 6.8 ตำแหน่งว่างและการบรรจุงาน • 6.9 การเคลื่อนไหวในตลาดแรงงาน • 6.10 ประเภทและสาเหตุการว่างงาน • 6.11 ทฤษฎีการว่างงาน (Theory of Unemployment) • 6.12 การแก้ปัญหาการว่างงาน
6.1 ความหมายของการมีงานทำ
การมีงานทำ หมายถึง การที่บุคคลผู้อยู่ในกำลังแรงงานตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไปทุกคน ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้มีลักษณะดังนี้ • เป็นผู้มีงานทำโดยรับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร ส่วนแบ่งหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่นสำหรับผลงานที่ทำ หรือ • ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน แต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือธุรกิจของตนเอง โดยหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากเจ็บป่วย หยุดพักผ่อน หรือหยุดพักงานด้วยเหตุผลอย่างอื่น และจะได้รับค่าจ้างในระหว่างที่หยุดงานหรือไม่ก็ตาม หรือ • ผู้ซึ่งไม่ได้ทำงานและไม่ได้หางานทำ เพราะรอการบรรจุเข้าทำงาน หรือรอกลับเข้าทำงานในหน้าที่เดิมในกำหนดเวลา 20 วัน นับจากวันสัมภาษณ์ หรือ • ผู้ที่ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างในรัฐวิสาหกิจ หรือในไร่นาเกษตรกรของหัวหน้าครัวเรือน หรือ • สมาชิกในครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กันทางญาติโดยสมรส หรือรับมาเป็นบุตรบุญธรรม และเป็นผู้ที่มีชั่วโมงการทำงานตั้งแต่ 20 ชั่วโมงขึ้นไป
6.2 ประเภทของการมีงานทำ
จำแนกตามอุตสาหกรรม เช่น สาขาการเกษตร สาขาอุตสาหกรรม สาขาบริการ เป็นต้น • จำแนกตามอาชีพ เช่น ผู้ปฏิบัติงานที่มีวิชาชีพ วิชาการ ผู้ปฏิบัติงานบริหารธุรการและจัดดำเนินการ ผู้ปฏิบัติงานอาชีพเสมียน เกษตรกร เป็นต้น • จำแนกตามสถานภาพทำงาน เช่น นายจ้าง ลูกจ้างรัฐบาล ลูกจ้างเอกชน ผู้มีงานทำส่วนตัว ผู้ที่ทำงานให้แก่ครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เป็นต้น
6.3 ความสำคัญของการมีงานทำ
การมีงานทำ การมีรายได้ อุปสงค์เพิ่มขึ้น รองรับผลผลิต การผลิตสินค้า/บริการ
6.4 การมีงานทำในประเทศไทย
ประชากร 62,936 อายุ 15 ปีขึ้นไป 47,057 (74.77%) อายุต่ำกว่า 15 ปี 15,879 (25.23%) กำลังแรงงานรวม 33,920 (72.08%) ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 13,137 (27.92%) ผู้มีงานทำ 32,173 (94.85%) ผู้ไม่มีงานทำ 1,096 (3.23%) รอฤดูกาล 651 (1.92%) ทำงานบ้าน 4,053 (30.85%) เรียนหนังสือ 4,160 (31.66%) ภาคเกษตรกรรม 13,585 (42.22%) กำลังหางานทำ 287 (88.85%) นอกภาคเกษตรกรรม 18,588 (57.78%) ไม่ออกหางานทำ9808 (11.15%) เด็ก คนชรา/ผู้ไม่สามารถทำงานได้ 2,955 (22.49%) อื่น ๆ 1,970 (15.00%) โครงสร้างประชากรและกำลังแรงงานในประเทศไทย ปี 2544
6.5 ความหมายของการว่างงาน
หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจไม่ได้ ทำงานใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ประสงค์จะทำงานและสามารถหางานทำได้ • เป็นบุคคลดังต่อไปนี้ • - ผู้ไม่ได้ทำงานใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ออกหางานทำ • - ผู้ซึ่งไม่ได้ทำงานใด ๆ ทั้งสิ้นและไม่ได้หางานทำเนื่องจากเจ็บป่วย - ผู้ซึ่งไม่ได้ทำงานใด ๆ และไม่ได้หางานทำ เนื่องจากคิดหรือรู้ว่าหางานทำไม่ได้ • - ผู้ทำงานให้แก่ครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ทำงานน้อยกว่า 20 ชั่วโมง และต้องการ • ทำงานเพิ่มขึ้น • กำลังแรงงาน = จำนวนผู้มีงานทำ + จำนวนผู้ว่างงาน • จำนวนผู้ว่างงาน = กำลังแรงงาน – จำนวนผู้มีงานทำ • อัตราการว่างงาน =
6.6 ความสำคัญของปัญหาการว่างงาน
การว่างงาน เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นเครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจว่ามีปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน (Excess capacity) ประชากรขาดอำนาจซื้อ อุปสงค์มวลรวมลดลง การลงทุนลดลง การผลิตลดลง กระทบปัญหาสังคม
6.7 การว่างงาน (Unemployment) กับตำแหน่งงานว่าง (Job vacancy)
W SL a b W1 ว่างงานช่วง ab W0 ตำแหน่งงานว่าง cd W2 DL c d 0 N N0 • ตำแหน่งงานว่าง คือ สภาวะที่นายจ้างหรือหน่วยธุรกิจที่กำลังเสาะแสวงหาคนงานเพื่อบรรจุเข้าทำงาน ณ อัตราค่าจ้างหนึ่ง หรือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง • จำนวนตำแหน่งงานว่างเท่ากับอุปสงค์ส่วนเกินในตลาดแรงงาน ตลาดเดียว
ตลาด A ตลาด B W W ตำแหน่งงานว่างช่วง cd ว่างงานช่วง ab SL1 SL2 SL2 SL1 b a c d W0 W0 DL DL 0 0 N0 N1 N N0 N1 N ตำแหน่งงานว่างเมื่อมีความแตกต่างในอุปทานของแรงงาน
ตลาด B ตลาด A W W ว่างงานช่วง ab ตำแหน่งงานว่างช่วง cd SL SL d a b c W0 W0 DL2 DL1 DL2 DL1 0 0 N0 N1 N N0 N1 N ตำแหน่งงานว่างเมื่อมีความแตกต่างในอุปสงค์ต่อแรงงาน
6.8 ตำแหน่งว่างและการบรรจุงาน
ปัจจัยในการตัดสินใจเปลี่ยนงานของแรงงานปัจจัยในการตัดสินใจเปลี่ยนงานของแรงงาน • รายได้ปัจจุบัน และรายได้ศักยภาพ(Potential earning: รายได้ที่เป็นไปได้) • เงื่อนไขการทำงาน • ค่าใช้จ่ายในรูปตัวเงิน และเวลาการแสวงหางาน • แหล่งรายได้และเงินสนับสนุนอื่น เช่น สวัสดิการสังคม เงินประกันการว่างงาน • กิจกรรมอื่นภายในบ้านหรือชุมชน เช่น การทำงานบ้าน • ข้อมูลข่าวสาร
ทางเลือกในการสรรหาบุคคลเพื่อบรรจุตำแหน่งงานว่างของนายจ้างทางเลือกในการสรรหาบุคคลเพื่อบรรจุตำแหน่งงานว่างของนายจ้าง • ถ้าหาคนได้ยากก็ปรับลักษณะงาน หรือปรับใช้บุคคลคุณวุฒิต่ำกว่างานมากขึ้น • การใช้ปัจจัยทุน(เครื่องมือ เครื่องจักร)แทนปัจจัยคนมากขึ้น • ให้คนงานเดิมทำงานล่วงเวลา
6.9 การเคลื่อนไหวในตลาดแรงงาน
สมาชิกครอบครัวที่ ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน ผู้ถอนตัวออกจากตลาดแรงงาน ผู้เข้าใหม่และเข้าสู่ ตลาดอีกครั้ง ตำแหน่งงานว่าง ตลาดแรงงาน ผู้ว่างงาน ตำแหน่งงานว่างใหม่ ผู้ลาออก ผู้ลาออก จ้างใหม่ เรียกกลับ เกษียณ ผู้มีงานทำ อุปทานแรงงาน ปลดออก อุปสงค์แรงงาน การผลิต อุปสงค์สำหรับผลผลิต การเคลื่อนไหวไปมาระหว่างกลุ่มบุคคลที่มีงานทำและกลุ่มผู้ที่ว่างงานมีอยู่ตลอดเวลา
6.10 ประเภทและสาเหตุการว่างงาน
จำแนกตามการตัดสินใจของบุคคลจำแนกตามการตัดสินใจของบุคคล • ผู้ว่างงานโดยสมัครใจ (Voluntary unemployment) • การว่างงานแบบไม่สมัครใจ (Involuntary unemployment) จำแนกตามข้อบกพร่องในตลาดแรงงาน • การว่างงานเพราะอุปสงค์รวมไม่เพียงพอ (deficit demand unemployment) -ว่างงานในระยะสั้น เรียกว่า การว่างงานอันเป็นผลมาจากวัฏจักรทางธุรกิจ(cyclical unemployment) -ว่างงานในระยะยาว เป็นการว่างงานอันเนื่องมาจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เพียงพอ(growth-gap unemployment) • การว่างงานเพราะความฝืดของกลไกตลาดแรงงาน(frictional unemployment) ) จากสาเหตุต่อไปนี้
-นายจ้างและลูกจ้างไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแรงงานพอเพียง- การผันเวียนโดยปกติ(normal turnover)ในตลาดแรงงาน- การที่อุปสงค์ต่อแรงานไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี - การขาดประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน - ต้นทุนในการแสวงหางานทำสูง • การว่างงานจากปัญหาโครงสร้าง(structural unemployment)-คุณสมบัติของคนในท้องถิ่นไม่ตรงตามตำแหน่งงานว่าง-การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตที่นำระบบอัตโนมัติ(automation)-การผลิตผู้สำเร็จการศึกษาบางสาขามากเกินไปจนหางานทำไม่ได้ -การกำหนดอัตราค่าจ้างสูงกว่าระดับดุลยภาพ -การย้ายแรงงานทำไม่ได้หรือทำได้ไม่สะดวก
W ว่างงานช่วง ab SL a b DL W1W0 E 0 N0 N1 N2 N การว่างงานจากปัญหาโครงสร้าง(จากการกำหนดอัตราค่าจ้างสูงกว่าระดับดุลยภาพ)
ตลาด A ตลาด B ช่วง aE0ว่างงาน(ถูกปลดออก) W W SL SL E1 W0 a E0 W1 DL0 E0 W0 DL1 DL0 DL1 0 0 N1 N0 N N0 N1 N การจ้างงานของผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้น การจ้างงานช่างเหล็กที่ลดลง
การว่างงานตามฤดู(seasonal unemployment) • การว่างงานแอบแฝง(disguised unemployment) • การว่างงานในลักษณะการทำงานต่ำระดับ(underemployment) -ที่เห็นได้ชัดเจน(visible underemployment) คือทำงานน้อยกว่าปกติโดยไม่สมัครใจ -ที่เห็นได้ไม่ชัดเจน(invisible underemployment) ทำงานปกติ แต่ใช้ความรู้ ความสามารถต่ำกว่าที่ตนมีอยู่
6.11 ทฤษฎีการว่างงาน • (Theory of Unemployment)
ทฤษฎีการว่างงานโดยสมัครใจของคลาสสิกทฤษฎีการว่างงานโดยสมัครใจของคลาสสิก • การว่างงานทั้งหมดล้วนเป็นการว่างงานโดยสมัครใจ • ตลาดแรงงานมีการแข่งขันสมบูรณ์ ระดับราคา(P) และอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน(W) เคลื่อนไหวขึ้นลงได้โดยเสรี(ทำให้ค่าจ้างแท้จริงไม่เปลี่ยนแปลง) • คนงานมีความรู้เกี่ยวกับราคา(P)อย่างสมบูรณ์ และเป็นคนมีเหตุผล(Rational)ตลอดเวลา จึงไม่เกิดปัญหาภาพลวงตาทางการเงิน(money illusion)
w=(W/P) SL DL A w2 w1w0 B E F C 0 N0 N1 N2 N UV = M - ON1 เมื่อ UV = แรงงานที่ว่างงานโดยสมัครใจ M = กำลังแรงงาน ON1 = แรงงานที่มีงานทำ
ทฤษฎีการว่างงานโดยไม่สมัครใจของเคนส์ทฤษฎีการว่างงานโดยไม่สมัครใจของเคนส์ • ตลาดแรงงานไม่สามารถปรับตัวเองได้อย่างเสรี • เกิดการว่างงานโดยไม่สมัครใจ(involuntary unemployment) หรือที่เรียกว่า การว่างงานเพราะอุปสงค์มวลรวมมีไม่เพียงพอ • ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินสามารถปรับตัวขึ้นได้ แต่ไม่มีวันลดลงต่ำกว่าเดิม หรือเรียกว่า อัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินแข็งตัว(money wage rigidity) • ปัจจัยต่าง ๆ ในตลาดสินค้าและตลาดเงินคอยขัดขวางไม่ให้เศรษฐกิจปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพการจ้างงานเต็มที่ • อุปสงค์ต่อแรงงานและอุปทานของแรงงานขึ้นอยู่กับค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน(money wage:W) ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับค่าจ้างแท้จริง(real wage:w) • แรงงานเกิดปัญหา “ภาพลวงตาทางการเงิน” (money illusion) เพราะเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนไป แรงงานจะไม่ทราบว่าค่าจ้างแท้จริง(real wage) ของตนได้เปลี่ยนแปลงไป
W SL A B W1 DL0 DL1 0 N0 N1 N -ดุลยภาพเดิมอยู่ที่ จุด A อัตราค่าจ้าง OW1 การจ้างงานหรือมีงานทำเท่ากับ ON1 -เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ อุปสงค์มวลรวมภายในระบบเศรษฐกิจลดลง เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด(อุปทานสินค้ามีเกินอุปสงค์มวลรวมหรือความต้องการ) ทำให้ระดับราคาสินค้าลดลง อุปสงค์ต่อแรงงานลดลงด้วย -เกิดการว่างงานโดยไม่สมัครใจ(involuntary unemployment) ช่วง BA หรือ N0 N1
สาเหตุจากตลาดเงิน เคนส์เห็นว่าการที่ราคาสินค้าลดลง จะทำให้ปริมาณเงินแท้จริงเพิ่มขึ้นด้วย การที่ปริมาณเงินแท้จริงเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปสงค์ต่อเงินไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง อย่างไรก็ตามในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำนั้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงก็ไม่ทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น การว่างงานจึงยังคงอยู่ นอกจากนี้แล้วการที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก ๆ ไม่ว่าปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นมาเท่าไร(จากผลของการที่ราคาลดลงทำให้ปริมาณเงินแท้จริงเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวมาแล้วข้างต้น) ประชาชนจะเก็บเงินหรือถือเงินไว้ทั้งหมด ในช่วงดังกล่าวจึงเกิดกับดักสภาพคล่อง(liquidity trap) จากผลของการเพิ่มขึ้นของปริมาณดังกล่าว การที่คนถือเงินโดยไม่ทำการใช้จ่ายก็จะทำให้อุปสงค์มวลรวมไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
ทฤษฎีการว่างงานของพวกโครงสร้างนิยมทฤษฎีการว่างงานของพวกโครงสร้างนิยม สาเหตุของการว่างงานเพราะโครงสร้าง • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น การผลิตเครื่องจักรใหม่ การใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน • การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์อันเนื่องมาจากรายได้เปลี่ยนไป หรือรสนิยมเปลี่ยนไป ทำให้ความต้องการแรงงานเปลี่ยนแปลงไปด้วย • การแข่งขันจากต่างประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมบางอย่างภายในประเทศเกิดการหดตัวหรือผลิตลดลง • ปัจจัยทางสถาบันโดยเฉพาะการกระทำของรัฐบาล ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนไป เช่น การตั้งกำแพงภาษี หรือให้สิทธิพิเศษทางภาษี • การที่โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนไป • ให้ผู้จบการศึกษามาไม่ตรงกับความต้องการแรงงานของตลาดแรงงาน
ทฤษฎีการแสวงหางานทำของนีโอคลาสสิกทฤษฎีการแสวงหางานทำของนีโอคลาสสิก ฟรีดแมน และ เฟลฟ์ส • ระบบเศรษฐกิจมีอัตราการว่างงานตามธรรมชาติ(natural rate of unemployment)อยู่อัตราหนึ่ง อัตราการว่างงานดังกล่าวถูกกำหนดโดยการว่างงานฝืด(frictional unemployment: ความฝืดตัวของตลาดแรงงาน) และการว่างงานเพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (structural unemployment) • การดำเนินนโยบายการบริหารอุปสงค์มวลรวม(demand management policy :ของเคนส์) แบบขยายตัว อาจมีผลช่วยลดอัตราการว่างงานลงต่ำกว่าอัตราธรรมชาติเฉพาะในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวเมื่อคนงานมีประสบการณ์เกี่ยวกับผลของการดำเนินนโยบายการเงิน-การคลังแบบขยายตัว คนงานจะสามารถปรับพฤติกรรมการเสนอขายแรงงานของตนอย่างถูกต้อง ทำให้อัตราการว่างงานเข้าสู่อัตราธรรมชาติอย่างเดิม
อัตราการว่างงานตามธรรมชาติ หรือ การว่างงานที่ระดับเศรษฐกิจอยู่ในภาวะสมดุลเต็มที่(full equilibrium rate of unemployment) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอุปสงค์และอุปทานแรงงานส่วนเกินในตลาดแรงงาน • ArthurOkun (1961) กรณี อัตราการว่างงานเท่ากับ 3.7 % จะไม่เกิดความแตกต่างระหว่างผลผลิตที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะการสมดุลเต็มที่(Yfe) กับผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง(Y) • ตามแนวคิดนี้ การว่างงานมี 3 ประเภท 1)การว่างงานเพราะผลแห่งการตัดสินใจที่ไม่ต้องการให้สมาชิกบางคนทำงานในตลาด 2) การว่างงานในรูปของการลงทุนแสวงหางานทำ 3) การว่างงานเพราะความบกพร่องในตลาดแรงงาน
W SLxP2 SLx P1 DLxP2 DLxP1 E w2 w1 B 0 N1 N การคาดคะเนกับการว่างงาน กรณีการเพิ่มปริมาณเงิน
ทฤษฎีการว่างงานในตลาดแรงงานทวิลักษณ์ (unemployment in the dual labor market) • ตลาดแรงงานปฐมภูมิ(primary) ประกอบด้วยงานที่มีค่าจ้างสูง มีความก้าวหน้าและมั่นคง มีสภาพการทำงานที่ดี มีระเบียบการทำงานที่ชัดแจ้ง ฯลฯ • ตลาดทุติยภูมิ (secondary) ประกอบด้วยงานขั้นต่ำ ค่าจ้างต่ำ ไม่มีโอกาสก้าวหน้า • แรงงานในตลาดทุติยภูมิจะย้ายไปหางานทำในตลาดปฐมภูมิไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ไม่ใช่คุณสมบัติทางการศึกษา แต่เป็นคุณสมบัติเรื่อง “การยอมรับทางสังคม(social acceptability)” ซึ่งวัดด้วยเพศ ผิว ค่านิยมทางสังคม ชื่อสถาบันการศึกษา ฯลฯ
6.12 การแก้ปัญหาการว่างงาน
กรณีการว่างงานประเภทไม่สมัครใจเพราะอุปสงค์มวลรวมมีไม่เพียงพอกรณีการว่างงานประเภทไม่สมัครใจเพราะอุปสงค์มวลรวมมีไม่เพียงพอ • ให้รัฐบาลดำเนินนโยบายการเงิน-การคลังแบบขยายตัว เช่น การเพิ่มปริมาณเงิน การเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาล การลดภาษี เป็นต้น กรณีการว่างงานเพราะโครงสร้าง • สนับสนุนและส่งเสริมการฝึกฝนและอบรมคนงานให้มีความรู้ ความสามารถ เหมาะสมกับความต้องการ • มาตรการทางภาษีเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิตและการใช้เครื่องจักรต่าง ๆ • ส่งเสริมการโยกย้ายแรงงานจากท้องที่ที่ไม่มีงานไปสู่ท้องที่ที่ต้องการแรงงานโดยไม่ให้เสียค่าใช้จ่ายสูงนัก
กรณีการว่างงานเกิดจากความฝืดของกลไกตลาดกรณีการว่างงานเกิดจากความฝืดของกลไกตลาด • ยกเลิกมาตรการที่บิดเบือนกลไกของตลาดแรงงาน เช่น ยกเลิกกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ • ส่งเสริมปรับปรุงข่ายงานและการกระจายข่าวสารตลาดแรงงานให้มีมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น กรณีตลาดแรงงานทวิลักษณ์ • การใช้กลไกทางกฎหมายและการเมือง เพื่อแก้ปัญหาการกีดกันอย่างจงใจ • เพิ่มโอกาสการมีงานทำและโอกาสการรับฝึกงานของตลาดแรงงานปฐมภูมิ และการกระตุ้นอุปสงค์มวลรวมทำให้ตลาดปฐมภูมิดูดซับแรงงานจากตลาดทุติยภูมิมากขึ้น
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 8. ประเทศไทยประสบปัญหาแรงงานหลายอย่าง ทั้งปัญหาแรงงานเด็ก ปัญหาแรงงานสตรี ปัญหาแรงงานต่างด้าว และปัญหาแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร? และท่านเห็นว่าปัญหาแรงงานด้านใดที่มีแนวโน้มจะมีระดับปัญหาและผลกระทบของปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในอนาคต? ให้อธิบายแนวโน้มและผลกระทบ ตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปัญหาของปัญหาแรงงานดังกล่าว (8 คะแนน)