350 likes | 562 Views
การจัดทำรายงานการตรวจสอบ. ศิวะรักษ์ พินิจารมณ์ , CIA & CFE. สารบัญ. ลักษณะทั่วไป. มาตรฐาน 2400. ประเภทของรายงาน. จุดประสงค์ของรายงาน. การจัดทำรายงาน. กระบวนการของรายงาน. ส่วนประกอบของ ICES. โครงสร้างของรายงาน. ความเห็นและคำแนะนำ. การสอบทานครั้งสุดท้าย. การส่งมอบรายงาน.
E N D
การจัดทำรายงานการตรวจสอบการจัดทำรายงานการตรวจสอบ ศิวะรักษ์ พินิจารมณ์ , CIA & CFE
สารบัญ ลักษณะทั่วไป มาตรฐาน 2400 ประเภทของรายงาน จุดประสงค์ของรายงาน การจัดทำรายงาน กระบวนการของรายงาน ส่วนประกอบของ ICES โครงสร้างของรายงาน ความเห็นและคำแนะนำ การสอบทานครั้งสุดท้าย การส่งมอบรายงาน ลักษณะของรายงานที่ดี เทคนิคและข้อควรจำอื่นๆ กรณีศึกษา
มาตรฐาน 2400 การรายงานผลการตรวจสอบ หลักเกณฑ์ 2410 คุณภาพ 2420 นอกมาตรฐาน2430 การเผยแพร่2440 Error & Omission 2421 ความเห็น 2410.A1 ระบุข้อดี 2410.A2 Consultant 2410.C1 Assurance 2440.A1 ID RCG 2440.C2 Consulting 2440.C1 Sources: PA: 2400 to 2440 & Red Book: 430
อธิบายมาตรฐาน 2400: ต้องรายงานผลการตรวจสอบ 2410: ต้องครอบคลุมจุดประสงค์/ขอบเขต/สรุป/แนะนำและแผนแก้ไขปรับปรุง 2410.A1: ต้องมีความเห็นในภาพรวมของผู้ตรวจสอบภายใน 2410.A2: ต้องชมเชยส่วนที่ฝ่ายบริหารปฏิบัติได้ตามมาตรฐานหรือดีกว่า 2410.A3: ต้องจำกัดการส่งมอบรายงานให้กับบุคคลภายนอก 2410.C1: รูปแบบของรายงานที่ปรึกษาอาจต่างออกไปตามความต้องการของผู้รับบริการ 2420: ต้องถูกต้อง-ชัดเจน-กระชับ-สร้างสรรค์-ครบถ้วนและทันเวลา 2421: ต้องแจ้งผู้รับรายงานให้ทราบถ้ารายงานผิดพลาดหรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน 2430: ต้องมีผลของ QA ยืนยันถ้าจะอ้างว่าการตรวจสอบทำตามมาตรฐาน ISPPPIA 2431: ต้องเปิดเผยข้อมูลถ้าปฏิบัติตามมาตรฐานไม่ได้พร้อมเหตุผลและผลกระทบ
อธิบายมาตรฐาน 2440: ต้องรายงานผลการตรวจสอบกับบุคคลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม 2440.A1: ต้องส่งรายงานให้บุคคลที่มั่นใจได้ว่า ผลการตรวจสอบจะได้รับการพิจารณา 2440.A2: ต้องมีแนวทางการส่งรายงานการตรวจสอบให้กับบุคคลภายนอกองค์กร - ประเมินความเสี่ยงขององค์กร - ปรึกษาผู้บริหารระดับสูงและ / หรือที่ปรึกษาทางกฎหมาย - ควบคุมการนำผลการตรวจสอบไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาติ 2440.C1: ต้องส่งรายงานให้กับลูกค้าที่รับบริการที่ปรึกษา 2440.C2: ต้องระบุความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลแก่ลูกค้าที่รับบริการที่ปรึกษาด้วย
หลักเกณฑ์ของรายงาน (2410-1) เกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับรายงานคือ แสดงจุดประสงค์ ขอบเขตและผลการตรวจสอบ รายงานอาจมีทั้งส่วนที่เป็นรายละเอียดและบทสรุป ส่วนที่เป็นจุดประสงค์ควรบอกผู้อ่านว่าทำไมต้องตรวจสอบและคาดหวังอะไร ส่วนที่เป็นขอบเขตควรบอกช่วงเวลาตรวจสอบและเรื่องที่ยกเว้นไม่สอบทาน ผลการตรวจสอบควรรวมถึงข้อสังเกต ข้อสรุป ข้อแนะนำและแผนการแก้ไขปรับปรุง ข้อสังเกตควรอยู่บนฐานความจริงและใช้สนับสนุนข้อสรุปหรือความเห็น ข้อสังเกตและข้อแนะนำเกิดจากการเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดจริงกับสิ่งที่ควรจะเป็น ข้อสรุปคือการประเมินผลกระทบของข้อสังเกตและข้อแนะนำ
หลักเกณฑ์ของรายงาน (ต่อ) ข้อแนะนำเกิดจากข้อสังเกตุและข้อสรุปที่นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ควรกล่าวถึงความก้าวหน้าในการปรับปรุงแก้ไขจากการตรวจครั้งก่อน บันทึกความเห็นของผู้รับการตรวจในเรื่องข้อแนะนำของผู้ตรวจสอบ บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ตรวจและผู้รับการตรวจ ข้อมูลที่เป็นความลับอาจแยกเปิดเผยในรายงานอีกฉบับ รายงานระหว่างกาลอาจเป็นได้ทั้งการบอกกล่าวหรือลายลักษณ์อักษร รายงานต้องมีลายเซ็นของผู้ตรวจสอบที่ได้รับการอนุมัติจาก CAE CAE: Chief Audit Executive หรือหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบ
คุณภาพของรายงาน (2420-1) ควรถูกต้อง ปราศจากข้อผิดพลาดหรือบิดเบือนและอยู่บนฐานของความจริง ควรตรงจุด ยุติธรรม ไม่มีอคติ ไม่เข้าข้างใคร ไม่อยู่ใต้อิทธิพลใดๆ ควรชัดเจน เข้าใจง่าย มีเหตุมีผลและหลีกเลี่ยงใช้ภาษาเทคนิคโดยไม่จำเป็น ควรอ่านแล้วเข้าใจทันทีโดยหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำซ้อนหรือวกไปวนมา ควรสร้างสรรค์ มีสาระ มีประโยชน์และช่วยสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร ควรมีความครบถ้วนตามที่ผู้รับการตรวจคาดหวัง ควรส่งมอบในเวลาที่เหมาะสม ผู้เกี่ยวข้องสามารถแก้ไขปรับปรุงได้โดยเร็ว
การแจกจ่ายรายงานภายในองค์กร (2440-1) ควรร่วมพิจารณาข้อสรุปและคำแนะนำกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนส่งรายงาน การส่งร่างรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ลดการขัดแย้ง ผู้เข้าร่วมพิจารณาควรประกอบด้วยผู้ที่รู้รายละเอียดและผู้มีอำนาจอนุมัติแก้ไข ผู้รับรายงานควรประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้ - บุคคลที่สามารถแก้ไขปรับปรุงหรือมีอำนาจสั่งการให้มีการแก้ไขปรับปรุง - บุคคลอื่น กรณีมีการกำหนดไว้ในนโยบายหรือระบุไว้ใน InternalAuditCharter
ประเภทของรายงาน แบ่งตามลักษณะ การบริหารงานตรวจสอบ แบ่งตามลักษณะ การปฏิบัติงานตรวจสอบ รายงาน Prelim รายงานประจำปี รายงานระหว่างกาล รายงานครั้งสุดท้าย รายงานประจำไตรมาส รายงานการตรวจสอบ สรุป รายงานประจำเดือน ทั่วไป โครงการ รายงานการสอบสวน รายงานด้วยปากเปล่า
ลักษณะของรายงานที่สำคัญลักษณะของรายงานที่สำคัญ รายงานการตรวจสอบ - รายงานหนึ่งหน้าถึงผู้บริหารระดับสูง - รายงานการแก้ไขปรับปรุงถึง ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง - รายงานเฉพาะเรื่องถึงผู้บริหารระดับสูง รายงานการติดตาม (2500.A1) - ประเด็นการตรวจสอบที่มีสาระสำคัญ - ระดับความพยายามและต้นทุนในการแก้ไข - ผลกระทบถ้าการแก้ไขล้มเหลว - ระดับความซับซ้อนของการแก้ไข - ระยะเวลาในการแก้ไข - กรณี Residual Risk ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ตรวจสอบฯ ให้พิจารณาร่วมกับฝ่ายบริหาร
จุดประสงค์ของรายงาน เพื่อแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มีการควบคุมดีขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารทราบประเด็นการควบคุมและความเสี่ยง เพื่อเปลี่ยนการเสนอแนะของผู้ตรวจสอบฯให้เป็นการปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้บริหารทราบปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าผลการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริหารในการปฏิบัติงาน เพื่อแสดงให้ผู้บริหารเห็นวิธีการแก้ปัญหา เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อป้องกันตัวผู้ตรวจสอบภายใน
กระบวนการรายงาน การวางแผนการตรวจเบื้องต้นและการวางแผนการตรวจสอบที่ได้รับการมอบหมาย การวางจุดประสงค์และขอบเขตของการตรวจสอบ การตรวจสอบการทำตามมาตรฐาน ผู้รับการตรวจได้รับข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ร่างรายงานมีความชัดเจน กระบวนการทบทวนมีประสิทธิผล การประชุมปิดการตรวจสอบมีบรรยากาศที่ดี มีการอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่ซับซ้อน มีการตกลงร่วมกันในแผนการแก้ไขกับผู้รับการตรวจ การเตรียมการสำหรับรายงานขั้นสุดท้าย การติดตาม รายงานประจำไตรมาส แผนตรวจสอบประจำไตรมาส รายงานประจำปี แผนตรวจสอบประจำปี
ร่างรายงานต้องมีความชัดเจนร่างรายงานต้องมีความชัดเจน ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย เยิ่นเย้อ / ไม่ชัดเจน ชัดเจน จากความจริงที่ว่า เพราะ พยายาม ทำดีที่สุด ทดสอบ ประเมิน ทำเร็วที่สุด ทันที อำนวยความสะดวก ช่วย ผลสุดท้าย เสร็จ สำหรับช่วงเวลา สำหรับ ด้วยเหตุผลที่ว่า เพราะ ทำให้เกิดขึ้น เกิด ทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ทำ
การตกลงร่วมกันในการวางแผนแก้ไขปรับปรุงการตกลงร่วมกันในการวางแผนแก้ไขปรับปรุง ชนิดของการเจรจาตกลง Red: ไม่ยินยอมหรือแข็งกร้าว พฤติกรรมเชิงรุก Blue: โอนอ่อนหรือผ่อนปรน พฤติกรรมเชิงรับ Purple: ตรงกลางหรือหาทางออกเพื่อให้ตกลงกันได้บนพื้นฐานของความถูกต้องและยุติธรรม ขั้นตอนของการเจรจาตกลง Prepare: เราต้องการอะไร? เรามีทางเลือกอื่นๆไหม? Debate: เขาต้องการอะไร? การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ Propose: เราและเขาสามารถแลกเปลี่ยนอะไรกันได้บ้าง? Purple = สมมุติฐานต้องยอมรับทั้งสองฝ่าย Bargain: เราจะแลกเปลี่ยนอะไรกัน? เน้นในสิ่งที่เขาต้องการแลกเปลี่ยน
ส่วนประกอบของ ICES ICES: Internal Control Evaluation Schedule เป็นตารางแสดงการประเมินระบบควบคุมภายในของผู้ตรวจสอบฯที่แสดง รายละเอียดความเข้มแข็งหรืออ่อนแอของส่วนย่อยภายในระบบฯและเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการร่างรายงานการตรวจสอบ จุดประสงค์และตัววัดการปฏิบัติงาน กระบวนการในการปฏิบัติงาน ความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน จุดบกพร่องของการควบคุม สาเหตุของจุดบกพร่อง ผลกระทบของจุดบกพร่อง ความเห็นโดยรวมของผู้ตรวจสอบฯ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียของทางเลือกต่างๆ
ขั้นตอนของ ICES การตรวจสอบฯในภาพรวม รายละเอียดของกระดาษทำการ ตารางสรุปของกระดาษทำการแต่ละชิ้น INTERNAL CONTROL EVALUATION SCHEDULE การประชุมปิดการตรวจสอบ ร่างรายงานการตรวจสอบ รายงานการตรวจสอบ
โครงสร้างของรายงาน เรื่องที่ตรวจ ขอบเขต แผนตรวจสอบ ปฏิบัติจริง ประเด็นที่ตรวจพบ สาเหตุ ข้อบกพร่อง ผลกระทบ / ความเสียหาย แนวทางการแก้ไขปรับปรุง สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบของรายงาน Section Coverage One ส่วนนี้รวมถึงการสรุป (Executive Summary) Two ส่วนนี้แยกเป็นจุดประสงค์ ขอบเขต วิธีการและงานตรวจสอบที่ทำเสร็จ Three ส่วนนี้แสดงรายละเอียดของเรื่องที่ทำการตรวจสอบและผลการตรวจสอบ Appendices ส่วนนี้แสดงหลักฐานและอื่นๆที่สนับสนุนรายงานและควรให้มีน้อยที่สุด
พื้นฐานที่สนับสนุนความเห็นของผู้ตรวจสอบฯพื้นฐานที่สนับสนุนความเห็นของผู้ตรวจสอบฯ ผลการประเมินระบบควบคุม วัฒนธรรมของการสร้างและใช้ระบบควบคุม ความเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่ สาเหตุของปัญหาพื้นฐาน การปฏิบัติตามระบบควบคุม ความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่ ข้อแนะนำการแก้ไขและปรับปรุงปัญหาที่ทำได้ในทางปฏิบัติ ความพยายามของฝ่ายบริหารในการแก้ไขและปรับปรุง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับแผนการปฏิบัติงานในอนาคต ความเห็นโดยรวม กรณีความกระตือรือร้นของฝ่ายบริหารในการลดความเสี่ยง ข้อมูลอื่นๆที่ไม่เป็นทางการหรือไม่มีเอกสารอ้างอิง
พื้นฐานที่สนับสนุนคำแนะนำของผู้ตรวจสอบฯพื้นฐานที่สนับสนุนคำแนะนำของผู้ตรวจสอบฯ พิจารณาร่วมกับฝ่ายบริหารเรื่องทางเลือกในการแก้ไขปรับปรุงแต่ละชนิด ขจัดอุปสรรคที่อาจทำให้การแก้ไขปรับปรุงมีปัญหา ใช้ Creative Thinking ในการสร้างคำแนะนำ มูลค่าเพิ่มที่อยู่ในรูปตัวเงิน ต้นทุนในการแก้ไขปรับปรุง การเลี่ยงเผชิญหน้ากับฝ่ายบริหารเองที่ทำให้ระบบควบคุมอ่อนแอ การแก้ไขปรับปรุงชั่วคราวอาจดีกว่าการรอแก้ไขระยะยาวหรือไม่แก้ไขเลย เปรียบเทียบน้ำหนักของต้นทุนการแก้ไขปรับปรุงกับต้นทุนของการเสี่ยง การแก้ไขปรับปรุงต้องทำได้ในทางปฏิบัติ
การสอบทานครั้งสุดท้ายการสอบทานครั้งสุดท้าย โครงสร้างและส่วนประกอบของรายงานอยู่ในมาตรฐานที่ตั้งไว้ งานตรวจสอบ สิ่งที่พบและคำแนะนำต้องเชื่อมต่อกันอย่างมีเหตุผล การรายงานควรมีสาระไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย การแสดงประเด็นที่พบในการตรวจสอบต้องไม่ขึ้นกับอารมณ์ความรู้สึก ประเด็นที่พบในการตรวจสอบต้องชัดเจนและสอบทานโดยผู้รับการตรวจ คำศัพท์ที่ใช้ในรายงานต้องไม่ซับซ้อนหรือยากเกินไปสำหรับผู้อ่าน ตัวสะกดและไวยกรณต้องถูกต้อง รูปแบบรายงานต้องทำให้สมาชิกภายในองค์กรรับรู้ได้ในทันที รูปแบบที่ดูแล้วเป็นรายงานของมืออาชีพและเป็นทางการ ผู้รับการตรวจพึงพอใจและยินดีจ่ายค่าทรัพยากรของสำนักตรวจสอบภายใน
การส่งมอบรายงาน Take Action Secure Action Information Review before Release กรรมการตรวจสอบ X X กรรมการผู้อำนวยการ X รองกรรมการผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ X X X ผู้จัดการฝ่าย X X ผู้จัดการแผนก X
ลักษณะของรายงานที่ดี ร่างรายงานควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่เข้าตรวจสอบ แสดงการขอบคุณในความร่วมมือของผู้รับการตรวจ พยายามหลีกเลี่ยงการระบุชื่อตัวบุคคลในรายงาน แผนแก้ไขปรับปรุงที่ผู้รับการตรวจเห็นด้วยควรระบุใน Executive Summary สร้างความสมดุลระหว่างสิ่งที่พบในการตรวจสอบทั้งที่ดีและไม่ดี ควรระบุความคิดเห็นของผู้รับการตรวจในรายงานหรือในภาคผนวก ลักษณะของรายงานเพิ่มมูลค่า ไม่ใช่ระบุเฉพาะข้อบกพร่อง อย่าใช้การแสดงหรือคำศัพท์ที่ยากต่อความเข้าใจของผู้อ่าน รูปแบบของรายงานต้องแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ
ลักษณะของรายงานที่ดี (ต่อ) ใช้ข้อเท็จจริงที่เข้าใจและติดตามง่าย การอ้างถึงหลักฐานต้องทำอย่างมีระบบและอยู่บนพื้นฐานของความจริง การแสดงความเห็นอาจอยู่ในรูปของสำนักฯ แทนตัวผู้ตรวจสอบภายใน การเสนอแก้ไขปรับปรุงควรจัดลำดับจากที่สำคัญมากไปน้อย รายละเอียดต่างๆควรอยู่ในภาคผนวกที่มีการอ้างอิงอย่างชัดเจน คำศัพท์และโครงสร้างควรใช้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างมีเหตุมีผล การเชื่อมต่อของคำศัพท์ ประโยคและย่อหน้าควรนำไปสู่ภาพสรุป รูปเล่มของรายงานต้องไม่หรูหราเกินไป แต่ต้องดู Professional รูปเล่มควรอยู่ในลักษณะที่ติดตามง่าย แบ่งส่วนต่างๆโดยใช้กระดาษสี
ลักษณะของรายงานที่ดี (ต่อ) รายงานควรเสร็จเร็วและส่งมอบทันเวลาที่ผู้อ่านคาดหวัง ควรระบุและรับรองความกดดันรวมทั้งข้อจำกัดต่างๆของฝ่ายบริหาร แสดงความชัดเจนในเรื่องการบรรลุจุดประสงค์และขอบเขตของการตรวจสอบ แสดงให้เห็นความเสี่ยงขององค์กรและการตรวจสอบที่ตรงประเด็น คำแนะนำที่หวังผลมากเกินไปอาจไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมของผู้รับการตรวจ “รายงานการตรวจสอบที่ดีขึ้นกับคุณภาพที่ได้จากการตรวจสอบและความร่วมมือของฝ่ายบริหาร”
เทคนิคและข้อควรจำอื่นๆเทคนิคและข้อควรจำอื่นๆ ไม่ควรคิดว่าเก่งกว่าผู้บริหารโดยเฉพาะการปฏิบัติงานในฝ่ายของเขา ไม่ควรช่วยฝ่ายบริหารมากเกินไปจนเสียงานตรวจสอบภายใน ไม่ควรยึดติดกับการแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆหรือเป็น Fire Fighter ไม่ควรสงสัยความสามารถของผู้บริหาร ไม่ควรมีความรู้สึกว่าต้องสอนผู้บริหารทำงาน พิจารณาบทบาทที่แท้จริงของผู้ตรวจสอบฯว่าเป็น Assurance หรือ Consultant The One-Minute Manager: ผู้ตรวจสอบฯทุกคนควรคำนึงถึงเมื่อร่างรายงานฯ อะไรคือสาเหตุ อะไรคือปัญหา ผลกระทบรุนแรงแค่ไหน มีทางแก้อะไรบ้าง วิธีแก้ทำอย่างไร ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น
กรณีศึกษา แบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 8 กลุ่ม ศึกษาการตรวจสอบภายในของบริษัทตัวอย่าง จัดทำบทคัดย่อ (Executive Summary)ตามแบบฟอร์มที่จัดให้ ถ้าเขียนไม่พอให้ขยายเป็นสองหน้า แต่ละกลุ่มมีเวลาในการศึกษาและเขียนรายงาน 90 นาที แต่ละกลุ่มเลือกตัวแทนและมีเวลาในการ Present รายงาน 5 นาที
Questions Please ? Tel: (089) 919-7000 Email: rockyth@cscoms.com