1.32k likes | 1.53k Views
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax. ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคของ ประชาชน แตกต่างจากภาษีเงินได้. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เสียเป็นรายเดือน โดยคำนวณจาก
E N D
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคของ ประชาชน แตกต่างจากภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เสียเป็นรายเดือน โดยคำนวณจาก ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ภาษีขาย - ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บและให้ หมายความรวมถึง - ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจด ทะเบียนได้เสียเมื่อนำเข้าสินค้า - ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งตาม ม. 83/5-7
กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย มีสิทธิ • ขอคืนภาษีเป็นเงินสด • ขอยกไปใช้เป็นเครดิตภาษีของเดือนถัดไป
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ กรมสรรพากร • ผู้ประกอบการ • ผู้นำเข้า • ผู้ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษ
องค์ประกอบของคำว่า ผู้ประกอบการ • บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล • มีการขายสินค้าหรือ ให้บริการเป็นอาชีพ • ในราชอาณาจักร
สินค้า คำว่า สินค้า หมายถึง ทรัพย์สินที่มีรูปร่างหรือไม่มี รูปร่าง ที่มีไว้เพื่อขาย หรือเพื่อ การใดๆรวมถึงสิ่งของทุกชนิด ที่นำเข้า
สินค้า ขายสินค้าไม่มีรูปร่าง เช่น - ขายลิขสิทธิ (ถ้าให้ใช้ลิขสิทธิ เป็นเรื่องบริการ) - โอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ - ขายสิทธิเวลาโฆษณา - โอนสิทธิตามประทานบัตรเหมืองแร่ (บัตรภาษีเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐบาลไม่ใช่สินค้า)
ขาย คำว่า ขาย หมายถึง การจำหน่าย จ่าย โอน สินค้าไม่ว่า จะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ เช่นการซื้อขายสินค้าทั่วๆไป การแจก การแถม การมอบรางวัลในการ ชิงโชค การให้ทดลองใช้สินค้า นอกจากนั้นยังหมายความรวมถึง
บริการ คำว่า บริการ หมายถึง การกระทำใด ๆ อันอาจหา ประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่ การขาย และให้หมายความรวม ถึงการใช้บริการของตนเอง
ประกอบกิจการในราชอาณาจักร - ขายสินค้าในราชอาณาจักร กรณีผู้ขายในประเทศไทย ไม่ได้ส่งสินค้าออกไปขายให้กับ ผู้ซื้อในต่างประเทศ แต่ใช้วิธีโอนสินค้าจากประเทศหนึ่งซึ่ง เป็นประเทศที่ผู้ขายในประเทศได้สั่งซื้อไปให้ผู้ซื้อในต่างประเทศโดยตรง กรมสรรพากรวางแนวทางปฏิบัติไว้ว่า กรณีดังกล่าว เป็นการขายสินค้านอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ใช่กรณีที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราร้อยละ 0 ( ป. 89/2542 )
ประกอบกิจการในราชอาณาจักร - บริการในราชอาณาจักร การให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรเท่านั้น
ผู้นำเข้า ผู้นำเข้า หมายความว่า ผู้ประกอบการ หรือ บุคคลอื่น ซึ่งนำเข้า - การนำสินค้าออกจากเขตอุตสาหกรรม ส่งออก โดยมิใช่เพื่อส่งออก ถือเป็นการนำเข้าด้วย
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. การขายพืชผลทางการเกษตร - สด เช่น ดอกไม้สด ผลไม้สด - รักษาไม่ให้เสีย เช่น ผลไม้ดอง กระเทียมดอง - แปรสภาพแล้ว ไม่ยกเว้นภาษี เช่น ซ้อสมะเขือเทศ น้ำตาล เส้นก๋วยเตี๋ยว ตั้งฉ่าย การนำข้าวสารมาเคลือบวิตามิน เพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้น ยังไม่ถือว่าเป็นการแปรสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ผนึกในลักษณะมั่นคง ไม่ยกเว้นภาษี (การปิดผนึกด้วยฝาเกลียว ลวดเย็บกระดาษ หนังยางรัดไม่มั่นคง บรรจุถุงพลาสติกแบบมีรอยกดสำหรับปิด-เปิด) - การขายข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว ไม่ว่าบรรจุภาชนะในลักษณะมั่นคงหรือไม่ ได้รับยกเว้นภาษี - การขายกากของพืช น้ำยางพืช ยางแผ่น ไม่ว่าจะมี
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สารอื่นผสมอยู่ด้วยหรือไม่ ได้รับยกเว้นภาษี เช่น น้ำยางพาราใส่สารส้มยาง น้ำยางพาราใส่สารเคมี - การขายน้ำมันดิบของพืช ที่ได้จากกระบวนการนำพืชผลทางการเกษตรมาคั้น บีบ สกัด ก่อนนำเข้ากระบวนการกลั่นน้ำมันพืช เฉพาะที่ไม่ได้บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อในลักษณะมั่นคง ได้รับยกเว้นภาษี แต่ถ้าขาย
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันของพืช ไม่ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - การขายไม้ฟืน ไม้ซาง ไม่ได้รับยกเว้นภาษี - เกลือ ไม่ใช่พืชผลทางการเกษตร 2. การขายสัตว์ ถ้าสัตว์แปรสภาพแล้ว ฟอกแล้ว ไม่ได้ รับยกเว้นภาษี เช่น สัตว์สต๊าฟ หนังสัตว์ 3. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อ บำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรู หรือโรคของ พืชหรือสัตว์ 5. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน - การขายหรือนำเข้าหนังสือทุกชนิด เอกสารประกอบ การเรียนการสอน เช่น แผนที่โลก ภาพประกอบการ เรียน ถือเป็นตำราเรียน
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - โปรแกรมประกอบการเรียน ยกเว้นภาษี - การขายแบบพิมพ์ แบบฟอร์ม ไม่ยกเว้นภาษี - เทป วีดีโอ ประกอบการเรียน ได้รับยกเว้นภาษี
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. การให้บริการศึกษาของสถานศึกษา 2. การให้บริการประกอบโรคศิลป การสอบบัญชี การ ว่าความ - การให้บริการปรึกษากฎหมาย การรับจ้างทำบัญชี รับจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ได้รับยกเว้นภาษี
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล - การจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ไม่ยกเว้น - บริษัท ประกอบกิจการให้บริการวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ บริการตรวจเลือด โดยมิได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ไม่ได้รับยกเว้นภาษี
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - โรงพยาบาลของโรงงาน ถ้าเป็นการให้บริการรักษาเฉพาะลูกจ้าง หรือบุคคลในอุปการะของลูกจ้าง โดยไม่คิดค่าบริการ เพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงาน โดย ไม่มีการให้บริการแก่บุคคลภายนอก ไม่เข้าลักษณะการ ให้บริการทางธุรกิจเป็นวิชาชีพ
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - รายได้จากการให้บริการด้านอาหาร น้ำดื่ม แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาล ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - รายได้จากการขายนมผง ของแผนกเด็กในโรงพยาบาล ซึ่งขายให้บุคคลทั่วไป ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การขายพร้อมขนถือเป็นการขาย 5. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็น การขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล 6. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น การเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม - กิจการโรงแรม เกสเฮ้าส์ บังกะโล ไม่ใช่การเช่า อสังหาริมทรัพย์ - การเช่าร้าน อพาท์เมนท์ เป็นการเช่า อสังหาริมทรัพย์ - การให้บริการพื้นที่จอดรถ ไม่ใช่การเช่า อสังหาริมทรัพย์
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น 8. การขายสินค้า หรือให้บริการ ของกระทรวง ทบวงกรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐ โดยไม่หักค่าใช้จ่าย 9. การขายสินค้า หรือให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือสาธารณะกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผล
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม กำไรไปจ่ายในทางอื่น เช่น การขายสินค้าของโครง การหลวงศิลปชีพ
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้า 1 การนำเข้าสินค้าตามมาตรา 81(1)(ก) ถึง (ฉ) 2 การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้าในเขต อุตสาหกรรมส่งออก 3 การนำเข้าสินค้าที่ยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขนาดย่อม กิจการขนาดย่อม = มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท/ปี การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกา(ฉ. 239) เช่น - การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล การขายแสตมป์ - การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน องค์การ สถานสาธารณกุศลตามที่กฎหมายกำหนด
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 1.ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้า หรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าว ให้เห็นชัดแจ้งไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 2. มูลค่าของสินค้าที่แถมพร้อมกับการขายสินค้า หรือการให้บริการไม่ว่าสินค้าที่แถมนั้นจะเป็นสิน ค้าประเภท และชนิดเดียวกับสินค้าที่ขายหรือบริการ ที่กระทำหรือไม่ แต่มูลค่าของสินค้าที่แถม จะต้องไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขาย หรือมูลค่าของการให้บริการ
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 3. มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลกับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการในแต่ละวันโดยมีมูลค่ารวมกันตามที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกำหนดแต่มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลต้องมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 4. มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นของขวัญ เนื่องในพิธีหรือ ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ การเปิดแนะนำสินค้าใหม่ทั้งนี้ เฉพาะ สินค้าที่เป็นปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือ สินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกันของขวัญหรือของชำร่วย ที่มีชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า หรือเครื่องหมายการค้า ของผู้ประกอบการปรากฏอยู่ โดยของขวัญหรือของชำร่วย ดังกล่าว ต้องเป็นสิ่งของที่พึงให้แก่กันตามประเพณีทาง ธุรกิจทั่วไป และต้องมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 5. มูลค่าของสินค้าตัวอย่างที่แจก เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 6. มูลค่าของค่าตอบแทนที่พึงได้รับจากการมอบสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทดสอบใช้งานก่อนซื้อโดยสินค้าดังกล่าวไม่ใช่ของใช้สิ้นเปลืองและต้องเป็นสินค้าที่มีไว้สำหรับให้ทดลองใช้เป็นการชั่วคราวเพื่อทดลองคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสินค้าเท่านั้นและผู้ซื้อสินค้าจะต้องส่งมอบสินค้าดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าเมื่อทดลองใช้เสร็จ
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 7. มูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มที่นายจ้างจัดหาให้กับ พนักงานหรือลูกจ้างในระหว่างเวลาปฏิบัติงาน ตาม ระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้าง โดยมูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวต้องมีราคา ไม่เกินสมควร
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 8. มูลค่าของเครื่องแบบที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่ง เป็นนายจ้างได้มอบให้แก่ลูกจ้างในจำนวนคนละ ไม่เกินสองชุดต่อปี และเสื้อนอกในจำนวนคนละ ไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 9. มูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งผู้ประกอบการ จดทะเบียนบริจาคให้แก่ส่วนราชการตามโครงการ ของทางราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติในลักษณะทำนองเดียวกัน
ของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษีของแจกของแถมที่ไม่เป็นฐานภาษี 10. มูลค่าของทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการซึ่ง ผู้ประกอบการ จดทะเบียนบริจาคให้แก่ส่วนราชการ ตามโครงการของทางราชการ เพื่อให้แก่สถานศึกษา ของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมาย ว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ( TAX POINT )
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมาย ว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ สิทธิ เรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ หน้าที่ 1. จัดทำและส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ หรือ ผู้รับบริการ 2. นำยอดขาย ภาษีขาย ไปลงในรายงานภาษีขาย
หากไม่ออกใบกำกับภาษี และส่งมอบทันทีที่ความรับผิดเกิดขึ้นมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา แพ่ง เบี้ยปรับ 2 เท่า ของภาษีที่ต้องออกใบกำกับตามมาตรา 89(5) อาญา จำคุก ไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท มาตรา 90/2(3)
ความรับผิดกรณี หลัก ส่งมอบ ข้อยกเว้น (1) มีการโอนกรรมสิทธิสินค้า (2) ได้รับชำระราคาสินค้า (3) ได้ออกใบกำกับภาษี โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วน ของการกระทำนั้น ๆ ขายสินค้า
ขายสินค้า TAX POINT อยู่ที่ส่งมอบไม่ใช่รับมอบ ป.พ.พ. มาตรา 462 การส่งมอบนั้นจะทำอย่างหนึ่ง อย่างใดก็ได้สุดแต่ว่าจะเป็นผลให้ ทรัพย์นั้นอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ
ป.พ.พ. มาตรา 463 ถ้าในสัญญากำหนดว่า ให้ส่ง ทรัพย์สินซื้อขายนั้น จากที่หนึ่ง ไปอีกแห่งหนึ่งไซร้ ท่านว่าการส่ง มอบย่อมสำเร็จ เมื่อได้ส่งมอบ ทรัพย์สินนั้น แก่ผู้ขนส่ง
ขายเสาเข็มพร้อมให้บริการตอกเสาเข็ม โดยรวมเป็นราคาเดียวกัน ถือเป็นการขายสินค้า ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องถือวันที่ส่งมอบเสาเข็ม ไม่ใช่วันที่ตอกเสาเข็มเสร็จ จึงต้องออกใบกำกับภาษีในวันที่ส่งมอบเสาเข็ม แต่ถ้าแยกราคาค่าเสาเข็ม กับ ค่าบริการตอกเสาเข็ม TAX POINT แยกกันเกิด กรณีดังกล่าวมีผลต่อการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย
กรณีส่งมอบสินค้าแล้ว มีการคืนสินค้า เพราะเหตุ สินค้าชำรุดบกพร่อง ต้องออกใบลดหนี้
การส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนซื้อ จะถือเป็นการขายสินค้าแล้วหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้ (ก) เมื่อลูกค้าพอใจในสินค้าดังกล่าว จึงตกลงซื้อขายสินค้าที่มอบนั้น กรณีนี้ถือเป็นการขายตั้งแต่วันที่มอบสินค้าให้ลูกค้าทดลองใช้
(ข) เมื่อลูกค้าพอใจในสินค้าดังกล่าว ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าให้ทดลองใช้ยังไม่ถือเป็นการขาย เฉพาะกรณีเข้าเงื่อนไข ดังนี้ (1) สินค้ามีไว้เพื่อการทดลองใช้โดยเฉพาะ (2) ระยะเวลาทดลองใช้เพียงชั่วคราวเพื่อทดลองคุณภาพ ( 14 วัน ) (3) ต้องมิใช่สินค้าใช้สิ้นเปลือง